แชมป์เฉพาะกาล
แชมป์เฉพาะกาล (อังกฤษ: Interim championship) หมายถึงตำแหน่งแชมป์ที่ให้ผู้ที่เหมาะสมครองตำแหน่งไปก่อน เนื่องจากแชมป์โลกตัวจริงไม่อาจจะชกได้จะเนื่องด้วยสาเหตุอันใดก็แล้วแต่ แต่เมื่อทั้งคู่พร้อม แชมป์เฉพาะกาลกับแชมป์โลกตัวจริงต้องชกกันเพื่อหาแชมป์โลกตัวจริง แต่ระหว่างที่เป็นแชมป์เฉพาะกาลสามารถชกป้องกันตำแหน่งกับผู้ท้าชิงได้ และมีสถานภาพเช่นเดียวกับแชมป์โลกตัวจริงทุกประการ
แชมป์เฉพาะกาลของสถาบันหลัก
แก้เป็นสถาบันแรกของโลกที่ริเริ่มให้มีแชมป์เฉพาะกาล โดยเริ่มให้มีในปี พ.ศ. 2526 โดยนักมวยคนแรกที่เป็นแชมป์เฉพาะกาลคือ อัลเบอร์โต ดาวิลา นักมวยชาวอเมริกัน ในรุ่นแบนตัมเวท จากการชนะน็อกยกที่ 12 กิโก เบนฆิเนส นักมวยชาวเม็กซิกัน ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2526 ณ โอลิมปิกออดิทอเรียม ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เนื่องจากแชมป์โลกตัวจริงขณะนั้น คือ ลูเป ปินตอร์ ได้สละตำแหน่ง ต่อมาอัลเบอร์โตได้โอกาสชิงแชมป์โลกจริงที่ว่างกับ เอนริเก ซานเชซ นักมวยชาวโดมินิกัน ผลการชกดาวิลาชนะทีเคโอได้แชมป์โลกมาครอง ใน WBC แชมป์โลกเฉพาะกาล จะถูกเรียกว่า แชมป์เฉพาะกาลสภามวยโลก (WBC Interim champion)
สำหรับนักมวยไทยคนแรกที่เป็นแชมป์เฉพาะกาลสภามวยโลกและเป็นแชมป์เฉพาะกาลคนแรกของประเทศไทย คือ ศิริมงคล สิงห์มนัสศักดิ์ ในรุ่นแบนตัมเวท โดยได้มาในวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2539 ที่ สนามกีฬากลางจังหวัดพิษณุโลก เมื่อเป็นฝ่ายชนะทีเคโอ โฆเซ ลุยส์ บูเอโน นักมวยชาวเม็กซิกันไปได้ในยกที่ 5
องค์กรมวยโลก (WBO)
แก้เริ่มให้มีตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลในปี พ.ศ. 2537 นักมวยคนแรกที่ครองแชมป์นี้องค์กรมวยโลก คือ แมนนิง แกโลเวย์ นักมวยชาวสหรัฐรุ่นเวลเตอร์เวท โดยได้จากการชนะทีเคโอ แอนโทนี โจนส์ นักมวยชาวสหรัฐ เช่นเดียวกันกับแกโลเวย์ ในยกที่ 6 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ที่ โกลิเซโอ รูเบน โรดริเกซ บายามอน ปวยร์โตรีโก
สหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF)
แก้เริ่มให้มีตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลในปี พ.ศ. 2538 นักมวยคนแรกที่ครองแชมป์นี้ของสหพันธ์มวยนานาชาติ คือ รอบบี เรแกน นักมวยชาวอังกฤษรุ่นฟลายเวท โดยได้จากการชนะน็อก เฟริด เบน เจดดู นักมวยชาวตูนิเซีย ในยกที่ 2 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ที่ ประเทศเวลส์ สหราชอาณาจักร
สมาคมมวยโลก (WBA)
แก้เริ่มให้มีตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลในปี พ.ศ. 2541 นักมวยคนแรกที่ครองแชมป์นี้ของสมาคมมวยโลก คือ การ์โลส บาร์เรโต นักมวยชาวเวเนซุเอลา รุ่นซูเปอร์แบนตัมเวท โดยได้จากการชนะคะแนนเอกฉันท์ เอกตอร์ อาเซโร ซานเชซ นักมวยชาวโดมินิกัน ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2541 ที่กรุงการากัส ประเทศเวเนซุเอลา[1] ในปีต่อมาบาร์เรโตได้ชิงแชมป์โลกจริงกับ เนสตอร์ กาซา เจ้าของแชมป์โลกจริงชาวเม็กซิโก ที่สหรัฐอเมริกา ผลการชกบาร์เรโตแพ้ทีเคโอยก 8[2]
ส่วนนักมวยไทยรายแรกที่ครองแชมป์นี้ของสมาคมมวยโลก คือ สงคราม ป.เปาอินทร์ โดยได้มาจากการชนะคะแนนโดยเทคนิค รอนนี่ มากราโม นักมวยชาวฟิลิปปินส์ ในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2542 ที่ ศาลาว่าการเมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
ต่อมาสถานะของแชมป์เฉพาะกาลเปลี่ยนไป โดยทาง WBA ได้ริเริ่มตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลอันดับสูงสุดที่สูงกว่าแชมป์เฉพาะกาล คือ 'WBA GOLD' ในกรณีที่ตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาลว่างผู้ที่ได้แชมป์ WBA GOLD จะมีศักดิ์เป็นแชมป์เฉพาะกาลจากแชมป์โลกตัวจริงทั้งปกติและซูเปอร์แชมป์ แชมป์ WBA GOLD สามารถชิงแชมป์กับแชมป์โลกตัวจริงหรือรองแชมป์โลกในอันดับสูงสุดของรุ่นนั้น (เมื่อแชมป์โลกตัวจริงทั้งปกติหรือซูเปอร์แชมป์ตำแหน่งได้ว่างลง) ส่วนแชมป์เฉพาะกาลจะเป็นรองแชมป์โลกอันดับ 1 จะได้ชิงแชมป์โลกกับแชมป์โลกตัวจริงต่อไป ในกรณีที่แชมป์ WBA GOLD ว่าง
ในปัจจุบันสมาคมมวยโลกได้มีการยกเลิกตำแหน่งแชมป์เฉพาะกาล และลดสถานะแชมป์ WBA GOLD เป็นแชมป์ระดับภูมิภาคตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2564[3]
แชมป์เงา
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- Jackson, Ron. "Flyweight champ wins 15th defence." เก็บถาวร 2006-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน SuperBoxing. URL accessed 3 August 2006.
- WBA officials. World Boxing Association World Championships Regulations. World Boxing Association. PDF accessed 3 August 2006.
- 'ฟ้าลั่นจูเนียร์' จะแก้มือต้องรอ 'ทากายามา' ชกไฟต์บังคับก่อน. ไทยรัฐ. accessed 9 July 2015.
- ↑ Clarence George (October 20, 2015). "WBA Clarifies Need for Interim Titles". wbaboxing. สืบค้นเมื่อ September 5, 2021.
- ↑ ข้อมูลการชก boxrec.com
- ↑ Salvador Rodríguez (26 August 2021). "WBA eliminates all of its interim champion designations". ESPN. สืบค้นเมื่อ 26 August 2021.