รายชื่อเกาะในประเทศจีน

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

ประเทศจีนมีเกาะทั้งหมด 7,372 เกาะ ที่มีพื้นที่มากกว่า 500 ตารางเมตร[1] แนวชายฝั่งของเกาะรวมยาวประมาณ 14217.8 กิโลเมตร เกาะที่เป็นที่อยู่อาศัย 450 เกาะ ที่เหลือจำนวนมาเป็นเกาะที่ไม่เป็นที่อยู่อาศัยและไม่มีน้ำจืด เกาะใหญ่ 3 เกาะ มีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตรตามลำดับ ได้แก่ เกาะไต้หวัน เกาะไหหลำ และเกาะฉงหมิง ตามการกำเนิดสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ เกาะพื้นหิน เกาะในแม่น้ำ และเกาะหินพืดปะการัง (รวมทั้งอะทอลล์) ในทะเลจีนตะวันออกมีสัดส่วนจำนวนเกาะประมาณร้อยละ 60 ของจำนวนเกาะทั้งหมด ทะเลจีนใต้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 30 และทะเลเหลืองและทะเลโป๋มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 10

คำเรียกในภาษาจีน แก้

เกาะ คือ แผ่นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำในมหาสมุทร แม่น้ำ หรือทะเลสาบ และคงพื้นผิวที่ก่อตัวขึ้นตามธรรมชาติเหนือน้ำได้ในเวลาน้ำขึ้น กลุ่มเกาะที่ตั้งเรียงรายใกล้กันเรียกว่าหมู่เกาะ

คำเรียกในภาษาจีนต่อไปนี้ หมายถึง 'เกาะ' ด้วยการออกเสียงตามอักษรไทยที่ทับศัพท์ตามระบบพินอิน ในภาษาจีนกลาง

อักษรไทย อักษรจีน พินอิน คำอธิบายการใช้ ตัวอย่าง
ตัวย่อ ตัวเต็ม
เกาะ
เต่า dǎo ใช้มากที่สุดในการเรียกชื่อเกาะในภาษาจีน เกาะไหหลำ (海南岛), เกาะฉงหมิง (崇明岛)
ยฺหวี 屿 ส่วนใหญ่ใช้ในบริเวณมณฑลฝูเจี้ยน ในภูมิภาคภาษาจีนหมิ่น เกาะกู่ล่าง
ชาน shān นิยมใช้ทางภาคใต้ ในภาษาไทยบางครั้งอาจใช้คำว่า "เขา" เขาผู่ถัว (普陀山), เกาะลันเตา (大嶼山)
ชา shā ใช้สำหรับเกาะรอบนอกในทะเลจีนใต้ หรือเกาะในแม่น้ำที่เกิดเป็นสันดอนทราย ชาเมี่ยน (沙面), จิ่วตฺวั้นชา (九段沙)
หยาน yán ใช้ทั่วมณฑลกวางตุ้งและเจ้อเจียง
จื้อ zhì ส่วนใหญ่ใช้บริเวณมณฑลเจ้อเจียง ในอดีตเขียนว่า 屿
อ้าว ào มักใช้ทั่วมณฑลเจ้อเจียง แม้ว่าปัจจุบันส่วนใหญ่จะถูกแทนที่ด้วย 岛 เกาะหนานอ้าว (南澳)
ถัว tuó มักใช้ในภาคเหนือของจีน
ถาง 塘 หรือ 溏 塘 หรือ 溏 táng ใช้ในมณฑลเจ้อเจียง
จี ใช้ทั่วเจ้อเจียงและชานตง
โจว zhōu ใช้สำหรับเกาะหลายแห่งในแม่น้ำ เกาะจอก
หมู่เกาะ / กลุ่มเกาะ
ฉุนเต่า 群岛 羣島 qúndǎo กลุ่มเกาะ (archipelago)
เลี่ยเต่า 列岛 列島 lièdǎo
เต่าฉุน 岛群 島羣 dǎoqun

เกาะในมหาสมุทร แก้

ต่อไปนี้คือเกาะในมหาสมุทรของจีน ยกเว้นเกาะในแม่น้ำและทะเลสาบ

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาจีน ชื่อภาษาอังกฤษ พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร)
ตัวย่อ ตัวเต็ม พินอิน
เกาะที่มีขนาดใหญ่กว่า 40 ตารางกิโลเมตรขึ้นไป
เกาะไต้หวัน 台湾岛 臺灣島 táiwān (dǎo) Taiwan (Island) 36,192 เกาะใหญ่ที่สุดของจีน
เกาะไหหลำ 海南岛 海南島 hǎinán dǎo Hainan Island 33,210 เกาะหลักของมณฑลไหหลำ
เกาะฉงหมิง 崇明岛 崇明島 chóngmíng dǎo Chongming Island 1269.1 เกาะในนครเซี่ยงไฮ้ พื้นที่ของเกาะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
เกาะโจวชาน 舟山岛 舟山島 zhōushān dǎo Zhoushan Island 485 เกาะหลักในกลุ่มเกาะโจวชาน (舟山群岛) ซึ่งประกอบด้วย 1,390 เกาะ
เกาะตงไห่ 东海岛 东海島 dōnghǎi dǎo Donghai Island 286
เกาะไห่ถาน

หรือ เกาะผิงถาน

海坛岛 / 平潭岛 海壇島 / 平潭島 hǎi tán dǎo /

píng tán dǎo

Haitan Island

หรือ Pingtan Island

267.13 เกาะไห่ถานเป็นเกาะหลักของเทศมณฑลผิงถาน

ซึ่งประกอบด้วย 126 เกาะ

เกาะตงชาน 东山岛 東山島 dōngshān dǎo Dongshan Island 220
เกาะยฺวี่หฺวัน 玉环岛 玉環島 yùhuán dǎo Yuhuan Island 169.51 เทศมณฑลยฺวี่หฺวัน ในเมืองไทโจว
เกาะฉางซิ่ง 长兴岛(上海) 長興島(上海) chángxìng dǎo Changxing Island 155.5 เกาะในนครเซี่ยงไฮ้
เกาะลันเตา 大屿山 大嶼山 dà yǔ shān Lantau Island 147.16 เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
เกาะช่างชฺวาน 上川岛 上川島 shàngchuān dǎo 137.17 เกาะหลักในกลุ่มเกาะชฺวานชาน (川山群岛) มณฑลกวางตุ้ง
เกาะจิงเหมิน 金门岛 金門島 jīnmén dǎo Kinmen Island 134.25 เกาะหลักในหมู่เกาะจินเหมิน หรือ คีมอย
เกาะเซี่ยเหมิน 厦门岛 廈門島 xiàmén dǎo Xiamen Island 132.51 ในนครเซี่ยเหมิน
เกาะหนานซาน 南三岛 南三島 nán sān dǎo 123.40
เกาะไต้ซาน 岱山岛 岱山島 dài shān dǎo 108.99
เกาะไห่หลิง 海陵岛 海陵島 hǎi líng dǎo 108.89
เกาะหนานอ้าว 南澳岛 南澳島 nán'ào dǎo 105.24
เกาะลิ่วเหิง 六横岛 六橫島 liù héng dǎo 97.79
เกาะฉางซิ่ง (ต้าเหลียน) 长兴岛(大连) 長興島(大連) zhǎng xìng dǎo (dàlián) 252.86
เกาะหนานเถียน 南田岛 南田島 nán tián dǎo 86.37
เกาะเซี่ยชฺวาน 下川岛 下川島 xià chuān dǎo 81.73 เกาะใหญ่อันดับที่สองในกลุ่มเกาะชฺวานชาน (川山群岛) มณฑลกวางตุ้ง
เกาะต๋าหาว 达濠岛 達濠島 dá háo dǎo 80.84
เกาะฮ่องกง 香港岛 香港島 xiānggǎng dǎo Hong Kong Island 78.40 เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
เกาะจินถาง 金塘岛 jīn táng dǎo 77.43
เกาะเหิงฉิน 横琴岛 héng qín dǎo 67.22
เกาะหลงเสฺว 龙穴岛 lóng xué dǎo 65
เกาะหลางฉี 琅岐岛 láng qí dǎo 64.65
เกาะเพิงหูเปิ่น 澎湖本岛 pēng hú běndǎo 64.24
เกาะจูเจียเจียน 朱家尖岛 zhū jiā jiān dǎo 63.19
เกาะฉฺวีชาน 衢山岛 qú shān dǎo 59.94
เกาะเหนาโจว 硇洲岛 náo zhōu dǎo 49.89
เกาะเหิงชา 横沙岛 héng shā dǎo 49.26
เกาะหลาน 兰屿 lán yǔ 48.39
เกาะจื่อหนี 紫泥岛 zǐ ní dǎo 46.99
เกาะหนานรื่อ 南日岛 nán rì dǎo 45.08
เกาะดอกท้อ (เกาะเถาฮฺวา) 桃花岛 táo huā dǎo 40.64
เกาะเฉาเฟย์ 曹妃甸 cáo fēi diān 40
เกาะที่มีขนาดเล็กกว่า 40 ตารางกิโลเมตร ที่เป็นที่รู้จักดี
เกาะเหวย์โจว 涠洲岛 潿洲島 wéi zhōu dǎo Weizhou Island 24.98
เกาะหนานยา หรือ เกาะหล่ามอ๊า 南丫岛 南丫島 nán yā dǎo Lamma Island 13.74 เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
(เกาะ)เขาผู่ถัว 普陀山(岛) 普陀山(島 ) pǔtuó dǎo หรือ pǔtuó shān Putuoshan Island / Putuo Mount 11.85 มณฑลเจ้อเจียง มีชื่อเสียงในพุทธศาสนาของจีนและเกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์กวนอิม

และเป็นหนึ่งในภูเขาศักดิ์สิทธิ์ทั้งสี่ในพุทธศาสนาของจีน เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์หนี่งเดียวที่ตั้งอยู่ในทะเล

โกโลอานี 路环岛 路環島 lù huán dǎo Coloane 8.07 เขตบริหารพิเศษมาเก๊า เกาะโกโลอานีที่ถูกผนวกรวมกับเกาะไตปา จากการถมทะเลให้กลายเป็นแผ่นดิน

โดยบริเวณที่ถมขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า "โกไต"

ไตปา 氹仔 凼仔 dàngzǐ Taipa 7.9
เกาะเช็กล้าปก๊อก 赤𫚭角 赤鱲角 chì liè jiǎo Chek Lap Kok 3.02 เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ที่ตั้งของท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

ขนาดพื้นที่เดิม 3.02 ตารางกิโลเมตร แต่ต่อเติมโดยการถมทะเลให้เป็น 12.48 ตารางกิโลเมตร[2]

เกาะกู่ล่าง 鼓浪屿 鼓浪嶼 gǔ làng yǔ Gulangyu ประมาณ 2 เกาะหลักของแหล่งมรดกโลกของประเทศจีน ในมณฑลฝูเจี้ยน

เกาะในแม่น้ำ แก้

เกาะในแม่น้ำของจีน ที่สำคัญ ได้แก่

ชื่อภาษาไทย ชื่อภาษาจีน ชื่อภาษาอังกฤษ พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร)
ตัวย่อ ตัวเต็ม พินอิน
มณฑลกวางตุ้ง
ชาเมี่ยน 沙面 沙面 shā miàn Shamian เกาะในแม่น้ำจู ในนครกว่างโจว
เกาะเอ้อร์ชา 二沙岛 二沙島 èr shā dǎo Ersha Island หรือ Yisa Island เกาะในแม่น้ำจู ในนครกว่างโจว
มณฑลหูหนาน
เกาะจฺวินชาน 君山岛 君山島 jūn shān dǎo Junshan Island 0.96 เกาะในทะเลสาบต่งถิง มณฑลหูหนาน
เกาะส้ม 桔子洲 橘子洲 júzi zhōu Orange Isle เกาะในแม่น้ำเซียง มณฑลหูหนาน ที่ตั้งรูปปั้นศรีษะเหมาเจ๋อตงวัยเยาว์
เกาะจอก หรือ เกาะผิง 苹岛 หรือ 萍洲 蘋島 หรือ 萍洲 píng dǎo หรือ píng zhōu Ping Island 0.6 เกาะในลำน้ำเซียว ของแม่น้ำเซียง มณฑลหูหนาน

อ้างอิง แก้

  1. "我国将实施海岛(礁)测绘工程维护海洋权益_新闻中心_新浪网". news.sina.com.cn.
  2. "Antiquities and Monuments Office: Chek Lap Kok Island and its history". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09. สืบค้นเมื่อ 2011-04-07.