มาตฤกา

(เปลี่ยนทางจาก สัปตมาตฤกา)

มาตฤกา (Sanskrit: मातृका , IAST: mātṝkās, lit. "เทพมารดรผู้ปกป้อง")[2] หรือขนานพระนามอีกอย่างว่า มาตฤ หรือ มาตริ, เป็นกลุ่มเจ้าแม่(เทพธิดา)ในศาสนาฮินดู โดยส่วนใหญ่ซึ่งปรากฏพระองค์เป็นกลุ่มหมู่คณะเจ็ดพระองค์, ซึ่งขนานนามว่า สัปตมาตฤกา (เทพมารดรทั้งเจ็ด - สันสกฤต: सप्तमातृका)[3] อย่างไรก็ตาม, ในบางครั้งครั้งอาจจะปรากฏเป็นหมู่คณะแปดพระองค์, ซึ่งขนานพระนามพระเทวีกลุ่มนี้ว่า อัษฏะมาตฤกา(สันสกฤต: अष्टमातृका)[4] ในประเทศไทย มีการประดิษฐานเทวรูปคณะเทวีมาตฤกาทั้งเจ็ดองค์นี้ในวัดพระศรีมหาอุมาเทวี และขนานนามเป็นภาษาทมิฬว่า พระสัปตกรรณี[5][6]

มาตฤกา
เทวีแห่งการพิชัยรณรงค์สงคราม, ผู้คุ้มครองบุตร และ การหลุดพ้น [1]
The Seven Mother Goddesses (Matrikas) Flanked by Shiva (left) and Ganesha (right).jpg
เทวรูปคณะเทวีมาตฤกาพร้อมด้วยพระศิวะ(ซ้าย)และพระคเณศ(ขวา) จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะลอสแองเจลิสเคาน์ตี้
ชื่อในอักษรเทวนาครีमातृका
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตmātṝkā
ส่วนเกี่ยวข้องศักติ, เทวี, มหาเทวี, อาทิปราศักติ, เจ้าแม่ศรีมหาอุมาเทวี, ทุรคา, สรัสวดี, ภูวเนศวรี
ที่ประทับภายในร่างกายของเทพบุรุษ และในฐานะชายาของเทพบุรุษ หรือ พลังอำนาจของเทพบุรุษ (ศักติ)
คู่ครองพระอัษฏะไภรวะ
ประติมากรรมเทวรูปพระเทวีมาตฤกา
Sapta Matrikas 25921.jpg
เทวรูปพระเทวีมาตฤกาทั้งเจ็ดองค์ (สัปตมาตฤกา)
Ashta-Matrika.jpg
พระแม่สัปตมาตฤกาและพระแม่กาลีขณะทรงรบกับอสูรรักชตะ
ประติมากรรมเทวรูปพระเทวีมาตฤกา

ในคัมภีร์ พฤหัสสัมหิตา, วราหะสัมหิตา กล่าวว่า "พระเทวีในคณะมาตฤกานี้คือพลังส่วนที่ทำให้เข้าถึงเทพบุรุษทั้งหลายผ่านพระนามของพระองค์"[7] คณะพระเทพีกลุ่มนี้ปรากฏพระองค์ในฐานะชายาหรืออำนาจและพละพลังของพระสามีของพระนาง (ศักติ).[8] พระพราหมีคือพลังของพระพรหม, พระไวณษวีคือพลังของพระนารายณ์ , พระมเหศวรี คือพลังของพระอิศวร , พระศจีเทวีจากพระอินทร์, พระแม่เกามารีจากพระสกันทกุมาร , พระวราหิจากพระวราหะ และพระแม่จามุณฑาจากพระนางเทวี.[9] และบางครั้งอาจเพิ่มพระนางนรสิงหิ และ พระแม่วินายกีของพระคเณศ

เทวลักษณะแก้ไข

เทวลักษณะเฉพาะของกลุ่มเทวีมาตฤกามีการอธิบายไว้ในพระคัมภีร์ฮินดูเช่น มหาภารตะ , ปุราณะ เช่น วราหะปุราณะ, อัคนีปุราณะ,[10] มัสยาปุราณะ , วิษณุธรรโมตตรปุราณะ และ เทวีมาหาตมยะ (ส่วนหนึ่งของ มารกัณเฑยปุราณะ) และใน อาคมะ เช่น อสุมัทเภทาคมะ, สุราเภคาคมะ, ปุรวกามาคมะ และ รูปมัณฑนะ

อัษฎะมาตฤกาจากเทวีมาหาตมยะปุรณะแก้ไข

  1. พระพราหมณี (สันสกฤต: ब्रह्माणी, Brahmâṇī) หรือ พราหมี (สันสกฤต: ब्राह्मी, Brāhmī) คือ ศักติ (พละกำลังอำนาจ) ของพระพรหม พระนางมีฉวีสีเหลืองและอาจมีสี่พระพักตร์ พระนางมีสี่หรือหกพระกรเช่นเดียวกับพระพรหม, พระนางทรงเทพอาวุธ คือ ประคำหรือ บ่วงบาศ และ กมัณฑลุ (หม้อน้ำสำหรับนักบวช) หรือ ดอกบัว หรือ คัมภีร์ หรือ ระฆัง มีเทวลักษณะดังเช่นพระพรหม ทรงประทับหงส์ (อาจหมายถึง หงส์ หรือ ห่าน) เป็น พาหนะ (สัตว์บริวาร หรือ พาหนะ) พระนางปรากฏเป็นดอกบัว หรือ หงส์ เป็นธงสัญญาลักษณ์ของพระนาง พระนางทรงสวมเครื่องประดับต่าง ๆ และโดดเด่นด้วยมงกุฎขนาดรอง คือ ( กรัณฑมงกุฎ - karaṇḍa mukuṭa ) พระนางคือชายาของ อสิกทะไภรวะ (Asithanga Bhairava)[11]
  2. พระไวณษวี (สันสกฤต: वैष्णवी, Vaiṣṇavī), คือ ศักติ ของพระนารายณ์, พระนางทรงประทับบนครุฑเป็นเทพพาหนะ ทรงมีสี่หรือหก พระกร ทรงเทพอาวุธสังข์ , กงจักร , และ ดอกบัว หรือ ธนู หรือ พระขรรค์ หรือพระหัตถ์ทั้งสองทรงประทาน วรทะ มุทรา (สัญญาลักษณ์ของการประทานพร) และ อภัย มุทรา (สัญญาลักษณ์ของการปกป้องคุ้มครอง) มีเทวลักษณะดังเช่นพระวิษณุ , ทรงเครื่องประดับอลงกรณ์ ได้แก่ กรองศอ, กำไลพระบาท, กุณฑล, ทองกร. และทรงมงกุฏ กิรีฎะมกุฏ (kiriṭa mukuṭa) พระนางคือชายาของ พระโกรธะไภรวะ[11]
  3. พระมเหศวรี (สันสกฤต: महेश्वरी, Māheśvarī) คือพลังของพระอิศวร, ซึ่งทรงมีคำไวพจน์นามอีกอย่าง คือ มเหศวร พระมเหศวรีเทพีทรงมีนามอื่นอันเป็นที่รู้จักเช่น รุทรี, รุทราณี, มเหศี and ศิวาณี ซึ่งมาจากนามของพระศิวะ คือ รุทระ, มเหศ, และ ศิวะ พระนางทรงประทับบนพระโคอุสุภราช ทรงมีหก หรือ สี่พระหัตถ์ ทรงพระฉวีสีขาว, และทรงมีตรีเนตร (เนตรที่สาม) พระเทพีทรงเทพอาวุธตรีศูล, บัณเฑาะว์ (กลอง), อักษะมาลา (ลูกประคำ), ปาณะปาตระ (บาตรสำหรับนักบวช) หรือ ขวาน หรือ กวาง หรือ กปาละ (หัวกะโหลก) หรือ นาค และทรงประดับองค์ด้วยกำไลนาค, ทรงพระเกศา ชฎามงกุฎ (jaṭā mukuṭa) (ทรงผมสำหรับนักบวช,นักพรต) พระนางคือชายาของ พระรุรุ ไภรวะ[11]
  4. พระอินทราณี (สันสกฤต: इन्द्राणी, Indrāṇī), หรือ คำไวพจน์ของนาง คือ เอนทรี, (สันสกฤต: ऐन्द्री, Aindrī), มเหศทรี และ วัชรี, คือพลังของพระอินทร์, เทวราชแห่งสวรรค์ ทรงประทับบนช้างเป็นเทพพาหนะ, ทรงพระฉวีสีดำ, ทรงสองหรือสี่พระกร ทรงเทพลักษณะดังเช่นพระอินทร์, หัตถ์ของพระนางทรงวัชระ (สายฟ้า), คันไถ, บ่วงบาศ และดอกบัว และทรงวิจิตรพัสตราภรณ์อย่างอลงกรณ์ ทรง กิรีฎะมกุฏ (kiriṭa mukuṭa) ทรงเป็นอัครมเหสีของ พระกปาละไภรวะ[11]
  5. พระกุมารี (สันสกฤต: कौमारी, Kaumārī), คำไวพจน์พระนามอื่นที่รู้จักของพระนางคือ เกามารี, การติกี, การติเกยาณี และ อัมพิกา[12] คืออำนาจพลังของพระขันธกุมาร, เทพเสนาชาญณรงค์สงคราม ทรงเทพพาหนะคือนกยูงและพระกรสี่หรือสิบสองกร ทรงอาวุธในหัตถ์คือ หอกศักติ(เวล), ขวาน, ทัณกะ (เหรียญเงิน) และธนู มนบางครั้งอาจทรงมีหกพักตร์ดังเช่นพระขันทกุมาร และทรงกิรีฎะมกุฏ พระนางเป็นมเหสีของพระจันทรไภรวะ[11]
  6. พระวราหิ (สันสกฤต: वाराही, Vārāhī) หรือ ไวราลี คำไวพจน์นามอื่นของพระนางคือ วีไร, ทัณฑิณี, ฑัณไฑเทพี เป็นพลังของพระวราหะ, เทพสุกรพักตร์ตรีภาคของพระวิษณุ ในหัตถ์ทรง ทัณฑะ(เทพอาวุธสำหรับลงทัณฑ์) หรือคันไถ, ปฏัก, หรือ วัชระ หรือ พระขรรค์, และปานภัทระ(บาตร) ในบางครั้ง, หรือระฆัง, กงจักร, จามร (พระแส้จามรี) และธนู พระนางทรง กรัณฑมงกุฎ - karaṇḍa mukuṭa พร้อมด้วยเครื่องอลงกรณ์อื่นๆ พระนางคือชายาของพระอุตมะไภรวะ[11]
  7. พระจามุณฑา (สันสกฤต: चामुण्डी, Cāṃuṇḍī), คำไวพจน์นามอื่นของพระนางคือ จามุณฑี และ จัณฑิกาพระนางมักถูกกล่าวว่าคือ นางกาลี และมีความคล้ายคลึงกันในรูปลักษณ์และนิสัยของพระนาง[13][14] ทรงมีฉวีสีดำและทรงมาลัยที่ร้อยด้วยศีรษะซากศพศัตรูของพระนาง (มุณฑะมาลา) ในหัตถ์ทรงฑมรุ (บัณเฑาะว์), ตรีศูล, พระขรรค์และ ปานภัทระ(บาตร) ประทับเหนืออาสน์ คือ สุนัขจิ้งจอก หรือ กระบือ หรือ ศพอมนุษย์บุรุษ (สหวะ หรือ เปรต), ทรงมีสามเนตร, ทรงถูกอธิบายว่ามีพักตร์อันน่าสะพรึงกลัวอัปลักษณ์และอุทรอันไม่งาม นางคืออัครชายาของ พระภีษสนะไภรวะ[11]
  8. พระนางนรสิงหิ (สันสกฤต: नारसिंही, Nārasiṃhī)คือพลังอำนาจของ พระนรสิงห์ (สิงห์มุขภาคที่สี่ของพระวิษณุ) นามไวพจน์ของพระนามที่นิยกขนาน คือ ปรัตยังกิรา , เทพีผู้ทรงเกี่ยวข้องกับสิงโต ชายาของ พระสัมหระไภรวะ[11]

แม้ว่าเทพีหกองค์แรกจะได้รับการยอมรับอย่างเป็นมาตรฐานเอกฉันท์จากตำรา, แต่พระนามและคุณลักษณะของเทพีองค์ที่เจ็ด และ แปด เป็นที่พิพาทแตกต่างกัน ในคัมภีร์เทวีมาหาตมยะ , นางจามุณฑามิได้ปรากฏในคณะเทวีสัปตมาตฤกา,[15] บางครั้งขณะปรากฏอยู่ในประติมากรรมในศาสนาสถานหรือถ้ำและ คัมภีร์มหาภารตะ, มิได้ปรากฏพระนางนรสิมหิ ส่วนคัมภีร์วราหะปุราณะ ปรากฏนามของ พระยมีศักติของพระยม, ในลำดับที่เจ็ดและ โยเคศวรี ในลำดับที่แปดของคณะเทพีมาตฤกา, ซึ่งกำเนิดจากเปลวเพลิงจากโอษฐ์ของ พระศิวะ[16] ในเนปาล, มาตฤกาองค์ลำดับที่แปดคือ มหาลักษมี หรือ พระลักษมี แทนพระนางนรสิมหิ สำหรับลำดับที่เก้าของกลุ่มเทพีมาตฤกา, เทวีปุรณะกล่าวถึง คณะนายิกา หรือ พระแม่วินายกี – ศักติ ของ พระคเณศ, ทรงมีพักตร์เป็นกุญชรและเป็นเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคเช่นเดียวกับ พระคเณศ และ มหาไภรวี แทนเจ้าแม่นรสิงห์เทพี บางท้องที่อำนาจพลังเทพสตรีศักติขนานนาม นางกัลยาณีเทวีของ พระมัสยาวตาร ภาคปฐมของพระวิษณุ ซึ่งปรากฏในบางครั้งที่ภาคกลางของอินเดียสำหรับ คัมภีร์เทวีภควัตปุราณะ ปรากฏมาตฤกาสององค์คือ นางวารุณี (ศักติของ พระพิรุณ) , นางกุเวรี (ศักติของ พระไพรศพณ์) และ นารายณี , (ศักติของ พระนารายณ์).[17]

อ้างอิงแก้ไข

  1. Wangu 2003, p. 99.
  2. Monier-Williams, Monier (1872). Sanskrit-English Dictionary. Clarendon. p. 765. matrika
  3. Berkson 1992, p. 134.
  4. "Mantras to the Aṣṭamātṛkās". Cambridge Digital Library. สืบค้นเมื่อ 2 February 2015.
  5. https://e-service.dra.go.th/place_page/18557
  6. http://www.thongthailand.com/index.php?lite=article&qid=42192053
  7. Brihat Samhita, Ch.57, v.56. Panda, S. S. (September 2004). "Sakti Cult in Upper Mahanadi Valley" (PDF). Orissa Review. Government of Orissa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-01-08.
  8. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Jain162
  9. Leeming, David; Fee, Christopher (2016). The Goddess: Myths of the Great Mother. Reaktion Books. p. part 33. ISBN 9781780235387.
  10. Agni Purana, Tr. by M.N. Dutta, Calcutta, 1903–1904, Ch.50.18.22.
  11. 11.0 11.1 11.2 11.3 11.4 11.5 11.6 11.7 See:
    • Kinsley 1998, p. 156, IAST Names and Descriptions as per Devi Mahatmya, verses 8.11–20
    • "Sapta Matrikas (12th C AD)". Department of Archaeology and Museums, Government of Andhra Pradesh. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2007. สืบค้นเมื่อ 2008-01-08.
    • Other names from Devi Purana: Pal 1997, pp. 1835–1858
    • Kalia 1982, pp. 106–109
  12. Singh p.1840, Ambika is used as another name for Kaumari in Devi Purana.
  13. Kinsley 1998, p. 241 Footnotes.
  14. Wangu 2003, p. 72
  15. Singh p.1858
  16. Kalia 1982, p. 108
  17. Pal 1997, pp. 1835–1858.

แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข

  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ มาตฤกา

ดูเพิ่มแก้ไข