ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร
ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร[1][2] (อังกฤษ: Luke the Evangelist; ฮีบรู: לוקא; กรีก: Loukas) เกิดที่แอนติออก ประเทศตุรกีปัจจุบัน เสียชีวิตประมาณปี ค.ศ. 84 ใกล้โบเทีย (Boeotia) ในประเทศกรีซ ลูกาเป็นหนึ่งในผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่าน (อีก 3 ท่าน ได้แก่ มัทธิว ยอห์น และมาระโก) เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้ประพันธ์พระวรสารนักบุญลูกาและกิจการของอัครทูตซึ่งเป็นเอกสารส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่
นักบุญลูกา | |
---|---|
ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร โดย จาโกโป ปอนตอร์โม ที่ซานตาเฟลิชิตา (Santa Felicita) ฟลอเรนซ์ | |
ผู้นิพนธ์พระวรสาร | |
เสียชีวิต | ราว ค.ศ. 84 ใกล้โบเทีย (ประเทศกรีซ) |
นิกาย | โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ |
วันฉลอง | 18 ตุลาคม |
สัญลักษณ์ | สาวกของพระเยซู แพทย์ คนกับวัวมีปีก คนวาดภาพพระนางมารีย์พรหมจารี (เชื่อกันว่านักบุญลูกาเป็นผู้วาดภาพเหมือนของพระแม่มารีย์) แปรงและจานทาสี (สัญลักษณ์ของจิตรกร) วัวมีปีก |
องค์อุปถัมภ์ | จิตรกร ศิลปิน และอื่น ๆ |
ประวัติ
แก้ลูกาเป็นชาวซีเรียเชื้อสายกรีก[3][4][5][6][7][8] อาศัยอยู่ที่เมืองแอนติออก ซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศตุรกี ท่านเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์แพทย์และศัลยแพทย์ วันฉลองตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม
เอกสารฉบับแรกที่กล่าวถึงนักบุญลูกาคือในจดหมายนักบุญเปาโลถึงฟีเลโมน บทที่ 24 และฉบับ “โคโลเซียน” (Colossians) 4:14 และ ฉบับ “ทิโมธี 2” (2 Timothy) 4:11 ซึ่งเป็นจดหมายเหตุที่กล่าวกันว่าเปาโลอัครทูตเป็นผู้เขียน เอกสารฉบับต่อมาที่กล่าวถึงนักบุญลูกาคือใน “Anti-Marcionite Prologue to the Gospel of Luke” ซึ่งเป็นเอกสารที่ครั้งหนึ่งเชื่อกันว่าเขียนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ต่อมาเชื่อว่าเป็นคริสต์ศตวรรษที่ 4 แต่เฮลมุท เคิสเตอร์ (Helmut Koester) อ้างว่าข้อความข้างล่าง--ซึ่งเป็นส่วนเดียวที่ยังเป็นภาษากรีกต้นฉบับอยู่--เป็นส่วนที่เขียนเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 2
- ลูกา ชาวแอนติออก อาชีพแพทย์[9] เขาเป็นเพื่อนร่วมเดินทางของเปาโลอัครทูต และได้ติดตามเปาโลจนกระทั่งเปาโลพลีชีพ เขารับใช้พระผู้เป็นเจ้าติดต่อกันตลอดมา โดยไม่แต่งงาน ไม่มีบุตร เต็มไปด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ เขาเสียชีวิตเมื่ออายุ 84 ปี (หน้า 335)
เอกสารบางฉบับกล่าวว่าลูกาเสียชีวิตที่ธีบส์ ปัจจุบันคือประเทศกรีซ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของโบเธีย หลักฐานเหล่านี้ทำให้สรุปได้ว่าลูกามีส่วนเกี่ยวข้องกับเปาโล
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 203-4
- ↑ "ประวัตินักบุญตลอดปี: นักบุญลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-12. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
- ↑ “The New Testament Documents: Their Origin and Early History”, George Milligan, 1913, Macmillan and co. limited, p.149 (พันธสัญญาใหม่: ที่มาและประวัติศาสตร์เบื้องต้น, หน้า 149)
- ↑ Saint Luke Catholic Online article (นักบุญลูกาออนไลน์)
- ↑ “Saints: A Visual Guide”, Edward Mornin, Lorna Mornin, 2006, Eerdmans Books, p.74 (นักบุญ: คู่มือทางจักษุ, หน้า 74)
- ↑ Saint Luke Catholic Encyclopedia article (นักบุญลูกา (Catholic Encyclopedia))
- ↑ “New Outlook”, Alfred Emanuel Smith, 1935, Outlook Pub. Co., p. 792
- ↑ “New Testament Studies” I. Luke the Physician: The Author of the Third Gospel, Adolf von Harnack, 1907, Williams & Norgate; G.P. Putnam's Sons, p.5 (“การศึกษาพันธสัญญาใหม่)” I. นักบุญลูกา : ผู้ประพันธ์พระวรสารฉบับที่สาม โดยเอดอลฟ ฟอน ฮาร์นัค, หน้า 5)
- ↑ A Commentary on the Original Text of the Acts of the Apostles, Horatio Balch Hackett, 1858, Gould and Lincoln; Sheldon, Blakeman & Co., p.12 (“ความเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาดั้งเดิมของกิจการของสาวก” โดยโฮราชิโอ บอลช แฮคเค็ท, หน้า 12)