รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508
การประกวดภาพยนตร์ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508 จัดโดยหอการค้าไทย มีพิธีประกาศผลอย่างเป็นทางการ ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน และ พระราชทานรางวัลให้แก่ผู้ได้รับรางวัล [1]
รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2508 | |
---|---|
วันที่ | 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 |
สถานที่ตั้ง | สวนอัมพร อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร |
รางวัลมากที่สุด | เดือนร้าว (4) |
ผู้ได้รับรางวัล
แก้รางวัลตุ๊กตาทอง
แก้สาขา | ผู้ได้รับรางวัล | ภาพยนตร์เรื่อง |
---|---|---|
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | สาวเครือฟ้า (แหลมทองภาพยนตร์) | สาวเครือฟ้า (2508) |
ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม | สมบัติ เมทะนี | ศึกบางระจัน (2509) |
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม | เนาวรัตน์ วัชรา | เดือนร้าว (2508) |
ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยม | อดินันท์ สิงห์หิรัญ | ฉัตรดาว (2508) |
ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม | น้ำเงิน บุญหนัก | กาเหว่า (2509) |
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม | วิจิตร คุณาวุฒิ | เสน่ห์บางกอก (2509) |
บทประพันธ์ยอดเยี่ยม | ไม้ เมืองเดิม | ศึกบางระจัน |
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม | สัตตบุศย์ | เดือนร้าว |
รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม | เฉลิม ชาติบุรุษ | นางพรายคะนอง (2508) |
รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม | สัตตบุศย์ | เดือนร้าว |
รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม | สะอาด คุปตลักษณ์ | เดือนร้าว |
รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม | สาวเครือฟ้า | |
รางวัลเพลงประกอบยอดเยี่ยม | เงิน เงิน เงิน (2508) | |
รางวัลพากย์เสียงยอดเยี่ยม | เสน่ห์ โกมารชุน - อัมภาพรรณ - เสนอ - วรรณรักษ์ - สีเทา | สาวเครือฟ้า |
รางวัลตุ๊กตาเงิน
แก้สาขา | ผู้ได้รับรางวัล | ภาพยนตร์เรื่อง |
---|---|---|
รางวัลพิเศษในการแสดงบทบาทประเภทบุคลิกภาพ | เชาว์ แคล่วคล่อง | น้องนุช (2508) |
รางวัลพิเศษในการแสดงบทตลกในตัว | กุญชร สุขนิพันธ์ | เสน่ห์บางกอก |
รางวัลพิเศษสำหรับนักแสดงเด็ก | วชิราภรณ์ พึ่งสังข์ | ลูกนก (2508) และ ลูกหญิง (2508) |
รางวัลเทคนิคพิเศษของการถ่ายภาพ | อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล | พระรถ-เมรี (2508) |
รางวัลพิเศษ
แก้สาขา | ผู้ได้รับรางวัล | ภาพยนตร์เรื่อง |
---|---|---|
โล่เกียรตินิยม ในฐานะดารานำชาย-หญิง ที่ทำเงินรายได้มากที่สุด | มิตร ชัยบัญชา - เพชรา เชาวราษฎร์ | เงิน เงิน เงิน |
-
สาวเครือฟ้า ฉบับ ปี 2508 ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
-
สมบัติ - พิศมัย ใน ศึกบางระจัน
-
เนาวรัตน์ วัชรา ดารานำหญิงยอดเยี่ยม
รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 9
แก้ภายหลังพิธีพระราชทานรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 8 แล้ว ทางหอการค้าไทยได้ดำริว่า จะเป็นผู้จัดการประกวดรางวัลตุ๊กตาครั้งที่ 9 ประจำปี พ.ศ. 2509 เป็นครั้งสุดท้าย เนื่องจากเห็นว่าควรให้สถาบันที่น่าเชื่อถือในวงการภาพยนตร์เป็นผู้รับช่วงไปดำเนินการต่อ มากกว่าที่จะให้ทางหอการค้า ซึ่งไม่ได้อยู่ในวงการภาพยนตร์เป็นผู้จัด โดยได้กำหนดจัดงานมอบรางวัลตุ๊กตาทองประจำปี พ.ศ. 2509 ขึ้นในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2510 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เมื่อถึงกำหนดในเดือนกันยายน พ.ศ. 2510 ก็ไม่ได้มีการจัดงาน ในขณะเดียวกันทางกลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์ก็ได้มีการรวมตัวของสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แห่งประเทศไทย ขึ้นอีกครั้ง มีการประชุมของ 4 สมาคมผู้เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจบันเทิง คือ สมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ สมาคมโรงภาพยนตร์ สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง และหอการค้าไทย และกำหนดที่จะจัดพิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทองขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 แต่แล้วก็ไม่ได้จัดอีก
ในปีต่อมา มีข่าวว่าจะจัดพิธีมอบรางวัลในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2512 แต่ก็เกิดเหตุขัดข้อง ไม่สามารถจัดงานได้อีกครั้ง
พิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 9 ได้ข้อสรุปในการจัดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2516 โดยนายสำเริง เนาวสัยศรี นายกสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยเป็นประธานจัดงาน มีคุณหญิงจินตนา ยศสุนทร เป็นประธานกรรมการตัดสิน การประกาศผลมีขึ้นในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ณ ห้องบอลรูม โรงแรมนารายณ์
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.
- http://www.thaifilm.com/awardsDetail.asp?id=65 เก็บถาวร 2007-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- หนึ่งเดียว, หนังสือชุดพิพิธภัณฑ์หนังไทย "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย", 2549