การทิ้งระเบิดดาร์วิน

การทิ้งระเบิดดาร์วิน เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 เป็นการโจมตีเที่ยวเดียวครั้งแรกและครั้งใหญ่ที่สุดโดยต่างชาติต่อออสเตรเลีย ในวันนั้น อากาศยานญี่ปุ่น 242 ลำโจมตีเรือในท่าเรือของดาร์วินและสนามบินสองแห่งของเมือง ในความพยายามที่จะกันมิให้ฝ่ายสัมพันธมิตรใช้เป็นฐานขัดขวางการรุกรานติมอร์และชวา เมืองดาร์วินมีการป้องกันอย่างเบาบาง และฝ่ายญี่ปุ่นได้ก่อความเสียหายอย่างหนักต่อกำลังฝ่ายสัมพันธมิตร ขณะที่ญี่ปุ่นเสียหายเพียงเล็กน้อย พื้นที่เมืองดาร์วินยังเผชิญกับความเสียหายจากการตีโฉบฉวยบ้าง และมีพลเรือนเสียชีวิตจำนวนหนึ่ง

การทิ้งระเบิดดาร์วิน
ส่วนหนึ่งของ สงครามแปซิฟิก สงครามโลกครั้งที่สอง

ถังเก็บน้ำมันและเมฆควันจากถังอื่น เกิดระเบิดขึ้นระหว่างการตีโฉบฉวยทางอากาศครั้งแรกต่อแผ่นดินใหญ่ออสเตรเลียที่ดาร์วิน เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 ฉากหน้าเป็น HMAS Deloraine ซึ่งสามารถหลบเลี่ยงความเสียหายได้
วันที่19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942
สถานที่
ดาร์วิน ออสเตรเลีย
ผล ญี่ปุ่นได้รับชัยชนะ
คู่สงคราม
 ออสเตรเลีย
 สหรัฐ
ญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ออสเตรเลีย David V. J. Blake ญี่ปุ่น ชูอิชิ นะงุโมะ
กำลัง
อากาศยาน 30 ลำ
เรือ 45 ลำ
อากาศยาน 242 ลำ
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 250–320 คน
ได้รับบาดเจ็บ 300–400 คน
อากาศยาน 23 ลำถูกทำลาย
เรือ 10 ลำถูกจม
เรือ 25 ลำได้รับความเสียหาย
อากาศยาน 7 ลำถูกทำลาย [1]

เหตุการณ์นี้มักถูกเรียกว่า "เพิร์ลฮาร์เบอร์แห่งออสเตรเลีย"[2] แม้ดาร์วินเป็นเป้าหมายทางทหารที่สำคัญน้อยกว่ามาก แต่มีการใช้ระเบิดถล่มดาร์วินจำนวนมากกว่าที่ใช้เมื่อครั้งโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์เสียอีก[3][4] รัฐบาลออสเตรเลียปกปิดข่าวการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดถล่มดาร์วิน โดยเชื่อว่าสื่อออสเตรเลียจะนำเสนอข่าวที่มีผลด้านจิตวิทยาต่อประชากรออสเตรเลีย[5] การตีโฉบฉวยนี้เป็นครั้งแรกและครั้งใหญ่ที่สุดในบรรดาการตีโฉบฉวยทางอากาศเกือบ 100 ครั้งต่อออสเตรเลียระหว่าง ค.ศ. 1942–43

อ้างอิง แก้

  1. Grose, Peter (2009). An Awkward Truth : The bombing of Darwin, February 1942 (paperback ed.). Sydney: Allen & Unwin. p. 135. ISBN 978-1741756432.
  2. Lockwood, Douglas (1992). Australia's Pearl Harbour: Darwin, 1942 (reprint ed.). Melbourne: Penguin Books. p. xiii and 5. ISBN 978-0140168204.
  3. Margo Daly (2003). Rough guide to Australia. Rough Guides. p. 616. ISBN 9781843530909.
  4. Frame, Tom. "The Bombing of Darwin". Quadrant Online. สืบค้นเมื่อ 3 June 2009.
  5. "Darwin bombing was 'our Pearl Harbour': Gillard". The Age. Australian Associated Press. February 19, 2012.

12°27′S 130°50′E / 12.450°S 130.833°E / -12.450; 130.833