ยุทธนาวีที่ทะเลชวา

5°0′S 111°0′E / 5.000°S 111.000°E / -5.000; 111.000

ยุทธนาวีที่ทะเลชวา
ส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง, สงครามแปซิฟิก

ระเบิดจากอากาศยานญี่ปุ่นตกใกล้เรือลาดตระเวนเบาชวา ของเนเธอร์แลนด์ ในช่องแคบกัสปาร์ทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา หมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942
วันที่27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942
สถานที่
ผล ญี่ปุ่นชนะ
คู่สงคราม
 เนเธอร์แลนด์
 สหรัฐ
 สหราชอาณาจักร
 ออสเตรเลีย
 ญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
กาเรล ดัวร์มัน 
กอนราด เฮลฟริช[1]
จักรวรรดิญี่ปุ่น ทาเกโอะ ทากางิ[2]
กำลัง
เรือลาดตระเวนหนัก 2 ลำ
เรือลาดตระเวนเบา 3 ลำ
เรือพิฆาต 9 ลำ
เรือลาดตระเวนหนัก 2 ลำ
เรือลาดตระเวนเบา 2 ลำ
เรือพิฆาต 14 ลำ
อากาศยานขนส่งทางการทหาร 10 ลำ
ความสูญเสีย
เรือลาดตระเวนเบาจม 2 ลำ
เรือพิฆาตจม 3 ลำ
เรือลาดตระเวนหนักเสียหาย 1 ลำ
ลูกเรือเสียชีวิต 2,300 นาย
เรือพิฆาตเสียหาย 3 ลำ
เรือลาดตระเวนเบาเสียหาย 1 ลำ
ลูกเรือเสียชีวิต 36 นาย

ยุทธนาวีที่ทะเลชวา (อินโดนีเซีย: Pertempuran Laut Jawa; ญี่ปุ่น: スラバヤ沖海戦, อักษรโรมัน: Surabaya oki kaisen, แปลตรงตัว'ยุทธการที่ซูราบายาในทะเลเปิด'; อังกฤษ: Battle of the Java Sea) เป็นยุทธนาวีขั้นเด็ดขาด[3] ของการทัพแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง

กองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตรประสบความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับด้วยเงื้อมมือของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 และในการปฏิบัติการรองติดต่อกันหลายวัน ผู้บัญชาการกองกำลังจู่โจมของหน่วยบัญชาการสหรัฐ-สหราชอาณาจักร-เนเธอร์แลนด์-ออสเตรเลีย (ABDACOM) — พลเรือตรีชาวดัตช์ กาเรล ดัวร์มัน — ถูกสังหาร ผลที่ตามมาของยุทธการรวมถึงปฏิบัติการเล็ก ๆ หลายอย่างรอบ ๆ เกาะชวา ตลอดจนยุทธนาวีที่ช่องแคบซุนดาที่เล็กกว่า แต่ก็มีความสำคัญเช่นกัน ความพ่ายแพ้เหล่านี้ทำให้ญี่ปุ่นยึดครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ทั้งหมด

ภูมิหลัง แก้

การบุกครองหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์โดยญี่ปุ่นดำเนินไปอย่างรวดเร็วเมื่อพวกเขาก้าวออกจากอาณานิคมหมู่เกาะปาเลา และยึดฐานทัพในรัฐซาราวักรวมถึงฟิลิปปินส์ตอนใต้[4] พวกเขายึดฐานทัพในเกาะบอร์เนียวตะวันออก[5][6] และทางตอนเหนือของเซเลบีส[7] ในขณะที่ขบวนเรือกองทหาร ซึ่งคุ้มกันโดยเรือพิฆาตและเรือลาดตระเวน พร้อมการสนับสนุนทางอากาศโดยฝูงเครื่องบินต่อสู้ที่ปฏิบัติการจากฐานที่ยึดได้ ได้แล่นไปทางใต้ผ่านช่องแคบมากัซซาร์และเข้าไปในทะเลโมลุกกะ ส่วนการต่อต้านกองกำลังที่รุกรานเหล่านี้เป็นกองกำลังขนาดเล็ก ซึ่งประกอบด้วยเรือรบดัตช์, อเมริกัน, อังกฤษ และออสเตรเลีย — ซึ่งเป็นเรือรบสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง — โดยในตอนแรกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอก ทอมัส ซี. ฮาร์ต[8]

เมื่อวันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 1942 กองกำลังของเรือพิฆาตอเมริกัน 4 ลำได้โจมตีขบวนเรือรุกรานของญี่ปุ่นในช่องแคบมากัซซาร์ขณะเข้าใกล้บาลิกปาปันในเกาะบอร์เนียว[9] เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ฝ่ายสัมพันธมิตรต่อสู้ไม่สำเร็จ — ในยุทธการที่ปาเล็มบัง — เพื่อป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นยึดท่าเรือน้ำมันสำคัญทางตะวันออกของเกาะสุมาตรา[10] ในคืนวันที่ 19/20 กุมภาพันธ์ กองกำลังพันธมิตรได้โจมตีกองกำลังรุกรานตะวันออกนอกจังหวัดบาหลีในยุทธนาวีที่ช่องแคบบาดุง[11] นอกจากนี้ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ญี่ปุ่นได้ทำการโจมตีทางอากาศสองครั้งที่เมืองดาร์วินบนแผ่นดินใหญ่ของออสเตรเลีย โดยเป็นหนึ่งครั้งจากเครื่องบินที่ใช้เรือบรรทุกเครื่องบิน และอีกหนึ่งครั้งโดยเครื่องบินที่บินบนบก[12] การทำลายดาร์วินทำให้มันใช้การไม่ได้ในฐานะที่เป็นเสบียงและฐานทัพเรือเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการในหมู่เกาะอินเดียตะวันออก

ยุทธการ แก้

 
รูปขบวนของเครื่องบินทิ้งระเบิดทางบกที่ใช้เครื่องยนต์คู่แฝดของญี่ปุ่นทำการยิงต่อต้านอากาศยานขณะโจมตีเรือรบในทะเลชวาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ซึ่งเห็นได้จากเรือลาดตระเวน เรือหลวงโฮบาร์ตของออสเตรเลีย
 
เรือหลวงเดอ ไรเตอร์ ที่จอดทอดสมออยู่ที่อ่าวอูซธาเฟน ทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ไม่นานก่อนที่จะมีการรบช่องแคบกัสปาร์
 
เรือลาดตระเวนญี่ปุ่นฮางูโระ (ในภาพ) ได้จมเรือหลวงเดอ ไรเตอร์ โดยสังหารพลเรือเอก กาเรล ดัวร์มัน

กองกำลังสะเทินน้ำสะเทินบกของญี่ปุ่นได้รวมตัวกันเพื่อเข้าตีที่เกาะชวา และในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 กองกำลังทางเรือหลักของพันธมิตรภายใต้การนำของดัวร์มัน ได้แล่นไปทางตะวันออกเฉียงเหนือจากซูราบายา เพื่อสกัดกั้นขบวนเรือของกองกำลังรุกรานทางตะวันออกที่เข้าใกล้จากช่องแคบมากัซซาร์ กองกำลังจู่โจมตะวันออกอย่างที่ทราบกันดี[13] ว่าประกอบด้วยเรือลาดตระเวนหนักสองลำ (เรือหลวงเอ็กซิเตอร์ และยูเอสเอส ฮิวสตัน), เรือลาดตระเวนเบาสามลำ (เรือหลวงเดอ ไรเตอร์ ซึ่งเป็นเรือธงของดัวร์มัน, เรือหลวงชวา, เรือหลวงเพิร์ท) และเรือพิฆาตเก้าลำ (เรือหลวงอิเล็กตรา, เรือหลวงเอนเคาน์เตอร์, เรือหลวงจูปิเตอร์, เรือหลวงโคเทนาร์, เรือหลวงวิตเตอ เดอ วิธ, ยูเอสเอส อัลเดน, ยูเอสเอส จอห์น ดี. เอ็ดเวิดส์, ยูเอสเอส จอห์น ดี. ฟอร์ด และยูเอสเอส พอล โจนส์)

ส่วนหน่วยเฉพาะกิจของญี่ปุ่นที่คุ้มกันขบวนเรือ ซึ่งได้รับคำสั่งจากพลเรือตรี ทาเกโอะ ทากางิ[14] ประกอบด้วยเรือลาดตระเวนหนักสองลำ (นาชิ และฮางูโระ) และเรือลาดตระเวนเบาสองลำ (นากะ และจินซือ) ตลอดจนเรือพิฆาต 14 ลำ (ยูดาชิ, ซามิดาเระ, มูราซาเมะ, ฮารูซาเมะ, มิเนงูโมะ, อาซางูโมะ, ยูกิกาเซะ, โทกิสึกาเซะ, อามาสึกาเซะ, ฮาสึกาเซะ, ยามากาเซะ, คาวากาเซะ, ซาซานามิ และอูชิโอะ) รวมถึงกองเรือพิฆาตที่ 4 ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือตรี โชจิ นิชิมูระ[15] เรือลาดตระเวนหนักของญี่ปุ่นนั้นทรงพลังกว่ามาก โดยมีปืนขนาด 8 นิ้ว (203 มม.) สิบกระบอก และตอร์ปิโดที่ดีเยี่ยม จากการเปรียบเทียบ เอ็กซิเตอร์มีอาวุธปืนขนาด 8 นิ้วเพียงหกกระบอก และปืนขนาด 8 นิ้วเก้ากระบอกของฮิวสตัน ซึ่งมีเพียงหกกระบอกที่ยังใช้งานได้หลังจากป้อมปืนท้ายของมันถูกทำให้หมดสภาพในการโจมตีทางอากาศก่อนหน้านี้

กองกำลังพันธมิตรเข้าโจมตีญี่ปุ่นในทะเลชวา และการสู้รบก็ดุเดือดเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงเที่ยงคืน ขณะที่ฝ่ายพันธมิตรพยายามเข้าถึงและโจมตีกองกำลังขนส่งของกองเรือที่รุกรานชวา แต่พวกเขาถูกขับไล่ด้วยอำนาจการยิงที่เหนือกว่า ส่วนฝ่ายสัมพันธมิตรมีความเหนือกว่าทางอากาศในท้องถิ่นในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากกำลังทางอากาศของญี่ปุ่นไม่สามารถเข้าถึงกองเรือได้ในสภาพอากาศเลวร้าย สภาพอากาศยังขัดขวางการสื่อสาร ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างฝ่ายพันธมิตรหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง—ทั้งในการลาดตระเวน, เครื่องบินคุ้มกันในอากาศ และกองบัญชาการกองเรือ—แม้แย่กว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นยังก่อกวนคลื่นความถี่วิทยุ ส่วนเอ็กซิเตอร์เป็นเรือลำเดียวในการรบที่ติดตั้งเรดาร์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ในเวลานั้น

การต่อสู้ประกอบด้วยลำดับของความพยายามตลอดระยะเวลาเจ็ดชั่วโมงโดยกองกำลังผสมของดัวร์มันในการเข้าถึงและโจมตีขบวนเรือรุกราน ที่แต่ละช่วงได้ถูกต่อต้านโดยกองกำลังคุ้มกัน ซึ่งฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับความการสูญเสียอย่างหนัก

กองเรือมองเห็นกันและกันเมื่อเวลาประมาณ 16.00 น. ของวันที่ 27 กุมภาพันธ์ และใกล้ชิดกับระยะการยิง โดยเปิดฉากยิงเมื่อเวลา 16:16 น. ซึ่งทั้งสองฝ่ายแสดงทักษะการยิงปืนใหญ่และตอร์ปิโดที่แย่ในช่วงนี้ของการรบ แม้จะมีการปรับโฉมใหม่เมื่อไม่นานมานี้ (ด้วยการเพิ่มเรดาร์ควบคุมการยิงปืนใหญ่แบบ 284 ที่ทันสมัย) กระสุนปืนใหญ่ของเรือหลวงเอ็กซิเตอร์ไม่ได้เข้าใกล้เรือรบญี่ปุ่น ขณะที่เรือลาดตระเวนฮิวสตันทำได้เพียงควบเรือลาดตระเวนลำหนึ่งที่เป็นปรปักษ์ ผลลัพธ์ที่น่าสังเกตเพียงอย่างเดียวของการโต้ตอบการยิงปืนใหญ่ครั้งแรกคือเรือหลวงเอ็กซิเตอร์ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการโจมตีในห้องหม้อไอน้ำจากกระสุนปืนใหญ่ขนาด 8 นิ้ว จากนั้น เรือก็เคลื่อนไหวอย่างกะโผลกกะเผลกไปยังซูราบายา โดยมีเรือหลวงวิตเตอ เดอ วิธ คุ้มกัน

ญี่ปุ่นปล่อยตอร์ปิโดขนาดใหญ่สองลูก จากตอร์ปิโดทั้งหมด 92 ลูก แต่ยิงโดนเรือโคเทนาร์ไปเพียงลูกเดียว ซึ่งเรือดังกล่าวถูกโจมตีด้วยตอร์ปิโดลองแลนซ์ และจมลงอย่างรวดเร็วหลังจากการปะทะ

ส่วนเรืออิเล็กตรา—คุ้มกันเรือเอ็กซิเตอร์—โดยมีส่วนร่วมในการดวลกับจินซือและเรืออาซางูโมะ ซึ่งทำให้เป็นรอยได้หลายครั้ง แต่ก็ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงต่อด้านบนของดาดฟ้าเรือ โดยหลังจากเกิดเพลิงไหม้ร้ายแรงที่เรืออิเล็กตรา และป้อมปืนที่เหลืออยู่ของเรือนี้ก็หมดกระสุน จึงมีคำสั่งให้สละเรือ ส่วนในฝั่งญี่ปุ่น มีเพียงเรืออาซางูโมะเท่านั้นที่ถูกบังคับให้ถอนตัวเนื่องจากความเสียหาย

กองเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรแยกตัวออกและหันกลับไปในเวลาประมาณ 18:00 น. โดยมีม่านควันปกคลุมเรือพิฆาตสี่ลำของหมู่เรือพิฆาตสหรัฐ 58 (DesDiv 58) พวกเขายังปฏิบัติการโจมตีด้วยตอร์ปิโดแต่มีระยะไกลเกินกว่าจะได้ผล ซึ่งกองกำลังของดัวร์มันได้เลี้ยวไปทางใต้สู่ชายฝั่งชวา จากนั้นไปทางทิศตะวันตกและทิศเหนือในตอนกลางคืนเพื่อพยายามหลบเลี่ยงกลุ่มคุ้มกันของญี่ปุ่นรวมถึงการโจมตีกลุ่มเรือ เมื่อมาถึงจุดนี้เองที่เรือของหมู่เรือพิฆาต 58 ได้ใช้ตอร์ปิโดของพวกเขาไปหมดแล้ว โดยปล่อยความริเริ่มของพวกเขาเองให้อยู่อย่างนั้นเพื่อกลับไปยังซูราบายา

อ้างอิง แก้

  1. L, Klemen (1999–2000). "Rear-Admiral Karel W.F.M. Doorman". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-31. สืบค้นเมื่อ 2022-04-24.
  2. L, Klemen (1999–2000). "Rear-Admiral Takeo Takagi". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-10-31. สืบค้นเมื่อ 2022-04-24.
  3. Morison, Samuel Eliot. History of United States Naval Operations in World War II: The rising sun in the Pacific
  4. L, Klemen (1999–2000). "The Invasion of British Borneo in 1942". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-01. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.
  5. L, Klemen (1999–2000). "The capture of Tarakan Island, January 1942". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2011.
  6. L, Klemen (1999–2000). "The capture of Balikpapan, January 1942". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-26. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.
  7. L, Klemen (1999–2000). "The Fall of Menado, January 1942". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-12. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.
  8. L, Klemen (1999–2000). "Admiral Thomas Charles Hart". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 December 2012. สืบค้นเมื่อ 17 June 2011.
  9. Muir, Dan (1999–2000). "The Balikpapan Raid". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942.
  10. L, Klemen (1999–2000). "The Battle for Palembang, February 1942". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-09. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.
  11. L, Klemen (1999–2000). "The Badung Strait Battle". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 มีนาคม 2015.
  12. Horner, David (1995). "The Gunners: A History of Australian Artillery". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.
  13. BBC. Fact File: Battle of Java Sea
  14. L, Klemen (1999–2000). "Rear-Admiral Takeo Takagi". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-08. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.
  15. L, Klemen (1999–2000). "Rear-Admiral Shoji Nishimura". Forgotten Campaign: The Dutch East Indies Campaign 1941–1942. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-28. สืบค้นเมื่อ 2020-08-24.

บรรณานุกรม แก้

สื่อภาพ แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้