วงศ์ปลาซักเกอร์

(เปลี่ยนทางจาก วงศ์ปลาซัคเกอร์)
วงศ์ปลาซักเกอร์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนตอนบน - ปัจจุบัน[1]
ปลาซักเกอร์ธรรมดา (Hypostomus plecostomus) ในตู้ปลา
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Actinopterygii
อันดับ: Siluriformes
วงศ์ใหญ่: Loricarioidea
วงศ์: Loricariidae
Rafinesque, 1815
วงศ์ย่อย

วงศ์ปลาซักเกอร์ (อังกฤษ: Sucker, Armored catfish) เป็นปลาที่มีวงศ์ใหญ่มากชนิดหนึ่งในอันดับปลาหนัง (Siluriformes) มีถิ่นกำเนิดในลุ่มแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีรูปร่างโดยรวมคือ หัวโต ตาเล็ก มีจุดเด่นคือ ปากขนาดใหญ่ที่อยู่ด้านล่างที่สามารถเกาะหรือดูดกับวัสดุต่าง ๆ ในน้ำได้ มีลำตัวแข็งและหยาบกร้านดูเหมือนมีเกล็ด แต่ความเป็นจริงแล้ว นั่นคือ ผิวหนังที่พัฒนาจนแข็ง ครีบหลังและครีบหางมีขนาดใหญ่ มีหนวดสั้น บางชนิดไม่มีครีบไขมัน ที่มีครีบไขมันจะมีเงี่ยงแข็งหนึ่งอันอยู่หน้าครีบ มีลำไส้ยาว มีกระดูกสันหลัง 23-38 ข้อ หากินตามพื้นน้ำ โดยกินซากพืชซากสัตว์และสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร ใช้ชื่อวงศ์ว่า Loricariidae (/ลอ-ริ-คา-ริ-ดี/)[2]

ตัวผู้จะมีเงี่ยงแหลมยื่นออกมาเห็นได้ชัดบริเวณข้างส่วนหัวและครีบอก เรียกว่า odontodes ในขณะที่ตัวเมียท้องจะอูมกว่า

เป็นปลาที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นปลาสวยงาม เช่น ปลาซักเกอร์ธรรมดา (Hypostomus plecostomus) ที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาที่เก็บเศษอาหารที่ปลาอื่นกินเหลือ จนได้อีกชื่อนึงว่า "ปลาเทศบาล" และหลายชนิดก็มีสีสันและรูปร่างที่แปลกตา เช่น ปลาซักเกอร์พานากิ้วลาย (Panaque nigrolineatus), ปลาซักเกอร์บลูพานากิ้ว (Baryancistrus beggini), ปลาซักเกอร์ม้าลาย (Hypancistrus zebra) เป็นต้น ซึ่งผู้ที่นิยมเลี้ยงจะเลี้ยงเพื่อเป็นความสวยงาม

ในแวดวงการค้าปลาสวยงามแล้ว ปลาในวงศ์นี้ถูกตั้งชื่อเป็นรหัสต่าง ๆ เพื่อความสะดวกในการเรียกขาน ทั้งนี้เนื่องจากได้มีการค้นพบปลาในวงศ์นี้กว่า 700 ชนิด แต่หลายชนิดยังมิได้ทำการอนุกรมวิธาน จึงมีการตั้งรหัสเรียกแทน โดยใช้ตัวอักษร L (ย่อมาจากชื่อวงศ์) นำหน้าหมายเลข เช่น L-46 เป็นต้น โดยเริ่มจากนิตยสารปลาสวยงามฉบับหนึ่งของเยอรมนีในปี ค.ศ. 1988

สำหรับปลาซักเกอร์ธรรมดาแล้ว เป็นปลาที่มีความอดทนมากในการที่อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ จึงสามารถทนกับสภาพแวดล้อมทางน้ำของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันกรมประมงได้ประกาศให้เป็นปลาที่ต้องห้าม ทั้งนี้เนื่องจากปัญหาที่มันแพร่พันธุ์ในแหล่งน้ำธรรมชาติมากจนเกินไปจนกลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่คุกคามสัตว์น้ำพื้นเมือง[3][4]

สำหรับชื่อสามัญในภาษาอังกฤษแล้ว ยังเรียกปลาในวงศ์นี้อีกว่า "เพลโก" (Pleco) หรือ "แอลจี อีตเตอร์" (Algae eater) เป็นต้น

อ้างอิง

แก้
  1. Provenzano R., Francisco (2003). Buth, D. G. (บ.ก.). "New, Possibly Extinct Lithogenine Loricariid (Siluriformes, Loricariidae) from Northern Venezuela" (PDF). Copeia. American Society of Ichthyologists and Herpetologists. 2003 (3): 562–575. doi:10.1643/CI-02-160R1. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 257 หน้า. หน้า 83. ISBN 974-00-8738-8
  3. "ลุยฆ่าปลาซักเกอร์นับหมื่นแพร่เร็ว-กินแหลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-04. สืบค้นเมื่อ 2009-03-22.
  4. กรมประมงออกมาตรการแก้ปัญหาปลาซักเกอร์ เอกสารดาวน์โหลด

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้