ครามเทวดา (สันสกฤต: ग्रामदेवता, อักษรโรมัน: Grāmadevatā, แปลตรงตัว'village deity') เป็นเทพารักษ์ของพื้นที่หนึ่ง ๆ ตามคติของศาสนาฮินดู[1] นิยมบูชาทั่วไปในหมู่บ้านของประเทศอินเดีย[2][3]

เรนุกะ ครามเทวดาประจำหมู่บ้านนาถนัลลูร์

ครามเทวดามีที่มาที่แตกต่างกัน และมีการบูชาในฐานะผู้ปกปักรักษาผู้อยู่อาศัยของหมู่บ้านจากภยันตรายต่าง ๆ และมีความเชื่อว่าถ้าหากบูชาโดยบกพร่องอาจจะนำมาสู่ภัยอันตรายต่าง ๆ สู่หมู่บ้านได้[4][5] ในแถบอินเดียใต้มักปรากฏครามเทวดาในรูปสตรี[6] ในภูมิภาคนี้ เทวสตรีประจำหมู่บ้านยังมีศักดิ์ในฐานะเทพีแห่งการมีลูก และจะตั้งบูชาภายในขอบเขตหมู่บ้าน[7]

คำว่า "ครามะ" มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่าหมู่บ้าน เมื่อนำมารวมกับเทวดา จึงมีความหมายง่าเทวดาประจำหมู่บ้าน[8]

อ้างอิง แก้

  1. Iyengar, T. R. R. (2004). Hindu Mythology (ภาษาอังกฤษ). Intellectual Book Corner. p. 385. ISBN 978-81-7076-104-4.
  2. Chandra, Suresh (1998). Encyclopaedia of Hindu Gods and Goddesses (ภาษาอังกฤษ). Sarup & Sons. p. 111. ISBN 978-81-7625-039-9.
  3. Becchio, Bruno; Schadé, Johannes P. (2006). Encyclopedia of World Religions (ภาษาอังกฤษ). Foreign Media Group. p. 112. ISBN 978-1-60136-000-7.
  4. Leviton, Richard (2005-10-14). Encyclopedia of Earth Myths: An Insider's A-Z Guide to Mythic People, Places, Objects, and Events Central to the Earth's Visionary Geography (ภาษาอังกฤษ). Hampton Roads Publishing. p. 555. ISBN 978-1-61283-298-2.
  5. Atran, Scott (2004-12-09). In Gods We Trust: The Evolutionary Landscape of Religion (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 125. ISBN 978-0-19-803405-6.
  6. Oppy, Graham (2015-04-17). The Routledge Handbook of Contemporary Philosophy of Religion (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 128. ISBN 978-1-317-51592-0.
  7. Flueckiger, Joyce Burkhalter (2015-02-23). Everyday Hinduism (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 30. ISBN 978-1-118-52818-1.
  8. Fuller, C. J. (March 1988). "The Hindu Pantheon and the Legitimation of Hierarchy". Man. 23 (1): 22–39. doi:10.2307/2803031. JSTOR 2803031. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.