สมศักดิ์ ศิษย์ชัชวาลย์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สมศักดิ์ ศิษย์ชัชวาลย์ หรือ สมศักดิ์ สิงห์ชัชวาลย์ มีชื่อจริงว่า สมศักดิ์ ต๊ะสิทธิ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 ที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นแชมป์โลกมวยสากลของ WBA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท ที่คว้าแชมป์มาครองได้อย่างสะใจคนไทย ด้วยการชนะทีเคโอแชมป์โลกถึงถิ่นที่ประเทศฝรั่งเศสอย่างดุเดือด แม้จะได้ครองตำแหน่งเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม
สมศักดิ์ ศิษย์ชัชวาลย์ | |
---|---|
เกิด | สมศักดิ์ ต๊ะสิทธิ์ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2520 |
ประวัติ
แก้ในวัยเด็กสมศักดิ์เป็นเด็กที่เกเรพอสมควร และมีนิสัยส่วนตัวชอบเลี้ยงไก่แจ้ สมศักดิ์เมื่อชกมวยสากลอาชีพ สามารถคว้าแชมป์เงาของ IBF จูเนียร์แบนตัมเวท มาได้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ที่ประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ไม่ได้ป้องกันตำแหน่งเลยสักครั้ง จึงสละมาเพื่อชิงแชมป์โลกในรุ่นที่ใหญ่กว่าคือ ซูเปอร์แบนตัมเวท ของ WBF ที่ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วงเวียนใหญ่ เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541 จากนั้นได้ป้องกันตำแหน่งไว้ได้อีก 5 ครั้ง ก่อนที่จะสละตำแหน่งแชมป์ไปในปี พ.ศ. 2544 เพื่อขึ้นชิงแชมป์เฉพาะกาล PABA (สมาคมมวยแห่งทวีปเอเชีย Pan Asian Boxing Association) ในรุ่นเดียวกัน โดยการเอาชนะน็อกนักมวยชาวญี่ปุ่น จากนั้นจึงได้เคลื่อนไหวชกอีก 2 ครั้ง ก่อนจะได้ชิงแชมป์จริงโดยชนะน็อกนักมวยชาวอินโดนีเซียไปได้ และสามารถป้องกันตำแหน่งเอาไว้ได้ถึง 18 ครั้ง
ต่อมา สมศักดิ์มีอันดับโลกของWBA ในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท อันดับที่ 1 จึงได้ขึ้นแชมป์โลกในไฟท์บังคับ กับ มาห์ยาร์ มงชิปัวร์ นักมวยชาวฝรั่งเศส ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2549 ที่จังหวัดโอดแซน ถิ่นของเจ้าของตำแหน่งเอง การชกในครั้งนั้นเต็มไปด้วยความตื่นเต้น เพราะทั้งคู่ผลัดกันรุกผลัดกันรับตลอดเวลา ก่อนที่สมศักดิ์จะเป็นฝ่ายเอาชนะที.เค.โอ.ไปได้ในยกที่ 10 อย่างไม่มีใครคาดคิด เพราะก่อนชกบ่อนการพนันถูกกฎหมายที่ฝรั่งเศส ให้ราคาต่อรองแทงหนึ่งจ่ายถึงสี่เท่าหากสมศักดิ์เป็นฝ่ายชนะ ซึ่งต่อมาในปลายปีการชกคู่นี้ทาง WBA ให้ยกย่องให้เป็นไฟต์ดุเดือดที่สุดแห่งปีด้วย และทำให้สมศักดิ์กลายเป็นนักมวยไทยรายแรกที่ได้แชมป์โลกที่ทวีปยุโรป และได้อีกหนึ่งฉายาคือ "นักชกใจเพชร"
แต่เมื่อป้องกันตำแหน่งเพียงครั้งแรก สมศักดิ์ก็เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอเพียงแค่ยก 3 ต่อ เซเลสติโน กาบาเยโร นักมวยแชมป์เฉพาะกาล WBA รุ่นเดียวกันชาวปานามาไปในปลายปีเดียวกันอย่างไม่มีใครคาดคิดอีกเช่นกัน
จากนั้นสมศักดิ์จึงชกเคลื่อนไหวอีกหลายครั้ง ทำฟอร์มชนะรวด และต้องมาชกตัดเชือกเพื่อค้นหาผู้ที่จะได้ขึ้นชิงแชมป์โลก WBA ในรุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท ต่อไป กับ พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม นักมวยไทย อดีตแชมป์เฉพาะกาลของ WBA รุ่นแบนตัมเวท เมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ที่ศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม การกีฬาแห่งประเทศไทย[1] ซึ่งมวยคู่นี้เป็นที่สนใจอย่างมากของแฟนมวยชาวไทย และผลปรากฏว่าสมศักดิ์เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอในยกที่ 11 ไป จนในวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553 สมศักดิ์แพ้น็อกยกที่ 4 ต่อ เฟอร์นันโด ออติช นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ที่ที่ว่าการอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมศักดิ์จึงประกาศแขวนนวมไปในที่สุด
ชีวิตส่วนตัว สมศักดิ์สมรสแล้ว มีลูกสาว 1 คน และลูกชาย 2 คน ปัจจุบันตั้งรกรากใช้ชีวิตอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งหลังแขวนนวมแล้ว สมศักดิ์มีอาชีพเป็นอาจารย์ประจำสถาบันการพลศึกษาเชียงใหม่ โดยสอนมวยไทยและมวยสากล ทั้งสอนมาตั้งแต่ยังชกมวยอยู่ และยังสอนที่ศูนย์กีฬาแห่งความเป็นเลิศ ของสถาบันการพลศึกษาเชียงใหม่อีกด้วย นอกจากนี้แล้วยังเป็นกรรมการตัดสินมวย และยังเป็นเจ้าของค่ายมวย "ส.สมศักดิ์" ที่ลูกชายทั้ง 2 ก็เป็นนักมวยอยู่ด้วย[2]
ชื่อนักมวยอื่นๆ
แก้- สมศักดิ์ ก่อเกียรติยิม
เกียรติประวัติ
แก้- แชมป์เงา IBF รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท (2539 -2540)
- ชิง, 7 ธันวาคม 2539 ชนะน็อคยกที่ 11 ริคกี้ มาทูเลสซี่ (อินโดนีเซีย) ที่ สุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย
- พ.ศ. 2540 สละแชมป์
- แชมป์โลก WBF รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท (2541 - 2544)
- ชิง 27 ธันวาคม 2541 ชนะน็อค ยก 5 เอลจอน ทาโบส ( แอฟริกาใต้) ที่ วงเวียนใหญ่ กทม.
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 9 กรกฎาคม 2542 ชนะคะแนน เจฟฟรีย์ มูนิกา ( เคนยา) ที่ จ.อ่างทอง
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 29 ตุลาคม 2542 ชนะน็อค ยก 4 อัลฟา ริซี่ ( อินโดนีเซีย) ที่ จ.ลำปาง
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 10 ธันวาคม 2542 เสมอกับ ฮารุโกะ คาวาอิ ( ญี่ปุ่น) ที่ จ.สุพรรณบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 11 มิถุนายน 2543 ชนะน็อค ยก 3 เฮร์รี มากาวิมบัง (อินโดนีเซีย) ที่ เถาเหยิน ไต้หวัน
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 25 พฤศจิกายน 2543 ชนะคะแนน ฮาซัน อัมบน (อินโดนีเซีย) ที่ จ.กาญจนบุรี
- พ.ศ. 2544 สละแชมป์
- แชมป์เฉพาะกาล PABA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท (2544)
- ชิง 9 มิถุนายน 2544 ชนะน็อค ยก 7 ทากาโอะ อิเกดะ (ญี่ปุ่น) ที่พัทยา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 26 ตุลาคม 2544 ชนะน็อค ยก 2 อลัน เมอร์เร ( ฟิลิปปินส์) ที่ จ.สุพรรณบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 27 ธันวาคม 2544 ชนะน็อค ยก 3 ไมเคิล โดมิงโก (ฟิลิปปินส์) ที่ วงเวียนใหญ่ (ภายหลังได้รับการแต่งตั้งเป็นแชมป์จริง)
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 8 มีนาคม 2545 ชนะน็อค ยก 3 ฮารี ซูฮารียาดี (อินโดนีเซีย) ที่ จังหวัดนครราชสีมา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 16 สิงหาคม 2545 ชนะน็อค ยก 6 แอบแรม ลูบิซี่ (แอฟริกาใต้) ที่ จ.ฉะเชิงเทรา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 14 พฤศจิกายน 2545 ชนะคะแนน แอนดรีส ดิก (แอฟริกาใต้) ที่ ตลาดกรุงเทพฯ
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 27 ธันวาคม 2545 ชนะน็อค ยก 12 เอ็ดเวิร์ด มโพฟู (แอฟริกาใต้) ที่ วงเวียนใหญ่
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 11 เมษายน 2546 ชนะน็อค ยก 12 เทรเวอร์ กูซ (แอฟริกาใต้) ที่ จ.ชุมพร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 5 มิถุนายน 2546 ชนะคะแนน อเล็กซานเดอร์ เอสคาสเนอร์ (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.อุตรดิตถ์
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 1 สิงหาคม 2546 ชนะคะแนน โรเบิร์ต ดาลินเซ (ฟิลิปปินส์) ที่ ห้างเดอะมอลล์ ท่าพระ
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10, 12 กันยายน 2546 ชนะน็อค ยก 8 มาเซล คาซิมอฟ ( รัสเซีย) ที่ จ.หนองคาย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 11, 28 พฤศจิกายน 2546 ชนะน็อค ยก 7 ทาเคียร์ อิบรากิมอฟ ( คาซัคสถาน) ที่ จ.เชียงราย
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 12, 27 กุมภาพันธ์ 2547 ชนะน็อค ยก 7 เออร์ซิน คาลูลอฟ (คาซัคสถาน) ที่ กรุงเทพฯ
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 13, 25 มีนาคม 2547 ชนะคะแนน ดอน ดอน ลาปุส (ฟิลิปปินส์) ที่ จ.ตราด
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 14, 29 เมษายน 2547 ชนะน็อค ยก 2 สตีเว่น โทเกลัง (อินโดนีเซีย) ที่ จ.นครราชสีมา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 15, 13 สิงหาคม 2547 ชนะคะแนน ซิมสัน บูต้า บูต้า (อินโดนีเซีย) ที่ พัทยา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 16, 1 กุมภาพันธ์ 2548 ชนะน็อค ยก 6 ยูริ จาร์คอฟ (คาซัคสถาน) ที่ ลานพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 17, 24 มีนาคม 2548 ชนะน็อค ยก 2 โยกี้ กอนซาเลซ (อินโดนีเซีย) ที่ จ.แพร่
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 18, 19 เมษายน 2548 ชนะน็อค ยก 6 ซอลต์ โพโทสต์ ( เช็กเกีย) ที่ สวนลุมไนท์บาซ่าร์ พระราม4
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 19, 29 มิถุนายน 2548 ชนะน็อค ยก 5 วูยิไยต์ เบเบ้ (แอฟริกาใต้) ที่ จ.อุบลราชธานี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 20, 20 กันยายน 2548 ชนะน็อค ยก 6 อัลมาซ แอสซานอฟ (คาซัคสถาน) ที่ จ.พังงา
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 21, 21 พฤศจิกายน 2548 ชนะน็อคยกที่ 6 แอดเรียนุส คาอาอูนี่ (อินโดนีเซีย) ที่ เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน
- พ.ศ. 2549 สละแชมป์
- แชมป์โลก WBA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท (2549)
- ชิง 18 มีนาคม 2549 ชนะทีเคโอ ยก 10 มาห์ยาร์ มงชิปัวร์ ( ฝรั่งเศส) ที่ พาเลส สปอร์ต มาเซล แซดาน จังหวัดโอดแซน แคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ ประเทศฝรั่งเศส
- เสียแชมป์โลก, 4 ตุลาคม 2549 แพ้ทีเคโอ ยก 3 เซเลสติโน กาบาเยโร ( ปานามา) ที่ วัดบ้านไร่ จ. นครราชสีมา
- แชมป์เฉพาะกาล PABA รุ่นซูเปอร์เฟเธอร์เวท
- ชิง 12 มิถุนายน 2552 ชนะคะแนน เอ็ดดี้ โคมาโร (อินโดนีเซีย) ที่ มุกดาหาร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 9 ตุลาคม 2552 เสมอ ดันเต้ เปาลิโน (ฟิลิปปินส์) ที่ สงขลา
- เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
- ชกคัดเลือกผู้ท้าชิงแชมป์โลก WBA รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท, 31 มีนาคม 2551 แพ้ทีเคโอยก 11 พูนสวัสดิ์ กระทิงแดงยิม ที่ศูนย์ฝึกกีฬาในร่ม การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อ้างอิง
แก้- ↑ sport.thaiza.com
- ↑ หน้า 9 กีฬา, 'นักชกใจเพชร'สมศักดิ์ สิงห์ชัชวาลย์ จากนักสู้มาเป็นครูที่ สพล.เชียงใหม่. คมชัดลึกปีที่ 16 ฉบับที่ 5644: วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560
- นิตยสารมวยโลก
- สถิติการชก