วัฒนา เซ่งไพเราะ

ดร. วัฒนา เซ่งไพเราะ (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และอดีตโฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร

วัฒนา เซ่งไพเราะ
โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
15 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2500 (66 ปี)
พรรคการเมืองพรรคพลังธรรม (2529 - 2532)
พรรคประชาธิปัตย์ (2532 - ?)
พรรคไทยรักไทย (? - 2549)
พรรคพลังประชาชน (2550 - 2551)
พรรคเพื่อไทย (2551 - ปัจจุบัน)
คู่สมรสตรีรัตน์ เซ่งไพเราะ

การศึกษา แก้

  • นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีการศึกษา 2522
  • เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ปี2525
  • ปริญญาโท ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต พัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ปริญญาเอก ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สื่อสารการเมือง) มหาวิทยาลัยเกริก
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่1 สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่1 สถาบันพระปกเกล้า
  • หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่2 คณะกรรมการการเลือกตั้ง[1]

บทบาททางการเมือง แก้

วัฒนา เข้าสู่วงการการเมืองด้วยการเป็นสมาชิกพรรคพลังธรรม ในปี พ.ศ. 2529 และต่อมาสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ โดยเขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งเดือนมีนาคม พ.ศ. 2535 เขต 4 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ได้รับไปเพียง 11,293 คะแนน ไม่ได้รับเลือก[2] จากนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (สุทัศน์ เงินหมื่น) ในปี พ.ศ. 2536 และได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วย ส.ส. ของ ดร.สาวิตต์ โพธิวิหค

วัฒนา ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคไทยรักไทย โดยได้รับเลือกตั้งในครั้งนั้น ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2548 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 สังกัดพรรคไทยรักไทยเช่นเดิม ต่อมาหลังพรรคไทยรักไทยถูกยุบเขาย้ายมาสังกัดพรรคพลังประชาชนเช่นเดียวกับสมาชิกพรรคไทยรักไทยส่วนใหญ่ และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2550 แต่แพ้ให้กับสุทธิ ปัญญาสกุลวงศ์ จากพรรคประชาธิปัตย์ ถึงอย่างนั้นในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 วัฒนายังได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่หนึ่ง(สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์)[3] และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (สมชาย วงศ์วัสดิ์)[1] เขาลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2554 แต่แพ้ให้กับนายสุทธิเช่นเดิม

วัฒนา ได้เข้ามาทำงานกับสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อีกครั้ง ในฐานะโฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยได้รับการแต่งตั้งในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554[4]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ติดต่อโฆษก". www.parliament.go.th (ภาษาอังกฤษ).
  2. "ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2535" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-09-26. สืบค้นเมื่อ 2023-09-24.
  3. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง [นายวัฒนา  เซ่งไพเราะ]
  4. ประกาศสภาผู้แทนราษฎร เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง [นายวัฒนา เซ่งไพเราะ]