ยืม (อังกฤษ: loan; ฝรั่งเศส: prêt, /เปร/) หมายความว่า "ขอสิ่งของมาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน"[1] ในทางกฎหมายเป็นสัญญาประเภทสัญญามีชื่อ ซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ให้ยืม" (อังกฤษ: lender) ส่งมอบทรัพย์สินของตนให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า "ผู้ยืม" (อังกฤษ: borrower) เพื่อให้ผู้ยืมใช้สอย และผู้ยืมจะได้คืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ให้ยืมเมื่อเขาใช้สอยเสร็จแล้ว[2] แบ่งเป็นสองประเภท ได้แก่

ยืมใช้คงรูป (อังกฤษ: loan for use; ฝรั่งเศส: prêt à usage) คือ สัญญายืมที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว[3] กับ

ยืมใช้สิ้นเปลือง (อังกฤษ: loan for consumption; ฝรั่งเศส: prêt de consommation) คือ สัญญายืมซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น[4] โดยการยืมอันมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นเงินนั้น เรียก "กู้ยืม" (อังกฤษ: loan of money; ฝรั่งเศส: emprunt)[1] และจัดเป็นลักษณะหนึ่งของยืมใช้สิ้นเปลือง[5]

การยืมทั้งหลายเหล่านี้ นับเป็นพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของมนุษย์ที่เรียกได้ว่าไม่มีใครไม่เคยยืมหรือถูกยืม ไม่ว่าจะเป็นของเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ดินสอ ปากกา ยางลบ ไปจนถึงของสำคัญต่าง ๆ เช่น ทรัพย์สินเงินทอง ทั้งนี้ เหตุผลหนึ่งก็เนื่องจากสมาชิกในสังคมมิได้มีฐานะทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน กับทั้งความจำเป็นหลาย ๆ ด้าน อาทิ ในการประกอบธุรกิจที่ต้องการทุนสูงหรือทุนหมุนเวียน และอาจรวมถึงกิเลสตัณหาอยากได้อยากมีจนเกิดสำนวนไทยว่า "กู้หนี้ยืมสิน" การยืมจึงก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ให้ยืมกับผู้ยืม ซึ่งบางทีนำไปสู่ความวิวาทบาดทะเลาะในสังคม ดังนั้น เพื่อความสงบเรียบร้อยของส่วนรวม กฎหมายจึงเข้ามาควบคุมพฤติกรรมในการยืม[6]

บทบัญญัติของกฎหมาย แก้

ประเทศ บทบัญญัติต้นฉบับ คำแปลบทบัญญัติ
  ไทย ป.พ.พ.
บรรพ 3 เอกเทศสัญญา, ลักษณะ 9

หมวด 1 ยืมใช้คงรูป

"ม.640 อันว่ายืมใช้คงรูปนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ยืม ให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ยืม ใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว

มาตรา 641 การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม"

หมวด 2 ยืมใช้สิ้นเปลือง

"ม.650 อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือ สัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม"
Civil and Commercial Code
Book 3 : Specific Contracts, Title 9 : Loan[7]

Chapter 1 : Loan for use

"Section 640. A loan for use is a contract whereby a person, called the lender, lets another person, called the borrower, have gratuitously the use of a property, and the borrower agrees to return it after having made use thereof.

Section 641. A loan for use is complete only on delivery of the property lent."

Chapter 2 : Loan for consumption

"Section 650. A loan for consumption is a contract whereby the lender transfers to the borrower the ownership of a certain quantity of property which is consumed in the user, and the borrower agrees to return a property of the same kind, quality and quantity.

The contract is complete only on delivery of the property lent."
  ญี่ปุ่น Minpō (ญี่ปุ่น: 民法)
Part 3 : Claims, Chapter 2 : Contracts[8]

Section 5 : Loans for consumption

"Article 587 (Loans for consumption).
A loan for consumption shall become effective when one of the parties receives money or other things from the other party by promising that he/she will return by means of things that are the same in kind, quality and quantity.

Article 588 (Quasi-loans for consumption).
消In cases where any person has an obligation to provide money or other things under any arrangement which is not a loan for consumption, if the parties agree to regard such things as the subject matter of a loan for consumption, it shall be deemed that this establishes a loan for consumption."

Section 6 : Loans for use

"Article 593 (Loans for use).
A loan for use shall become effective when one of the parties receives a defined Thing from the other party by promising that he/she will return the Thing after he/she has gratuitously made use of and taken the profits of the same ."
มินโป
ภาค 3 สิทธิเรียกร้อง, หมวด 2 สัญญา

แผนก 5 ยืมใช้สิ้นเปลือง

"ม.587 (ยืมใช้สิ้นเปลือง)
การยืมใช้สิ้นเปลืองนั้น ย่อมเป็นผลเมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับเงินหรือทรัพย์อย่างอื่นจากอีกฝ่าย โดยให้คำมั่นว่าเขาจะส่งเงินหรือทรัพย์ประเภท ชนิด และปริมาณเดียวกันกลับคืนให้

ม.588 (เสมือนยืมใช้สิ้นเปลือง)
ในกรณีที่บุคคลใดมีหนี้ต้องให้เงินหรือทรัพย์อย่างอื่นตามข้อตกลงใด ๆ อันมิใช่การยืมใช้สิ้นเปลือง หากคู่สัญญาทุกฝ่ายตกลงกันให้ถือทรัพย์ดังกล่าวเสมือนสาระสำคัญแห่งการยืมใช้สิ้นเปลืองแล้ว ก็ให้ถือว่าเป็นกรณีของการยืมใช้สิ้นเปลือง"

แผนก 6 ยืมใช้คงรูป

"ม.593 (ยืมใช้คงรูป)
การยืมใช้คงรูปนั้น ย่อมเป็นผลเมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้รับทรัพย์เฉพาะสิ่งจากอีกฝ่าย โดยให้คำมั่นว่าเขาจะส่งทรัพย์นั้นคืนให้ หลังจากที่ได้ใช้และถือเอาประโยชน์จากทรัพย์นั้นโดยปลอดค่าตอบแทนแล้ว"
  ฝรั่งเศส French Civil Code (ฝรั่งเศส: Code civil des Français)
Book 3 : Of The Different Modes Of Acquiring Property; Title 10 : Of loans.[9]


"Article 1874. There are two kinds of loan:
That of things, which a party can use without destroying them;
And that of things, which are consumed by the use which is made thereof.
The first species is called loan for use, or gratuitous lending;
The second is termed loan for consumption, or simple loan."


Chapter 1 : Of loan for use, or gratuitously; Section 1 : Of the nature of lean for use

"Article 1875. Loan for use, or gratuitous lending, is a contract by which one of the parties gives up a thing to another in order to its employment, on condition by the borrower to restore it after having so employed it.

Article 1876. This loan is essentially gratuitous.

Article 1877. The lender remains proprietor of the thing lent.

Article 1878. Every thing which is of a commercial nature, and which does not consume by using, may be the object of this agreement."


Chapter 2 : Of loan for consumption, or simple loan; Section 1 : Of the nature of the loan for consumption

"Article 1892. The loan for consumption is a contract by which one of the parties delivers to the other a certain quantity of things which perish in using, on condition by the latter to return him so much of the same kind and goodness.

Article 1894. By the effect of such loan, the borrower becomes proprietor of the thing lent; and it is at his risk it perishes, in whatsoever manner such loss happen."
ประมวลกฎหมายแพ่งฝรั่งเศส
บรรพ 3 ลักษณะต่าง ๆ ของการได้มาซึ่งทรัพย์สิน, ลักษณะ 10 ยืม


"ม.1874 ยืมนั้นมีสองประเภทดังนี้
การยืมทรัพย์โดยที่คู่สัญญาใช้ทรัพย์นั้นได้แต่จะทำให้ทรัพย์เสียหายทำลายลงหาได้ไม่
และการยืมทรัพย์เพื่อใช้ให้สิ้นเปลืองลง
ประเภทแรก ชื่อว่า ยืมใช้คงรูป หรือยืมใช้โดยปลอดค่าตอบแทน
ประเภทที่สอง ชื่อว่า ยืมใช้สิ้นเปลือง หรือยืมใช้เสียเปล่า"


หมวด 1 ยืมใช้คงรูป หรือยืมใช้โดยปลอดค่าตอบแทน; แผนก 1 สภาพของการยืมใช้คงรูป

"ม.1875 ยืมใช้คงรูป หรือยืมใช้โดยปลอดค่าตอบแทน คือ สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งยกทรัพย์ให้อีกฝ่ายใช้ โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ยืมจะคงสภาพทรัพย์นั้นไว้เมื่อใช้แล้ว

ม.1876 สาระสำคัญของการยืมประเภทนี้ คือ ปลอดค่าตอบแทน

ม.1877 ผู้ให้ยืมคงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ตนให้ยืมอยู่

ม.1878 วัตถุแห่งข้อตกลงประเภทนี้ จะเป็นทรัพย์ทั้งหลายอันมีพาณิชยสภาพและไม่สิ้นเปลืองหมดไปเมื่อถูกใช้ก็ได้"


หมวด 2 ยืมใช้สิ้นเปลือง หรือยืมใช้เสียเปล่า; แผนก 1 สภาพของการยืมใช้สิ้นเปลือง

"ม.1892 ยืมใช้สิ้นเปลือง คือ สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งส่งทรัพย์จำนวนหนึ่ง ๆ อันเป็นทรัพย์ที่สิ้นเปลืองหมดไปเมื่อถูกใช้ ให้แก่อีกฝ่าย โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ยืมจะส่งทรัพย์นั้นคืนให้ในประเภทและชนิดดังเดิม

ม.1894 อาศัยผลแห่งการยืมประเภทดังกล่าว ผู้ยืมย่อมได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ตนยืม และต้องรับเสี่ยงภัยใด ๆ จะเกิดขึ้นเป็นผลให้ทรัพย์นั้นสูญไป"

นิยามของการยืม แก้

กฎหมายของหลาย ๆ ประเทศมิได้นิยามของ "การยืม" ไว้โดยตรง แต่ให้นิยามประเภทต่าง ๆ ของการยืมไว้ ซึ่งนักกฎหมายอธิบายว่า เป็นเพราะ "...ความหมายของสัญญายืม มีปัญหาว่าไม่สามารถที่จะให้ความหมายที่เป็นที่ยอมรับกันได้..." และ "...ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ความหมายของสัญญายืมเฉย ๆ เนื่องจากไม่มีประโยชน์ เพราะเมื่อสัญญายืมมีเพียง 2 ประเภท คือ สัญญายืมใช้คงรูป กับสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง จึงควรให้ความหมายของสัญญายืมใช้คงรูปและสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองไว้โดยตรง จะมีความชัดเจนเป็นการเฉพาะเจาะจงและเป็นประโยชน์มากกว่า"[10] อย่างไรก็ดี ในวงวิชาการของประเทศไทย มีผู้พยายามให้นิยามของสัญญายืมไว้หลายคน เช่น

จิ๊ด เศรษฐบุตร ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า "...[ยืม] เป็นสัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า 'ผู้ให้ยืม' ได้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า 'ผู้ยืม' เมื่อใช้ทรัพย์สินแล้วผู้ยืมต้องคืนใช้ให้"[11]

กมล สนธิเกษตริน ศาสตราจารย์คณะเดียวกัน ว่า "...[ยืม คือ] สัญญาซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า 'ผู้ให้ยืม' ได้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า 'ผู้ยืม' เพื่อได้ใช้ทรัพย์สินนั้น และผู้ยืมต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมแก่ผู้ให้ยืม"[12]

ผไทชิต เอกจริยกร ศาสตราจารย์คณะเดียวกัน ว่า "... สัญญายืม เป็นสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า 'ผู้ให้ยืม' ให้บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า 'ผู้ยืม' ได้ใช้สอยทรัพย์สิน และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินให้"[2]

ดังนั้น โดยปรกติ สัญญายืมจึงต้องมีลักษณะเป็นการที่ผู้ให้ยืมส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้ยืมใช้สอย และผู้ยืมเมื่อใช้สอยเสร็จก็คืนทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ให้ยืม ทว่า สัญญาใดจะเป็นสัญญายืมหรือไม่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป[2]

ฎ.122/2501 โจทก์มอบเงินให้จำเลยไปหาซื้อกระบือให้โจทก์ มิใช่เป็นเรื่องกู้ยืมเงิน ไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยไม่ซื้อกระบือให้โจทก์ โจทก์ก็ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยได้

ฎ.1631/2508 การเล่นแชร์เปียหวยเกิดขึ้นจากความตกลงกันในระหว่างผู้เล่น จึงเป็นสัญญาชนิดหนึ่ง แต่การเล่นแชร์เปียหวยไม่เป็นการกู้ยืม แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ฟ้องร้องกันได้ การประมูลให้ดอกเบี้ยกันก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ดอกเบี้ยในการกู้ยืม หากเป็นลักษณะการประมูลว่าใครจะให้ประโยชน์สูงกว่ากันเท่านั้น มิได้กำหนดอัตราให้เรียกร้องกันได้อย่างไร เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามก็ใช้บังคับได้ จำเลยก็ไม่มีเหตุที่จะอ้างได้ว่าจำเลยได้ทรัพย์ไปโดยไม่มีมูลที่จะอ้างได้ตามกฎหมาย กรณีนี้ไม่เป็นลาภมิควรได้

ฎ.4805/2540 จำเลยเป็นเจ้าของเรือประมงสี่ลำนำปลามาขายแก่โจทก์ โดยโจทก์ให้จำเลยยืมเงินและทดรองจ่ายจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับประมงของจำเลยไปก่อน เมื่อจำเลยนำสัตว์น้ำมาขายแก่โจทก์ภายหลัง โจทก์จึงคิดหักหนี้เงินที่จำเลยรับล่วงหน้าและทดรองจ่ายไป ดังนี้ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยดังกล่าวมิใช่เป็นการกู้ยืม แต่เป็นการรับเงินไปเป็นทุนหมุนเวียนในการทำการประมงของจำเลย กล่าวคือ โจทก์รับดำเนินการในภาระต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเฉพาะกับเรือประมงที่จะออกทะเลโดยมุ่งที่จะซื้อสัตว์น้ำจากเรือของจำเลย สำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่โจทก์ออกไปจะนำมาหักกับค่าซื้อขายสัตว์น้ำที่เรือแต่ละลำได้มา ต่างกับการกู้ยืมเงินทั่ว ๆ ไปที่ไม่มีข้อผูกมัดว่าจะต้องใช้จ่ายเงินได้เฉพาะเรื่อง และถือเอาผลประโยชน์จากดอกเบี้ยเป็นสำคัญ นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาต่างตอบแทนประเภทหนึ่ง ไม่มีแบบ และย่อมสมบูรณ์ด้วยการแสดงเจตนา ในเมื่อมิใช่การกู้ยืม จึงฟ้องร้องบังคับกันได้โดยไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง

ลักษณะ แก้

ลักษณะด้านความสมบูรณ์ของสัญญา แก้

"การให้ยืมใช้คงรูปนั้น ท่านว่าย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม"
ป.พ.พ. ม.641
"สัญญานี้ [สัญญายืมใช้สิ้นเปลือง] ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม"
ป.พ.พ. ม.650 ว.2
"การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ"
ป.พ.พ. ม.152

ตามกฎหมายไทย โดย ป.พ.พ. ม.641 และ ม.650 ว.2 แล้ว สัญญายืม ทั้งประเภทยืมใช้คงรูป และยืมใช้สิ้นเปลือง จะ "บริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินซึ่งให้ยืม" (อังกฤษ: "complete only on delivery of the property lent")

ซึ่งความ "บริบูรณ์" นี้ ในวงการนิติศาสตร์ไทยมีความเห็นเป็นหลายฝ่าย ฝ่ายแรกว่า การส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมเป็น "แบบ" (อังกฤษ: form) ซึ่งถ้าไม่ทำตามแบบ สัญญาจะไม่บริบูรณ์ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. ม.152[13] ฝ่ายที่สองว่า การส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมมิใช่แบบ แต่เป็นองค์สมบูรณ์ของสัญญา หากไม่มีแล้วถือว่าสัญญายังไม่เกิดขึ้นและยังใช้บังคับมิได้[14] และฝ่ายที่สามว่า คำว่า "บริบูรณ์" ไม่ได้แปลว่า "สมบูรณ์" ดังนั้น การส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมจึงมิใช่แบบของสัญญายืม สัญญายืมแม้ยังไม่ส่งมอบทรัพย์สินกันก็ไม่เป็นโมฆะ บังคับกันได้[13]

ในประเด็นนี้ จิ๊ด เศรษฐบุตร ศาสตราจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่า แบบของสัญญามีหลายประเภทซึ่งรวมถึงการส่งมอบด้วย ดังนั้น "...การส่งมอบเป็นแบบของสัญญายืมใช้คงรูปและสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง กล่าวคือ ตราบใดที่ยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์ คือ ยื่นทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งสัญญาให้แก่กัน ตราบนั้นสัญญายืมก็ไม่เกิดขึ้น ไม่บริบูรณ์ ไม่สมบูรณ์ หรือเป็นโมฆะนั่นเอง"[15] ขณะที่ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย และพิพากษาเสมอมาว่าการส่งมอบทรัพย์สินเป็นแบบของสัญญายืม หากไม่มีแล้วสัญญาย่อมเป็นโมฆะ[16]

ศักดิ์ สนองชาติ ศาสตราจารย์คณะเดียวกัน เห็นตรงกันข้ามว่า[17]

"...การส่งมอบทรัพย์มิใช่พิธีการเพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม แต่เป็นเพียงส่วนประกอบของการแสดงเจตนาในการทำนิติกรรมบางประเภท...ถ้าไม่มีการส่งมอบทรัพย์ ถือว่าการแสดงเจตนายังไม่สมบูรณ์ นิติกรรมจึงยังไม่เกิด แต่ไม่ตกเป็นโมฆะ ถ้ามีการส่งมอบทรัพย์เมื่อไร นิติกรรมก็สมบูรณ์ ถ้าถือว่าการส่งมอบทรัพย์เป็นแบบของนิติกรรม เมื่อไม่ส่งมอบทรัพย์ นิติกรรมย่อมตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการส่งมอบทรัพย์ในภายหลังก็ไม่ทำให้นิติกรรมนั้นกลับสมบูรณ์ขึ้นได้..."

ไผทชิต เอกจริยกร ศาสตราจารย์คณะเดียวกัน เห็นด้วยกับศักดิ์ สนองชาติ ว่า[16]

"...คำว่า 'บริบูรณ์' นี้ น่าจะหมายความว่า หากตราบใดที่ผู้ให้ยืมยังไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ยืม สัญญายืมจะยังไม่เกิด ยังบังคับอะไรกันไม่ได้ แต่เมื่อต่อมามีการส่งมอบเมื่อใด สัญญายืมก็เกิดขึ้นโดยบริบูรณ์และผูกพันกัน...ไม่ได้หมายความว่า สัญญายืมเป็นโมฆะ คำว่า 'ไม่บริบูรณ์' (is not complete) น่าจะมีความหมายต่างจากคำว่า 'โมฆะ' (void) เพราะว่า นิติกรรมที่เป็นโมฆะนั้น นิติกรรมได้เกิดขึ้นแล้วแต่ตกเป็นโมฆะภายหลัง แต่คำว่า 'ไม่บริบูรณ์' น่าจะหมายความว่า นิติกรรม (สัญญายืม) ยังไม่เกิดขึ้น"

ลักษณะด้านสภาพของสัญญา แก้

สัญญายืมมิใช่สัญญาต่างตอบแทน (อังกฤษ: synallagmatic contract) เพราะผูกพันผู้ยืมแต่ฝ่ายเดียวที่จะต้องคืนทรัพย์สินที่ยืมให้แก่ผู้ให้ยืม โดยสัญญายืมประเภทยืมใช้คงรูปนั้นจะมีการตอบแทนกันมิได้เลย สาระสำคัญคือการให้ยืมเปล่า หาไม่แล้วจะกลายเป็นสัญญาอย่างอื่นไป เช่น สัญญาเช่าทรัพย์ เป็นต้น[18] และสัญญายืมประเภทยืมใช้สิ้นเปลือง รวมถึงยืมเงินอันเรียกว่า "กู้ยืม" นั้น แม้เกิดดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทนในการยืมเงิน แต่ก็เป็นหนี้ของผู้ยืมเพียงฝ่ายเดียวที่ต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้ยืม หาก่อหน้าที่อย่างใด ๆ ให้แก่ผู้ให้ยืมไม่[19]

ประเภท แก้

ยืมใช้คงรูป แก้

ยืมใช้คงรูป' (อังกฤษ: loan for use) คือ สัญญายืมที่ผู้ให้ยืมให้ผู้ยืมใช้สอยทรัพย์สินสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้เปล่า และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินนั้นเมื่อได้ใช้สอยเสร็จแล้ว[3]

ยืมใช้สิ้นเปลือง แก้

ยืมใช้สิ้นเปลือง (อังกฤษ: loan for consumption) คือ สัญญายืมซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น[4]

การยืมอันมีวัตถุแห่งสัญญาเป็นเงินนั้น เรียก "กู้ยืม" (อังกฤษ: loan of money)[1] และจัดเป็นลักษณะหนึ่งของยืมใช้สิ้นเปลือง[5]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 ราชบัณฑิตยสถาน, 2551 : ออนไลน์.
  2. 2.0 2.1 2.2 ผไทชิต เอกจริยกร, 2552 : 16.
  3. 3.0 3.1 ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์), 2549 : 281.
  4. 4.0 4.1 ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์), 2549 : 281-282.
  5. 5.0 5.1 ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์), 2549 : 23-24.
  6. ผไทชิต เอกจริยกร, 2552 : 11-13.
  7. Thailand Civil and Commercial Code (online), Online : n.d.
    Civil and Commercial Code of Thailand, Book 3 : Specific Contracts, Title 9 : Loan
  8. Ministry of Justice of Japan, 2009 : Online.
    Japanese Civil Code, Part 3 : Claims, Chapter 2 : Contracts เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. The Napoleon Series, 2009 : Online.
    French Civil Code; Book 3 : Of The Different Modes Of Acquiring Property; Title 10 : Of loans
  10. ผไทชิต เอกจริยกร, 2552 : 14.
  11. จิ๊ด เศรษฐบุตร, 2529 : 3.
  12. กมล สนธิเกษตริน, 2520 : 2.
  13. 13.0 13.1 ไผทชิต เอกจริยกร, 2552 : 19.
  14. พจน์ บุษปาคม, 2521 : 26.
  15. จิ๊ด เศรษฐบุตร, 2524 : 33. อ้างถึงใน ไผทชิต เอกจริยกร, 2552 : 21.
  16. 16.0 16.1 ไผทชิต เอกจริยกร, 2552 : 22.
  17. ศักดิ์ สนองชาติ, 2523 : 67. อ้างถึงใน ไผทชิต เอกจริยกร, 2552 : 21.
  18. ผไทชิต เอกจริยกร : 23.
  19. จิ๊ด เศรษฐบุตร, 2529 : 2-4.

ภาษาไทย แก้

  • กมล สนธิเกษตริน. (2520). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยยืมและฝากทรัพย์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • ขุนสมาหารหิตะคดี (โป๊ โปรคุปต์). (2549). พจนานุกรมกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. ISBN 9742883653.
  • จิ๊ด เศรษฐบุตร.
    • (2524). หลักกฎหมายแพ่ง ลักษณะนิติกรรมและหนี้. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
    • (2529). ความรู้เบื้องต้นแห่งกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  • ไผทชิต เอกจริยกร. (2552). คำอธิบาย ยืม ฝากทรัพย์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. ISBN 9789742888008.
  • พจน์ บุษปาคม. (2521). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยยืม กู้ยืม ฝากทรัพย์. กรุงเทพฯ : นิติบรรณการ.
  • พลประสิทธิ์ ฤทธิ์รักษา. (2535). สรุปวิชากฎหมายยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ พนัน และขันต่อ. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
  • ราชบัณฑิตยสถาน.
    • (2543). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ISBN 9748123529.
    • (2544). พจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. ISBN 9748123758.
    • (2551, 7 กุมภาพันธ์). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2009-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
    • (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
  • ศักดิ์ สนองชาติ. (2523). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรมและสัญญา. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
  • ศาลฎีกา. (2550, 26 มกราคม). ระบบสืบค้นคำพิพากษาและคำสั่งคำร้องศาลฎีกา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2010-01-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
  • สุปัน พูลสวัสดิ์. (2509). คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยยืม ฝากทรัพย์ เก็บของในคลังสินค้า ประนีประนอมยอมความ และพนันขันต่อ. พระนคร : โรงพิมพ์หมั่นเฮง.
  • สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2551, 10 มีนาคม). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <คลิก เก็บถาวร 2010-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (เข้าถึงเมื่อ: 12 กันยายน 2552).
  • แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2552). ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : วิญญูชน. ISBN 9789742886257.

ภาษาต่างประเทศ แก้

  • Langenscheidt Translation Service. (2009). German Civil Code. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 12 September 2009).
  • Ministry of Justice of Japan. (2009). Civil Code (Act No. 89 of 1896). [Online]. Available: <click เก็บถาวร 2011-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. (Accessed: 12 September 2009).
  • Phillipe Malaurie, Laurent Aynès & Pierre-Yves Gautier. (2004). Les contrats spéciaux. (4e édition) Paris : Cujas. ISBN 978-2856230527.
  • Thailand Civil and Commercial Code (online). (n.d.). [Online]. Available: <click>. (Accessed: 26 September 2009).
  • The Napoleon Series. (2009). French Civil Code. [Online]. Available: <click>. (Accessed: 12 September 2009).

ดูเพิ่ม แก้