รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2507

รางวัลวงการบันเทิงไทย

การประกวดภาพยนตร์ รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2507 จัดโดยหอการค้าไทย มีพิธีประกาศผลอย่างเป็นทางการ ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2508 โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธาน และ พระราชทานรางวัล แก่ผู้ได้รับรางวัล[1]

รางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 7 ประจำปี พ.ศ. 2507
วันที่17 มีนาคม พ.ศ. 2508
สถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อำเภอพระนคร จังหวัดพระนคร
รางวัลมากที่สุดนางสาวโพระดก (4)
← ครั้งที่ 6 · รางวัลตุ๊กตาทอง · ครั้งที่ 8 →

ผู้ได้รับรางวัล แก้

รางวัลตุ๊กตาทอง แก้

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม นางสาวโพระดก (แหลมทองภาพยนตร์) นางสาวโพระดก (2508)
ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม ไชยา สุริยัน ธนูทอง (2508)
ผู้แสดงนำฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม เพชรา เชาวราษฎร์ นกน้อย (2507)
ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยม ดอกดิน กัญญามาลย์ นกน้อย
ผู้แสดงประกอบฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม มาลี เวชประเสริฐ จำปูน (2507)
ผู้กำกับการแสดงยอดเยี่ยม วิจิตร คุณาวุฒิ นางสาวโพระดก
บทประพันธ์ยอดเยี่ยม ระพีพร ลูกทาส (2507)
บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม วิจิตร คุณาวุฒิ คมแสนคม (2507)
รางวัลถ่ายภาพยอดเยี่ยม ฉลอง ภักดีวิจิตร ละอองดาว (2507)
รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม สัตตบุศย์ คมแสนคม
รางวัลออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม ชโลธร นางสาวโพระดก
รางวัลเพลงประกอบยอดเยี่ยม สมาน กาญจนผลิน - ชาลี อินทรวิจิตร ลูกทาส
รางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม ปง อัศวินิกุล น้ำตาลไม่หวาน (2507)
รางวัลพากย์เสียงยอดเยี่ยม จุรี โอศิริ - สมพงษ์ วงศ์รักไทย - เพ็ญศรี นกน้อย

รางวัลตุ๊กตาเงิน แก้

สาขา ผู้ได้รับรางวัล ภาพยนตร์เรื่อง
รางวัลพิเศษสานจินตนาการและการสร้างสรรค์ ธนูทอง ธนูทอง
รางวัลบทเสริมเด่นยอดเยื่ยมชาย ทิวา แจ่มผล ร้อยป่า (2507)
รางวัลบทเสริมเด่นยอดเยื่ยมหญิง น้ำเงิน บุญหนัก นางสาวโพระดก
รางวัลพิเศษความสามารถในการแสดงหลายบทบาท ล้อต๊อก ศึกประจันตคาม (2507) และ เลือดนอกอก (2508)

อ้างอิง แก้

  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-29. สืบค้นเมื่อ 2007-01-07.