มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร

มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร[2][3] (อังกฤษ: Mark the Evangelist; ฮีบรู: מרקוס; กรีก: Μάρκος) เป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน อีกสามท่านได้แก่มัทธิว ยอห์น และลูกา เชื่อกันว่าเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญมาระโกซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่และเป็นเพื่อนกับซีโมนเปโตร นักบุญมาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสเมื่อนักบุญเปาโลเริ่มเดินทางไปเผยแพร่ศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากที่มีข้อขัดแย้งกัน บารนาบัสก็แยกตัวจากเปาโลโดยเอามาระโกไปไซปรัสด้วย (กิจการของอัครทูต 15:36-40) การแยกตัวครั้งนี้ทำให้เกิดพระวรสารนักบุญมาระโกขึ้น ต่อมาเปาโลเรียกตัวมาระโกกลับมา ฉะนั้นมาระโกจึงกลับมาเป็นผู้ติดตามเปาโลอีกครั้ง

นักบุญมาระโก
มาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร วาดโดยบรอนซีโน
ผู้นิพนธ์พระวรสาร
เกิดค.ศ. 5
ไซรีน, เพนทาโพลิสแห่งแอฟริกาเหนือ ตามหลักฐานของชาวคอปติก[1]
เสียชีวิต25 เมษาย 2564
นันทวัน5 (ประเทศอียิปต์)
นิกายโรมันคาทอลิก

อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
แองกลิคัน
ลูเทอแรน

โปรเตสแตนต์
วันฉลอง25 เมษายน
สัญลักษณ์สิงโต บิชอปบนบัลลังก์มีรูปสิงโต คนช่วยชาวเรือชาวเวนิส คนถือหนังสือชื่อ “pax tibi Marce” คนถือหนังสือและใบปาล์ม คนถือหนังสือหรือม้วนหนังสือกับสิงโตมีปีก
ฯลฯ
องค์อุปถัมภ์ทนายความ เวนิส เป็นต้น

คริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์ถือว่ามาระโกเป็นผู้วางรากฐานคริสต์ศาสนาในทวีปแอฟริกา เป็นคนแรกที่ดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งอะเล็กซานเดรีย

เช่นเดียวกับผู้นิพนธ์พระวรสารอีกสามองค์นักบุญมาระโกมักจะปรากฏในภาพเขียนทางคริสต์ศาสนาใช้สัญลักษณ์สิงโต ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ตามหนังสือดาเนียลบทที่ 7 (Book of Daniel)

ประวัติ

แก้

นักบุญมาระโกเชื่อกันว่าเกิดที่เพ็นตาโพลิส (Pentapolis) ทางทวีปแอฟริกาตอนเหนือ และเมื่อกลับไปหลังจากเดินทางไปเทศนากับนักบุญเปาโลที่โคลอสซี (Colosse)[4] และ โรม (ฟีเลโมน 24; ทิโมธี 2 4:11) จากเพ็นตโพลิสนักบุญมาระโกก็เดินทางไปอเล็กซานเดรีย[5]

อาจจะเป็นไปได้ว่าการใช้ชื่อ “มาระโก” ในพันธสัญญาใหม่อาจจะหมายถึงคนหลายคน หรือคนหลายคนที่ว่าอาจจะเป็นคนคนเดียวกันก็ได้ ในการตีความหมาย, “ยอห์น มาระโก” ใน “กิจการของอัครทูต” 12:12, 25, 15:37 กล่าวถึงเพียง “ยอห์น” ใน “กิจการของอัครทูต” 13:5, 13:13 และ “มาระโก” ใน“กิจการของอัครทูต” 15:39 ซึ่งเป็นคนคนเดียวกันกับ “มาระโก” ที่กล่าวถึงในจดหมายเหตุของนักบุญเปาโล โคลอสเซียน 4:10, ทิโมธี2 4:11, ฟีเลโมน 24 และ ปีเตอร์1 5:13. “มาระโก” ในจดหมายเหตุของนักบุญเปาโลกล่าวว่าเป็นลูกพี่ลูกน้องของบารนาบัส (โคลอสเซียน 4:10) จึงเป็นสาเหตุที่อธิบายได้ถึงความผูกพันระหว่างมาระโกกับบาร์นาบัสเมื่อมีเรื่องกับเปาโล (กิจการของสาวก 15:37-40) แม่ของมาระโกเป็นผู้นำคริสตจักรในกรุงเยรูซาเลม บ้านของแม่ของมาระโกเป็นที่เป็นที่พบปะของคริสต์ศาสนิกชนและเป็นที่ที่เปโตรไปพักหลังจากที่ถูกปล่อยตัวจากคุก (กิจการของสาวก 12:12-17)

หลักฐานว่านักบุญมาระโกเป็นผู้นิพนธ์พระวรสารนักบุญมาระโกมาจากนักบุญพาเพียส (Papias)[6] [7].

เรื่องเกี่ยวกับนักบุญมาระโกมีด้วยกันหลายเรื่องแต่ไม่มีหลักฐานใดที่จะยืนยันเป็นที่แน่นอนได้ในพันธสัญญาใหม่ บางเรื่องก็ว่านักบุญมาระโกเป็นคนรับใช้ในงานสมรสที่หมู่บ้านคานา ผู้ที่เทน้ำที่พระเยซูเสกให้เป็นไวน์ (ยอห์น 2:1-11) และยังเชื่อกันว่านักบุญมาระโกเป็นหนึ่งในสาวก 70 คนที่พระเยซูส่งไป (ลูกา 10) หรือเป็นคนรับใช้ที่แบกน้ำเข้ามาในบ้านระหว่างอาหารค่ำมื้อสุดท้าย (มาระโก 14:13)[8]; หรือเป็นชายหนุ่มไม่นุ่งผ้าที่วิ่งหนีเมื่อพระเยซูถูกจับ (มาระโก 14:51-52)[9] และเป็นคนที่รับรองสาวกในบ้านหลังจากที่พระเยซูสิ้นพระชนม์และเป็นบ้านที่พระเยซูกลับมาหลังจากคืนชีพ (ยอห์น 20)

ที่ประเทศอียิปต์ เชื่อกันว่ามาระโกสร้างปาฏิหาริย์ไว้หลายอย่าง ได้สร้างโบสถ์ที่นั่น และได้แต่งตั้งอาเนียนุสแห่งอะเล็กซานเดรียให้สืบตำแหน่งบิชอปแทนตน เมื่อนักบุญมาระโกกลับมาอะเล็กซานเดรีย ว่ากันว่าประชาชนที่นั่นไม่พอใจที่นักบุญมาระโกพยายามสั่งสอนให้เลิกนับถือเทวรูปต่าง ๆ ที่เคยทำกันมา เมื่อปี ค.ศ. 67 ประชาชนก็จับนักบุญมาระโกผูกกับม้าแล้วลากไปรอบเมืองจนท่านเสียชีวิต แต่ฝ่ายโรมันคาทอลิกยังตั้งข้อสงสัยกับความเชื่อนี้

 
การเป็นมรณสักขีของนักบุญมาระโก

ร่างของนักบุญมาระโก

แก้

เมื่อปี ค.ศ. 828 เรลิกที่เชื่อกันว่าเป็นร่างของนักบุญมาระโกถูกพ่อค้าชาวเวนิสสองคนขโมยไปจากอเล็กซานเดรียไปไว้ที่เวนิส ขณะนั้นในสมัยไบเซ็นไทน์เวนิสมีนักบุญทีโอดอร์เป็นนักบุญประจำเมือง แต่เมื่อได้ร่างของนักบุญมาระโกมาทางเมืองเวนิสก็สร้างมหาวิหารใหญ่เป็นที่เก็บเรลิกของนักบุญมาระโก ภายในมหาวิหารเวนิสมีภาพโมเสกแสดงให้เห็นกะลาสีคลุมร่างของนักบุญมาระโกเป็นชั้น ๆ ด้วยหมู จึงสามารถทำให้ลักลอบออกมาได้จากอียิปต์ได้เพราะชาวมุสลิมห้ามแตะต้องหมู

นิกายคอปติกออร์ทอดอกซ์ยังเชื่อกันว่ากะโหลกของนักบุญมาระโกยังอยู่ที่อะเล็กซานเดรีย ทุกปีทุกวันที่ 30 ของเดือน Babah คริสตจักรคอปติกออร์ทอดอกซ์ก็จะฉลองโบสถ์นักบุญมาระโก และการปรากฏกะโหลกของนักบุญมาระโกที่อเล็กซานเดรีย งานฉลองนี้ทำกันที่มหาวิหารคอปติกออร์ทอดอกซ์นักบุญมาระโกซึ่งเป็นที่เก็บศีรษะนักบุญมาระโก

เมื่อปี ค.ศ. 1063 ระหว่างการก่อสร้างมหาวิหารซันมาร์โกที่เวนิส เรลิกนักบุญมาระโกก็หายไป แต่ตามที่เล่ากันในปี 1094 นักบุญมาระโกเองมาปรากฏบอกที่ตั้งของเรลิกของท่านเอง[10] ซากที่พบใหม่เอาไว้ในโลงหินภายในมหาวิหาร[11]

อ้างอิง

แก้
  1. "St. Mark The Apostle, Evangelist". Coptic Orthodox Church Network. สืบค้นเมื่อ November 21, 2012.
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 203-4
  3. "ประวัตินักบุญตลอดปี: นักบุญมาระโก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-01. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
  4. จดหมายเหตุของนักบุญเปาโล โคลอสเซียน 4:10
  5. Suscopts
  6. Harrington, Daniel J. (1990), "The Gospel According to Mark", in Brown, Raymond E.; Fitzmyer, Joseph A. & Murphy, Roland E., The New Jerome Biblical Commentary, Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall, pp. 596, ISBN 0-13-614934-0
  7. ^ University of Navarre (1999), The Navarre Bible: Saint Mark’s Gospel (2nd ed.), Dublin: Four Court’s Press, pp. 55, ISBN 1-85182-092-2
  8. University of Navarre (1999), The Navarre Bible: Saint Mark’s Gospel (2nd ed.), Dublin: Four Court’s Press, pp. 172, ISBN 1-85182-092-2
  9. University of Navarre (1999), The Navarre Bible: Saint Mark’s Gospel (2nd ed.), Dublin: Four Court’s Press, pp. 179, ISBN 1-85182-092-2
  10. Okey, Thomas (1904). Venice and Its Story. London: J. M. Dent & Co.
  11. วิหาร[1] เก็บถาวร 2009-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน