สมิงสอตุต
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
สมิงสอตุด (พม่า: သမိန်စောထွတ်, ออกเสียง: [θə.mèɪ̯ɰ̃ sɔ́ tʰʊʔ]; สวรรคตสิงหาคม 1550) เป็นผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์ ราชอาณาจักรหงสาวดี และเป็นผู้ลอบสังหารพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ของราชวงศ์ตองอู เดิมเป็นขุนนางชาวมอญที่ได้รับราชการให้ไปปกครองเมืองสะโตงในรัชสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ผู้ที่พิชิตราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญได้ในปี ค.ศ. 1539 เป็นผู้ที่ใกล้ชิดของกษัตริย์ เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1550 สมิงสอตุดและพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้เดินทางเข้าสู่พื้นที่ใกล้กับเมือง ปันตานาว บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวะดี เพื่อค้นหาช้างเผือกและได้มีการปลงพระชนม์พระองค์[1]
สมิงสอตุด Smim Sawhtut သမိန်စောထွတ် | |
---|---|
กษัตริย์ แห่ง อาณาจักรหงสาวดี | |
ครองราชย์ | กลางมิถุนายน – สิงหาคม ค.ศ. 1550 |
ก่อนหน้า | พระเจ้าสการะวุตพี |
รัชกาลถัดไป | สมิงทอ |
สวรรคต | สิงหาคม ค.ศ. 1550 พะโค |
ศาสนา | พุทธศานานิกายเถรวาท |
เมื่อปลงพระชนม์พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แล้ว สมิงสอตุดได้หนีไปยังเมืองสะโตงพร้อมกับสถาปนาตนเองเป็นกษัตริย์ ต่อมาขุนนางมอญในเมืองหงสาวดีได้ขับไล่รักษาการเจ้าเมือง เจ้ามังฆ้อง พระอนุชาพระองค์หนึ่งของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งขณะนั้นพระเจ้าบุเรงนองไม่ได้ประทับอยู่ด้วย[2] เนื่องจากต้องไปตามจับสมิงทอ ราชนิกุลมอญพระองค์หนึ่งซึ่งเป็นผู้ที่มีสิทธิครองราชบัลลังก์หงสาวดี ในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวะดี ขุนนางจึงได้เชิญสมิงสอตุดซึ่งมิใช่เชื้อสายราชนิกุลมอญมาครองราชบัลลังก์เพื่อฟื้นฟูราชวงศ์[1]
สมิงสอตุดปกครองแผ่นดินอย่างเผด็จการ ทำให้ขุนนางและประชาชนเริ่มเสื่อมความนิยม เหล่าขุนนางจึงได้ไปเชิญสมิงทอซึ่งเป็นเชื้อสายราชนิกุลมอญมาครองราชบัลลังก์ สมิงทอได้เดินทางออกจากเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวะดีหลังการติดตามของพระเจ้าบุเรงนอง และเดินทางไปยังเมืองเมาะตะมะไปต่อยังเมืองหงสาวดี ซึ่งขณะนั้นพระเจ้าบุเรงนองได้เลิกติดตามพระองค์ชั่วคราว เพื่อเดินทางกลับไปยังตองอูเมืองเกิดของพระองค์ทางตอนเหนือ สำหรับเตรียมพร้อมการทำสงครามที่จะเกิดในภายภาคหน้า กองทัพของสมิงทอและสมิงสอตุดสู้รบกันภายนอกเมืองหงสาวดี ด้านสมิงทอได้รับชัยชนะ สมิงสอตุดถูกจับและถูกสำเร็จโทษเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1550 หลังจากครองสิริราชสมบัติได้เพียง 1 เดือนเศษ โดยสมิงทอผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสการะวุตพีกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งราชอาณาจักรหงสาวดีได้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์ต่อมา[1]