ลูกบาศก์ของรูบิก

ลูกบาศก์ของรูบิค (อังกฤษ: Rubik's Cube) หรือที่เรียกกันว่า ลูกรูบิก เป็นของเล่นลับสมอง ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดยแอร์เนอ รูบิก (Ernő Rubik) ซึ่งเป็นศาสตราจารย์และสถาปนิกชาวฮังการี โดยทั่วไป ตัวลูกบาศก์นั้นทำจากพลาสติก แบ่งเป็นชิ้นย่อย ๆ 26 ชิ้น ประกอบกันเป็นรูปลูกบาศก์ที่สามารถบิดหมุนไปรอบ ๆ ได้ ส่วนที่มองเห็นได้ของแต่ละด้าน จะประกอบด้วย 9 ส่วนย่อย ซึ่งมีสีทั้งหมด 6 สี ส่วนประกอบที่หมุนไปมาได้นี้ทำให้ การจัดเรียงสีของส่วนต่าง ๆ สลับกันได้หลายรูปแบบ จุดประสงค์ของเกมคือ การจัดเรียงให้แถบสีทั้ง 9 ที่อยู่ในด้านเดียวกันของลูกบาศก์ (ซึ่งมีทั้งหมด 6 ด้าน) มีสีเดียวกัน

ลูกบาศก์ของรูบิก
ชื่ออื่นเมจิกคิวบ์
ประเภทปริศนาตัวต่อ
ผู้ประดิษฐ์เออร์โน รูบิค
บริษัทRubik's Brand Ltd
ประเทศธงของประเทศฮังการี ฮังการี
ช่วงเวลา1977–ปัจจุบัน
เว็บไซต์ทางการ
สภาพแบบสุ่ม
สภาพหลังแก้ปัญหาสำเร็จ

ลูกบาศก์ของรูบิกได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงต้นของทศวรรษ 1980 และได้กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมสมัยนิยมของยุคนั้น ลูกบาศก์ของรูบิกนั้นถือได้ว่าเป็นเป็นของเล่นที่ขายได้มากที่สุดในโลก โดยมีจำนวนยอดขายรวมทั้งของแท้และของเลียนแบบมากกว่า 300,000,000 ชิ้นทั่วโลก

ประวัติ

แก้

ลูกบาศก์ของรูบิกได้รับการคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1974 โดยแอร์เนอ รูบิก สถาปนิกชาวฮังการีผู้สนใจในเรขาคณิตและรูปทรงสามมิติ แอร์เนอได้จดสิทธิบัตร HU170062 สิ่งประดิษฐ์ในชื่อ "ลูกบาศก์มหัศจรรย์" (Magic Cube) ในปี ค.ศ. 1975 ที่ประเทศฮังการี แต่ไม่ได้จดสิทธิบัตรนานาชาติ มีการผลิตชุดแรกเพื่อสำรวจตลาดในปลายปี ค.ศ. 1977 โดยจำหน่ายในร้านของเล่นในกรุงบูดาเปสต์

หลังจากนั้นลูกบาศก์นี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งประเทศฮังการีโดยการบอกเล่าปากต่อปาก วงการศึกษาในกลุ่มประเทศตะวันตกก็เริ่มให้ความสนใจ ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1979 บริษัทไอเดียลทอยส์ (Ideal Toys) ได้ทำข้อตกลงเพื่อจัดจำหน่ายทั่วโลก มีการเปิดตัวของลูกบาศก์นี้ในระดับนานาชาติที่งานแสดงของเล่นที่กรุงลอนดอน นครนิวยอร์ก เมืองเนือร์นแบร์ก และกรุงปารีส ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1980 บริษัทไอเดียลทอยส์เปลี่ยนชื่อของเล่นนี้เป็น "ลูกบาศก์ของรูบิก" (Rubik's Cube) และได้ส่งออกลูกบาศก์นี้จากประเทศฮังการีชุดแรกเพื่อจำหน่ายในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1980

ชื่อ "ลูกบาศก์ของรูบิก" เป็นเครื่องหมายการค้าของบริษัท "Seven Towns Limited" ดังนั้นบริษัทไอเดียลทอยส์จึงลังเลที่จะผลิตของเล่นนี้ ในขณะนั้นปรากฏของลอกเลียนแบบออกจำหน่าย ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทไอเดียลทอยส์แพ้คดีละเมิดสิทธิบัตรหมายเลข US3655201 ซึ่งฟ้องร้องโดยแลร์รี นิโคลส์ (Larry Nichols) ชาวญี่ปุ่นชื่อ อิชิงิ เทรูโตชิ (Terutoshi Ishigi) ได้ทำการจดสิทธิบัตรของเล่นที่มีลักษณะเกือบจะเหมือนกันกับลูกบาศก์ของรูบิก หมายเลข JP55‒8192 ที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเวลาระหว่างที่สิทธิบัตรที่รูบิกขอนั้นกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ นายอิชิกิจึงได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นการค้นพบซ้ำกัน[1][2]

หลักการทำงาน

แก้
 
ภาพชิ้นส่วน

ลูกบาศก์ของรูบิกมีขนาดมาตรฐานโดยประมาณ 2 1/8 นิ้ว (5.4 เซนติเมตร) กว้าง ยาว และสูง ลูกบาศก์ประกอบด้วยลูกบาศก์ขนาดย่อม 26 ชิ้น "ชิ้นกลางหน้า" ของแต่ละด้าน จะเป็นชิ้นที่มีสีหน้าเดียว และเชื่อมต่อกับกลไกการหมุนที่แกนกลาง ซึ่งชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนกลางนี้จะเป็นโครงสร้างที่ขัดส่วนที่เหลือไว้ด้วยกัน และหมุนไปมาได้ ดังนั้นทั้งหมดจะมี 27 ชิ้นส่วน แกนกลางสำหรับหมุน 1 ชิ้น ชิ้นกลางหน้า 6 ชิ้น และชิ้นอื่น ๆ อีก 20 ชิ้น ซึ่งสามารถประกอบเข้ากับชิ้นกลางหน้าที่ยึดติดกับแกนหมุนได้พอดี โดยจะมีส่วนที่ออกแบบให้ยึดขัดกันไม่ให้หลุดออกจากกัน แต่หมุนไปมาได้ การแยกชิ้นส่วนของลูกบาศก์ก็ไม่ได้ยากอะไร เพียงแต่งัดชิ้นขอบให้หลุดออกมาส่วนที่เหลือก็จะหลุดออกจากกันเอง การแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิกโดยวิธีการแยกส่วนประกอบเป็นวิธีที่ง่าย แต่ขาดความท้าทาย

นอกเหนือจากชิ้นกลางหน้าแล้ว จะมีลูกบาศก์ขนาดย่อมอีก 20 ชิ้น มี 12 ชิ้นเป็น "ชิ้นขอบ" ซึ่งมีสี 2 ด้าน และ 8 ชิ้นเป็น "ชิ้นมุม" ซึ่งมีสี 3 ด้าน

การเรียงสับเปลี่ยน

แก้
 
สีปัจจุบันของลูกบาศก์รูบิก

ลูกบาศก์ของรูบิกมีจำนวนรูปแบบการเรียงสับเปลี่ยนที่แตกต่างกันทั้งหมด   รูปแบบ ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วจะมีค่าเท่ากับ 43,252,003,274,489,856,000 รูปแบบ (~4.33 × 1019) หรือประมาณ 43 ล้านล้านล้าน (quintillion) รูปแบบ ถึงแม้จะมีรูปแบบการจัดเรียงเป็นจำนวนมาก แต่ทุกรูปแบบสามารถแก้ได้ภายในการบิด 20 ครั้งหรือน้อยกว่า

การแข่งขันและสถิติ

แก้

มีการจัดการแข่งขันการปั่นลูกบาศก์ (speedcubing) เพื่อหาผู้ที่สามารถแก้ปัญหาลูกบาศก์ของรูบิกได้เร็วที่สุด การแข่งขันครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงบูดาเปสต์ ในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1982 ผู้ชนะเลิศการแข่งขันในครั้งนั้นคือ มิน ไท (Minh Thai) นักศึกษาชาวเวียดนามจากนครลอสแอนเจลิส โดยใช้เวลา 22.95 วินาที

สถิติโลกอย่างเป็นทางการที่ยอมรับโดยสมาคมลูกบาศก์โลก (World Cube Association) ซึ่งเป็นองค์กรควบคุมการจัดการแข่งขันและสถิติ สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกได้เร็วที่สุดอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 3.47 วินาที โดย Yusheng Du ในการแข่งขัน Wuhu Open 2018[3] ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 5 ครั้ง คือ 5.53 วินาที โดย Feliks Zemdegs ในการแข่งขัน Odd Day in Sydney 2019[4]

สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกด้วยมือเดียว (one-handed) ได้เร็วที่สุดอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 6.82 วินาที โดย Max Park ในการแข่งขัน Bay Area Speedcubin' 20 2019[5] ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 5 ครั้ง คือ 9.42 วินาที โดย Max Park ในการแข่งขัน Berkeley Summer 2018[6]

สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกโดยปิดตาแก้ (blindfolded) ได้เร็วที่สุดอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 15.50 วินาที โดย Max Hilliard ในการแข่งขัน CubingUSA Nationals 2019[7] ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 3 ครั้ง คือ 18.18 วินาที โดย Jeff Park ในการแข่งขัน OU Winter 2019[8]

สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกโดยปิดตาแก้เป็นจำนวนหลายลูก (multi-blind) อย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ ปิดตาเล่นเป็นจำนวน 59/60 ลูกและทำเวลาไปได้ 59:46 นาที โดย Graham Siggins ในการแข่งขัน OSU Blind Weekend 2019[9]

สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกด้วยเท้าได้เร็วที่สุดอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 15.56 วินาที โดย Mohammed Aiman Koli ในการแข่งขัน VJTI Mumbai Cube Open 2019[10] ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 5 ครั้ง คือ 19.90 วินาที โดย Lim Hung ในการแข่งขัน Medan 10th Anniversary 2019[11]

สถิติการแก้ลูกบาศก์ของรูบิกโดยการใช้จำนวนครั้งในการบิดให้น้อยที่สุด (fewest moves) อย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ บิด 16 ครั้ง โดย Sebastiano Tronto ในการแข่งขัน FMC 2019[12]

นอกจากนี้ยังมีสถิติอื่นที่ไม่เป็นทางการที่ใช้เวลาน้อยกว่านี้ แต่เนื่องจากไม่ได้มีการจัดการแข่งขันและจับเวลาที่เป็นมาตรฐาน ดังนั้นมีเพียงสถิติที่ได้รับการรับรองจากสมาคมลูกบาศก์โลกเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป

ในปี ค.ศ. 2004 สมาคมลูกบาศก์โลกได้จัดทำมาตรฐานใหม่โดยใช้อุปกรณ์จับเวลาที่เรียกว่า นาฬิกาจับเวลาสแต็กแมต (StackMat timer)

ค.ศ. 2007 คาวาซากิเฮฟวีอินดรัสทรีส์ (Kawasaki Heavy Industries) ผู้ผลิตเครื่องจักรของญี่ปุ่น โชว์ตัวหุ่นยนต์ชื่อ "Cube-kun" ที่มีความสามารถการเล่นรูบิกได้อย่างรวดเร็ว [13]

การแข่งขันในประเทศไทย

แก้

ในประเทศไทยมีการแข่งขันอย่างเป็นทางการครั้งแรกที่จัดโดยสมาคมลูกบาศก์โลก คืองาน NSM Thailand 2009 ผู้ชนะในการแข่งขันครั้งนั้นคือ ปิติ พิเชษฐพันธ์ ทำเวลาเฉลี่ยไว้ที่ 12.43 วินาที นับว่าเป็นสถิติแรกของประเทศไทย นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รับเกียรติในการเป็นเจ้าภาพจัดงานแข่งขันชิงแชมป์เอเชีย (Asian Championship) ในปี 2010 และงานแข่งขันชิงแชมป์โลก World Championship ในปี 2011 สถิติของประเทศไทยอย่างเป็นทางการในปัจจุบันคือ 5.50 วินาที ณัฐภัทร จี มาทานี ในการแข่งขัน THC 2017[14] ส่วนสถิติในเวลาเฉลี่ย 5 ครั้ง คือ 7.42 วินาที เอเชีย กรวิทยโยธิน ในการแข่งขัน Singapore Cube Championship 2019[15]

ของเล่นที่เกี่ยวข้อง

แก้
 
ลูกบาศก์แบบต่าง ๆ (จากซ้าย) การล้างแค้นของรูบิก, ลูกบาศก์ของรูบิก, ลูกบาศก์ศาสตราจารย์, ลูกบาศก์พกพา
 
ของเล่นทรงลูกบาศก์, พีรามิงส์, เมกะมิงส์

อ้างอิง

แก้
  1. [http ://cubeman.vg-network.com/cchrono.txt เก็บถาวร 2005-08-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน]
  2. [http ://inventors.about.com/library/weekly/aa040497.htm]
  3. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  4. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333&regionId=&years=&show=100%2BPersons&average=Average
  5. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333oh&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  6. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333oh&regionId=&years=&show=100%2BPersons&average=Average
  7. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333bf&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  8. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333bf&regionId=&years=&show=100%2BPersons&average=Average
  9. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333mbf&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  10. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333ft&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  11. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333ft&regionId=&years=&show=100%2BPersons&average=Average
  12. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333fm&regionId=&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  13. http ://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000143869 เก็บถาวร 2012-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333&regionId=Thailand&years=&show=100%2BPersons&single=Single
  15. https ://www.worldcubeassociation.org/results/events.php?eventId=333&regionId=Thailand&years=&show=100%2BPersons&average=Average