พระพุทธนวราชบพิตร

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริสร้างพระราชทานเป็นพระประจำจังหวัด เมื่อ พ.ศ. 2508 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ เก็บถาวร 2011-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน นายช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร ปั้นหุ่นพระพุทธนวราชบพิตร ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน และทรงพระพุทธลักษณะด้วยพระองค์เองจนพอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้โปรดเกล้าให้เททองหล่อพระพุทธรูป เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2509

ไฟล์:พระพุทธนวราชบพิตร1.png
พระพุทธนวราชบพิตร พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร ถวายพระธรรมเทศนาที่มีพระพุทธนวราชบพิตรเป็นประธาน
ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร ได้อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตร[1] พระพุทธรูปประจำศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร มาประดิษฐาน ณ ท้องสนามหลวง

พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 23 เซนติเมตร สูง 40 เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้าบรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรให้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด[ลิงก์เสีย] ประดิษฐานไว้ ณ ศาลากลางจังหวัดของทุกจังหวัด และเป็นพระพุทธรูปประจำหน่วยทหาร ประดิษฐานไว้ ณ กองบัญชาการหน่วยทหาร

จังหวัดแรกที่ได้รับพระมหากรุณาพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร ก็คือจังหวัดหนองคาย ซึ่งได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2510 ในโอกาสนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ได้มีพระราชดำรัสแก่ชาวจังหวัดหนองคาย มีความสำคัญที่ขออัญเชิญมาเฉพาะบางตอน ดังนี้

...ข้าพเจ้ามาเยี่ยมท่านคราวนี้ ได้นำพระพุทธนวราชบพิตรมามอบให้ด้วย พระพุทธรูปองค์นี้ข้าพเจ้าสร้างขึ้นเพื่อมอบไว้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ที่ฐานบัวหงายข้าพเจ้าได้บรรจุพระพิมพ์องค์หนึ่ง ซึ่งทำขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ อันได้มาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร...

...พระพุทธนวราชบพิตรองค์นี้ นอกจากจะถือว่าเป็นนิมิตหมายแห่งคุณพระรัตนตรัย อันเป็นที่เคารพสูงสุดแล้ว ข้าพเจ้ายังถือเสมือนเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ของประเทศไทย และความสามัคคีกลมเกลียวกันของประชาชนชาวไทยอีกด้วย ข้าพเจ้าจึงได้บรรจุพระพิมพ์ที่ทำขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักรดังกล่าว และนำมามอบให้แก่ท่านด้วยตนเอง...

ขออานุภาพแห่งพระพุทธนวราชบพิตร จงปกปักรักษาท่านให้พ้นจากทุกข์ภัยทุกๆประการ บันดาลให้เกิดความสุขสวัสดี มีความก้าวหน้ารุ่งเรืองในการประกอบอาชีพ และมีความสมัครสมานกัน ในอันที่จะร่วมกันสร้างเสริมความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าให้แก่บ้านเมืองของเราสืบไป

พระพุทธนวราชบพิตรเป็นพระประจำจังหวัด แก้

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรเป็นพระประจำจังหวัดทั่วราชอาณาจักรไทย ดังนี้

ข้าพเจ้ามาเยี่ยมท่านคราวนี้ได้นำ พระพุทธนวราชบพิตรมามอบให้ท่านด้วย พระพุทธนวราชบพิตรองค์นี้ ข้าพเจ้าสร้างขึ้นเพื่อมอบให้เป็นพระพุทธรูปประจำจังหวัด ที่บัวฐาน ข้าพเจ้าบรรจุพระพิมพ์ (พระสมเด็จจิตรลดา) ไว้องค์หนึ่ง เป็นพระ (พระสมเด็จจิตรลดา) ที่ทำขึ้นด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งข้าพเจ้าได้มาจากทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักรมีผงจากองค์พระธาตุศรีสองรัก จังหวัดเลยนี้รวมอยู่ด้วย ข้าพเจ้าถือว่าพระพุทธนวราชบพิตร เป็นที่ตั้งแห่งคุณพระรัตนตรัยอันเป็นที่เคารพสูงสุดและเป็นที่หมายของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประเทศไทย และคนไทยทั้งชาติจึงได้บรรจุพระพิมพ์ (พระสมเด็จจิตรลดา) ที่ทำด้วยผงศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว ให้เป็นพระพุทธรูปสำคัญ และนำมามอบให้ท่านด้วยตนเอง ท่านทั้งหลายจงรับพระพุทธนวราชบพิตรนี้ไว้ เพื่อเป็นสิริมงคลสำหรับจังหวัดและสำหรับตัว เป็นที่ยึดเหนี่ยวของจิตใจ ในการที่จะสมานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันประกอบความดี และขอให้ระลึกไว้เสมอเป็นนิตย์ด้วยว่า ในการกระทำการงานทั้งปวงนั้น ทุกคนต้องมีความตั้งใจจริงและขยันหมั่นเพียร ประกอบด้วยความอะลุ้มอล่วย ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เมตตามุ่งดีมุ่งเจริญต่อกัน ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต และความสามัคคี ถือเอาประโยชน์ร่วมกัน เป็นจุดประสงค์สำคัญ งานของท่านจึงจะสำเร็จผลได้โดยสมบูรณ์และจะช่วยให้ท่าน สามารถรวมกำลังกัน รักษาความเป็นปึกแผ่นมั่นคง ของจังหวัดของท่าน พร้อมกับพัฒนาให้เจริญรุดหน้าต่อไปในทุก ๆ ทางได้ ขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัย พระธาตุศรีสองรัก และพระพุทธนวราชบพิตร จงปกปักรักษาท่านทั้งปวง ให้แผ้วพ้นจากทุกข์และภัยทุก ๆ ประการ บันดาลให้เกิดความสุขความสวัสดี และความสามัคคีอันมั่นคง ให้ทุกคนสามารถประกอบกรณียกิจน้อยใหญ่ในหน้าที่ สำเร็จลุล่วงได้ดังประสงค์ บังเกิดความเจริญรุ่งเรือง แก่จังหวัดเลย และแก่ประเทศชาติยิ่งสืบไป

พระราชทานพระบรมราโชวาทให้คนไทยสำนึกอยู่ในความสามัคคี แก้

พ.ศ. 2508 - 2513 ที่ฐานของพระพุทธนวราชบพิตรมีข้อความจารึกเป็นภาษาบาลีว่า ทยฺยชาติยา สามคฺคิยํ สติสญชานเนน โภชิสิยํ รกฺขนฺติ แปลว่า คนชาติไทยจะรักษาความเป็นไทยอยู่ได้ด้วยมีสติ สำนึกอยู่ในความสามัคคี [2]สอดคล้องกับพระบรมราโชวาทที่พระราชทานไว้ในปัจจุบัน ดังนี้

24 ธ.ค. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จลง ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระราชทานกระบี่แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศในโอกาสนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ[3] และโรงเรียนนายเรืออากาศ ความว่า

ข้าพเจ้ามีความยินดีที่ได้มอบกระบี่แก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ และโรงเรียนนายเรืออากาศอีกรุ่นหนึ่งขอแสดงความชื่นชมด้วยกับทุกๆคนที่ได้รับความสำเร็จ และได้รับเกียรติเป็นนายทหารของกองทัพไทยท่านทั้งหลายได้ผ่านการศึกษาจากสถาบันทางทหารของไทย และกำลังจะออกไปปฏิบัติการในตำแหน่งที่สำคัญ คือการสร้างเสริมและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ในโอกาสนี้จึงขอให้ทุกคนทำความเข้าใจให้กระจ่างว่า การจรรโลงรักษาประเทศนั้น เป็นงานส่วนรวม ไม่อยู่ในวิสัยที่บุคคลจะกระทำให้สำเร็จได้โดยลำพังตนเอง บุคคลจะทำการนี้ได้ก็โดยปลูกฝังและเสริมสร้างความร่วมมือในชาติให้เกิดทวีขึ้น ทุกคนทุกฝ่าย ทั้งทหารและพลเรือน จึงต้องรักษาความสามัคคีในชาติ รักษาความร่วมมือร่วมใจของคนในชาติไว้ทุกเมื่อ อย่ายอมให้ผู้ใดสิ่งใดมาแบ่งพวกแบ่งฝ่ายคนชาติไทยเป็นอันขาด ชาติของเราจึงจะตั้งมั่นอยู่โดยอิสรเสรีมีความผาสุกสงบและเจริญมั่นคงได้ตลอดไปขออวยพรให้นายทหารใหม่ทุกนาย และทุกท่านที่มาร่วมประชุมในพิธีนี้ มีความสุขความเจริญทุกเมื่อทั่วกัน

สำนักพระราชวังได้ประกาศระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับพระพุทธนวราชบพิตร แก้

ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับพระพุทธนวราชบพิตร ซึ่งมีพระพิมพ์ (พระสมเด็จจิตรลดา) [4] อยู่ที่บัวฐานพระ

  1. เมื่อจังหวัดใดได้รับพระราชทานไปแล้ว ให้ประดิษฐานพระพุทธรูปนั้นไว้ ณ ที่อันควรในศาลากลางจังหวัด
  2. เมื่อทางจังหวัดมีงานพิธีใด ๆ ซึ่งต้องตั้งที่บูชาพระรัตนตรัย ก็ให้อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรมาประดิษฐานเป็นพระบูชาในพิธีนั้น ๆ ทั้งนี้ยกเว้นพิธีที่กระทำในโบสถ์ วิหาร หรือปูชนียสถานใด ๆ ซึ่งมีพระประธานหรือมีปูชนียวัตถุอื่นใดเป็นประธานอยู่แล้ว และยกเว้นพิธีซึ่งต้องใช้พระพุทธรูปอื่นเป็นประธานโดยเฉพาะ เช่น พระพุทธคันธารราษฎร์
  3. เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังจังหวัดเพื่อทรงเป็นประธานพระราชพิธีหรือพิธีทางจังหวัดก็ดี ก็ให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระราชพิธีและพิธีนั้น ๆ ทุกครั้ง หากพระราชพิธีหรือพิธีนั้น ๆ กระทำในพระอาราม หรือในปูชนียสถาน ซึ่งมีพระประธานหรือปูชนียวัตถุอื่นใดเป็นประธานอยู่แล้ว ก็ให้อัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรไปประดิษฐาน ณ ที่บูชาเป็นต่างหากอีกที่หนึ่ง เพื่อทรงนมัสการ
  4. เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ณ จังหวัด ให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรไปประดิษฐานไว้ ณ ที่บูชา เพื่อทรงนมัสการในพลับพลาหรือที่ประทับซึ่งได้จัดไว้ ในกรณีนี้ หากท้องที่ที่เสด็จพระราชดำเนินนั้นห่างไกลจากศาลากลางจังหวัด และเป็นที่ทุรกันดารไม่สะดวกแก่การคมนาคม หรือการเสด็จพระราชดำเนินนั้นเป็นการรีบด่วน หรือเพียงเป็นการเสด็จพระราชดำเนินผ่าน ทางจังหวัดจะพิจารณาให้งดเสียก็ได้ ตามแต่จะเห็นควร
  5. เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปประทับแรม ณ จังหวัด ให้ทางจังหวัดอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรมาประดิษฐานไว้ ณ ที่บูชา ในพลับพลาหรือในที่ประทับตลอดเวลาที่ประทับแรมอยู่ และให้อัญเชิญกลับไปยังศาลากลางจังหวัดเมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับแล้ว ในการนี้ ให้กองมหาดเล็กปฏิบัติเช่นเดียวกับระเบียบแบบแผนที่มีอยู่แล้วเกี่ยวกับพระชัยนวโลหะประจำรัชกาล
  6. หากทางจังหวัดเห็นสมควรจะอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตรออกให้ประชาชนได้นมัสการบูชาในงานเทศกาลใด ๆ ก็ให้กระทำได้ตามแต่จะเห็นควร อนึ่ง การปิดทองที่องค์พระพุทธรูปนั้น อาจทำให้พระพุทธรูปเสียความงามไปบ้าง ถ้าหากทางจังหวัดจะประดิษฐานพระพุทธนวราชบพิตรบนฐานซึ่งทำด้วยวัตถุอันอาจปิดทองได้อีกชั้นหนึ่งให้ประชาชนได้ปิดทองได้ ก็จะเป็นการเหมาะสมยิ่งขึ้น

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  • ว่าที่ ร้อยตรี นันทเดช โชคถาวร หนังสือพระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์ครั้งที่ 6
  • [5] เก็บถาวร 2007-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • จดหมายข่าวสำนักราชเลขาธิการ[ลิงก์เสีย]
  • เอกสารการสร้างพระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร พระชัยวัฒน์พระพุทธนวราชบพิตร พระกริ่งไพรีพินาศ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพิธี กาญจนาภิเษก และการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก

อ้างอิง แก้

  • วารสารกรมบัญชีกลาง "ในหลวงของเรา" [6] เก็บถาวร 2011-08-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นเมื่อ ๖ กันยายน ๒๕๕๓)
  • บทความเรื่อง สมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน ตีพิมพ์ครั้งแรก. ในหนังสือรายปักษ์ชื่อ "ลดา" และตีพิมพ์ครั้งที่สอง ในวารสารห้องสมุด. สำนักราชเลขาธิการ
  • สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม [7] เก็บถาวร 2020-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • ประมุข ไชยวรรณ พระพิมพ์จิตรลดา, ๒๕๔๔
  • [8][ลิงก์เสีย] (สืบค้นเมื่อ ๖ กันยายน ๒๕๕๓)
  • นันทเดช โชคถาวร ,ว่าที่ ร้อยตรี พระสมเด็จจิตรลดา พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ กรุงเทพฯ ๒๕๕๓. [9]
  • สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี พระพุทธธนวรราชบพิตรประจำจังหวัดกาญจนบุรี [10] เก็บถาวร 2011-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (สืบค้นเมื่อ ๘ กันยายน ๒๕๕๓)
  • พระพุทธนวราชบพิตรและพระราชดำรัสในพิธีพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตรประจำจังหวัดต่างๆ ปี ๒๕๑๐ - ๒๕๑๔ โฟโต้การพิมพ์, ๒๕๑๕,๕๒ หน้า [11][ลิงก์เสีย]
  • [12][ลิงก์เสีย] จดหมายข่าวสำนักราชเลขาธิการ
  • เอกสารการสร้างพระกริ่งพระพุทธนวราชบพิตร พระชัยวัฒน์พระพุทธนวราชบพิตร พระกริ่งไพรีพินาศ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพิธี กาญจนาภิเษก และการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ของมูลนิธิปริยัติศึกษา ญสส. ในสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
  • พระพุทธนวราชบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในการพระราชาทานเพลิงศพ นางดีน เมืองสมบูรณ์ ณ ฌาปนสถาน วัดพลับพลาชัย อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี วันที่ ๘ เมษายาน พ.ศ. ๒๕๑๖
  • พระพุทธนวราชบพิตรและพระราชดำรัสในพิธีพระราชทานพระพุทธนวราชบพิตร ประจำจังหวัดต่างๆ ปี ๒๕๑๐ - ๒๕๐๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในการพระราชาทานเพลิงศพ พระครูวิทยานุโยค (พลบ เฟื่องฟุ้ง) ณ เมรุวัดนิมมานรดี (เดิมชื่อ วัดบางแค) กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ ๒๗ สิงหาคม พทุธศักราช ๒๕๑๕ [13][ลิงก์เสีย]
  • [14] เก็บถาวร 2012-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • สยามานุสติ พระพุทธนวราชบพิตร ๘ พ ค ๕๔ โดย ร.อ. สุธี สุขสากล (มีไฟล์เสียงในยูทูป[15])
  • พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร ถวายพระธรรมเทศนาที่มีพระพุทธนวราชบพิตรเป็นประธาน พ.ศ. ๒๕๕๕. [16]
  • นางสาวเพลินพิศ กำราญ พระพุทธนวราชบพิตร [17][ลิงก์เสีย]
  • กรุงเทพมหานคร ประวัติพระพุทธนวราชบพิตร [dds.bangkok.go.th/E-Book/KingProject/30king_project.pdf]
  • พิธีอัญเชิญพระพุทธนวราชบพิตร | Facebook [18]
  • ไตรเทพ ไกรงู และ ประเสริฐ เทพศรี พระพุทธนวราชบพิตร พระในหลวง พระแห่งความสามัคคี [19] เก็บถาวร 2012-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • พระสมเด็จจิตรลดา พระพุทธนวราชบพิตร [20] เก็บถาวร 2016-11-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Nation TV - "พระสมเด็จจิตรลดา พระของ"ในหลวง"เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV" [21]