สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม
ว่าที่พันตรี สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม (เกิด 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503) สมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดหนองบัวลำภู 2 สมัย อดีตคณะทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[1]
สรชาติ วิชย สุวรรณพรหม | |
---|---|
สมาชิกวุฒิสภา กลุ่มวิทยาศาสตร์ | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | อิสระ |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พลังประชารัฐ (2561–2567) |
ประวัติ
แก้สรชาติ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 เป็นบุตรของนายเลิศ และ นางคำเลี่ยน สุวรรณพรหม
สำเร็จการศึกษา ปริญญาตรี จากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กับ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาโท จากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และปริญญาเอก ด้านการบริหารการจัดการ จากAdamson University
งานการเมือง
แก้ว่าที่พันตรีสรชาติ ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกติดต่อกันจนถึง พ.ศ. 2539 รวม 2 สมัย
ในปี พ.ศ. 2550 สรชาติได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคมัชฌิมาธิปไตย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
พ.ศ. 2554 ว่าที่พันตรีสรชาติ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 1 จังหวัดหนองบัวลำภู ในนามพรรคภูมิใจไทย แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายพิษณุ หัตถสงเคราะห์ จากพรรคเพื่อไทย
ในปี 2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคพลังประชารัฐ ลำดับที่ 56[2] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
มนปี 2566 ว่าที่พันตรีสรชาติ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 2 จังหวัดหนองบัวลำภู ในนามพรรคพลังประชารัฐ แต่ก็ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายไชยา พรหมา จากพรรคเพื่อไทย ปีต่อมาเขาลงสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา และได้รับเลือกเข้ามาในกลุ่มที่ 13 ในอันดับที่ 1[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ว่าที่พันตรีสรชาติ วิชย สุวรรณพรหม ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคความหวังใหม่
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดหนองบัวลำภู สังกัดพรรคความหวังใหม่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ‘พปชร.’ เตือนฝ่ายค้าน ถ้าขุดอดีต เจอแฉกลับ ‘จำนำข้าว-พ.ร.บ.นิรโทษกรรมสุดซอย’
- ↑ เปิดชื่อ 120 ปาร์ตี้ลิสต์พลังประชารัฐ หลังผู้มีอำนาจใน รบ.ทุบโต๊ะเปลี่ยนเบอร์ 1
- ↑ "เปิดรายชื่อ 200 สว. "สมชาย" ตกรอบ "ศรีวราห์-ทนายตั้ม" ติดสำรอง". ไทยพีบีเอส.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๖๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐