จักรพันธุ์ โปษยกฤต

จักรพันธุ์ โปษยกฤต (เกิด 16 สิงหาคม พ.ศ. 2486) เป็นจิตรกรไทยและมีผลงานจิตรกรรมไทย ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๔๓ เจ้าของนามปากกา "ศศิวิมล"

จักรพันธุ์ โปษยกฤต
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด16 สิงหาคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
บิดาชุบ โปษยกฤต
มารดาสว่างจันทร์ โปษยกฤต
อาชีพอาจารย์, ศิลปิน
ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ - จิตรกรรม พ.ศ. 2543

ประวัติ

แก้

จักรพันธุ์ โปษยกฤต หรือที่รู้จักกันในนาม อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต เกิดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายชุบ และนางสว่างจันทร์ โปษยกฤต ระยะแรกเข้าศึกษา ต่อที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปีพุทธศักราช 2543 ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 52 นายช่างเอกในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ อาจารย์จักรพันธุ์ เคยเป็นพระอาจารย์พิเศษถวายการสอนวิชาจิตรกรรมให้กับทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปัจจุบันได้ก่อตั้งมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ซึ่งเป็นทั้งพิพิธภัณฑ์ มูลนิธิ สถานที่ทำงาน และโรงละครหุ่นกระบอก ขึ้นที่บริเวณบ้านพัก ถนนเอกมัย

อาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต เป็นศิลปินอิสระที่มีความเชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมทั้งแบบไทยประเพณีและศิลปะร่วมสมัย มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง อีกทั้งผลงานอื่นๆ ได้แก่ งานพุทธศิลป์ ประเภทจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ เช่น โบสถ์วัดตรีทศเทพวรวิหาร วัดเขาสุกิม งานประติมากรรมไทย เช่น ประติมากรรมรูปเจ้าเงาะกับเด็กเลี้ยงควาย จากเรื่องสังข์ทอง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย อำเภอ อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม งานหุ่นกระบอก เช่น หุ่นกระบอกเรื่องสามก๊ก ตอนโจโฉแตกทัพเรือ ตะเลงพ่าย งานซ่อมหุ่นวังหน้า เป็นต้น

การศึกษา

แก้

ในปี พ.ศ. 2504 ศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และ จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่ คณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร จนปี พ.ศ. 2511 ได้รับปริญญา ศบ.(จิตรกรรม)จากคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

การทำงาน

แก้
 
รูปเขียนบน ปกหนังสือคิดถึงครู โดย อ.จักรพันธุ์ โปษยกฤต

อาจารย์จักรพันธุ์ เคยเป็นพระอาจารย์พิเศษถวายการสอนวิชาจิตรกรรมให้กับทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี และสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีระหว่างปี พ.ศ. 2509 ต่อมาในปี พ.ศ. 2512-2517 เป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาศิลปะไทย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จากปี พ.ศ. 2510 จนถึงปัจจุบัน เป็นศิลปินอิสระ ทำงานจิตรกรรม งานหุ่นไทย และงานวิจิตรศิลป์อื่น ๆ อาจารย์จักรพันธุ์ได้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิจักรพันธุ์ โปษยกฤต ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ รวบรวมงานช่างอันทรงคุณค่าตั้งแต่สมัยโบราณและงานช่างสกุลหนึ่งในรัชกาลที่ 9 เป็นสถานที่ทำงานของประธานมูลนิธิ ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินพื้นบ้านดีเด่น ระดับปรมาจารย์ถึง 5 ท่าน ซึ่งทั้ง 5 ท่าน อาจารย์จักรพันธุ์ได้เขียนไว้ในหนังสือ คิดถึงครู ได้แก่

  1. คุณครูชื้น สกุลแก้ว ปรมาจารย์การเชิดหุ่นกระบอก
  2. คุณครูวงษ์ รวมสุข ปรมาจารย์การเชิดหุ่นกระบอก
  3. คุณครูบุญยงค์ เกตุคง ปรมาจารย์การดนตรีไทย
  4. คุณครูบุญยัง เกตุคง ปรมาจารย์การดนตรีไทย
  5. คุณครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ ปรมาจารย์การดนตรีไทย


 
อ.จักรพันธุ์ ซ้อมเชิดหุ่นตะเลงพ่าย ปี 2554

ผลงาน

แก้
 
งานประติมากรรมเจ้าเงาะ ที่อุทยาน ร.2

หุ่นตะเลงพ่าย

แก้

รางวัลสำคัญ

แก้
  • 2508 , 2512 , 2514 , 2517 รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง (2508) และ เกียรตินิยมอันดับ 2 เหรียญเงิน การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ (คณะกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 และมูลนิธิหอศิลปะแห่งรัชกาลที่ 9 , ม.ป.ป. : 513)
  • 2525 อนุกรรมการผู้ทรงความรู้ทางศิลปะ
  • 2525 นายช่างเอกในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
  • 2530 ผู้มีผลงานดีเด่น
  • 2531 ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินไทยที่มีผลงานดีเด่นและสร้างชื่อให้กับประเทศไทย
  • 2532 ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2532 รางวัลผู้สนับสนุนดีเด่นการอนุรักษ์มรดกไทย คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย
  • 2533 เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปะ กระทรวงศึกษาธิการ
  • 2537 ปริญญาศิลปดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • 2542 เกียรติบัตร กรมศิลปากร
  • 2543 ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (วิจิตรศิลป์) สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ(กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ในปัจจุบัน)

ประสบการณ์

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้