มหาวงศ์ เป็นวรรณกรรมประวัติศาสตร์ บันทึกเหตุการณ์ในยุคต้นของลังกาทวีป หรือศรีลังกา รจนาขึ้นเมื่อราวศตวรรษที่ 5 โดยพระมหาเถระ มหานามะ โดยใช้ข้อมูลจากพงศาวดาร และตำราต่าง ๆ ในวัดมหาวิหาร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยอันยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เนื้อหากล่าวถึงตั้งแต่เมื่อครั้งเจ้าชายวิชัย เดินทางมาจากพังคละ มาถึงลังกาทวีป ปราบชนพื้นเมืองแล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครอง จากนั้นพรรณนาวงศ์กษัตริย์ต่าง ๆ พร้อมกับเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนาในลังกาควบคู่กันไป

มหาวงศ์, มหาพงศาวดารแห่งศรีลังกา (ครอบคลุมตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์กาล ถึง ค.ศ. 1815) *
  ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก
ประเทศ ศรีลังกา
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
อ้างอิง[1]
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2023/2566
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

คัมภีร์มหาวงศ์ รจนาขึ้นในรูปแบบคาถา หรือบทกวีใช้ฉันทลักษณ์พรรณนาเหตุการณ์ นับเป็นวรรณคดีประเภทมหากาพย์ในภาษาบาลีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด มีทั้งเหตุการณ์ทางการเมือง การชิงไหวชิงพริบในราชสำนัก การต่อรองทางการทูต และเรื่องราวอันน่าสะเทือนใจ รวมถึงแสดงถึงอารยธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาวสิงหล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างศาสนสถานอันยิ่งใหญ่ และการก่อกำเนิดของระบบชลประทานอันทันสมัย

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2023 ยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนมหาวงศ์เป็นความทรงจำแห่งโลกของประเทศศรีลังกา ในนาม "มหาวงศ์, มหาพงศาวดารแห่งศรีลังกา (ครอบคลุมตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์กาล ถึง ค.ศ. 1815)" (อังกฤษ: Mahavamsa, the Great Chronicle of Sri Lanka (covering the period 6th century BCE to 1815 CE))[1]

เนื้อหาโดยสังเขป

แก้

บทนำ พระพุทธเจ้าเสด็จลังกา

แก้
  • ตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จลังกา ปราบยักษ์เจ้าถิ่นหรือพวกมิลักขะ ที่มหิยังคณะ

รวมคาถาทั้งสิ้น 84 บท ความตอนนี้กินเวลา 8 ปี[2][3]

ภาคที่ 1 พุทธศาสนาในชมพูทวีป

แก้
  • ว่าด้วยวงศ์ของมหาสัมมตะ ผู้เป็นบูรพกษัตริย์แห่งศากยวงศ์ จัดอยู่ในสุริยวงศ์ (ในชมพูทวีปวงศ์กษัตริย์ มี 2 วงศ์คือ สุริยวงศ์ จันทรวงศ์) บรรดากษัตริย์ในลังกาต่างก็อ้างว่า สืบเชื้อสายมาแต่พระเจ้ามหาสัมมตะเช่นกัน ทำให้เกี่ยวพันเป็นพระญาติกลาย ๆ กับพระพุทธเจ้าไปโดยปริยาย[4]
  • ว่าด้วยการสังคายนาครั้งที่ 1 ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ พระมหากัสสปเถระเป็นประธาน
  • ว่าด้วยการสังคายนาครั้งที่ 2 ที่วาลิการาม เมืองเวสาลี พระเรวตะทำหน้าที่เป็นประธานผู้คอยซักถาม
  • ว่าด้วยการสังคายนาครั้งที่ 3 ที่อโศการาม กรุงปาฏลีบุตร พระโมคคลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน

รวมคาถาในบทนี้ทั้งสิ้น 423 บท กินระยะเวลา 35 ปี[5][6]

ภาคที่ 2 ลังกาก่อนพุทธศาสนามาถึง

แก้
  • เจ้าชายวิชัย (ต. 505 BC) เสด็จจากชมพูทวีปถึงลังกา ปราบนางกุเวนี ขึ้นครองลังกา เริ่มวงศ์กษัตริย์ตัมพปาณิ
  • พระเจ้าปาณฑุวาสุเทวะปราบดาภิเษก เริ่มวงศ์กษัตริย์ อุปติสสะ นุวะระ (ก. 504 BC - ต. 474 BC)
  • พระเจ้าอภัยขึ้นราชาภิเษก (คร. 474 BC – 454 BC)
  • พระเจ้าปานฑุกาภัยปราบดาภิเษก เป็นต้นวงศ์อนุราธปุระ (ก. 474 BC – ต. 367 BC)
  • พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะราชาภิเษก (คร. 307 BC – 267 BC) ทรงรับพระรัตนตรัย ประกาศพุทธศาสนาในลังกา

รวมคาถาในบทนี้ทั้งสิ้น 326 บท กินระยะเวลา 310 ปี[7][8]

ภาคที่ 3 สถานการณ์พุทธศาสนาในชมพูทวีและลังกาในยุคต้น

แก้
  • พระเจ้าอโศกมหาราชส่งคณะสมณทูตไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ
  • พระมหินทะเถระมาถึงลังกา ทรงเป็นพระโอรสองค์โตของพระเจ้าอโศก มาประกาศพระศาสนาที่ลังกา
  • พระมหินทะเข้าเมืองอนุราธปุระ ก่อนหน้านั้นทรงเทศนา "จูฬหัตถิปโทปมสูตร " ที่มหินตะเล จนพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ที่กำลังยกขบวนไปล่าสัตว์บังเกิดศรัทธา ปวารณาเป็นพุทธมามกะ แล้วอาราธนาพระเป็นเจ้าเข้ากรุง[9]
  • ลังการับคณะมหาวิหาร เป็นคณะสงฆ์หลัก ต่อมาเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์อันยิ่งใหญ่ เป็นที่ซึ่งพระพุทธโฆสะรจนาคัมภีร์มากมาย
  • พระเจ้ากรุงลังการับอุปัฎฐากคณะเจติยะปัพพตะวิหาร[10]
  • เจ้าหญิงเหมมาลานำพระเขี้ยวแก้วมาถึงลังกา
  • พระสังฆมิตตะเถรี นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์มาถึงลังกา นำมาจากกิ่งด้านทิศใต้ที่พุทธคยา พระสังฆมิตรเถรี เป็นพระพี่นางฝาแฝดของพระมหินทะ เป็นผู้เริ่มคณะภิกษุณีในลังกา
  • พระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ ปลูกพระศรีมหาโพธิ์ หรือพระชัยศรีมหาโพธิ์ ที่กรุงอนุราธปุระ
  • พระมหินทะเข้านิพพาน ณ เจติยะปัพพตะวิหาร[11]

รวมคาถาในบทนี้ทั้งสิ้น 649 บท กินระยะเวลา 69 ปี[12][13]

ภาคที่ 4 ยุคปัญจกษัตริย์

แก้
  • หลังจากพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะสวรรคต มีกษัตริย์ 4 พระองค์แห่งราชวงศ์วิชัยครองราชย์ต่อมา ทั้งหมดเป็นพระอนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยะติสสะ เนื่องจากทรงไม่มีพระโอรส ต่อมาขุนศึกชาวทมิฬ 2 คน คือ เสนะและกุตติกะเข้าครองเมืองนาน 22 ปี ก่อนที่พระเจ้าอเสละจะชิงเมืองกลับมาได้ แต่ก็ถูกพระเจ้าเอฬาระ ชาวทมิฬจากอาณาจักรโจฬะยกทัพมาชิงเมืองไปอีก หากไม่นับขุนศึกชาวทมิฬทั้ง 2 ช่วงนี้มีกษัตริย์ 5 พระองค์ 4 องค์เป็นชาวสิงหล วงศ์วิชัย อีกองค์เป็นชาวทมิฬ ราชวงศ์โจฬะ

รวมคาถาในบทนี้ทั้งสิ้น 34 บท กินระยะเวลา 96 ปี[14][15]

ภาคที่ 5 ยุคพระเจ้าทุฎฐคามินี

แก้
  • กำเนิดเจ้าชายคามณี แห่งอาณาจักรโรหนะ
  • ทรงชุบเลี้ยงขุนศึกสู้ทมิฬ อายุได้ 16 ปีทรงระดมคนมีฝีมือ สร้างกองทัพหมายจะขับไล่ทมิฬ แต่พระราชบิดาห้ามไว้
  • ศึกกลางเมืองระหว่างพี่น้อง หลังพระราชบิดาสวรรคต ทรงครองราชย์ แต่พระอนุชนหวังราชสมบัติจึงเกิดศึกแย่งชิงกัน แต่ต่อมาพี่น้องปรองดอง เจ้าชายติสสะพระอนุชากลายเป็นขุนพลผู้สามารถคู่ใจพระเชษฐา
  • พระเจ้าทุฎฐคามินีปราบดาภิเษก ครองราชย์ 161 BC – 137 BC แล้วยกทัพไปราบทมิฬ ปลงพระชนม์พระเจ้าเอฬาระ แล้วครองลังกาทั้งทวีป
  • ทรงเอาใจใส่พุทธศาสนาอย่างยิ่ง หลังจากนั้นแล้ว ทรงสถาปนาวัดมริจวัตติวิหาร หลังจากที่เสด็จไปชำระพระวรกายที่อ่างติสสะวาปี แล้วทรงปักพระแสงหอกที่ด้านบนบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ ครั้นชำระพระองค์เสร็จแล้ว กลับถอนพระแสงออกจากพื้นดินไม่ได้ จึงปรึกษากับคณะสงฆ์ แล้วตกลงสร้างวิหาร ณ ที่นี่[16]
  • ทรงสถาปนาโลหะปราสาท นับเป็นโลหะปราสาทแห่งที่ 2 ของโลก มีขนาดใหญ่มหึมา
  • ทรงได้ทรัพย์และวัสดุในการสร้างพระมหาสถูป
  • ทรงสถาปนารุวะเวลิสะยะ มหาสถูป เป็นพระสถูปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ มีนาคมหากาลปกปักรักษา
  • ทรงสถาปนาวิหารพระเขี้ยวแก้ว ในกรุงอนุราธปุระ
  • ทรงสมโภชน์พระเขี้ยวแก้ว
  • พระเจ้าทุฎฐคามินีเสด็จสู่สวรรค์ชั้นดุสิต ตอนนี้มหาวงศ์มีความยาวมาก เล่าว่าก่อนจะสิ้นพระชนม์ได้ทรงสั่งให้ข้าหลวงหามพระองค์ไปทอดพระเนตรรุวะเวลิสะยะมหาสถูป แล้วทรงสนทนาธรรมกับพระเถระ จากนั้นสวรรคตแล้วบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิตในบัดดล

รวมคาถาในบทนี้ทั้งสิ้น 863 บท กินระยะเวลา 50 ปี[17][18]

ภาคที่ 6 พงศาวดารกษัตริย์

แก้
  • ในช่วงนี้มี 2 ราชวงศ์คือ วงศ์วิชัย และวงศ์ลัมพะกันนะ ระหว่าง 89 BC จนถึงค.ศ. 304 หลังการสวรรคตของพระเจ้ามหาเสนะ พงศาวดารมหาวงศ์จบลงไปด้วย แต่หลังจากนั้นมีการเขียนพงศาวดารต่อไปเรียกว่า "จุลวงศ์"[19]
  • ทศกษัตริย์ (รวม 10 พระองค์)
  • เอกาทศกษัตริย์ (รวม 11 พระองค์)
  • ทวาทศกษัตริย์ (รวม 12 พระองค์)
  • เตรสกษัตริย์ (รววม 13 พระองค์)
  • พระเจ้ามหาเสน (คร. ค.ศ. 277 – 304) ทรงโปรดคณะอภัยคีรีวิหาร (ซึ่งมีคำสอนออกไปทางมหายาน) แล้วทรงกดขี่คณะมหาวิหาร ต่อมาทรงกลับมาส่งเสริมคณะมหาวิหารอีกครั้ง แต่แล้วในกาลต่อมาทรงศรัทธาพระติสสเถระ แล้วสร้างเชตวันวิหารในเขตมหาวิหาร ก่อให้เกิดความวุ่นวายในพระศาสนาทั่วลังกาอีกครา

รวมคาถาในบทนี้ทั้งสิ้น 507 บท กินระยะเวลา 429 ปี[20][21][22]

อ้างอิง

แก้
  1. "UNESCO-Weltdokumentenerbe Behaim-Globus". Deutsche UNESCO-Kommission (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 18 May 2023.
  2. Collins, Steve. 1998. Nirvana and other Buddhist felicities. หน้า 269-270
  3. Geiger, Wilhelm,. (1912). Mahavamsa : the great chronicle of Ceylon. London. Pali Text Society by Oxford Univ. Pr. หน้า vii - viii
  4. Entry "Mahāsammata" ใน http://www.palikanon.com/english/pali_names/maha/mahasammata.htm
  5. Collins, Steve. 1998. Nirvana and other Buddhist felicities. หน้า 269-270
  6. Geiger, Wilhelm,. (1912). Mahavamsa : the great chronicle of Ceylon. London. Pali Text Society by Oxford Univ. Pr. หน้า vii - viii
  7. Collins, Steve. 1998. Nirvana and other Buddhist felicities. หน้า 269-270
  8. Geiger, Wilhelm,. (1912). Mahavamsa : the great chronicle of Ceylon. London. Pali Text Society by Oxford Univ. Pr. หน้า vii - viii
  9. Geiger, Wilhelm,. (1912). Mahavamsa : the great chronicle of Ceylon. London. Pali Text Society by Oxford Univ. Pr. หน้า vii - viii
  10. Entry "Cetiyapabbata" ใน http://www.palikanon.com/english/pali_names/c/cetiyapabbata.htm
  11. Entry "Cetiyapabbata" ใน http://www.palikanon.com/english/pali_names/c/cetiyapabbata.htm
  12. Collins, Steve. 1998. Nirvana and other Buddhist felicities. หน้า 269-270
  13. Geiger, Wilhelm,. (1912). Mahavamsa : the great chronicle of Ceylon. London. Pali Text Society by Oxford Univ. Pr. หน้า vii - viii
  14. Collins, Steve. 1998. Nirvana and other Buddhist felicities. หน้า 269-270
  15. Geiger, Wilhelm,. (1912). Mahavamsa : the great chronicle of Ceylon. London. Pali Text Society by Oxford Univ. Pr. หน้า vii - viii
  16. Entry "Maricavatti" ใน http://www.palikanon.com/english/pali_names/ma/maricavatti.htm
  17. Collins, Steve. 1998. Nirvana and other Buddhist felicities. หน้า 269-270
  18. Geiger, Wilhelm,. (1912). Mahavamsa : the great chronicle of Ceylon. London. Pali Text Society by Oxford Univ. Pr. หน้า vii - viii
  19. Geiger, Wilhelm,. (1912). Mahavamsa : the great chronicle of Ceylon. London. Pali Text Society by Oxford Univ. Pr. หน้า vii - viii
  20. Geiger, Wilhelm,. (1912). Mahavamsa : the great chronicle of Ceylon. London. Pali Text Society by Oxford Univ. Pr. หน้า vii - viii
  21. Collins, Steve. 1998. Nirvana and other Buddhist felicities. หน้า 269-270
  22. Entry "Mahāsena" ใน http://www.palikanon.com/english/pali_names/maha/mahasena.htm

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้