สมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิรีวัฒนา

สมเด็จพระมหากษัตริยานี สีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิรีวัฒนา[1] (เขมร: ស៊ីសុវត្ថិមុនីវង្ស កុសុមៈនារីរ័ត្នសិរិវឌ្ឍនា; 9 เมษายน พ.ศ. 2447 — 27 เมษายน พ.ศ. 2518) พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ ที่ต่อมาได้รับราชการฝ่ายในเป็นพระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต และได้เป็นพระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ หลังการสวรรคตของพระราชสวามี

สีสุวัตถิ์ กุสุมะ นารีรัตน์ สิรีวัฒนา
สมเด็จพระมหากษัตริยานี
สมเด็จพระราชินีเเห่งกัมพูชา
ดำรงพระยศ2 มีนาคม 2498 – 3 เมษายน 2503
พระราชสมภพ9 เมษายน พ.ศ. 2447
พนมเปญ อินโดจีนของฝรั่งเศส
สวรรคต27 เมษายน พ.ศ. 2518 (71 ปี)
ปักกิ่ง ประเทศจีน
พระราชสวามีพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต
พระราชบุตรพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
ราชวงศ์ตรอซ็อกผแอม
ราชสกุลสีสุวัตถิ์ (ประสูติ)
ราชสกุลนโรดม (อภิเษกสมรส)
พระราชบิดาพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์
พระราชมารดานโรดม กานวิมาน นรลักข์เทวี

พระราชประวัติ

แก้
 
สมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิรีวัฒนา พร้อมด้วยข้าราชบริพาร ณ ตำหนักฝ่ายใน พระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล

สมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิรีวัฒนา พระราชสมภพเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2447 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กับหม่อมเจ้านโรดม กานวิมาน นรลักข์เทวี (នរោត្តម កានវិមាន នរល័ក្ខទេវី) ขณะมีพระชนมายุ 16 พรรษา ได้เสกสมรสกับหม่อมเจ้านโรดม สุรามฤตเมื่อปี พ.ศ. 2463 ทั้งสองมีพระโอรสเพียงคนเดียวคือ หม่อมราชวงศ์นโรดม สีหนุ

ครั้นในกาลต่อมาหม่อมราชวงศ์นโรดม สีหนุ ได้รับการเลือกจากฝรั่งเศสให้สืบราชบัลลังก์ต่อจากพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ แทนสมเด็จกรมพระสีสุวัตถิ์ มุนีเรศพระอนุชา​ของพระองค์ ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง[2] แต่ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุได้สละราชสมบัติแก่พระราชบิดาที่ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต เพราะทรงตั้งพระทัยที่จะเป็นนักการเมือง การสละราชสมบัติครานั้นพระนางกุสุมะและพระราชสวามีทรงกันแสงอย่างหนัก[3] ครั้นพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤตเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2503 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุจึงเป็นประมุขแห่งรัฐสืบมา (แต่มิใช่ในฐานะพระมหาษัตริย์)

ล่วงในปี พ.ศ 2513 สมาชิกสภาแห่งชาติที่วางแผนโดยหม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ สิริมตะ ที่ลงมติถอดถอนพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุจากประมุขแห่งรัฐที่ขณะนั้นยังเสด็จเยือนต่างประเทศ โดยมีลอน นอลลงนามถอดถอนก่อนสถาปนาสาธารณรัฐเขมรขึ้น หลังจากนั้นได้เกิดเหตุการณ์พนมเปญแตก เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2518 ที่เกิดการสังหารเชื้อพระวงศ์และราษฎรกัมพูชาจำนวนมาก ส่งผลให้สมเด็จพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิรีวัฒนา เสด็จลี้ภัยออกจากกัมพูชา ก่อนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 27 เมษายนปีเดียวกัน ณ ปักกิ่ง ประเทศจีน ขณะมีพระชนมายุ 71 พรรษา

ความสนพระทัย

แก้

ช่วงปี พ.ศ. 2483 พระองค์ได้อุปถัมภ์ระบำเทพอัปสรขึ้นใหม่ โดยมีพระราชนัดดาพระองค์ใหญ่คือสมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี เป็นตัวชูโรง และเป็นนางรำที่มีชื่อเสียง[4]

อ้างอิง

แก้
  1. ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ (2559). การศึกษาเปรียบเทียบราชาศัพท์ในภาษาไทยและภาษาเขมรจากมุมมองข้ามสมัย (PDF). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 218.
  2. ธิบดี บัวคำศรี. ชุด "อาเซียน" ในมิติประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์กัมพูชา. กรุงเทพฯ:เมืองโบราณ. 2555, หน้า 84
  3. สุภัตรา ภูมิประภาส (30 ตุลาคม 2555). "เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (2): ชายาของพ่อ". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. สุภัตรา ภูมิประภาส (20 ตุลาคม 2555). "เรื่องจริงไม่อิงนิยายของราชสำนักกัมพูชา (1): เรื่องเล่าของเจ้าชายน้อย กับชีวิตที่พลัดพราก". ประชาไท. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้