สมมติฐานโลกยุติธรรม

สมมติฐานโลกยุติธรรม (อังกฤษ: just-world hypothesis, just-world fallacy) เป็นความเอนเอียงทางประชาน หรือเป็นการสมมุติว่า การกระทำของบุคคลหนึ่ง ๆ มีแนวโน้มที่จะนำผลที่ยุติธรรมโดยศีลธรรมและที่เหมาะสมมายังบุคคลนั้น ๆ คือในที่สุดกรรมดีก็จะได้ผลดี และกรรมชั่วก็จะได้ผลชั่ว กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นแนวโน้มที่จะอ้างหรือคาดหวังว่า ผลที่เห็นมีเหตุเนื่องกับพลังจักรวาลที่ปรับโลกให้สมดุลอย่างยุติธรรม ความเชื่อเช่นนี้ทั่วไปส่องถึงความเชื่อเรื่องความยุติธรรมจักรวาล ชะตากรรม ลิขิตของผู้เป็นเจ้า ความสมดุลทางจักรวาล ระเบียบจักรวาล และมีโอกาสสูงที่จะให้ผลเป็นเหตุผลวิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บุคคลให้เหตุผลความเคราะห์ร้ายของผู้อื่นว่า คน ๆ นั้น ๆ "สมควร" จะได้รับผลเช่นนั้น

ในภาษาอังกฤษ สมมติฐานเช่นนี้พบได้ในภาพพจน์ต่าง ๆ ที่แสดงนัยรับประกันที่จะได้ผลร้ายคืน เช่น "You got what was coming to you" (คุณได้สิ่งที่ควรจะมาหาคุณ) "What goes around comes around" (อะไรเวียนไปก็ย่อมจะเวียนมา) "chickens come home to roost" (ไก่ย่อมกลับบ้านเพื่อมานอน) และ "You reap what you sow" (คุณเก็บเกี่ยวสิ่งที่คุณหว่าน) เป็นสมมติฐานที่ศึกษากันอย่างกว้างขวางโดยนักจิตวิทยาสังคม เริ่มต้นที่งานทรงอิทธิพลของ ศ.ดร.เลอร์เนอร์ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960[1] ตั้งแต่นั้น งานวิจัยก็ได้ดำเนินต่อมาเรื่อย ๆ โดยตรวจสอบสมรรถภาพการพยากรณ์ของทฤษฎีนี้ในสถานการณ์ต่าง ๆ และในวัฒนธรรมต่าง ๆ ช่วยให้ความเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้นและขยายกว้างออกไป[2]

ประวัติ แก้

ทั้งนักปรัชญาและนักคิดทฤษฎีสังคมศาสตร์ ได้สังเกตการณ์และพิจารณ์ปรากฏการณ์ความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมมาก่อนแล้ว แต่ว่า งานของ ศ.เลอร์เนอร์ได้ทำให้สมมติฐานนี้กลายเป็นจุดสนใจงานวิจัยในสาขาจิตวิทยาสังคม

เม็ลวิน เลอร์เนอร์ แก้

ศ.เลอร์เนอร์เริ่มการศึกษาทางจิตวิทยาสังคมเรื่องความเชื่อ เมื่อทำงานสอบสวนเรื่องปฏิสัมพันธ์เชิงลบในสังคม[3] โดยต่อยอดงานของ ศ.สแตนลีย์ มิลแกรม ในเรื่องการเชื่อฟังผู้มีอำนาจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะตอบคำถามว่า ระบบการปกครองที่โหดร้ายทารุณ ก่อความทุกข์ทรมาน ยังจะรักษาความนิยมชมชอบจากประชาชนไว้ได้อย่างไร และคำถามเกี่ยวกับกระบวนการที่ประชาชนกลายมายอมรับบรรทัดฐานทางสังคมและกฎหมายที่ก่อความทุกข์ทรมาน[4]

การสอบสวนของ ศ.เลอร์เนอร์ได้รับอิทธิพลจากสังเกตการณ์ซ้ำ ๆ ที่เห็นการโทษให้ความผิดแก่ผู้รับเคราะห์หรือเหยื่อที่ได้รับความทุกข์ทรมาน ในช่วงการฝึกรักษาเป็นนักจิตวิทยา เขาได้เห็นการบำบัดรักษาคนไข้โรคจิตโดยแพทย์พยาบาลที่เขาทำงานร่วมด้วย แม้คนเหล่านั้นจะใจดี มีการศึกษา แต่พวกเขาก็มักจะโทษคนไข้เรื่องความทุกข์ทรมานที่คนไข้ได้รับ[5] ศ.เลอร์เนอร์ได้กล่าวถึงความแปลกใจของเขาที่ได้ยินนักศึกษาดูถูกคนจน โดยดูเหมือนจะไม่เข้าใจปัญหาโครงสร้างทางสังคมที่มีส่วนทำให้เกิดความยากจน[3] ในงานศึกษาเรื่องรางวัล เขาสังเกตว่า เมื่อชายคนหนึ่งในสองคนได้รับการสุ่มเลือกให้รับรางวัลเพื่องาน ๆ หนึ่ง ก็จะทำให้ผู้สังเกตการณ์คนอื่นประเมินชายนั้นในเชิงบวกมากกว่า แม้ในกรณีที่แจ้งผู้สังเกตการณ์ไว้แล้วว่า เป็นการให้รางวัลโดยสุ่ม[6][7] และทฤษฎีจิตวิทยาสังคมที่มีอยู่ในตอนนั้น รวมทั้งความไม่ลงรอยกันทางประชาน (cognitive dissonance) ก็ไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้ได้อย่างแจ่มแจ้ง[7] ความต้องการจะเข้าใจกระบวนการที่ก่อปรากฏการณ์เช่นนี้ จึงจูงใจให้ ศ.เลอร์เนอร์ ทำงานศึกษาแรกเกี่ยวกับทฤษฎีที่ทุกวันนี้เรียกว่า สมมติฐานโลกยุติธรรม

หลักฐานดั้งเดิม แก้

ในปี ค.ศ. 1966 ศ.เลอร์เนอร์กับผู้ร่วมงานเริ่มงานที่ใช้การทดลองแบบช็อก (shock paradigm) เพื่อตรวจสอบปฏิกิริยาของผู้สังเกตการณ์ต่อผู้รับเคราะห์ ในงานแรกที่ทำที่มหาวิทยาลัยแคนซัส มีการให้ผู้ร่วมการทดลองหญิง 72 คนดู "ผู้ร่วมงาน" ถูกไฟช๊อตในสถานการณ์ต่าง ๆ ตอนแรกผู้ร่วมการทดลองไม่ชอบใจเห็นความทุกข์ทรมานที่ปรากฏ แต่เมื่อดำเนินการต่อไปที่ผู้ร่วมการทดลองไม่สามารถทำอะไรได้ ผู้ร่วมการทดลองกลับเริ่มดูถูกผู้รับเคราะห์ การดูถูกจะเพิ่มขึ้นถ้าเกิดความทุกข์ทรมานมากกว่า แต่ว่าถ้าบอกผู้ร่วมการทดลองว่า ผู้รับเคราะห์จะได้ค่าตอบแทนจากความทุกข์ทรมานที่ได้รับ ผู้ร่วมการทดลองจะไม่ดูถูกผู้รับเคราะห์[4] ศ.เลอร์เนอร์และผู้ร่วมงานสามารถทำซ้ำสิ่งที่พบนี้ได้ต่อ ๆ มา และนักวิจัยคนอื่น ๆ ก็เช่นกัน[6]

ทฤษฎี แก้

เพื่ออธิบายผลที่พบเหล่านี้ในงานศึกษา ศ.เลอร์เนอร์ตั้งทฤษฎีว่า มีความเชื่ออย่างแพร่หลายว่า โลกยุติธรรม เป็นโลกที่การกระทำและปัจจัยอื่น ๆ มีผลที่พยากรณ์ได้และเหมาะสม การกระทำและปัจจัยปกติก็คือพฤติกรรมและลักษณะต่าง ๆ ส่วนบุคคล ปัจจัยที่ให้ผลโดยเฉพาะ จะเป็นเรื่องที่กำหนดโดยบรรทัดฐานทางสังคมและอุดมคติ (หรือคตินิยม) ศ.เลอร์เนอร์แสดงความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมว่า มีประโยชน์ คือ มันดำรงแนวคิดว่า บุคคลสามารถมีอิทธิพลต่อโลกในรูปแบบที่พยากรณ์ได้ ความเชื่อจะทำงานเหมือนกับเป็น "สัญญา" กับโลก เกี่ยวกับผลของพฤติกรรม ซึ่งทำให้บุคคลสามารถวางแผนอนาคตและมีพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ ที่มีเป้าหมาย เขาได้สรุปสาระสิ่งที่ค้นพบในหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ของเขาในปี ค.ศ. 1980 ชื่อว่า The Belief in a Just World: A Fundamental Delusion (ความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรม - ความหลงผิดแบบพื้นฐาน)[5]

ศ.เลอร์เนอร์มีทฤษฎีว่า ความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงตนให้เป็นสุข เพราะว่า บุคคลย่อมเจอหลักฐานเป็นประจำว่า โลกไม่ยุติธรรม คือ คนอาจได้รับความทุกข์ทรมานโดยที่ไม่ปรากฏสาเหตุ ดังนั้น คนจึงต้องมีกลยุทธ์ในการกำจัดความเสี่ยงต่อความเชื่อว่าโลกยุติธรรม ซึ่งอาจจะเป็นกลยุทธ์ที่มีเหตุผล หรือไร้เหตุผล กลยุทธ์ที่มีเหตุผลรวมทั้ง การยอมรับความจริงว่าโลกไม่ยุติธรรม ความพยายามป้องกันความไม่ยุติธรรมและให้ชดใช้คืน และการยอมรับความจำกัดของตนเอง ส่วนกลยุทธ์ไร้เหตุผลรวมทั้ง การปฏิเสธความจริง การถอนตัวออกทางสังคม (เช่นการไม่คุยกับใคร) และการตีความเหตุการณ์แบบแก้ต่าง[ต้องการอ้างอิง]

มีการตีความได้หลายอย่างที่จะทำให้เหตุการณ์เข้ากับความเชื่อว่าโลกยุติธรรม เช่นตีความผลที่ได้ สาเหตุ และ/หรือ ลักษณะต่าง ๆ ของผู้รับเคราะห์ และในกรณีที่เห็นความไม่ยุติธรรมที่ได้รับของคนที่ไม่ได้ทำอะไรผิด วิธีการหลักในการเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ก็คือ การตีความว่าผู้รับเคราะห์ควรที่จะได้รับผลอันนั้น[1] โดยเฉพาะก็คือ ผู้สังเกตการณ์อาจจะโทษผู้รับเคราะห์ ด้วยเหตุพฤติกรรมหรือลักษณะอะไรอื่น ๆ[6] งานวิจัยทางจิตวิทยาในสมมติฐานนี้โดยมาก พุ่งความสนใจไปในปรากฏการณ์สังคมเชิงลบ คือ การโทษหรือการดูถูกผู้รับเคราะห์ในสถานการณ์ต่าง ๆ[2]

ผลที่ได้อีกอย่างหนึ่งในการคิดเช่นนี้ก็คือว่า คน ๆ นั้นจะรู้สึกปลอดภัยกว่า เพราะว่าไม่เชื่อว่าตนได้ทำอะไรที่จะให้ได้รับผลลบเช่นนั้น[2] ซึ่งสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง (self-serving bias) ที่นักจิตวิทยาสังคมก็ได้สังเกตพบเช่นกัน[8]

มีนักวิจัยเป็นจำนวนมากที่ตีความเรื่องความเชื่อว่าโลกยุติธรรมว่า เป็นตัวอย่างในเรื่องการอธิบายเหตุ (causal attribution) ที่ผิดพลาด คือ ในเรื่องการโทษผู้รับเคราะห์ มีการอ้างเหตุของเคราะห์ร้ายว่าเป็นเพราะบุคคล แทนที่จะเป็นเพราะสถานการณ์ ดังนั้น ความเชื่อในเรื่องโลกยุติธรรม อาจจะสัมพันธ์กับ หรืออาจจะอธิบายได้โดย รูปแบบบางอย่างในทฤษฎีจิตวิทยาเรื่องการอธิบายเหตุ[9]

คำอธิบายอื่น แก้

เรื่องที่ประเมินเป็นความจริง แก้

มีนักวิชาการอื่นที่เสนอคำอธิบายอื่นเกี่ยวกับการดูถูกผู้รับเคราะห์ ข้อเสนอหนึ่งก็คือว่า ปรากฏการณ์ดูถูกผู้รับเคราะห์ เป็นการประเมินลักษณะผู้รับเคราะห์ที่ถูกต้อง ตัวอย่างเฉพาะในงานศึกษาแรกของ ศ.เลอร์เนอร์ก็คือ มันสมเหตุผลที่ผู้สังเกตการณ์จะดูถูกคนที่ปล่อยให้ตัวเองถูกช็อตด้วยไฟโดยไม่มีเหตุผล[10] แต่งานศึกษาต่อมาของ ศ.เลอร์เนอร์ คัดค้านสมมติฐานอื่นนี้ โดยแสดงให้เห็นว่า จะมีการดูถูกผู้รับเคราะห์เมื่อประสบทุกข์ทรมานจริง ๆ เท่านั้น ส่วนคนที่ตกลงที่จะรับทุกข์ทรมานแต่ไม่ได้ กลับมีการมองโดยเชิงบวก[11]

การลดความรู้สึกผิด แก้

คำอธิบายอื่นอีกอย่างหนึ่งของการดูถูกผู้รับเคราะห์ในยุคต้นการพัฒนาสมมติฐานนี้ก็คือ ผู้สังเกตการณ์ดูถูกผู้รับเคราะห์เพื่อลดความรู้สึกผิดของตน คือ พวกเขาอาจจะรู้สึกรับผิดชอบ หรือรู้สึกผิด ต่อความทุกข์ทรมานของผู้รับเคราะห์ ถ้าตัวเองมีส่วนร่วมในเหตุการณ์หรือในการทดลอง และเพื่อที่จะลดความรู้สึกผิดนี้ จึงอาจพยายามลดค่าของผู้รับเคราะห์เสีย[12][13][14] แต่ว่า ศ.เลอร์เนอร์และผู้ร่วมงานอ้างว่า ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการตีความเช่นนี้ และพวกเขาก็ได้ทำงานศึกษาหนึ่งที่พบว่า การดูถูกผู้รับเคราะห์เกิดขึ้นแม้ต่อผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ได้มีส่วนร่วมอะไรในกระบวนการทดลอง และจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องรู้สึกผิด[6]

หลักฐานอื่น ๆ แก้

หลังจากงานแรก ๆ ของ ศ.เลอร์เนอร์ ก็มีนักวิจัยอื่นที่ทำซ้ำผลที่พบนี้ได้ในสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผู้รับเคราะห์ งานประเด็นนี้ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1970 จนมาถึงทุกวันนี้ ตรวจสอบว่า ผู้สังเกตการณ์จะตอบสนองต่อผู้รับเคราะห์ในเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไป เช่นอุบัติเหตุรถยนต์ การข่มขืน การกระทำทารุณกรรมต่อคนในบ้าน ความเจ็บป่วย และความยากจน อย่างไร[1] โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว นักวิจัยพบว่า ผู้สังเกตการณ์มักจะทั้งโทษและดูถูกผู้รับเคราะห์ ดังนั้น ผู้สังเกตการณ์จะดำรงความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรม โดยเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของผู้รับเคราะห์[15]

ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970s นักจิตวิทยาสังคมคู่หนึ่ง พัฒนาการวัดค่าความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรม[16] ซึ่งต่อมาปรับปรุงในปี 1975 โดยเพิ่มคำถามเพื่อใช้วัดความเชื่อในด้านต่าง ๆ[17] และงานศึกษาในทฤษฎีนี้ต่อ ๆ มาก็ได้ใช้วิธีการวัดค่านี้

การกระทำทารุณ แก้

นักวิจัยได้ตรวจสอบว่า ผู้สังเกตการณ์ตอบสนองต่อผู้รับเคราะห์ในเรื่องการข่มขืนหรือทารุณกรรมอย่างอื่น ๆ อย่างไร ในงานศึกษาต้นแบบปี 1985 เรื่องการข่มขืนกับทฤษฎีนี้ นักวิจัยได้ให้บทความเล่าเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับชายคู่หนึ่งกับผู้ร่วมการทดลอง 2 กลุ่ม แต่บทความต่างกันในช่วงสุดท้ายของเรื่อง กลุ่มหนึ่งเป็นการจบเรื่องแบบไม่มีอะไร อีกลุ่มหนึ่งจบโดยที่ชายคนนั้นข่มขืนผู้หญิง แต่ผู้ร่วมการทดลองกลับตัดสินว่า การจบด้วยการข่มขืนเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และโทษผู้หญิงว่าถูกข่มขืนเพราะพฤติกรรมของตน แต่ไม่ใช่เพราะลักษณะนิสัย[18] เป็นผลการทดลองที่ทำซ้ำ ๆ ได้ ไม่ว่าจะจบด้วยการข่มขืน หรือจบด้วยความสุขคือการขอแต่งงาน[2][19]

นักวิจัยอื่น ๆ พบปรากฏการณ์เดียวกันในการประเมินพฤติกรรมรุนแรงต่อคู่ครอง งานศึกษาหนึ่งพบว่า การติเตียนโทษผู้รับเคราะห์หญิง จะรุนแรงขึ้นเมื่อระดับความสัมพันธ์ระหว่างคู่ครองสูงขึ้น (เช่นรู้จักกัน อยู่ด้วยกัน หรือแต่งงานกัน) ยกเว้นการโทษผู้ชายในกรณีที่รุนแรงถึงกับตีผู้หญิง[20]

พฤติกรรมอันธพาล แก้

นักวิจัยได้พยายามใช้สมมติฐานนี้เพื่ออธิบายพฤติกรรมระราน (Bullying คือทำตัวเป็นอันธพาล) เพราะผลงานที่ได้เรื่องความเชื่อว่าโลกยุติธรรม จึงคาดหวังกันว่า ผู้สังเกตการณ์จะดูถูกและโทษผู้รับเคราะห์จากพฤติกรรมอันธพาล แต่ผลที่พบกลับตรงกันข้าม คือผู้สังเกตการณ์ที่เชื่อเรื่องโลกยุติธรรมในระดับสูง กลับมีทัศนคติต่อต้านพฤติกรรมระรานในระดับที่สูงกว่า (แทนที่จะโทษผู้รับเคราะห์ตามที่คาดหวัง)[21]

นักวิจัยอื่นพบว่า ความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมที่มีกำลัง สัมพันธ์กับพฤติกรรมอันพาลในระดับที่ต่ำกว่า[22] ซึ่งเข้ากับแนวคิดของ ศ.เลอร์เนอร์ ว่าความเชื่อนี้มีผลเป็น "สัญญา" กับโลกที่ควบคุมความประพฤติ[5] มีหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงว่า ความเชื่อว่าโลกยุติธรรม มีผลช่วยป้องกันความเป็นสุขของเด็ก ๆ และวัยรุ่นในโรงเรียนจากพฤติกรรมอันธพาล[23] ดังที่ได้พบได้ในชนทั่วไป

ความเจ็บป่วย แก้

นักวิจัยอื่นพบว่า ผู้สังเกตการณ์โทษคนป่วยสำหรับความเจ็บป่วยของตน งานทดลองหนึ่งแสดงว่า คนที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ถูกดูถูก วัดโดยการให้คะแนนว่าสวยหรือหล่อ มากกว่าคนสุขภาพดี ความเจ็บป่วยที่ได้รับการศึกษารวมทั้ง อาหารไม่ย่อย ปอดบวม และมะเร็งที่ท้อง นอกจากนั้นแล้ว ระดับความดูถูกยังเพิ่มขึ้นในคนที่ป่วยหนักกว่า ยกเว้นโรคมะเร็ง[24] ระดับความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมที่สูงกว่า ก็สัมพันธ์กับการดูถูกผู้ป่วยโรคเอดส์ในระดับที่สูงกว่าด้วย[25]

ความยากจน แก้

ในงานศึกษาต่อ ๆ มา นักวิจัยตรวจดูปฏิกิริยาต่อความยากจนในมุมมองของความเชื่อนี้ ความเชื่อที่มีกำลัง สัมพันธ์กับการโทษคนจน ในขณะที่ความเชื่อที่อ่อนกำลัง สัมพันธ์กับการชี้เหตุผลภายนอกของความยากจน รวมทั้ง ระบบเศรษฐกิจโลก สงคราม และการขูดรีดเอาผลประโยชน์[26][27]

ถ้าตนเองเป็นผู้รับเคราะห์ แก้

งานวิจัยบางงานในเรื่องนี้ ตรวจสอบปฏิกิริยาของตนเองเมื่อตนเป็นผู้รับเคราะห์ งานวิจัยในปี 1979 พบว่าผู้ถูกข่มขืนมักจะโทษพฤติกรรมของตน แต่จะไม่โทษลักษณะนิสัย[28] ซึ่งมีสมมติฐานว่า การโทษพฤติกรรมของตนทำให้เหตุการณ์ดูเหมือนจะควบคุมได้

งานศึกษาผู้รับเคราะห์ในเรื่องการกระทำทารุณ ความเจ็บป่วย ความยากจน และในเรื่องอื่น ๆ ได้ให้หลักฐานที่สม่ำเสมอสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรมกับความโน้มเอียงที่จะโทษผู้รับเคราะห์[1] และดังนั้น สมมติฐานโลกยุติธรรมได้กลายเป็นทฤษฎีที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง

การปรับปรุงทฤษฎี แก้

งานศึกษาต่อมาในการวัดความเชื่อนี้ พุ่งความสนใจไปที่การกำหนดมิติต่าง ๆ ของความเชื่อ ซึ่งมีผลเป็นการพัฒนาวิธีวัดใหม่ ๆ และงานวิจัยที่ทำต่อ ๆ มา[2] มิติของความเชื่อนี้ สันนิษฐานว่ารวมทั้งความเชื่อว่าโลกไม่ยุติธรรม[29], ความเชื่อเรื่องความยุติธรรมโดยกฏสวรรค์ (immanent justice) ความยุติธรรมในที่สุด (ultimate justice)[30], ความหวังว่าโลกยุติธรรม และความเชื่อว่าตนสามารถลดระดับความไม่ยุติธรรม[31] งานวิจัยอื่น ๆ พุ่งความสนใจไปที่ขอบเขตต่าง ๆ ที่ความเชื่อนี้อาจจะมีผล คือ บุคคลอาจจะมีความเชื่อแบบต่าง ๆ กันในเรื่องส่วนตัว เรื่องการเมืองกับสังคม และเรื่องสังคมเป็นต้น[25] ขอบเขตกำหนดความต่างที่พบชัดเจนก็คือ ความเชื่อว่าโลกยุติธรรมระหว่างสิ่งที่เกิดกับตน กับสิ่งที่เกิดกับผู้อื่น ความเชื่อต่าง ๆ เหล่านี้มีผลต่างสัมพันธ์กับสุขภาพ

สิ่งที่สัมพันธ์กัน แก้

นักวิจัยได้ใช้การวัดความเชื่อนี้ เพื่อหาลักษณะทางจิตอื่นที่สัมพันธ์กับระดับความเชื่อที่สูง โดยมีงานศึกษาจำกัดจำนวนหนึ่ง ที่ได้ตรวจสอบอุดมคติที่สัมพันธ์กับความเชื่อ ซึ่งรวมทั้งลัทธิอำนาจนิยมแบบขวาจัด และจริยธรรมการทำงานของโปรเตสแตนต์ซึ่งเน้นการขยันทำงานและการเก็บออมรอมทรัพย์เหนือการกระทำอื่น ๆ เพื่อการศาสนา[32][33] งานวิจัยยังพบความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อกับความเลื่อมใสในศาสนาบางด้าน[34][35]

งานศึกษาความแตกต่างทางประชากรในสหรัฐอเมริกา รวมทั้งเพศ เชื้อชาติ เป็นต้น ไม่พบความแตกต่างในความเชื่ออย่างเป็นระบบ แต่ก็ปรากฏกว่าคนแอฟริกันอเมริกันมีระดับความเชื่อว่าโลกยุติธรรมน้อยที่สุด[36][37] การพัฒนาการวัดความเชื่อ ทำให้สามารถตรวจสอบความแตกต่างข้ามวัฒนธรรมในเรื่องนี้ งานวิจัยโดยมากแสดงว่า ความเชื่อแบบนี้มีในทุกวัฒนธรรม งานวิจัยหนึ่งตรวจสอบความเชื่อของนักเรียนในประเทศ 12 ประเทศ แล้วพบว่า ในประเทศที่ประชาชนส่วนมากรู้สึกว่าไร้อำนาจ ความเชื่อว่าโลกยุติธรรมจะอ่อนกว่าในประเทศอื่น[38] นี่สนับสนุนสมมติฐานนี้เพราะว่า ผู้ไร้อำนาจมักจะมีประสบการณ์ส่วนตัวและทางสังคมที่ให้หลักฐานว่า โลกไม่ได้ยุติธรรมหรือสามารถพยากรณ์ได้[39]

งานวิจัยปัจจุบัน แก้

ผลต่อสุขภาพใจที่ดี แก้

แม้ว่างานศึกษาในเบื้องต้นจะพุ่งความสนใจไปที่เรื่องลบทางสังคม งานวิจัยอื่นบอกเป็นนัยว่า ความเชื่อนี้ดี จนกระทั่งว่าเป็นเรื่องจำเป็นต่อสุขภาพทางใจ[40] ความเชื่อนี้สัมพันธ์กับความพอใจในชีวิต การอยู่เป็นสุข ที่เพิ่มขึ้น และความซึมเศร้าที่ลดลง[41][42] นักวิจัยกำลังพยายามหาเหตุผลว่า ทำไมความเชื่อนี้จึงมีผลดีต่อสุขภาพใจ แต่มีข้อเสนอว่าความเชื่อนี้เป็นขุมทรัพย์ทางจิตใจหรือเป็นวิธีการรับมือ (coping) ที่ช่วยบรรเทาความเครียดที่มีในชีวิตประจำวัน และที่เกิดเพราะเหตุการณ์ร้ายในชีวิต[43] ซึ่งเป็นสมมติฐานที่แสดงว่า ความเชื่อว่าโลกยุติธรรมสามารถเข้าใจโดยเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก (positive illusion)[44]

งานศึกษาต่าง ๆ แสดงว่า ความเชื่อนี้สัมพันธ์กับความเชื่อว่าตนสามารถควบคุมเหตุการณ์ได้ (locus of control)[17] ความเชื่อนี้ที่มั่นคง สัมพันธ์กับการยอมรับเหตุการณ์ร้ายในชีวิตได้ และความเศร้าโศกเสียใจที่มีน้อยกว่าเพราะเหตุการณ์ร้าย[43] นี่อาจจะเป็นวิธีอย่างหนึ่งที่ความเชื่อมีผลต่อสุขภาพใจ แต่มีนักวิชาการอื่นที่เสนอว่า ความสัมพันธ์เช่นนี้เป็นจริงเฉพาะความเชื่อเกี่ยวกับตน ส่วนความเชื่อเกี่ยวกับคนอื่น สัมพันธ์กับปรากฏการณ์สังคมเชิงลบ คือ การโทษและดูถูกผู้รับเคราะห์ดังที่เห็นในงานศึกษาอื่น ๆ[45]

งานวิจัยนานาชาติ แก้

แม้ว่าจะผ่านมา 40 ปีเริ่มจากงานทรงอิทธิพลของ ศ.เลอร์เนอร์ นักวิจัยก็ยังดำเนินการศึกษาปรากฏการณ์นี้อยู่ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรป และเอเชีย[7] แต่เป็นนักวิจัยชาวเยอรมันที่ให้ความรู้เร็ว ๆ นี้โดยมาก[3] เป็นผลงานที่รวบรวมเป็นหนังสือโดยมี ศ.เลอร์เนอร์พร้อมกับผู้ร่วมงานชาวเยอรมันเป็นบรรณาธิการ ชื่อว่า Responses to Victimizations and Belief in a Just World (การตอบสนองต่อการตกเป็นเหยื่อกับความเชื่อเรื่องโลกยุติธรรม)[46]

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Lerner, MJ; Montada, L (1998). An Overview: Advances in Belief in a Just World Theory and Methods. Responses to Victimizations and Belief in a Just World. New York: Plenum Press. pp. 1–7. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Furnham, A (2003). "Belief in a just world: research progress over the past decade". Personality and Individual Differences. 34: 795–817.
  3. 3.0 3.1 3.2 Lerner, MJ; Montada, L (1998). Preface. Responses to Victimizations and Belief in a Just World. New York: Plenum Press. pp. vii–viii. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  4. 4.0 4.1 Lerner, MJ; Simmons, CH (1966). "Observer's reaction to the "innocent victim": Compassion or rejection?". Journal of Personality and Social Psychology. 4 (2): 203–210.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. 5.0 5.1 5.2 Lerner, MJ (1980). The Belief in a Just World: A Fundamental Delusion. New York: Plenum.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Lerner, MJ; Miller, DT (1978). "Just world research and the attribution process: Looking back and ahead". Psychological Bulletin. 85 (5): 1030–1051.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. 7.0 7.1 7.2 Maes, J (1998). Eight Stages in the Development of Research on the Construct of BJW?. Responses to Victimizations and Belief in a Just World. New York: Plenum Press. pp. 163–185. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  8. Linden, M; Maercker, A (2011). Embitterment: Societal, psychological, and clinical perspectives. Wien: Springer.
  9. Howard, J (1984). "Societal influences on attribution: Blaming some victims more than others". Journal of Personality and Social Psychology. 47 (3): 494–505.
  10. Godfrey, B.; Lowe, C. (1975). "Devaluation of innocent victims: An attribution analysis within the just world paradigm". Journal of Personality and Social Psychology. 31: 944–951.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Lerner, MJ (1970). The desire for justice and reactions to victims. Altruism and helping behavior. New York: Academic Press. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  12. Davis, K; Jones, E (1960). "Changes in interpersonal perception as a means of reducing cognitive dissonance". Journal of Abnormal and Social Psychology. 61: 402–410.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  13. Glass, D (1964). "Changes in liking as a means of reducing cognitive discrepancies between self-esteem and aggression". Journal of Personality. 32.
  14. Cialdini, RB; Kenrick, DT; Hoerig, JH (1976). "Victim derogation in the Lerner paradigm: Just world or just justification?". Journal of Personality and Social Psychology. 33 (6): 719–724.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Reichle, B; Schneider, A; Montada, L (1998). How do observers of victimization preserve their belief in a just world cognitively or actionally?. Responses to victimization and belief in a just world. New York: Plenum. pp. 55–86. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Rubin, Z; Peplau, A (1973). "Belief in a just world and reactions to another's lot: A study of participants in the national draft lottery". Journal of Social Issues. 29: 73–93.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. 17.0 17.1 Rubin, Z; Peplau, LA (1975). "Who believes in a just world?". Journal of Social Issues. 31: 65–89.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Janoff-Bulman, R; Timko, C; Carli, LL (1985). "Cognitive biases in blaming the victim". Journal of Experimental Social Psychology. 21 (2): 161–177.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. Carli, LL (1999). "Cognitive Reconstruction, Hindsight, and Reactions to Victims and Perpetrators". and Social Psychology Bulletin. 25 (8): 966–979.
  20. Summers, G; Feldman, NS (1984). "Blaming the victim versus blaming the perpetrator:An attributional analysis of spouse abuse". Symposium A Quarterly Journal In Modern Foreign Literatures. 2 (4): 339–347.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. Fox, CL; Elder, T; Gater, J; Johnson, E (2010). "The association between adolescents' beliefs in a just world and their attitudes to victims of bullying". The British journal of educational psychology. Pt 2. 80: 183–98.{{cite journal}}: CS1 maint: location (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Correia, I; Dalbert, C (2008). "School Bullying". European Psychologist. 13 (4): 248254.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  23. Correia, I; Kamble, SV; Dalbert, C (2009). "Belief in a just world and well-being of bullies, victims and defenders: a study with Portuguese and Indian students". Anxiety, stress, and coping. 22 (5): 497–508.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Gruman, JC; Sloan, RP (1983). "Disease as Justice: Perceptions of the Victims of Physical Illness". Basic and Applied Social Psychology. 4 (1): 39–46.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. 25.0 25.1 Furnham, A; Procter, E (1992). "Sphere-specific just world beliefs and attitudes to AIDS". Human Relations. 45: 265–280.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. Harper, DJ; Wagstaff, G. F; Newton, JT; Harrison, KR (1990). "Lay causal perceptions of third world poverty and the just world theory". Social Behavior and Personality: an international journal. Scientific Journal Publishers. 18 (2): 235–238.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  27. Harper, DJ; Manasse, PR (1992). "The Just World and the Third World: British explanations for poverty abroad". The Journal of social psychology. Heldref Publications. 6.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  28. Janoff-Bulman, R (1979). "Characterological versus behavioral self-blame: inquiries into depression and rape". Journal of personality and social psychology. 37 (10): 1798–809.
  29. Dalbert, C; Lipkus, IM; Sallay, H; Goch, I (2001). "A just and unjust world: Structure and validity of different world beliefs". Personality and Individual Differences. 30: 561–577.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. Maes, J (1998). Immanent justice and ultimate justice: two ways of believing in justice. Responses to Victimizations and Belief in a Just World. New York: Plenum Press. pp. 9–40. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  31. Mohiyeddini, C; Montada, L (1998). ImBJW and self-efficacy in coping with observed victimization. Responses to Victimizations and Belief in a Just World. New York: Plenum Press. pp. 43–53. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  32. Lambert, AJ; Burroughs, T; Nguyen, T (1999). "Perceptions of risk and the buffering hypothesis: The role of just world beliefs and right wing authoritarianism". Personality and Social Psychology Bulletin. 25 (6): 643–656.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  33. Furnham, A; Procter, E (1989). "Belief in a just world: review and critique of the individual difference literature". British Journal of Social Psychology. 28: 365–384.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  34. Begue, L (2002). "Beliefs in justice and faith in people: just world, religiosity and interpersonal trust". Personality and Individual Differences. 32 (3): 375–382.
  35. Kurst, J; Bjorck, J; Tan, S (2000). "Causal attributions for uncontrollable negative events". Journal of Psychology and Christianity. 19: 47–60.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  36. Calhoun, L; Cann, A (1994). "Differences in assumptions about a just world: ethnicity and point of view". Journal of Social Psychology. 134: 765–770.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  37. Hunt, M (2000). "Status, religion, and the belief in a just world: comparing African Americans, Latinos, and Whites". Social Science Quarterly (81): 325–343.
  38. Furnham, A (1993). "Just world beliefs in twelve societies". Journal of Social Psychology. 133: 317–329.
  39. Furnham, A (1992). "Relationship knowledge and attitudes towards AIDS". Psychological Reports. 71: 1149–1150.
  40. Dalbert, C (2001). The justice motive as a personal resource: dealing with challenges and critical life events. New York: Plenum.
  41. Lipkus, IM; Dalbert, C; Siegler, IC (1996). "The Importance of Distinguishing the Belief in a Just World for Self Versus for Others: Implications for Psychological Well-Being". Personality and Social Psychology Bulletin. 22 (7): 666–677.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  42. Ritter, C; Benson, DE; Snyder, C (1990). "Belief in a just world and depression". Sociological Perspective. 25: 235–252.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  43. 43.0 43.1 Hafer, C; Olson, J (1998). Individual differences in beliefs in a just world and responses to personal misfortune. Responses to Victimizations and Belief in a Just World. New York: Plenum Press. pp. 65–86. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  44. Taylor, SE; Brown, J (1988). "Illusion and well-being: A social psychological perspective on mental health". Psychological Bulletin. 103: 193–210.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  45. Sutton, R; Douglas, K (2005). "Justice for all, or just for me? More evidence of the importance of the self-other distinction in just-world beliefs". Personality and Individual Differences. 39 (3): 637–645.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  46. Responses to victimizations and belief in the just world. New York: Plenum. 1998. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

เว็บไซต์ แก้