วัดตรีทศเทพวรวิหาร
วัดตรีทศเทพ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร[1] สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดตรีทศเทพวรวิหาร | |
---|---|
พระเจดีย์ วัดตรีทศเทพ | |
ที่ตั้ง | แขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร |
นิกาย | เถรวาท ธรรมยุติกนิกาย |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระพุทธนวราชบพิตร |
เจ้าอาวาส | พระเทพวชิรปาโมกข์ (อาชว์ อาชฺชวปเสฏฺโฐ) |
หมายเหตุ | |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | วัดตรีทศเทพวรวิหาร |
ขึ้นเมื่อ | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2539 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000047 |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
ประวัติ
แก้วัดตรีทศเทพ สร้างขึ้นปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบเพียงว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ได้บริจาคทรัพย์และกำหนดเขตไว้จะสร้างวัด แต่ไม่ทันได้เริ่มก่อสร้างก็สิ้นพระชนม์ลงเสียก่อน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส จึงทรงรับทำการก่อสร้างวัดต่อมา จนขุดคูวัด สร้างกุฏิ ศาลา โรงฉัน เป็นต้นแล้วเสร็จ แต่ยังไม่ทันได้สร้างวิหาร อุโบสถ และศาลาการเปรียญ ก็สิ้นพระชนม์ลงอีก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงรับมาดำเนินการเอง โดยโปรดเกล้าฯ ให้พระยาราชสงครามเป็นผู้อำนวยการสร้างจนแล้วเสร็จในปีมะโรง พ.ศ. 2410 และพระราชทานนามว่าวัดตรีทศเทพ แปลว่าวัดของเทพผู้ชายสามองค์ (ตรี (สาม) + ทศ (ผู้ชาย) + เทพ)[2]
ลำดับเจ้าอาวาส
แก้วัดตรีทศเทพมีเจ้าอาวาสตามลำดับ ดังนี้[3]
ลำดับที่ | รายนาม | เริ่มวาระ | สิ้นสุดวาระ |
1 | พระครูปลัดจุลานุนายก (คง) | พ.ศ. 2411 | ? |
2 | พระสมุห์เกตุ | ? | ? |
3 | พระปลัดเจียม | ? | ? |
4 | พระวินัยรักขิต (จันทร์) | พ.ศ. 2445 | พ.ศ. 2446 |
5 | พระครูวินัยธรแสง | ? | ? |
6 | พระสังกิจคุณ (ขำ อินฺทวํโส) | พ.ศ. 2443 | พ.ศ. 2487 |
7 | พระนิพากรกิตติพิลาศ (อรุณ อรุโณ) | พ.ศ. 2488 | พ.ศ. 2517 |
8 | พระเทพวัชรธรรมาภรณ์ (สุรพงส์ ฐานวโร) | พ.ศ. 2518 | พ.ศ. 2539 |
9 | พระวินัยบัณฑิต (ประพันธ์ วรพนฺธุ) | พ.ศ. 2540 | พ.ศ. 2545 |
10 | พระเทพวชิรปาโมกข์ (อาชว์ อาชฺชวปเสฏฺโฐ) | พ.ศ. 2565 |
-
พระพุทธนวราชบพิตร พระประธานในพระอุโบสถ
-
จิตรกรรมฝาผนังฝีมือจักรพันธุ์ โปษยกฤต
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง เก็บถาวร 2011-11-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 32, ตอน 0 ก, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2458, หน้า 292
- ↑ พระพุทธนวราชบพิตร และ ประวัติวัดตรีทศเทพ, หน้า 7-11
- ↑ พระพุทธนวราชบพิตร และ ประวัติวัดตรีทศเทพ, หน้า 21
- บรรณานุกรม
- วัดตรีทศเทพวรวิหาร. พระพุทธนวราชบพิตร และ ประวัติวัดตรีทศเทพ. สมุทรปราการ : บริษัท เอเชีย แปซิฟิค ออฟเซ็ท จำกัด, 2554. 186 หน้า. ISBN 978-974-496-565-3