สิทธิในอาหาร

สิทธิมนุษยชน

สิทธิในอาหาร (อังกฤษ: Right to food) คือ สิทธิมนุษยชนที่คุ้มครองสิทธิของผู้คนในการรับประทานอาหารของตนเองอย่างมีศักดิ์ศรี หมายความว่ามีอาหารเพียงพอ ผู้คนมีช่องทางในการเข้าถึง และเพียงพอต่อความต้องการด้านอาหารของแต่ละบุคคล สิทธิในการรับประทานอาหารจะปกป้องสิทธิของมนุษย์ทุกคนที่จะเป็นอิสระจาก ความหิว ความไม่มั่นคงทางอาหาร และภาวะทุพโภชนาการ[4] สิทธิในการรับประทานอาหารไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลมีหน้าที่ต้องแจกอาหารฟรีให้กับทุกคนที่ต้องการหรือมีสิทธิได้รับอาหาร อย่างไรก็ตาม หากผู้คนถูกกีดกันไม่ให้เข้าถึงอาหารด้วยเหตุผลที่อยู่เหนือการควบคุม ตัวอย่างเช่น เนื่องจากพวกเขาถูกกักขังในยามสงคราม หรือหลังภัยธรรมชาติ สิทธิจึงกำหนดให้รัฐบาลต้องจัดหาอาหารโดยตรง[5]

สิทธิในอาหารทั่วโลก (ณ ปี ค.ศ. 2011–2012)[1][2][3]
  เป็นสิทธิที่รับรองด้วยร่างกรอบกฎหมาย (19)
  เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญชัดเจน (23)
  เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญโดยปริยายในสิทธิที่กว้างขึ้นหรือตามหลักคำสั่ง (41)
  เป็นสิทธิการบังคับใช้โดยตรงผ่านสนธิสัญญาระหว่างประเทศ (103)
  มุ่งมั่นการให้สิทธิโดยการให้สัตยาบัน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (160)
  ไม่รู้จักสิทธิในอาหาร
หมายเหตุ: สถานการณ์ในบางประเทศอาจแตกต่างกันหลายหมวดหมู่ตามแต่ละท้องที่; สีที่แสดงหมายถึงสถานการณ์โดยส่วนใหญ่ของประเทศ

สิทธิในอาหารมาจากกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม[5] ซึ่งมี 170 รัฐภาคี ณ เดือนเมษายน ค.ศ. 2020[2] ค่อย ๆ ตระหนักถึงสิทธิที่จะได้รับอาหารที่เพียงพอทั้งในระดับประเทศและระดับสากล[6][4] สิทธิในอาหารสามารถใช้ได้ในทั้งหมด 106 ประเทศ ทั้งผ่านการกำหนดตามรัฐธรรมนูญในรูปแบบต่าง ๆ หรือผ่านการบังคับใช้โดยตรงโดยกฎหมายของสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่สิทธิในอาหารได้รับการคุ้มครอง[7]

ในการประชุมสุดยอดอาหารโลกในปี ค.ศ. 1996 รัฐบาลได้ยืนยันสิทธิในอาหารและมุ่งมั่นที่จะลดจำนวนผู้หิวโหยและการขาดสารอาหารลงครึ่งหนึ่งจาก 840 ล้านคนเป็น 420 ล้านคนภายในปี ค.ศ. 2015 อย่างไรก็ตาม จำนวนดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งทำสถิติน่าอับอายในปี ค.ศ. 2009 ผู้คนกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลกขาดสารอาหาร[4] นอกจากนี้ จำนวนผู้ที่ทุกข์ทรมานจากความหิวที่ซ่อนอยู่ – การขาดสารอาหารรองที่อาจก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางร่างกายและสติปัญญาที่แคระแกรนในเด็ก – มีจำนวนมากกว่า 2 พันล้านคนทั่วโลก[8]

แม้ว่าภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศจำเป็นต้องเคารพ ปกป้อง และปฏิบัติตามสิทธิในอาหาร แต่ปัญหาในทางปฏิบัติในการบรรลุสิทธิมนุษยชนนี้แสดงให้เห็นได้จากความไม่มั่นคงด้านอาหารที่มีอยู่ทั่วโลก และการดำเนินคดีต่อเนื่องในประเทศต่าง ๆ เช่น อินเดีย[9][10] ในทวีปที่มีปัญหาด้านอาหารมากที่สุด ได้แก่ แอฟริกา เอเชีย และอเมริกาใต้ ไม่เพียงแต่จะขาดแคลนอาหารและขาดโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการแจกจ่ายที่ไม่เหมาะสมและการเข้าถึงอาหารไม่เพียงพอ[11]

การวัดสิทธิในอาหารของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จะพิจารณาจากระดับรายได้ของพวกเขา[12] [13]

คำนิยาม แก้

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้รับรู้ถึง "สิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ รวมทั้งอาหารที่เพียงพอ ตลอดจน "สิทธิขั้นพื้นฐานที่จะปราศจากความหิวโหย" ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทั้งสองมีความแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น "เสรีภาพจากความหิวโหย" (ซึ่งความคิดเห็นทั่วไปที่ 12 กำหนดว่าเร่งด่วนและทันที)[14]) อาจวัดได้จากจำนวนผู้ที่ทุกข์ทรมานจากภาวะทุพโภชนาการและการตายจากภาวะอดอยากอย่างรุนแรงที่สุด ขณะที่ "สิทธิที่จะได้รับอาหารที่เพียงพอ" เป็นมาตรฐานที่สูงกว่ามาก ซึ่งรวมถึงการขาดสารอาหาร คุณภาพที่เกี่ยวข้องกับอาหารอย่างครบถ้วน ซึ่งรวมถึงความปลอดภัย ความหลากหลาย และศักดิ์ศรี โดยสรุปองค์ประกอบทั้งหมดที่จำเป็นต่อขีวิตเพื่อให้มีความกระตือรือร้นและมีสุขภาพดี

จากคำจำกัดความข้างต้นผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิในอาหาร ในปี ค.ศ. 2002 ได้ให้คำจำกัดความไว้ดังนี้:[15]

สิทธิในการเข้าถึงอย่างสม่ำเสมอ ถาวร และไม่จำกัด ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยการซื้อทางการเงิน ซึ่งต้องเพียงพอทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สอดคล้องกับประเพณีวัฒนธรรมของประชาชนที่ผู้บริโภคเป็น และเพื่อให้มั่นใจว่าร่างกายและจิตใจ ชีวิตส่วนตัวและส่วนรวมได้ถูกเติมเต็มให้มีเกียรติและปราศจากความกลัว

คำจำกัดความนี้มีองค์ประกอบเชิงบรรทัดฐานทั้งหมดที่อธิบายไว้โดยละเอียดในความคิดเห็นทั่วไปที่ 12 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม:[16][note 1]

สิทธิในการได้รับอาหารที่เพียงพอจะเกิดขึ้นเมื่อชาย หญิง และเด็กทุกคน คนเดียวหรือในชุมชนกับผู้อื่น มีอาหารหรือมีวิธีการทางร่างกายและเศรษฐกิจที่เพียงพอสำหรับการจัดหาอาหาร

ขอบเขต แก้

Jean Ziegler อดีตผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิในอาหารได้กำหนดขอบเขตของสิทธิไว้สามประการ ได้แก่[4][14]

  • ความพร้อม หมายถึง ความเป็นไปได้ในการจัดหาอาหารด้วยตนเองโดยตรงจากที่ดินที่ผลิต หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ หรือสำหรับระบบการจำหน่าย การแปรรูป และระบบการตลาดที่ทำงานได้ดี ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายอาหารจากแหล่งผลิตไปยังที่ที่ต้องการได้ตามความต้องการ
  • การเข้าถึงได้ หมายถึง การต้องรับประกันการเข้าถึงอาหารทั้งทางเศรษฐกิจและทางกายภาพ ด้านหนึ่ง การเข้าถึงทางเศรษฐกิจหมายความว่าอาหารควรมีราคาไม่แพงสำหรับการรับประทานอาหารที่เพียงพอโดยไม่กระทบต่อความต้องการพื้นฐานอื่น ๆ ในทางกลับกัน ผู้ที่มีความเปราะบางทางร่างกาย เช่น ผู้ป่วย เด็ก ผู้พิการ หรือผู้สูงอายุ สามารถได้รับอาหารได้เช่นกัน
  • ความเพียงพอ หมายถึง อาหารต้องเป็นไปตามความต้องการอาหารของแต่ละคน เช่น อายุ สภาพความเป็นอยู่ สุขภาพ อาชีพ เพศ วัฒนธรรม และศาสนา เป็นต้น อาหารต้องมีความปลอดภัยและมาตรการป้องกันที่เพียงพอทั้งโดยภาครัฐและเอกชน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของอาหารผ่านการเจือปน และ/หรือผ่านสุขอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดีหรือการจัดการที่ไม่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อาหาร และต้องระมัดระวังในการระบุและหลีกเลี่ยงหรือทำลายสารพิษที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ

นอกจากนี้ การเลือกปฏิบัติใด ๆ ในการเข้าถึงอาหาร ตลอดจนวิธีการและสิทธิในการจัดหาอาหาร ด้วยเหตุผลทางเชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา อายุ ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรืออื่น ๆ รวมทั้ง แหล่งกำเนิดระดับชาติหรือทางสังคม ทรัพย์สิน การเกิดหรือ สถานะอื่นถือเป็นการละเมิดสิทธิในอาหาร

มาตรฐานอาหารที่ตกลงกันไว้ แก้

ประชาคมระหว่างประเทศยังระบุมาตรฐานว่าด้วยเรื่องสิทธิในอาหารที่ตกลงกันโดยทั่วไป เช่น ในการประชุมอาหารโลก และกิจการระหว่างประเทศว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารโลก ในปี ค.ศ. 1974 กฎเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำสำหรับการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง ในปี ค.ศ. 1977 ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิในการพัฒนา ในปี ค.ศ. 1986 ปณิธานของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ ในปี ค.ศ. 1987/90 ปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ในปี ค.ศ. 1992 และปฏิญญาอิสตันบูลว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ในปี ค.ศ. 1996[17]

ประวัติ แก้

สิทธิในเชิงบวกและเชิงลบ แก้

เป็นความแตกต่างตามประเพณีระหว่างสิทธิมนุษยชนสองประเภท โดยในแง่หนึ่งสิทธิเชิงลบหรือนามธรรมที่ได้รับการเคารพจากการไม่แทรกแซง ในทางกลับกัน สิทธิเชิงบวกหรือเป็นรูปธรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรเพื่อการบรรลุผล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีการโต้แย้งกันว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ที่จะแยกแยะระหว่างสิทธิสองประเภทนี้อย่างชัดเจน[18]

สิทธิในอาหารสามารถแบ่งออกได้เป็น สิทธิเชิงลบในการได้มาซึ่งอาหารด้วยการกระทำของตนเอง และสิทธิเชิงบวกที่จะได้รับอาหารหากไม่สามารถเข้าถึงได้ สิทธิในอาหารเชิงลบได้รับการยอมรับตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1215 ซึ่งมหากฎบัตรของอังกฤษระบุว่า: "ไม่มีใครจะถูกปรับเท่าที่พวกเขาถูกลิดรอนค่าครองชีพ"[18]

พัฒนาการระหว่างประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1941 เป็นต้นไป แก้

ส่วนนี้ให้ภาพรวมของการพัฒนาระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งและการดำเนินการตามสิทธิในอาหารตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นไป[19]

อมรรตยะ เสน ได้รับรางวัลโนเบลในปี 1998 ส่วนหนึ่งจากผลงานของเขาในการแสดงให้เห็นว่าความอดอยากและความอดอยากครั้งใหญ่ในยุคปัจจุบันไม่ได้เกิดจากการขาดอาหาร แต่มักเกิดจากปัญหาในเครือข่ายการจำหน่ายอาหารหรือจากนโยบายของรัฐบาล[23]

สถานะทางกฎหมาย แก้

สิทธิในอาหารได้รับการคุ้มครองภายใต้ สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และกฎหมายมนุษยธรรม[5][24]

กฎหมายระหว่างประเทศ แก้

สิทธิในอาหารเป็นที่ยอมรับในปี 1948 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (มาตรา 25) เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอและได้รับการประดิษฐานอยู่ในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ในปี 1966[5] พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในปี 2009 ทำให้สิทธิในอาหารมีความชอบธรรมในระดับสากล[19] ในปี 2012 มีการนำอนุสัญญาความช่วยเหลือด้านอาหารมาใช้ทำให้เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความช่วยเหลือด้านอาหารมีผลผูกพันทางกฎหมายฉบับแรก

ตราสารระหว่างประเทศ แก้

สิทธิในอาหารยังได้รับการยอมรับในตราสารระหว่างประเทศที่เฉพาะเจาะจงมากมาย เช่น อนุสัญญาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ค.ศ. 1948 (มาตรา 2) อนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ภัย ค.ศ. 1951 (มาตรา 20 และ 23)[25] อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ. 1989 ( บทความ 24(2)(c) และ 27(3)), อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ ค.ศ. 1979 (มาตรา 12(2)) หรืออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ค.ศ. 2007 (มาตรา 25) (ฉ) และ 28(1))[5]

ตราสารระดับภูมิภาค แก้

นอกจากนี้ สิทธิในอาหารยังได้รับการยอมรับในตราสารระหว่างภูมิภาค เข่น

นอกจากนี้ยังมีตราสารดังกล่าวในรัฐธรรมนูญระดับชาติหลายแห่ง[5]

ตราสารที่ไม่ผูกพันตามกฎหมาย แก้

มีตราสารสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไม่ผูกพันทางกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในอาหาร ซึ่งรวมถึงข้อเสนอแนะ แนวทาง มติ หรือประกาศ โดยที่มีรายละเอียดมากที่สุดคือหลักเกณฑ์ด้านสิทธิในอาหารในปี 2004[5] โดยเป็นเครื่องมือที่นำไปปฏิบัติได้จริงเพื่อช่วยให้ได้รับอาหารเพียงพอ หลักเกณฑ์ด้านสิทธิในอาหารไม่ได้มีผลผูกพันทางกฎหมาย เป็นขอแนะนำที่รัฐเลือกได้ว่าจะปฏิบัติตามภาระผูกพันอย่างไรภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศทั้งมาตรา 11 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม หรือข้อสุดท้ายของคำนำของรัฐธรรมนูญขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ปี 1945 ระบุว่า:[25]

ประเทศที่ยอมรับรัฐธรรมนูญนี้มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสวัสดิการร่วมกันโดยการดำเนินการแยกต่างหากและเป็นกลุ่มในส่วนของพวกเขาเพื่อจุดประสงค์ของ: การเพิ่มระดับโภชนาการและมาตรฐานการครองชีพ ... และทำให้ ... สร้างความมั่นใจว่าเสรีภาพของมนุษยชาติจากความหิวโหย

เอกสารอื่น ๆ แก้

ในปี 1993 สนธิสัญญาความมั่นคงด้านอาหารระหว่างประเทศได้รับการพัฒนาในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา[27]

ในปี 1998 การประชุมว่าด้วยยุทธศาสตร์ฉันทามติว่าด้วยสิทธิในอาหาร ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองซานตาบาร์บารา รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านความหิวโหยจากห้าทวีป[28]

ในปี 2010 กลุ่มองค์กรระดับชาติและระดับนานาชาติได้จัดทำข้อเสนอเพื่อแทนที่นโยบายเกษตรร่วม ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะครบกำหนดในการเปลี่ยนแปลงในปี 2013 บทความแรกของนโยบายอาหารและการเกษตรแห่งใหม่คือ "ถือว่าอาหารเป็นสิทธิมนุษยชนสากล ไม่ใช่แค่สินค้า”[29]

ภาระผูกพันของรัฐ แก้

ภาระผูกพันของรัฐที่เกี่ยวข้องกับสิทธิในอาหารนั้นเป็นที่ยอมรับภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ[5] โดยการลงนามใน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) รัฐตกลงที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรที่มีอยู่ของตน เพื่อให้บรรลุถึงการบรรลุถึงสิทธิที่จะได้รับอาหารอย่างเพียงพออย่างเป็นลำดับขั้น พวกเขายังรับทราบถึงบทบาทสำคัญของความร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างประเทศในบริบทนี้ [30] ภาระหน้าที่นี้ได้รับการยืนยันอีกครั้งโดยคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม[14] ผู้ลงนามในหลักเกณฑ์ด้านสิทธิในอาหาร ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามสิทธิ์ในอาหารในระดับชาติ

ในความคิดเห็นทั่วไปข้อที่ 12 โดยคณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ตีความภาระพูกผันของรัฐเป็น 3 ประเภท ได้แก่[31]

  1. เคารพ หมายความว่ารัฐต้องไม่ขัดขวางโดยพลการในการไม่ให้ผู้คนเข้าถึงอาหาร
  2. ปกป้อง หมายความว่ารัฐควรใช้มาตรการเพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรหรือบุคคลจะไม่กีดกันบุคคลในการเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ
  3. เติมเต็ม (อำนวยความสะดวกและจัดหา) หมายถึงว่ารัฐบาลต้องมีส่วนร่วมเชิงรุกในกิจกรรมที่มุ่งมั่นเสริมสร้างในการเข้าถึงทรัพยากรเพื่อดำรงชีพของประชาขน รวมทั้งความมั่นคงทางอาหาร นอกจานี้ หากด้วยเหตุผลที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น ในยามสงครามหรือหลังภัยพิบัติทางธรรมชาติ กลุ่มหรือบุคคลไม่สามารถมีสิทธิในอาหารได้รัฐก็มีหน้าที่ที่จะต้องให้สิทธิ์นั้นโดยตรง[4]

สิ่งเหล่านี้ได้รับการรับรองจากรัฐอีกครั้งเมื่อสภาองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ รับรองแนวทางด้านสิทธิในอาหาร[4]

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ตระหนักดีว่าสิทธิที่จะเป็นอิสระจากความหิวโหยต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศ และเกี่ยวข้องกับเรื่องของการผลิต การเกษตร และอุปทานทั่วโลก มาตรา 11 ระบุว่า:

รัฐภาคีแห่งกติกานี้... จะต้องดำเนินมาตรการด้วยตนเองและโดยผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมถึงแผนงานเฉพาะซึ่งจำเป็น: (a) เพื่อปรับปรุงวิธีการผลิต การเก็บรักษา และจำหน่ายอาหารโดยใช้ความรู้ทางวิชาการและวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่ โดยเผยแพร่องค์ความรู้ตามหลักโภชนาการ และโดยการพัฒนาหรือปฏิรูป ระบบเกษตรกรรม ในลักษณะที่จะบรรลุการพัฒนาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (b) คำนึงถึงปัญหาของประเทศผู้นำเข้าอาหารและส่งออกอาหาร เพื่อให้แน่ใจว่ามีการกระจายเสบียงอาหารทั่วโลกอย่างเท่าเทียมกันในส่วนที่เกี่ยวกับความต้องการ

การดำเนินการตามสิทธิในมาตรฐานอาหารในระดับชาติมีผลต่อรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ศาล สถาบัน นโยบายและโครงการต่าง ๆ ของประเทศ รวมถึงสำหรับญัตติด้านความมั่นคงทางอาหารต่าง ๆ เช่น การประมง ที่ดิน การมุ่งเน้นกลุ่มที่เปราะบาง และการเข้าถึงทรัพยากร[5]

ยุทธศาสตร์ระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุถึงสิทธิในอาหารอย่างก้าวหน้าควรทำหน้าที่สี่ประการ ได้แก่

  1. กำหนดภาระผูกพันที่สอดคล้องกับสิทธิในการได้รับอาหารที่เพียงพอ ไม่ว่าจะเป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลหรือของเอกชน
  2. ปรับปรุงการประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล ซึ่งกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ อาจทำให้เกิดผลต่อการตระหนักถึงสิทธิในอาหาร
  3. กำหนดเป้าหมาย เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดที่วัดได้ กำหนดกรอบเวลาที่ควรบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะ
  4. จัดให้มีกลไกเพื่อให้แน่ใจว่าทำให้เกิดความคิดริเริ่มทางกฎหมายใหม่ หรือนโยบายเกี่ยวกับสิทธิ[5]
ระหว่างประเทศ

สิทธิในอาหารได้กำหนดภาระผูกพันให้กับทุกรัฐไม่เพียงต่อบุคคลที่อาศัยอยู่ในอาณาเขตของตนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประชากรของรัฐอื่นด้วย สิทธิในอาหารจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อปฏิบัติตามภาระผูกพันทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ ด้านหนึ่ง เป็นผลจากสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะทุพโภชนาการ และความไม่มั่นคงด้านอาหาร ในทางกลับกัน ประชาคมระหว่างประเทศสามารถมีส่วนร่วมได้ก็ต่อเมื่อมีการจัดตั้งกรอบกฎหมายและสถาบันในระดับชาติเท่านั้น[5]

การไม่เลือกปฏิบัติ

ภายใต้มาตรา 2(2) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รัฐบาลตกลงว่าจะใช้สิทธิในอาหารโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลทางเพศ สีผิว เชื้อชาติ อายุ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองหรืออื่น ๆ แหล่งกำเนิดระดับชาติหรือทางสังคม ทรัพย์สิน การเกิด หรือสถานะอื่น ๆ[4] คณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เน้นย้ำถึงความเอาใจใส่เป็นพิเศษที่ควรมอบให้กับเกษตรกรผู้ด้อยโอกาสและเกษตรกรชายขอบ ซึ่งรวมถึงเกษตรกรที่เป็นผู้หญิงในสิ่งแวดล้อมชนบท[32]

การยอมรับทั่วโลก แก้

กรอบกฎหมาย แก้

 
ประเทศที่กำลังพัฒนากฎหมาย หรือได้นำกรอบกฎหมายสิทธิในอาหารมาใช้ (19)[1]
  นำกรอบกฎหมายมาใช้ (10)
  อยู่ระหว่างร่างกรอบกฎหมาย (9)

กรอบกฎหมายเป็นเทคนิคทางกฎหมายที่ใช้เป็นที่อยู่ในการแก้ปัญหาข้ามภาคส่วน"[33] กรอบกฎหมายมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่าบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะกำหนดหลักการหรือภาระผูกพันทั่วไป อย่างไรก็ตาม หน่วยงานผู้มีอำนาจยังต้องกำหนดกฎหมายเพิ่มเติม เพื่อดำเนินมาตรการเฉพาะต่อไป[34] คณะกรรมการสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้แนะนำว่าควรนำกรอบกฎหมายมาใช้เป็น "เครื่องมือสำคัญในการดำเนินยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยสิทธิในอาหาร"[35] ซึ่งมีสิบประเทศที่ยอมรับและเก้าประเทศที่กำลังพัฒนากรอบกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร หรือสิทธิในอาหาร การพัฒนานี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีต่อ ๆ ไป[7] บ่อยครั้งที่กฎหมายเหล่านี้เรียกว่ากฎหมายความมั่นคงด้านอาหารแทนที่จะเป็นกฎหมายด้านอาหาร แต่ผลมักจะคล้ายคลึงกัน[34]

ข้อดีของกรอบกฎหมายรวมถึงเนื้อหาและขอบเขตของสิทธิสามารถระบุเพิ่มเติมได้ ภาระหน้าที่ของรัฐและเอกชนสามารถระบุรายละเอียดได้ สามารถสร้างกลไกทางสถาบันที่เหมาะสมได้ และให้สิทธิในการเยียวยาได้ ข้อดีเพิ่มเติมของกรอบกฎหมาย ได้แก่ การเสริมสร้างความรับผิดชอบของรัฐบาล การติดตามตรวจสอบ ช่วยให้เจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าใจบทบาทของตน ปรับปรุงการเข้าถึงศาลโดยจัดให้มีกลไกการขอความช่วยเหลือด้านการบริหาร[34] อย่างไรก็ตาม บทบัญญัติสำหรับภาระผูกพันและการเยียวยาในกรอบกฎหมายที่มีอยู่นั้นไม่ได้ละเอียดถี่ถ้วนเสมอไป และไม่ชัดเจนเสมอไปว่าสิ่งใดที่ต้องเพิ่มเข้าไปเพื่อให้สิทธิในอาหารนั้นสมเหตุสมผล[34]

ในปี ค.ศ. 2011 ได้มีสิบประเทศที่ได้นำกรอบกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารหรือสิทธิในอาหารมาใช้ ได้แก่ อาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา อินโดนีเซีย นิการากรัว เปรู และเวเนซุเอลา[34] นอกจากนี้ ในปี 2554 เก้าประเทศต่อไปนี้กำลังร่างกรอบกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหารหรือสิทธิในอาหาร: ฮอนดูรัส อินเดีย มาลาวี เม็กซิโก โมซัมบิก ปารากวัย แอฟริกาใต้ แทนซาเนีย และยูกันดา[34] สุดท้ายนี้ เอลซัลวาดอร์ นิการากัว และเปรู กำลังร่างเพื่อปรับปรุง แทนที่ หรือเสริมความแข็งแกร่งให้กับกรอบกฎหมาย[34]

รัฐธรรมนูญ แก้

 
ประเทศที่มีสิทธิในอาหารตามรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน (23).[1]
  เป็นสิทธิแยกและเอกเทศ (9)
  ของประชากรเฉพาะกลุ่ม (10)
  เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนที่จะมีมาตรฐานการครองชีพ คุณภาพชีวิต การพัฒนา หรือสิทธิในการทำงานที่เพียงพอ (7)
บันทึก: บราซิลมีทั้งสามและแอฟริกาใต้มีอดีตสองแห่ง รวมอยู่ในแต่ละหมวดหมู่ แต่นับรวมครั้งเดียว
 
ประเทศที่สิทธิตามรัฐธรรมนูญในอาหารมีความชัดเจนในสิทธิที่กว้างขึ้น หรือมีความชัดเจนในหลักการสั่งการ (41)[1]
  โดยปริยายในสิทธิตามรัฐธรรมนูญในวงกว้าง (31)
  หลักการสั่งตามรัฐธรรมนูญที่ชัดเจน (13)
บันทึก: เอธิโอเปีย มาลาวี และปากีสถาน เกิดขึ้นในทั้งสองประเภท; รวมอยู่ในแต่ละหมวดแต่นับเป็นครั้งเดียวสำหรับยอดทั้งหมด

มีหลายวิธีที่รัฐธรรมนูญสามารถนำสิทธิในอาหารหรือบางแง่มุมมาพิจารณาได้[36] ณ ปี ค.ศ. 2011 มีรัฐธรรมนูญ 56 ฉบับที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองสิทธิในอาหารในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง[7] การรับรองตามรัฐธรรมนูญสามประเภทหลัก ได้แก่ สิทธิโดยชัดแจ้ง ตามนัยในสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง หรือเป็นส่วนหนึ่งของหลักการโดยตรง นอกจากนั้น สิทธิยังสามารถรับรู้โดยอ้อมเมื่อสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ถูกตีความโดยตุลาการ[36]

เป็นสิทธิโดยชัดแจ้ง แก้

ประการแรก สิทธิในอาหารได้รับการยอมรับอย่างชัดแจ้งและโดยตรงว่าเป็นสิทธิในตัวเองหรือเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนในวงกว้างใน 23 ประเทศ[37] สามารถแยกแยะความแตกต่างได้สามรูปแบบ

  1. รับรองสิทธิในอาหารว่าเป็นสิทธิที่แยกจากกันและเป็นเอกเทศ มีอยู่ในรัฐธรรมนูญ 9 ประเทศ ได้แก่ โบลิเวีย บราซิล เอกวาดอร์ กายอานา เฮติ เคนยา แอฟริกาใต้ ในรัฐธรรมนูญชั่วคราวของเนปาล (ในฐานะอธิปไตยด้านอาหาร) และนิการากัว (ในการปลอดจากความหิวโหย)[38]
  2. สำหรับกลุ่มประชากรเฉพาะ ซึ่งบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิในอาหารของเด็กได้อยู่ในรัฐธรรมนูญของ 10 ประเทศ ได้แก่ บราซิล โคลอมเบีย คิวบา กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เม็กซิโก ปานามา ปารากวัย และแอฟริกาใต้ รวมถึงสิทธิในอาหารของเด็กพื้นเมืองได้รับการคุ้มครองในรัฐธรรมนูญของคอสตาริกา อีกทั้ง ยังมีสิทธิในอาหารของผู้ต้องขังและนักโทษได้รับการยอมรับเพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญของแอฟริกาใต้[38]
  3. รับรองสิทธิในอาหารอย่างชัดเจนว่าเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนในมาตรฐานการครองชีพ คุณภาพชีวิต หรือการพัฒนาที่เพียงพอ มีอยู่ในรัฐธรรมนูญใน 5 ประเทศ ได้แก่ เบลารุส คองโก มาลาวี มอลโดวา และยูเครน นอกจากนี้ ยังมีบราซิลและซูรินามซึ่งเป็นสองประเทศที่ยอมรับสิทธิในอาหารเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิในการทำงาน[38] มาตรา XX ของกฎหมายพื้นฐานของฮังการีรับรองสิทธิในอาหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชนต่อสุขภาพ[39]

โดยปริยายหรือตามหลักการสั่ง แก้

ประการที่สอง 31 ประเทศต่อไปนี้ได้ยอมรับโดยปริยายถึงสิทธิในอาหารในสิทธิมนุษยชนในวงกว้าง ได้แก่[36] อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน เบลเยียม โบลิเวีย บุรุนดี กัมพูชา สาธารณรัฐเช็ก คองโก คอสตาริกา ไซปรัส เอกวาดอร์ เอลซัลวาดอร์ อิเควทอเรียลกินี เอริเทรีย เอธิโอเปีย ฟินแลนด์ จอร์เจีย เยอรมนี กานา กัวเตมาลา กินี คีร์กีซสถาน มาลาวี เนเธอร์แลนด์ ปากีสถาน เปรู โรมาเนีย สวิตเซอร์แลนด์ ไทย ตุรกี และเวเนซุเอลา[40]

ประการที่สาม 10 ประเทศต่อไปนี้ได้ยอมรับอย่างชัดแจ้งถึงสิทธิในอาหารภายในรัฐธรรมนูญว่าเป็นหลักการหรือเป้าหมายคำสั่ง ได้แก่ บังคลาเทศ บราซิล เอธิโอเปีย อินเดีย อิหร่าน มาลาวี ไนจีเรีย ปานามา ปาปัวนิวกินี ปากีสถาน เซียร์ราลีโอน ศรีลังกา และยูกันดา[40]

บังคับใช้ผ่านกฎหมายระหว่างประเทศ แก้

 
ประเทศที่ได้ให้สัตยาบันกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งรับรองสิทธิในอาหาร และในขณะเดียวกัน กฎหมายระหว่างประเทศก็เป็นหลักหรือเท่ากับกฎหมายภายในประเทศ (103)[1]
  การบังคับใช้โดยตรงผ่าน ICESCR CEDAW และCRC (95)
  การบังคับใช้โดยตรงผ่าน ICESCR และ CRC (2)
  บังคับใช้ผ่าน CEDAW และCRC (5)

ในบางประเทศ สนธิสัญญาระหว่างประเทศมีสถานะที่สูงกว่าหรือเท่ากับสถานะทางกฎหมายของประเทศ ดังนั้น สิทธิในอาหารอาจมีผลบังคับใช้โดยตรงผ่านสนธิสัญญาระหว่างประเทศ หากประเทศดังกล่าวเป็นสมาชิกของสนธิสัญญาที่รับรองสิทธินั้น สนธิสัญญาดังกล่าวรวมถึง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (ICESCR) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทุกรูปแบบ (CEDAW) และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (CRC) ไม่รวมประเทศที่สิทธิในอาหารเป็นที่ยอมรับโดยปริยายหรือโดยชัดแจ้งในรัฐธรรมนูญ สิทธิมีผลบังคับใช้โดยตรงในอย่างน้อย 51 ประเทศเพิ่มเติมตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ[41]

ความมุ่งมั่นผ่านกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แก้

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

รัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมต้องทำทุกอย่างเพื่อการันตีว่าต้องทำทุกอย่างเพื่อรับประกันโภชนาการที่เพียงพอ รวมถึงการออกกฎหมายให้มีผลดังกล่าว กติกาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายระดับประเทศในกว่า 77 ประเทศ ในประเทศเหล่านี้ บทบัญญัติสำหรับสิทธิในอาหารในกติกาสามารถอ้างได้ในศาล สิ่งนี้ได้เกิดขึ้นในอาร์เจนตินา (ในกรณีของสิทธิด้านสุขภาพ)[42]

 
ประเทศที่มุ่งมั่นในสิทธิในอาหารโดยให้สัตยาบันผ่านกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (160)[2][3] หมายเหตุ: รัฐภาคีในพิธีสารเลือกรับได้เป็นสมาชิกของพันธสัญญาด้วย

อย่างไรก็ตาม พลเมืองไม่สามารถใช้กติกาดังกล่าวในการดำเนินคดีได้ แต่สามารถทำได้ภายใต้กฎหมายของประเทศเท่านั้น หากประเทศใดไม่ผ่านกฎหมายดังกล่าว พลเมืองก็ไม่มีการสิทธิ์ดำเนินคดี แม้ว่ารัฐจะละเมิดพันธสัญญาก็ตาม การปฏิบัติตามกติกาได้รับการตรวจสอบโดยคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม รวมแล้ว 160 ประเทศได้ให้สัตยาบันในกติกานี้ อีก 32 ประเทศยังไม่ได้ให้สัตยาบันในพันธสัญญานี้ แม้ว่าจะมี 7 ประเทศลงนามแล้วก็ตาม[43] [2]

ทางเลือกของสนธิสัญญา

การลงนามในพิธีสารเลือกรับของ ICESCR ทำให้รัฐยอมรับความสามารถของคณะกรรมการว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่จะได้รับและพิจารณา[44] ข้อร้องเรียนจากบุคคลหรือกลุ่มที่อ้างสิทธิ์ภายใต้กติกาฯ[45] อย่างไรก็ตาม ผู้ร้องเรียนจะต้องใช้การเยียวยาภายในประเทศทั้งหมดแล้ว[46] คณะกรรมการสามารถ "ตรวจสอบ"[47] เพื่อนำไปสู่ "การตั้งถิ่นฐานที่เป็นมิตร"[48] ในกรณีที่มีการละเมิดกติกาอย่างร้ายแรงหรือเป็นระบบ ขั้นแรกให้ขอความร่วมมือกับรัฐภาคีนั้น และสุดท้าย สามารถสรุปผลในการกำลังดำเนินการในรายงานประจำปี"[49] โดยมี 8 ประเทศที่ลงนามในพิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้แก่ โบลิเวีย เอกวาดอร์ บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เอลซัลวาดอร์ มองโกเลีย สโลวาเกีย และสเปน อีก 32 ประเทศได้ลงนามในมาตรการทางเลือก[3]

กลไกที่นำไปสู่การบรรลุสิทธิในอาหาร แก้

Mr. De Schutter ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิในอาหาร ได้เรียกร้องให้มีการจัดตั้งกฎหมายว่าด้วยสิทธิในอาหาร เพื่อให้สามารถแปลเป็นยุทธศาสตร์และสถาบันระดับชาติได้ เพื่อปกป้องสิทธิผู้ใช้ที่ดิน โดยเฉพาะชนกลุ่มน้อย และกลุ่มเปราะบาง นอกจากนี้ เขายังแนะนำให้สนับสนุนเกษตรกรรายย่อย เมื่อเผชิญกับโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ และหยุดความเสื่อมโทรมของดินและน้ำผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ไปสู่การปฏิบัติทางการเกษตร เขายังได้แนะนำการใช้กลยุทธ์เพื่อจัดการกับโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้น[50]

มาตรา 11 ขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิในการบริโภคอาหารอย่างเพียงพอ ได้เสนอแนะกลไกการนำไปปฏิบัติหลายประการ[14] เนื้อหาได้ระบุวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการดำเนินการตามสิทธิในอาหารอย่างเพียงพอจะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจากรัฐหนึ่งไปอีกรัฐหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกรัฐต้องเลือกแนวทางของตนเอง แต่กติกาชัดเจนกำหนดให้แต่ละรัฐภาคีดำเนินการตามที่จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าทุกคนปราศจากความหิวโหย และจะได้รับสิทธิที่จะได้รับอาหารอย่างเพียงพอโดยเร็วที่สุด

เนื้อหาเน้นว่าสิทธิในอาหารต้องปฏิบัติตามหลักการของความรับผิดชอบ ความโปร่งใส การมีส่วนร่วมของประชาชน การกระจายอำนาจ ความสามารถทางกฎหมาย และความเป็นอิสระของตุลาการ ในแง่ของกลยุทธ์เพื่อดำเนินการใช้สิทธิในอาหาร มาตรานี้ได้ระบุว่ารัฐควรแยกแยะและระบุปัญหาสำคัญในทุกด้านของระบบอาหาร รวมถึงการผลิตและการแปรรูปอาหาร การเก็บรักษาอาหาร การจำหน่ายปลีก การตลาดและการบริโภค กลยุทธ์การดำเนินการควรให้ความสนใจเป็นพิเศษกับความจำเป็นในการป้องกันการเลือกปฏิบัติในการเข้าถึงร้านอาหารและเครือข่ายการค้าปลีก หรือทรัพยากรสำหรับการปลูกอาหาร ในฐานะส่วนหนึ่งของภาระผูกพันในการปกป้องฐานทรัพยากรอาหารให้กับประชาชน รัฐควรทำตามขั้นตอนที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมของภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาสังคมสอดคล้องกับสิทธิในอาหาร และเมื่อใดก็ตามที่รัฐเผชิญกับข้อจำกัดด้านทรัพยากรที่รุนแรง ไม่ว่าจะเกิดจากกระบวนการของการปรับตัวทางเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย สภาพภูมิอากาศหรือปัจจัยอื่น ๆ ควรดำเนินมาตรการเพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิในการได้รับอาหารที่เพียงพอนั้นได้รับการเติมเต็มโดยเฉพาะในกลุ่มประชากรที่อ่อนแอ[14]

ความสัมพันธ์กับสิทธิอื่น ๆ แก้

แนวคิดเรื่องการพึ่งพาอาศัยกันและการแบ่งแยกไม่ได้ของสิทธิมนุษยชนทั้งหมดเป็นหลักการพื้นฐานของ สหประชาชาติ สิ่งนี้ได้รับการยอมรับในปี 1993 ปฏิญญาเวียนนาและแผนปฏิบัติการ ซึ่งอ่านว่า "สิทธิมนุษยชนทั้งหมดเป็นสากล แบ่งแยกไม่ได้ และต้องพึ่งพาอาศัยกัน และสัมพันธ์กัน" สิทธิในอาหารถือว่ามีความเชื่อมโยงกับสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะดังต่อไปนี้ ได้แก่ สิทธิในการมีชีวิต, สิทธิในการดำรงชีวิต, สิทธิด้านสุขภาพ, สิทธิในทรัพย์สิน, เสรีภาพ ของการแสดงออก, เสรีภาพของข้อมูล, สิทธิในการศึกษา, เสรีภาพในการสมาคม และ สิทธิในการดื่มน้ำ[51] รวมถึง สิทธิ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ได้แก่ สิทธิในการทำงาน, สิทธิ์ในการประกันสังคม, สิทธิ์ในสวัสดิการสังคม,[52] และสิทธิในมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอ

ตัวอย่างเช่น ตามที่คณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินการตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม "สิทธิในการดื่มน้ำ เป็นข้อกำหนดเบื้องต้นสำหรับการทำให้เกิดสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ" จำเป็นต้องมีน้ำเพียงพอเพื่อให้มีอาหารเพียงพอโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเกษตรกรชาวนา จำเป็นต้องมีการเข้าถึงแหล่งน้ำที่ยั่งยืนเพื่อการเกษตรเพื่อให้ตระหนักถึงสิทธิในอาหาร[53] สิ่งนี้ใช้กับการเกษตรกรรมเพื่อยังชีพมากขึ้น

ดูเพิ่ม แก้

บันทึก แก้

เชิงอรรถ
  1. ความคิดเห็นทั่วไปไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่เป็นการตีความอำนาจของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมายกับรัฐภาคีของสนธิสัญญานี้
การอ้างอิง
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Knuth 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 ประมวลสนธิสัญญาสหประชาชาติ 2012a
  3. 3.0 3.1 3.2 ประมวลสนธิสัญญาสหประชาชาติ 2012b
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 Ziegler 2012: "What is the right to food?"
  5. 5.00 5.01 5.02 5.03 5.04 5.05 5.06 5.07 5.08 5.09 5.10 5.11 Special Rapporteur on the Right to Food 2012a: "Right to Food."
  6. International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights 1966: article 2(1), 11(1) and 23.
  7. 7.0 7.1 7.2 Knuth 2011: 32.
  8. Ahluwalia 2004: 12.
  9. Westcott, Catherine and Nadia Khoury and CMS Cameron McKenna,The Right to Food, (Advocates for International Development, October 2011)http://a4id.org/sites/default/files/user/Right%20to%20Food%20Legal%20Guide.pdf เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  10. "Aadhaar vs. Right to food". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-26.
  11. Ahluwalia 2004: iii.
  12. "Human Rights Measurement Initiative – The first global initiative to track the human rights performance of countries". humanrightsmeasurement.org. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
  13. "Right to food - HRMI Rights Tracker". rightstracker.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 Committee on Economic, Social and Cultural Rights 1999.
  15. Special Rapporteur on the Right to Food 2008: para. 17; quoted in Special Rapporteur on the Right to Food 2012a.
  16. Committee on Economic, Social and Cultural Rights 1999: para. 6.
  17. Ahluwalia 2004: footnote 23.
  18. 18.0 18.1 Food and Agriculture Organization 2002: "The road from Magna Carta."
  19. 19.0 19.1 Special Rapporteur on the Right to Food 2010a: 4.
  20. 20.0 20.1 Ahluwalia 2004: 10.
  21. 21.0 21.1 Food and Agriculture Organization 2012b.
  22. Special Rapporteur on the Right to Food 2012a: "อาณัติ."
  23. Steele, Jonathan (19 April 2001). "The Guardian Profile: Amartya Sen". The Guardian. London.
  24. Ahluwalia 2004: 10-12.
  25. 25.0 25.1 Ahluwalia 2004: 11.
  26. คณะกรรมาธิการแอฟริกาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสิทธิประชาชน: para. 64-66 (p. 26).
  27. The International Food Security Treaty Association 2012
  28. The International Food Security Treaty Association 2012: "About the IFST."
  29. Proposal for a New European Agriculture and Food policy that meets the challenges of this century 2010.
  30. International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights 1966: article 2(1), 11(1) and 23; Ziegler 2012: "What is the right to food?"
  31. Committee on Economic, Social and Cultural Rights 1999
  32. Committee on Economic, Social and Cultural Rights 1999: para. 7.
  33. Knuth 2011: 30.
  34. 34.0 34.1 34.2 34.3 34.4 34.5 34.6 Knuth 2011: 30-1.
  35. Committee on Economic, Social and Cultural Rights 1999: para. 29; cited in
  36. 36.0 36.1 36.2 Knuth 2011: 14.
  37. Knuth 2011: 14; 36.
  38. 38.0 38.1 38.2 Knuth 2011: 21.
  39. https://jak.ppke.hu/uploads/articles/12332/file/Kovacs_Julcsi_tezisak.pdf เก็บถาวร 2023-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [bare URL PDF]
  40. 40.0 40.1 Knuth 2011: 35-6.
  41. Knuth 2011: 23, 32
  42. Golay 2006: 21; ดูเพิ่ม Golay 2006: 27-8.
  43. Food and Agriculture Organization 2002;Ahluwalia 2004: 20.
  44. พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 2008: มาตรา 1
  45. พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 2008: มาตรา 2
  46. พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 2008: มาตรา 3
  47. พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 2008: มาตรา 8
  48. พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 2008: มาตรา 7
  49. พิธีสารเลือกรับของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม 2008: มาตรา 11
  50. De Schutter 2012, para. 3.
  51. {{harvnb|Ahluwalia|2004} }: 14
  52. Golay 2006: 13.
  53. Committee on Economic, Social and Cultural Rights 2002: para. 1

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้