ความทรงจำแห่งโลก

ความทรงจำแห่งโลก[1] (อังกฤษ: Memory of the World, ฝรั่งเศส: Mémoire du monde) คือแผนงานที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก กำหนดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) เพื่อมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์ และการเผยแพร่มรดกภูมิปัญญาของโลกที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกไว้ในรูปแบบใดหรือของประเทศใดก็ตาม ถือว่าเป็นแหล่งรวมความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความหลากหลายทั้งในด้านของวัฒนธรรม จากสังคมในอดีตให้แก่สังคมปัจจุบัน และเพื่อที่จะสืบสานส่งต่อให้แก่สังคมในอนาคต

สัญลักษณ์

วัตถุประสงค์

แก้
  1. เพื่ออำนวยความสะดวกในการอนุรักษ์โดยวิธีที่เหมาะสมที่สุด
  2. เพื่อช่วยเหลือให้มีการเผยแพร่เอกสารมรดกอย่างกว้างขวาง

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือก

แก้

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกสารมรดก ดังต่อไปนี้ ใช้ได้ในการคัดเลือกเอกสารมรดกที่มีคุณค่าต่อประเทศ ต่อภูมิภาค และต่อโลก [2]

  1. หลักเกณฑ์ที่ 1 ความเป็นของแท้ (Authenticity)
  2. หลักเกณฑ์ที่ 2 มีความโดดเด่นและไม่อาจทดแทนได้ (Unique and Irriplaceable)
  3. หลักเกณฑ์ที่ 3 มีความสำคัญในระดับโลก ในเรื่องเวลาและอายุ (Time) สถานที่ (Place) บุคคล (People) เนื้อหาสาระแนวคิด (Subject and Theme) และ รูปแบบและวิธีเขียน (Form and Style)
  4. หลักเกณฑ์ที่ 4 ลักษณะอื่นๆ ได้แก่ ความหายาก (Rarity) ความบริบูรณ์ (Integrity) ความเสี่ยง (Threat) และโครงการบริหารจัดการ (Management plan)

สถิติ

แก้
ภูมิภาค จำนวนที่ได้รับขึ้นทะเบียน จำนวนประเทศ/องค์กร
แอฟริกา 14 9
รัฐอาหรับ 9 5
เอเชียแปซิฟิก 80 24
ยุโรปและอเมริกาเหนือ 181 39
ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 67 25
องค์กรระหว่างประเทศ 4 4
มูลนิธิเอกชน 1 1
รวม 301 107

ประเทศไทย

แก้

สำหรับในประเทศไทย มีเอกสารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นความทรงจำแห่งโลกทั้งสิ้น 6 รายการ ได้แก่

ลำดับ ชื่อภาษาไทย ชือภาษาอังกฤษ ปีขึ้นทะเบียน ที่ตั้ง อ้างอิง
1
จารึกพ่อขุนรามคำแหง The King Ram Khamhaeng Inscription 2546 (2003) พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร,
กรุงเทพมหานคร
[3]
2
เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสยาม (พ.ศ. 2411-2453) Archival Documents of King Chulalongkorn's Transformation of Siam (1868–1910) 2552 (2009) หอสมุดแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร [4]
3
จารึกวัดโพธิ์ Epigraphic Archives of Wat Pho 2554 (2011) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร,
กรุงเทพมหานคร
[5]
4
บันทึกการประชุมของสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์, 100 ปีแห่งการบันทึกความร่วมมือระหว่างประเทศในการวิจัยและการเผยแพร่ความรู้ทางศิลปะและวิทยาศาสตร์ The Minute Books of the Council of the Siam Society", 100 years of recording international cooperation in research and the dissemination of knowledge in the arts and sciences 2556 (2013) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร,
กรุงเทพมหานคร
[6]
5
ฟิล์มกระจกหลวงและภาพต้นฉบับ The Royal Photographic Glass Plate Negatives and Original Prints Collections 2560 (2017) หอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร,
กรุงเทพมหานคร
[7]
6
คัมภีร์ใบลานเรื่องตำนานพระธาตุพนม (ตำนานอุรังคธาตุ) National Collection of Palm-Leaf Manuscripts of Phra That Phanom Chronicle 2566 (2023) หอสมุดแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร [8]

นอกจากนี้ ทางการไทยยังขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำระดับชาติ และระดับท้องถิ่นดังนี้ [9]

มรดกความทรงจำระดับชาติ

  1. ศิลาจารึกวัดพระยืน
  2. นันโทปนันทสูตรคำหลวง (เคยขอขึ้นทะเบียนเป็นความทรงจำแห่งโลกรอบ พ.ศ. 2565-2566 แต่ยังไม่ผ่านการพิจารณา โดยได้รับการแก้ไข 3 ครั้ง และรอทางยูเนสโกชี้แจงคำอธิบายอย่างเป็นทางการเพื่อนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุงแก้ไขเอกสารให้ถูกต้องต่อไป)[10]
  3. กฎหมายตราสามดวง

มรดกความทรงจำระดับท้องถิ่น

  1. เอกสารการบริหารราชการหัวเมืองตะวันออก: จันทบุรี
  2. จดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญของเจ้าคณะจังหวัดระยองและเจ้าคณะอำเภอ
  3. เอกสารโรงเรียนสฤษดิเดช
  4. ภาพเก่าเมืองสงขลา
  5. เอกสารทรัพยากรธรณีฝั่งทะเลตะวันตก
  6. ภาพเก่าของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สงขลา
  7. ภาพถ่ายฟิล์มกระจก พุทธศักราช 2440-2470 ของหลวงอนุสารสุนทร (สุ่นฮี้ ชุติมา)
  8. คัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎก ครูบากัญจนอรัญญวาสีมหาเถร วัดสูงเม่น
  9. บันทึกประวัติศาสตร์ลักษณะการพิจารณาความ เมืองโกสุมพิสัย ร.ศ.117 - 119
  10. เอกสารส่วนบุคคล Mr.Emile Eisenhofer (ค.ศ.1879 – 1962) วิศวกรชาวเยอรมันผู้คุมการเจาะอุโมงค์ขุนตาน
  11. บันทึกพระครูบาโนชัยธรรมจินดามุนี เจ้าคณะหนเหนือ (อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำปาง)วัดปงสนุกด้านเหนือ พุทธศักราช 2400 - 2485
  12. กฎหมายอาณาจักรหลักคำเมืองน่าน
  13. แผนที่กัลปนาวัดบนคาบสมุทรสทิงพระ ในสมัยอยุธยา
  14. บันทึกโรงเรียนสฤษดิเดช
  15. บันทึกครูบามหาป่า (เกสรปัญโญ)

ทั้งนี้มรดกความทรงจำระดับชาติ หากมีความสำคัญเพียงพอในระดับนานาชาติ ก็จะสามารถนำเสนอข้อมูลเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นความทรงจำแห่งโลกได้ในอนาคต


อ้างอิง

แก้
  1. แผนงานความทรงจำแห่งโลก[ลิงก์เสีย]
  2. http://mow.thai.net/index.php?option=com_content&task=view&id=20&Itemid=38 หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกสารมรดก
  3. "The King Ram Khamhaeng Inscription". UNESCO Memory of the World Programme. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  4. "Archival Documents of King Chulalongkorn's Transformation of Siam (1868-1910)". UNESCO Memory of the World Programme. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  5. "Epigraphic Archives of Wat Pho". UNESCO Memory of the World Programme. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  6. "The Minute Books of the Council of the Siam Society", 100 years of recording international cooperation in research and the dissemination of knowledge in the arts and sciences". UNESCO Memory of the World Programme. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  7. "The Royal Photographic Glass Plate Negatives and Original Prints Collection". UNESCO Memory of the World Programme. สืบค้นเมื่อ 2021-07-24.
  8. List of the 64 new items of documentary heritage inscribed on the Memory of the World International Register in 2023.
  9. มรดกความทรงจำของประเทศไทย
  10. ยูเนสโกรับรอง ‘คัมภีร์ใบลาน ตำนานพระธาตุพนม’ มรดกความทรงจำโลก

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้