สีเทา เพ็ชรเจริญ
สีเทา เพ็ชรเจริญ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ สีเทา มีชื่อจริงว่า จรัล เพ็ชรเจริญ เป็นดาราตลกอาวุโส มีบุคลิกเด่นคือแสดงตลกด้วยหน้าตาท่าทาง ลักษณะหลังโกง พุงป่อง เหมือน "เท่ง" ตัวตลกดาราหนังตะลุง ของทางภาคใต้ และถูกนำบุคลิกไปสร้างเป็นตัวการ์ตูนในแอนิเมชันเรื่อง "แดร็กคูล่าต๊อก โชว์"
สีเทา | |
![]() สีเทา (กลาง) จากภาพยนตร์ญี่ปุ่นเรื่อง Shining Boy and Little Randy (2005) | |
ชื่อเกิด | จรัล เพ็ชรเจริญ |
เกิด | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 17 ตุลาคม พ.ศ. 2559 (84 ปี) โรงพยาบาลชลประทาน จังหวัดนนทบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | ยุพิน แก้วประเสริฐ |
อาชีพ | นักพากย์ นักแสดงตลก นักแสดง ตำรวจ |
ปีที่แสดง | 2499–2559 |
รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ | |
---|---|
พ.ศ. 2558 - รางวัลเกียรติยศ | |
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง | |
นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2548 - มหา'ลัย เหมืองแร่ | |
รางวัลโทรทัศน์ทองคำ | |
พ.ศ. 2547 - รางวัลเกียรติยศคนทีวี | |
ข้อมูลบนเว็บ IMDb | |
ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย (ThaiFilmDb) |
ประวัติแก้ไข
สีเทา เกิดเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ที่อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี บิดาคือ จ.ส.อ.เมฆ เพ็ชรเจริญ เป็นนายทหารเรือเก่า ส่วนมารดาคือ นางจรูญ เพ็ชรเจริญ เป็นแม่ค้าขายขนมหวาน ปัจจุบันเสียชีวิตแล้วทั้งคู่
เริ่มเข้าสู่วงการโดุยชักชวนของเสน่ห์ โกมารชุน ให้เป็นมาเป็นนักพากย์ภาพยนตร์ และแสดงภาพยนตร์เป็นตัวประกอบในบทตลกเรื่องแรก คือ ฟ้าธรรมาธิเบศร์ นำโดย วิไลวรรณ-พันคำ ฉายวันที่ 8 มีนาคม 2499 ตามมาด้วย เรื่อง สี่สิงห์นาวี นำโดย วิไลวรรณ-พันคำ-สุรสิทธิ์ ฉายวันที่ 29 ธันวาคม 2499 เล็บครุฑ นำโดย อมรา อัศวนนท์-ลือชัย นฤนาท ฉายวันที่ 12 พฤษภาคม 2500 และอีกหลายเรื่อง ต่อมาเข้ารับราชการตำรวจดำรงตำแหน่งโฆษกวงดุริยางค์ตำรวจ ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2520 จนเกษียณอายุราชการ
ชีวิตส่วนตัวสมรสกับยุพิน แก้วประเสริฐ มีบุตรสามคน และมีลูกติดจากภรรยาเก่า 1 คน
สีเทาเคยล้มป่วยจากโรคความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดแตกในสมอง จนเกือบถึงแก่ชีวิตแต่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานดอกไม้มาเยี่ยม ซึ่งทำให้สีเทายังสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณนี้มาโดยตลอดจนมาถึงช่วงบั้นปลายของชีวิต
ผลงานแก้ไข
ละครโทรทัศน์แก้ไข
- ชีวิตเปื้อนฝุ่น (2535) ช่อง 7
- ทายาทอสูร (2535) ช่อง 5 รับเชิญ
- เจ้าจอม (2535) ช่อง 9 รับเชิญ
- ละครเร่ (2535) ช่อง 7
- แก้วสารพัดนึก (2535) ช่อง 7
- ภูตแม่น้ำโขง (2535) ช่อง 7
- สุริยาที่รัก (2536) ช่อง 9
- อยู่กับก๋ง (2536) ช่อง 3
- เกิดแต่ตม (2536) ช่อง 7
- ภูติสาวเจ้าเสน่ห์ (2536) ช่อง 3
- บัวแก้วบัวทอง (2536) ช่อง 7
- จันทโครพ (2536) ช่อง 7
- วิมานมะพร้าว (2537) ช่อง 7 รับเชิญ
- กระสือ (2537) รับบท พ่อหมอ ช่อง 7
- แม่นาคพระโขนง (2537) ช่อง 5
- ศรีธนญชาย (2538) ช่อง 5
- ไกรทอง (2538) ช่อง 7
- ด้วยดวงจิตริษยา (2538) ช่อง 7
- ปีหนึ่งเพื่อนกันและวันอัศจรรย์ของผม(2539) ช่อง 7
- ดารายัณ (2539) ช่อง 5
- ด้วยแรงอธิษฐาน (2539) ช่อง 7 รับเชิญ
- โปลิศจับขโมย (2539) ช่อง 3 รับเชิญ
- เกาะสวาท หาดสวรรค์ (2539) ช่อง 7
- มณีนพเก้า (2539) ช่อง 7
- ดาวเรือง (2539) ช่อง 3
- ปอบผีฟ้า (2540) ช่อง 7
- นิรมิต (2540) ช่อง 7
- รักต้องลุ้น (2540) ช่อง 3
- น้ำใจแม่ รับบท เป็น หนุยนุ้ย (2540) ช่อง 7
- เดชแม่ยาย (2541) ช่อง 9
- คู่รัก 2 ชาติ (2541) ช่อง 3
- คุณหนูอารมณ์ร้ายกับผู้ชายปากแข็ง (2541) ช่อง 5
- อีแตน (2541) ช่อง 3
- พลังรัก (2541) ช่อง 7
- คุณปู่ซู่ซ่า (2542) ช่อง 7
- หัวใจมีเงา (2542) ช่อง 3 รับเชิญ
- สาวน้อยร้อยมายา (2542) ช่อง 7
- โดดเดี่ยวไม่เดียวดาย (2542) ช่อง 5
- ตามจับตามจีบ (2543) ช่อง 3
- ผู้ดีอีสาน (2543) เป็น ชัด ช่อง 3
- แม่นากพระโขนง (2543) ช่อง 3
- ยอดชีวัน (2543) ช่อง 3
- รัตติกาลยอดรัก (2543) ช่อง 3
- รักประกาศิต (2543) ช่อง 7
- ผยอง (ละครโทรทัศน์) (2543) ช่อง 3
- เรือนนพเก้า (2544) ช่อง 3 รับเชิญ
- ลางลิขิต (2544) ช่อง 3
- สุดหัวใจ (2544) ช่อง 3
- คนทรง-จ้าวแผ่นดิน (2544) รับบทเป็น ตาผัน ช่องไอทีวี
- ซิงตึ๊ง (2544) ช่อง 3 รับเชิญ
- เส้นไหมสีเงิน (2545) ช่อง 3
- มณีเมขลา (2545) ช่อง 3
- ไก่นา (2545) ช่อง 3 รับเชิญ
- บ้านนี้ผี (ไม่) ปอบ (2546) ช่อง 3
- แม่แตงร่มใบ (2546) ช่อง 7
- ใบสั่งกามเทพ (2546) ช่องไอทีวี
- เก่งไม่เก่งไม่เกี่ยว (2547) ช่อง 3
- นางสาวจริงใจ กับนายแสนดี (2547) ช่อง 7
- เรือนไม้สีเบจ (2547) ช่อง 3
- เดือนเดือด (2547) ช่อง 7
- นกออก (2548) ช่อง 7
- นางฟ้าไซเบอร์ (2548) ช่อง 3 รับเชิญ
- หมอผีไซเบอร์ (2548) ช่อง 7
- ดวง (2549) ช่อง 7
- รักเราไม่ไฮโซ (2549) ช่อง 3
- ละครเทิดพระเกียรติ ลูกระนาด (2550) ช่อง 7
- ผู้กองเจ้าเสน่ห์ (2552) ช่อง 3 รับเชิญในตอน "ผีมีพ่อ"
- วุ่นวายสบายดี (2555) ช่อง 3
- ฟ้าจรดทราย (2556) ช่อง 7 รับเชิญ
ภาพยนตร์แก้ไข
- ฟ้าธรรมาธิเบศร์ นำโดย วิไลวรรณ-พันคำ ฉายวันที่ 8 มีนาคม 2499
- สี่สิงห์นาวี นำโดย วิไลวรรณ-พันคำ-สุรสิทธิ์ ฉายวันที่ 29 ธันวาคม 2499
- เล็บครุฑ นำโดย อมรา อัศวนนท์-ลือชัย นฤนาท ฉายวันที่ 12 พฤษภาคม 2500
- แม่นาคพระโขนง (2502) นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์, ปรียา รุ่งเรือง
- อวสารอินทรีแดง (2506)
- นางเสือดาว (2508)
- งูผี (2509)
- นางนวล (2510)
- กู่การะเวก (2510)
- จ้าวอินทรี (2511)
- สันกำแพง (2511)
- เปลวเทียน (2512)
- ไก่แก้ว (2512)
- หาดใหญ่ใจสู้ (2512)
- คฤหาสน์รัก (2512)
- ลูกสาวพระอาทิตย์ (2512 )
- น้องรัก (2512)
- เมืองแม่หม้าย (2512)
- คมแฝก (2513)
- ยอดเพชร (2513)
- ไอ้ยอดทอง (2513)
- กายทิพย์ (2513)
- อินทรีทอง (2513)
- ฝนเหนือ (2513)
- อีสาวบ้านไร่ (2513)
- ลูกยอด (2514)
- แม่ศรีไพร (2514)
- น้ำใจพ่อค้า (2514)
- ในสวนรัก (2514)
- กระท่อมปรีดา (2515)
- รจนายอดรัก (2515)
- หัวใจป่า (2515)
- คุ้มนางฟ้า (2515)
- แม่งู (2515)
- แม่นาคอเมริกา (2518)
- ยอดกระล่อน (2519)
- เจ้าป้าบ้าจี้ (2521)
- สาวใช้เจ้าเอ๊ย (2522)
- เป๋อจอมเปิ่น (2523)
- ภูตพิศวาส (2523)
- ไอ้หนังเหนียว (2523)
- สะดิ้ง (2524)
- ผีตาโบ๋ (2524)
- อุ๊ย!..เขิน (2524)
- ลุยเลอะ (2524)
- สิงห์สองฝั่ง (2524)
- กูละเบื่อส์ (2524)
- ขุนแผน ตอน ปราบจระเข้เถรขวาด (2525)
- ม.6 (2526)
- ดวงมันเฮง (2526)
- ดรุณี 9 ล้าน (2526)
- ลูกเขยคนเฮง (2527)
- กิ้งก่ากายสิทธิ์ (2528)
- กระท่อมใหม่ ทะเลเดิม (2533)
- ความรักของคุณฉุย 2 ภาค ปัญญาชนคนกะลิง (2536)
- คู่กรรม 2 (2539)
- กาเหว่าที่บางเพลง (2537)
- ถนนนี้หัวใจข้าจอง (2540) รับบทเป็น ภารโรง
- เรื่องตลก 69 (2542)
- สุริโยไท (2544) รับบทเป็น พรานช้าง
- มือปืน/โลก/พระ/จัน (2544) รับบทเป็น หลวงพ่อ
- ดึก ดำ ดึ๋ย (2546) รับบทเป็น ผู้จัดการประจำโรงแรมเก่า
- ครูแก (2547)
- พี่น้องสองเสือ (2547) รับบทเป็น หัวหน้าประจำหมู่บ้าน
- ภาพยนตร์ญี่ปุ่น เพื่อนช้าง...อาริงาโตะ! (Hoshi ni natta Shonen) (2548) รับบทเป็นครูสอนควาญช้างในจังหวัดเชียงใหม่ ภาพยนตร์เรื่องนี้ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นและวางจำหน่ายทั่วโลก
- มหา'ลัย เหมืองแร่ (2548)
- โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง" (2549) รับบทเป็น ลุงดิน (รับเชิญ)
- สติ สืบ ศพ หรือ ศพไม่เงียบ (2553)
- หมาแก่ อันตราย (2554) รับบทเป็น หลวงพ่อ
- ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี (2557) รับบทเป็น โหราธิบดีหงสาวดี
มิวสิควิดีโอแก้ไข
- เพลง ตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า - เฉลียง (2533)
รางวัลแก้ไข
- รางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม จัดโดยชมรมวิจารณ์บันเทิง ประจำปี พ.ศ. 2548 จากเรื่อง มหา'ลัย เหมืองแร่
- รางวัลเกียรติยศคนทีวี ในพิธีประกาศผลรางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 19 ประจำปี พ.ศ. 2547 ร่วมกับ กำธร สุวรรณปิยะศิริ และอารีย์ นักดนตรี [1]
- รางวัลเกียรติยศ จากนิตยสารแฮมเบอร์เกอร์ ประจำปี พ.ศ. 2551[2]
- รางวัลเกียรติยศ ในพิธีประกาศผลรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 25[3]