วินิตา ดิถียนต์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
รองศาสตราจารย์ คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ (เกิด 14 มีนาคม พ.ศ. 2492) เป็นนักประพันธ์นวนิยายชาวไทย นามปากกาที่เป็นที่รู้จัก คือ แก้วเก้า, ว.วินิจฉัยกุล, รักร้อย, ปารมิตา, วัสสิกา, อักษรานีย์ และเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ประจำปี พ.ศ. 2547
วินิตา ดิถียนต์ | |
---|---|
เกิด | วินิตา วินิจฉัยกุล 14 มีนาคม พ.ศ. 2492 โรงพยาบาลศิริราช จังหวัดพระนคร |
นามปากกา | ว.วินิจฉัยกุล แก้วเก้า รักร้อย ปารมิตา วัสสิกา อักษรานีย์ |
อาชีพ | นักเขียน |
คู่สมรส | สมพันธ์ ดิถียนต์ |
บุตร | 2 คน |
บิดามารดา |
|
ประวัติ แก้ไข
ว.วินิจฉัยกุล หรือ แก้วเก้า มีชื่อจริงว่า รองศาสตราจารย์ คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ (สกุลเดิม วินิจฉัยกุล) เกิดเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2492 เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จบปริญญาตรีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 34
ศึกษาต่อที่สหรัฐ จนจบปริญญาเอกสาขาหลักสูตรและการสอน(วรรณคดี)จากมหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นโคโลราโด รัฐโคโลราโด สหรัฐ เคยรับราชการที่คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นเวลา 25 ปีก่อนลาออกเพื่อรับบำนาญ มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ระดับ 9
เคยเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาการแปลให้นักศึกษาปริญญาโทของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538-2553
เป็นผู้ดูแลเว็บไซต์ชื่อ www.reurnthai.com ซึ่งให้ความรู้ทางภาษา วัฒนธรรม วรรณคดี ประวัติศาสตร์ และความรู้รอบตัวด้านอื่น ๆ โดยใช้นามแฝงว่า “เทาชมพู” ซึ่งมีที่มาจากสีของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นนักวิชาการ นักวิจารณ์ นักแปลและนักเขียนในนามปากกา “ว.วินิจฉัยกุล” และ “แก้วเก้า” ได้รับรางวัลด้านผลงานประพันธ์ จากภาครัฐและเอกชน 23 รางวัล เช่น รัตนโกสินทร์ สองฝั่งคลอง นิรมิต ราตรีประดับดาว บูรพา มาลัยสามชาย ฯลฯ ในจำนวนนี้ นวนิยายเรื่อง “รัตนโกสินทร์” ได้รับการยกย่องเป็นวรรณกรรมแห่งชาติ
เป็นนักแต่งเพลง(เนื้อร้อง)ให้วงดนตรีสุนทราภรณ์ เช่น เพลงเฉลิมพระเกียรติ ถวายสัจจา แทบทิพย์เทวี
เคยเป็นอนุญาโตตุลาการของกรมทรัพย์สินทางปัญญา เป็นประธานกรรมการตัดสินรางวัลวรรณกรรมซีไรต์ ประเภทนวนิยาย ปัจจุบันเป็นอนุกรรมาธิการกิจการเด็กและเยาวชนของคณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่ปรึกษามูลนิธิสุนทราภรณ์
คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์ มีธิดาสองคน คือ
- ดร.สาวิตา ดิถียนต์ สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสองจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโทและเอกด้านละครเวที สาขาการเขียนบท จาก มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ดร.วัตสาตรี ดิถียนต์ สำเร็จปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับสองจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโทสาขาทัศนศิลป์ (คะแนนเฉลี่ย 4.00) จากมหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นโคโลราโด รัฐโคโลราโด สหรัฐ และปริญญาเอกสาขาเทคโนโลยีการศึกษา (คะแนนเฉลี่ย 3.99) รางวัล 2 เหรียญทอง การอ้างถึงรางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น และ การอ้างอิงของคณบดีเพื่อความเป็นเลิศ จากมหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นโคโลราโด ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผลงาน แก้ไข
นามปากกา ว.วินิจฉัยกุล แก้ไข
- กลิ่นกุหลาบ
- กะไหล่ทอง
- แก้วตา
- ของขวัญวันวาน
- คืนสว่าง
- คลื่นกระทบฝั่ง
- ความฝันครั้งที่สอง
- ความลับของดาวมรกต
- คุณชาย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2542 ช่อง7)
- เงาระบายสี
- จุดดับในดวงตะวัน
- เจ้าสาวในสายลม (อยู่ระหว่างสร้างเป็นละครโทรทัศน์ ช่องวัน)
- ชายแพศยา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2566 ช่อง3)
- ตามลมปลิว
- ทะเลแปร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2540 ช่อง3 และ 2563 ช่องอมรินทร์34)
- ทางรัตติกาล
- ทางไร้ดอกไม้
- ทานตะวัน
- เทวาพาคู่ฝัน
- นับทองครองคู่
- น้ำใสใจจริง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2537 ช่อง7 2543 ช่อง3)
- บทเพลงแห่งคิมหันต์
- บ้านของพรุ่งนี้
- บ้านบุญหล่น
- บ้านพิลึก
- บูรพา
- เบญจรงค์ห้าสี (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2539 ช่อง7)
- ใบไม้ร่วง
- ปัญญาชนก้นครัว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2542 และ 2555 ช่อง3)
- ปาก (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2561 ช่องGMM25)
- พลอยเปลี่ยนสี
- เพชรกลางไฟ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2560 ช่อง3)
- เพลงพรหม
- เพลงสายลม-หน้าต่างสายลม
- พาเที่ยววันวานกับคุณยาย
- ฟ้าต่ำ
- มณีร้าว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2533 ช่อง 7 )
- มายา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2544 และ 2560 ช่อง7)
- มาลัยลายคราม
- มาลัยสามชาย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2553 ช่อง5)
- มิถิลา-เวสาลี
- เมืองโพล้เพล้
- แม่พลอยหุง
- เยี่ยมวิมาน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2539 ช่อง3)
- ร่มไม้ใบบาง
- รัตนโกสินทร์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2539 ช่อง7)
- ระหว่างดอกไม้...กับต้นข้าว
- ราตรีประดับดาว
- ร้าย
- เรือนไม้สีเบจ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2547 ช่อง3)
- ไร้เสน่หา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2528 ช่อง3 และ 2561 ช่องGMM25)
- ลมพัดผ่านดาว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2566 ช่อง7)
- ละครคน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2530 ช่อง3 และ 2560 ช่องGMM25)
- ลินลาน่ารัก
- ลีลาแห่งใบไม้ร่วง
- วงศาคณาญาติ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2533 ช่อง3 และ 2566 ช่องอมรินทร์ทีวี)
- วังดอกหญ้า
- วัสสิกา
- เศรษฐีตีนเปล่า (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2544 และ 2563 ช่อง7)
- เศรษฐีใหม่
- สงครามเงิน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2532 ช่อง 7 และ 2566 ช่องอมรินทร์ทีวี)
- สองฝั่งคลอง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2535 ช่อง7)
- เส้นไหมสีเงิน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2555 ช่อง3)
- สืบตำนาน สานประวัติ
- สุดหัวใจที่ปลายรุ้ง
- โสดสโมสร
- หญ้าแพรก ดอกมะเขือ และเรือน้อย
- หลงเงา
- เหลี่ยมดาริกา
- รวมเรื่องสั้น แหวนแกมแก้ว
- อยู่ฟ้าเดียวกัน
นามปากกา แก้วเก้า แก้ไข
- กลับไปสู่วันฝัน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2562 ช่องpptv)
- แก้วราหู (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2529 ช่อง3)
- คนเหนือดวง
- คุณป้ามาธูร ตอน คดีเจ้าสาวหาย
- คุณป้ามาธูร ตอน คดีศึกวังน้ำร้อน
- เงาพราย (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2554 ช่อง3)
- จงกลกิ่งเทียน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2553 ช่อง3)
- จอมนาง
- จากฝัน...สู่นิรันดร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2551 ช่อง3)
- เจ้าบ้าน เจ้าเรือน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2559 ช่อง3)
- ช่อมะลิลา
- ดอกแก้วการะบุหนิง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2543 ช่อง3)
- แดนดาว
- แต่ปางก่อน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 3 ครั้ง 2530และ2548 ช่อง3 2560 ช่องวัน)
- ทางเทวดา-เทวาวาด
- เทวัญบันดาล
- นาคราช
- นางทิพย์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2535 และ 2561 ช่อง7)
- นิมิตมาร (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2551 ช่อง3)
- นิรมิต (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2540 ช่อง7)
- นิยายนิรภัย
- บารมีพระแม่ป้อง ปกพื้นธรณิน
- ปลายเทียน (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2545 ช่อง3)
- ผ้าทอง (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2537 ช่อง7)
- พลอยเก้าสี
- พญาปลา
- พิมมาลา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2554 ช่อง3)
- มนตรา
- เมืองมธุรส
- เรือนนพเก้า
- เรือนมยุรา (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2540 ช่อง3)
- วสันต์ลีลา
- วิมานมะพร้าว (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2537 และ 2556 ช่อง7)
- สาวสองวิญญาณ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2565 ช่อง7)
- สื่อสองโลก (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2560 ช่อง7)
- หน้ากากดอกซ่อนกลิ่น (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2536 ช่อง7 และ 2552 ช่อง3)
- หนุ่มทิพย์ (สร้างเป็นละครโทรทัศน์ 2 ครั้ง 2530 และ 2542 ช่อง7)
- อธิษฐาน
- อมตะ
เรื่องสั้น แก้ไข
- เพขรสีน้ำเงิน (เขียนร่วมกับ ชูวงศ์ ฉายะจินดา , ชมัยภร แสงกระจ่าง , กฤษณา อโศกสิน , นราวดี , กิ่งฉัตร , ปิยะพร ศักดิ์เกษม , นายา และ ประภัสสร เสวิกุล )
- แหวนแกมแก้ว
รางวัลและเกียรติประวัติ แก้ไข
- บุคคลดีเด่นทางด้านอนุรักษ์มรดกไทยสาขาภาษาและวรรณกรรม เนื่องในปีอนุรักษ์มรดกไทย สาขาภาษาและวรรณกรรม ปี พ.ศ. 2537 (The Thai National Heritage Preservation Award)
- บุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2540 (The Thai National Culture Award)
- รางวัลพระเกี้ยวทองคำ นิสิตเก่าดีเด่นของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี พ.ศ. 2544
- รางวัลเกียรติคุณเซอร์เวียม หรือ Angela Award ของชมรมศิษย์อุร์สุลิน แห่งประเทศไทย ในฐานะศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ที่ได้รับใช้สังคมอย่างมีคุณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2547
- ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (National Artist) ปี พ.ศ. 2547
- ครอบครัวประชาธิปไตยตัวอย่าง(ครอบครัว’ดิถียนต์’ สมพันธ์-คุณหญิงวินิตา ดิถียนต์) ประจำปี พ.ศ. 2548 จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ
- เป็นชาวต่างชาติคนแรก ที่ได้รับปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (Doctor of Humane Letters) จากสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นโคโลราโด รัฐโคโลราโด สหรัฐ ประจำปี พ.ศ. 2548 ในฐานะศิษย์เก่า ที่ได้สร้างผลงานวรรณกรรมจนได้รับรางวัลระดับชาติเป็นจำนวนมาก และนำชื่อเสียงมาให้มหาวิทยาลัย
- แม่ดีเด่น ของกรุงเทพมหานคร ประจำปี พ.ศ. 2550
- รางวัลสุรินทราชา นักแปลอาวุโสดีเด่นของสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย ปี พ.ศ. 2551
- ศิษย์เก่าดีเด่น (Honored Alumna) ของมหาวิทยาลัยนอร์เทิร์นโคโลราโด เมื่อปี พ.ศ. 2552
- รางวัลปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ประจำปี พ.ศ. 2557 ประกอบด้วยเหรียญเกียรติคุณศิลป์ พีระศรี และเกียรติบัตร
- รางวัลเชิดชูเกียรติ งานวรรณกรรมประจำเขต ของกรุงเทพมหานคร จากนวนิยายเรื่อง “สองฝั่งคลอง”(เขตคลองสาน) “จากฝัน สู่นิรันดร”(เขตลาดพร้าว) และ “บูรพา”(เขตธนบุรี) ปี พ.ศ. 2557
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[1]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[2]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) (ฝ่ายใน)[3]
- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[4]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๘๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕๔, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2022-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๘ ข หน้า ๕, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๑๐๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-10-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๖๓, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- ข้อมูลศิลปินแห่งชาติ จากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เก็บถาวร 2005-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ฐานข้อมูลเก็บถาวร 2006-03-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน