ชาวสิงหล

(เปลี่ยนทางจาก สิงหล)

ชาวสิงหล (สิงหล: සිංහල ජාතිය) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษากลุ่มอินโด-อารยันบนเกาะลังกาของประเทศศรีลังกา[15] มีประชากร 16.2 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 75 จากประชากรทั้งหมดในศรีลังกา[2] ชาวสิงหลมีอัตลักษณ์ทางด้านภาษา ประวัติศาสตร์ และศาสนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท[16] มีจำนวนน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกซึ่งเข้ารีตในยุคอาณานิคม ชาวสิงหลส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในจังหวัดกลางเหนือ, จังหวัดกลาง, จังหวัดใต้ และจังหวัดตะวันตก

สิงหล
සිංහල ජාතිය
หญิงสิงหลสวมชุดส่าหรีพื้นเมือง
ประชากรทั้งหมด
17 ล้านคน [1]
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 ศรีลังกา       15,173,820 (74.88%)
(2012)[2]
 สหราชอาณาจักร~100,000 (2010)[3]
 ออสเตรเลีย85,000 (2016)[4]
 อิตาลี~56,000 (2016)[5]
 แคนาดา19,830 (2006)[6]
 สหรัฐอเมริกา41,000 (2016)[7]
 สิงคโปร์25,000 (2016)[8]
 มาเลเซีย10,000 (2009)[9]
 นิวซีแลนด์7,257 (2006)[10]
 อินเดีย4,100[11][12]
ภาษา
สิงหล · อังกฤษ
ศาสนา
ส่วนใหญ่นับถือเถรวาท
ส่วนน้อยนับถือโรมันคาทอลิก
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชนกลุ่มน้อยในเอเชียใต้[13]
ชาวทมิฬ (โดยเฉพาะชาวทมิฬศรีลังกา)[13]
ชนชาติออสโตรเอเชียติก[14]

ใน มหาวงศ์ และ ทีปวงศ์ ซึ่งเป็นมหากาพย์ช่วงศตวรรษที่ 3-5 ซึ่งบันทึกโดยพระสงฆ์แห่งอนุราธปุรมหาวิหารยะ (Anuradhapura Maha Viharaya) ในศรีลังกา ระบุว่าเจ้าชายวิชยะ (Vijaya) พร้อมบรรพบุรุษของชาวสิงหลอพยพจากเมืองสิงหปุระ (Sinhapura) ซึ่งตั้งอยู่ในอนุทวีป ไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะลังกาเมื่อ 543 ปีก่อนคริสต์ศักราช[17]

นิรุกติศาสตร์

แก้

สิงหลเป็นคำจากภาษาสันสกฤตซึ่งภาษาในยุคกลางที่เทียบได้คือสีหละ ส่วนคำในภาษาสิงหลจริง ๆ คือ เฮลา ความหมายของคำนี้คือสิงโต[18]

ศาสนา

แก้

ศาสนาพุทธในประเทศศรีลังกาเป็นแบบเถรวาทเช่นเดียวกับไทย ในเอกสารภาษาบาลี (เช่นมหาวงศ์) อ้างว่าชาวสิงหลคือชาติพันธุ์ที่ถูกกำหนดให้พิทักษ์พุทธศาสน์ ใน ค.ศ. 1988 ประชาชนที่ใช้ภาษาสิงหลร้อยละ 93 ระบุตัวตนว่าเป็นพุทธศาสนิกชน[19] อย่างไรก็ตามชาวสิงหลพุทธมีมุมมองและการปฏิบัติศาสนกิจใกล้เคียงกับฮินดู ทั้งมีคำสอนที่ใกล้เคียงกัน ชาวสิงหลพุทธจึงรับองค์ประกอบทางศาสนาของฮินดูมาปรับใช้ในวัฒนธรรมทางศาสนา โดยนำยึดโยงกับความเชื่อพื้นเมืองดั้งเดิมและธรรมเนียมการนับถือผี การบูชาเทพเจ้าหรือปีศาจ[20][21][22]

คณนาถ โอเพเยเสเกเร (Gananath Obeyesekere) นักมานุษยวิทยาชาวศรีลังกา และกิตสิริ มาลัลโคทา (Kitsiri Malalgoda) เรียกศาสนาพุทธของชาวสิงหลว่า "ศาสนาพุทธนิกายโปรเตสแตนต์" ซึ่งเลียนแบบกลยุทธ์ในการเผยแผ่ศาสนาของมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนต์ในยุคอาณานิคมบริติช โดยมีการจัดระเบียบการปฏิบัติศาสนกิจ การจัดตั้งโรงเรียนพุทธเพื่อให้ความรู้แก่ยุวชนพุทธ รวมทั้งมีการก่อตั้งองค์กรของชาวพุทธ เช่น ยุวพุทธสมาคม (Young Men's Buddhist Association) และมีการพิมพ์แผ่นพับเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกป้องพระพุทธศาสนาทั้งในการโต้วาทีหรือในความขัดแย้งทางศาสนา[23]

มีคริสต์ศาสนิกชนเชื้อสายสิงหลจำนวนมากในกลุ่มจังหวัดชายทะเลของศรีลังกาอย่างมีนัยสำคัญ[20] มีการเผยแผ่ศาสนาคริสต์สู่ชาวสิงหลตั้งแต่ยุคที่เกาะลังกาตกเป็นอาณานิคมโปรตุเกส ดัตช์ และสหราชอาณาจักร ตามช่วงระยะเวลาปกครอง[24] โดยมากคริสต์ศาสนิกชนชาวสิงหลนับถือนิกายโรมันคาทอลิก ส่วนน้อยเป็นโปรเตสแตนต์[19] มีศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่เมืองนิกอมโบ (Negombo)

จากการสำรวจของแกลลัพโพล (Gallup poll) พบว่าชาวศรีลังการ้อยละ 99 ระบุว่าศาสนามีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน[25]

พันธุกรรม

แก้
 
ระยะห่างทางพันธุกรรมของชาวสิงหลกับชนกลุ่มอื่นในดินแดนอนุทวีป ตามการวิเคราะห์ Alu Polymorphism

การศึกษาในยุคใหม่ชี้ให้เห็นถึงลักษณะเด่นที่มีร่วมกับชาวเบงกอลและชาวโอดิชา และมีอิทธิพลจากชาวทมิฬเล็กน้อย การศึกษาแสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์กับประชากรชาวคุชราตและชาวปัญจาบซึ่งยังสามารถสังเกตได้[13][26] การศึกษาอื่น ๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับอดีต ยังแสดงให้เห็นว่าชาวสิงหลมีการผสมผสานทางพันธุกรรมจากประชากรในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มที่ใช้ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก[27][28] โดยเฉพาะ Y-DNA, mtDNA haplogroups และเครื่องหมายทางพันธุกรรมของอิมมูโนโกลบูลินในหมู่ชาวสิงหล เป็นตัวอย่างซึ่งแสดงอิทธิพลทางพันธุกรรมของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบในหลายกลุ่มประชากรของอินเดียในบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือที่ชาวสิงหลมีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรม[29][30][31]

อ้างอิง

แก้
  1. "Sinhala". Ethnologue.
  2. 2.0 2.1 "A2 : Population by ethnic group according to districts, 2012". Department of Census & Statistics, Sri Lanka. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-28. สืบค้นเมื่อ 2018-04-08.
  3. Nihal Jayasinghe. (2010). Letter to William Hague MP. Available: http://www.slhclondon.org/news/Letter%20to%20Mr%20William%20Hague,%20MP.pdf Last accessed 3 September 2010.
  4. "Country: Australia". Joshua Project.
  5. "Statistiche demografiche ISTAT". 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-07. สืบค้นเมื่อ 7 July 2017.
  6. TorontoSLSA [@TorontoSLSA] (6 October 2016). "@CanHCSriLanka @JustinTrudeau To date the CDN Gov is yet to publicly recognize 70,000 strong Sinhala community in Canada #canpoli #onpoli" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  7. http://joshuaproject.net/people_groups/14196/US
  8. https://joshuaproject.net/people_groups/14196/SN
  9. Stuart Michael. (2009). A traditional Sinhalese affair. Available: http://thestar.com.my/metro/story.asp?file=/2009/11/11/central/5069773&sec=central เก็บถาวร 15 ตุลาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Last accessed 3 March 2010.
  10. http://www.teara.govt.nz/en/sri-lankans/3
  11. http://www.joshuaproject.net/peopctry.php?rop3=109305&rog3=IN
  12. http://www.joshuaproject.net/countries.php?rog3=IN&sf=primarylanguagename&so=asc
  13. 13.0 13.1 13.2 Kirk, R. L. (1976). "The legend of Prince Vijaya — a study of Sinhalese origins". American Journal of Physical Anthropology. 45: 91. doi:10.1002/ajpa.1330450112.
  14. Hawkey, D E (1998). Out of Asia: Dental evidence for affinity and microevolution of early and recent populations of India and Sri Lanka.
  15. Sinnappah Arasaratnam; Gerald Hubert Peiris (2017-04-07). "Sinhala Aryans". Britannica. Source 2. สืบค้นเมื่อ 2017-06-01.
  16. Lewis, M. Paul, บ.ก. (2009). Ethnologue: Languages of the World (16th ed.). Dallas, Texas: SIL International.
  17. John M. Senaveratna (1997). The story of the Sinhalese from the most ancient times up to the end of "the Mahavansa" or Great dynasty. Asian Educational Services. pp. 7–22. ISBN 978-81-206-1271-6.
  18. Caldwell, Robert (1875). A comparative grammar of the Dravidian or South-Indian Family of Languages. London: Trübner & Co.{{cite book}}: CS1 maint: postscript (ลิงก์), pt. 2 p. 86.
  19. 19.0 19.1 The Library of Congress. (2009). A Country Study: Sri Lanka. Available: http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/lktoc.html. Last accessed 3 March 2010.
  20. 20.0 20.1 Everyculture. (2009). Sinhalese - Religion and Expressive Culture. Available: http://www.everyculture.com/South-Asia/Sinhalese-Religion-and-Expressive-Culture.html. Last accessed 3 March 2010.
  21. Buddhism transformed: religious change in Sri Lanka, by Richard Gombrich, Gananath Obeyesekere, 1999
  22. Popular Sinhalese Religion, Peter R. Blood, (2009).
  23. Mahinda Deegalle. (1997). A Bibliography on Sinhala Buddhism. Available: http://www.buddhistethics.org/4/deeg1.html เก็บถาวร 2016-01-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Last accessed 3 March 2010.
  24. Scott, David (1992-01-01). "Conversion and Demonism: Colonial Christian Discourse and Religion in Sri Lanka". Comparative Studies in Society and History. 34 (2): 331–365. doi:10.1017/s0010417500017710. JSTOR 178949.
  25. Steve Crabtree and Brett Pelham. (2009). What Alabamians and Iranians Have in Common. Available: http://www.gallup.com/poll/114211/Alabamians-Iranians-Common.aspx. Last accessed 3 March 2010.
  26. Papiha SS, Mastana SS, Purandare CA, Jayasekara R, Chakraborty R (October 1996). "Population genetic study of three VNTR loci (D2S44, D7S22, and D12S11) in five ethnically defined populations of the Indian subcontinent". Human Biology. 68 (5): 819–35. PMID 8908803.
  27. Kivisild T, Rootsi S, Metspalu M, Mastana S, Kaldma K, Parik J, Metspalu E, Adojaan M, Tolk HV, Stepanov V, Gölge M, Usanga E, Papiha SS, Cinnioğlu C, King R, Cavalli-Sforza L, Underhill PA, Villems R (2003). "The genetic heritage of the earliest settlers persists both in Indian tribal and caste populations". American Journal of Human Genetics. 72 (2): 313–32. doi:10.1086/346068. PMC 379225. PMID 12536373.
  28. Sengupta S, Zhivotovsky LA, King R, Mehdi SQ, Edmonds CA, Chow CE, Lin AA, Mitra M, Sil SK, Ramesh A, Usha Rani MV, Thakur CM, Cavalli-Sforza LL, Majumder PP, Underhill PA (2006). "Polarity and temporality of high-resolution y-chromosome distributions in India identify both indigenous and exogenous expansions and reveal minor genetic influence of Central Asian pastoralists". American Journal of Human Genetics. 78 (2): 202–21. doi:10.1086/499411. PMC 1380230. PMID 16400607.
  29. Ranaweera, Lanka; Kaewsutthi, Supannee; Win Tun, Aung; Boonyarit, Hathaichanoke; Poolsuwan, Samerchai; Lertrit, Patcharee (2013). "Mitochondrial DNA history of Sri Lankan ethnic people: their relations within the island and with the Indian subcontinental populations". Journal of Human Genetics (ภาษาอังกฤษ). 59 (1): 28–36. doi:10.1038/jhg.2013.112. ISSN 1434-5161. PMID 24196378.
  30. "ISOGG 2018 Y-DNA Haplogroup C". isogg.org.
  31. Matsumoto, Hideo (2009). "The origin of the Japanese race based on genetic markers of immunoglobulin G". Proceedings of the Japan Academy. Series B, Physical and Biological Sciences. 85 (2): 69–82. Bibcode:2009PJAB...85...69M. doi:10.2183/pjab.85.69. ISSN 0386-2208. PMC 3524296. PMID 19212099.