สมิงทอ (พม่า: သမိန်ထော, ออกเสียง: [θə.mèɪ̯ɴ tʰɔ́]; ? – 27 มีนาคม 1553) หรือสมิงเตารามะ[1] เป็นผู้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์หงสาวดี และกษัตริย์องค์สุดท้ายในสายของราชวงศ์หงสาวดี พระองค์ปกครองพื้นที่เล็ก ๆ รอบ ๆ หงสาวดี ในฐานะกษัตริย์จากปี ค.ศ. 1550 ถึง ปี ค.ศ. 1552

พระเจ้าชัคคะลีมินทร์
(สมิงทอ သမိန်ထော)
พระเจ้าหงสาวดี
ครองราชย์สิงหาคม พ.ศ. 2093 – 12 มีนาคม พ.ศ. 2095
ก่อนหน้าสมิงสอตุต
รัชกาลถัดไปพระเจ้าบุเรงนอง
สวรรคต27 มีนาคม พ.ศ. 2096
พะโค
พระราชบิดาพญาหรั่นที่ 2
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท

พระองค์เป็นพระราชโอรสของพญาหรั่นที่ 2 และพระอนุชาของพระเจ้าสการะวุตพีที่ประสูติแต่พระสนม พระองค์เคยผนวชเป็นภิกษุ และเริ่มกู้ชาติเมื่อ ค.ศ. 1549 ในรัชสมัยพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้แห่งราชวงศ์ตองอู ซึ่งพิชิตและเข้ายึดครองกรุงหงสาวดีของชาวมอญได้เมื่อ 10 ปีก่อน เมื่อพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ถูกสมิงสอตุตคนสนิทของพระองค์ปลงพระชนม์ สมิงทอปรารถนาจะสืบราชสมบัติจึงถูกกองทัพพม่าตามล่า[2] ทรงลี้ภัยไปประทับที่เมาะตะมะ ได้ขุนนางและประชาชนมาเข้าร่วมกับพระองค์มาก จึงยกทัพมาสู้กับสมิงสอตุตผู้เป็นสามัญชน สมิงสอตุตพ่ายแพ้และถูกสำเร็จโทษในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1550 สมิงทอจึงได้ปราบดาภิเษกเป็นพระเจ้าหงสาวดี[3]ทรงพระนามว่าพระเจ้าชัคคะลีมินทร์[4] หรือพระเจ้าธอชุกคะลี[5]

พระองค์ปกครองหงสาวดีเป็นเวลาประมาณหนึ่งปีครึ่ง จนพระเจ้าบุเรงนองผู้มีสิทธิครองบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ ยกทัพจากเมืองตองอูเข้าโจมตีหงสาวดีในเดือนมีนาคมปี ค.ศ. 1552 พระเจ้าบุเรงนองได้ชัยชนะ สมิงทอหลบหนีไปเป็นเวลากว่าหนึ่งปีจนพระองค์ถูกจับในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1553 ถูกส่งตัวกลับมายังหงสาวดีและถูกสำเร็จโทษในวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1553[6][7][8]

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ
  1. พระราชพงศาวดารพม่า, หน้า 139
  2. พระราชพงศาวดารพม่า, หน้า 139
  3. Phayre 1967: 102–106
  4. พระราชพงศาวดารพม่า, หน้า 140
  5. ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 40
  6. Harvey 1925: 163
  7. Myint-U 2006: 69–70
  8. Hmannan Vol. 2 2003: 278
บรรณานุกรม
  • ประชุมพงศาวดารเล่ม 2 (ประชุมพงศาวดารภาค 1 ตอนปลาย และภาค 2). กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2506. 336 หน้า. หน้า 39-41.
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์. พระราชพงศาวดารพม่า. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2550. 1136 หน้า. หน้า 139-140. ISBN 978-974-7088-10-6
  • Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
  • Myint-U, Thant (2006). The River of Lost Footsteps—Histories of Burma. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-0-374-16342-6.
  • Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.
  • Royal Historical Commission of Burma (1832). Hmannan Yazawin (ภาษาพม่า). Vol. 1–3 (2003 ed.). Yangon: Ministry of Information, Myanmar.
ก่อนหน้า สมิงทอ ถัดไป
สมิงสอตุต   พระเจ้าหงสาวดี
(สิ้นสุดราชวงศ์หงสาวดี)

(พ.ศ. 2093 - 2095)
  พระเจ้าบุเรงนอง
(ราชวงศ์ตองอู)