จักรพรรดิโชมุ
(เปลี่ยนทางจาก สมเด็จพระจักรพรรดิโชมุ)
จักรพรรดิโชมุ (อังกฤษ: Emperor Shōmu , ญี่ปุ่น: 聖武天皇; โรมาจิ: Shōmu-tennō) จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่นองค์ที่ 45[1] อ้างอิงจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2] รัชสมัยของจักรพรรดิโชมุทอดยาวจากปี ค.ศ. 724 ถึง ปี ค.ศ. 749 ระหว่าง ยุคนาระ[3]
โชมุ | |
---|---|
จักรพรรดิญี่ปุ่น องค์ที่ 45 | |
3 มีนาคม ค.ศ. 724 - 19 สิงหาคม ค.ศ. 749 | |
ยุค | ยุคนารา |
ก่อนหน้า | เก็นโช |
ถัดไป | โคเก็ง |
พระบรมนามาภิไธย | เจ้าชายโอะบิโตะ |
พระอิสริยยศ | จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น |
พระราชสมภพ | ค.ศ. 701 |
สวรรคต | 4 มิถุนายน ค.ศ. 756 |
พระราชบิดา | จักรพรรดิมมมุ |
พระราชมารดา | ฟุจิวะระ โนะ มิยะโกะ |
จักรพรรดินี (โคโง) | จักรพรรดินีโคเมียว |
จักรพรรดิโชมุนับเป็นจักรพรรดิองค์แรกที่ได้เป็น ไดโจโฮโอ (มหาธรรมราชา)
พระราชประวัติ
แก้ก่อนขึ้นสืบ ราชบัลลังก์ดอกเบญจมาศ จักรพรรดิโชมุมีพระนามเดิมว่า เจ้าชายโอะบิโตะ (อังกฤษ: Prince Obito)
เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ใน จักรพรรดิมมมุ จักรพรรดิองค์ที่ 42 ที่พระราชสมภพแต่ ฟุจิวะระ โนะ มิยะโกะ[4]
เหตุการณ์ในพระชนมชีพของจักรพรรดิโชมุ
แก้จักรพรรดิโชมุยังทรงพระเยาว์ตอนที่พระราชบิดาสวรรคต ดังนั้น พระอัยยิกาของพระองค์ จักรพรรดินีเก็มเม และพระปิตุจฉา จักรพรรดินีเก็นโช จึงครองราชบัลลังก์ก่อนที่พระองค์จะครองราชบัลลังก์[4]
- 3 มีนาคม ค.ศ. 724 (วันที่ 2 เดือน 4 ปี โยโร ที่ 8): ในปีที่ 9 ของรัชสมัยจักรพรรดินีเก็นโช (元正天皇九年) จักรพรรดินีสละราชบัลลังก์และพระราชนัดดาของพระนางได้สืบทอดราชบัลลังก์ต่อ หลังจากนั้นไม่นาน จักรพรรดิโชมุได้ขึ้นสืบราชบัลลังก์[5]
- 31 มกราคม ค.ศ. 724 (ปี จิงกิ ที่ 1): เปลี่ยนชื่อศักราชเพื่อแสดงถึงการขึ้นสืบราชบัลลังก์ของจักรพรรดิโชมุ[6]
- ค.ศ. 735-737: ไข้ทรพิษระบาดใหญ่ในญี่ปุ่นมีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 25% ถึง 35%[7]
จักรพรรดิโชมุยังคงประทับที่พระราชวังเฮเซ[4]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 聖武天皇 (45)
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 57.
- ↑ Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 272–273; Varley, H. Paul. Jinnō Shōtōki, pp. 141–143; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 67–73., p. 67, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Varley, p. 141.
- ↑ Titsingh, p. 67, p. 67, ที่กูเกิล หนังสือ; Varley, p. 44; a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
- ↑ Titsingh, p. 67, p. 67, ที่กูเกิล หนังสือ.
- ↑ Farris, William Wayne (1985). Population, Disease, and Land in Early Japan, 645-900. Harvard University Asia Center. pp. 65–66. ISBN 9780674690059.