มังลังกา
มังลังกา (พม่า: မင်း လင်္ကာ, ออกเสียง: [mɪ́ɴ lìɴgà]) เป็นเจ้าเมืองหงสาวดีระหว่าง ค.ศ. 1348 ถึง ป. 1353 พระองค์ได้รับการสถาปนาเป็นเจ้าเมืองโดยพระเชษฐาต่างพระมารดา พระยาอู่ กษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งอาณาจักรหงสาวดี แต่พระองค์มิได้มีความจงรักภักดีต่อพระเชษฐา เมื่ออาณาจักรล้านนากรีธาทัพมารุกรานอาณาจักรหงสาวดีในช่วง ค.ศ. 1351 ถึง 1352 พระองค์มิได้ส่งทัพมาช่วยพระเชษฐา
มังลังกา မင်း လင်္ကာ | |
---|---|
ผู้ว่าราชการแห่งพะโค | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1348 – ป. 1353 |
ประสูติ | ป. ค.ศ. 1327 เมาะตะมะ อาณาจักรเมาะตะมะ |
สวรรคต | ป. ค.ศ. 1353 714 ME เมาะตะมะ อาณาจักรเมาะตะมะ |
คู่อภิเษก | พระนางสิริมายาเทวี |
พระราชบุตร รายละเอียด | Thazin Saw Dala Thazin Saw U Nyi Kan-Kaung |
พระราชบิดา | พระเจ้ารามมะไตย |
พระราชมารดา | แม่นางตะปี |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
เมื่อสิ้นสุดสงครามพระยาอู่ได้นำตัวมังลังการวมถึงพระชายาและพระโอรส-ธิดาทั้งสามมายังเมาะตะมะ และมีพระบัญชาให้สำเร็จโทษมังลังกาเมื่อ ค.ศ. 1353 พร้อมกับสถาปนาพระชายาของมังลังกาขึ้นเป็นพระมเหสีในพระอิสริยยศพระนางสิริมายาเทวี และมีพระโอรสที่ต่อมาขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นพระเจ้าราชาธิราช กษัตริย์องค์ที่ 9
พระประวัติ
แก้พระองค์ประสูติ ป. ค.ศ. 1327 ที่เมาะตะมะ[note 1] มังลังกาเป็นพระราชโอรสองค์ที่สองในพระมเหสีแม่นางตะปีกับพระเจ้ารามมะไตยแห่งเมาะตะมะ[1] เจ้าชายมีพระเชษฐภคินีองค์เดียวนามว่า Tala Mi Ma-Hsan[1] พี่น้องต่างพระราชมารดาสองพระองค์ คือ พระยาอายกำกอง (ครองราชย์ ค.ศ. 1330) และ May Hnin Aw-Kanya[2] และพี่น้องต่างพระราชบิดาสามพระองค์ ได้แก่ Mwei Ne, เจ้าหญิง-ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มหาเทวี (ครองตำแหน่ง ค.ศ. 1383–1384) และพระยาอู่ (ครองราชย์ ค.ศ. 1348–1384)[1]
พระยาอู่ผู้ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1348 โดยทรงแต่งตั้งเจ้าชายเป็นผู้ว่าราชการแห่งพะโคพร้อมบรรดาศักดิ์เป็น Smin Nyi Kaung Thein (သမိန် ညီကောင်သိန်, [θəmèiɴ ɲì gàʊ̯ɴ θèɪɴ])[3] การแต่งตั้งครั้งสำคัญนี้เกิดขึ้นเนื่องจากกษัตริย์องค์ใหม่ที่ยังคงครองอำนาจอยู่ ต้องการใครสักคนที่พระองค์ไว้ใจได้ในพะโค ซึ่งตั้งอยู่ในศูนย์กลางทางภูมิศาสตร์ของอาณาจักรที่พูดภาษามอญ กษัตริย์องค์ใหม่ยังให้มังลังกาสมรสกับนางมุเตียว ธิดาขอรัฐมนตรีอาวุโส Than Bon[3]
อย่างไรก็ตาม มังลังกาไม่จงรักภักดีต่อพระยาอู่ พระองค์ไม่ได้ส่งความช่วยเหลือให้พระยาอู่ใน ค.ศ. 1351 เมื่อพระยาอู่เผชิญกับการกบฏครั้งใหญ่ที่โดนวู่น ซึ่งอยู่ทางเหนือของเมาะตะมะเพียง 100 กิโลเมตร และครึ่งทางระหว่างพะโคกับเมาะตะมะ การกบฏนี้ได้รับการสนับสนุนจากอาณาจักรล้านนาที่พูดภาษาไททางตะวันออก[note 2] ซึ่งส่งกองกำลังจำนวน 8,000 นายบุกโจมตี การบุกในฤดูแล้งแทรกซึมลึกเข้าไปในดินแดนเมาะตะมะ แต่ฝ่ายรุกรานขยายกำลังออกไปเกินกำลัง และถูกพระยาอู่ปราบจนพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาดใกล้เมาะตะมะ[4] หลังได้รับชัยชนะ พระยาอู่สามารถรวบรวมการสนับสนุนจากรัฐบริวารที่ต้องการอยู่ในฝ่ายชนะได้ มังลังกาจึงตกอยู่ในปัญหา พระองค์ไม่ได้รวบรวมเสียงสนับสนุนในภูมิภาคพะโค ต่อมาในฤดูแล้ง ค.ศ. 1352–1353[note 3] พระยาอู่ส่งกองทัพไปยึดพะโคคืน ปฏิบัติการนี้ประสบความสำเร็จ[5][6]
มังลังกากับพระมเหสีและพระราชโอรสธิดา 3 พระองค์ ถูกนำตัวกลับมาที่เมืองหลวงเมาะตะมะ พระยาอู่ทรงรับเอาพระมเหสีของมังลังกา ซึ่งภายหลังกลายเป็นพระนางสิริมายาเทวี และสั่งให้ประหารชีวิตมังลังกา[6] ภายหลังพระนางสิริมายาเทวีกับพระยาอู่ให้กำเนิดพระราชโอรส คือ พระเจ้าราชาธิราชในอนาคต[6] พระยาอู่ทรงดูแลพระราชโอรสธิดาของมังลังกาอย่างดี พระองค์แต่งตั้ง Nyi Kan-Kaung พระราชโอรสองค์เดียวของมังลังกา เป็นผู้ว่าราชการแห่ง Dala–Twante เมื่อ ป. ค.ศ. 1370[7][note 4]
พงศาวลี
แก้มังลังกาเป็นพระราชปนัดดาในพระเจ้าฟ้ารั่ว ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ทางฝั่งพระราชบิดา กับพระราชนัดดาในพระยาเลอไทยแห่งสุโขทัยทางฝั่งพระราชมารดา[note 5]
พงศาวลีของมังลังกา | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
หมายเหตุ
แก้- ↑ พระองค์ประสูติในช่วง ค.ศ. 1325 ถึง 1330 ข้อมูลจากราชาธิราช (Pan Hla 2005: 39, 41) พระเจ้ารามมะไตยสมรสกับแม่นางตะปีหลังขึ้นครองราชย์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1323 ทั้งคู่มีพระราชโอรสธิดาสองพระองค์ คือ Mi Ma-Hsan และมังลังกา ก่อนที่พระเจ้ารามมะไตยถูกลอบปลงพระชนม์ ป. เมษายน ค.ศ. 1330
- ↑ จาก (Fernquest 2006: 4) การรุกรานนี้ไม่ปรากฏในพงศาวดารเมืองนครเชียงใหม่ และผู้รุกรานอาจมาจากรัฐไทใหญ่อื่น อย่างไรก็ตาม พงศาวดารราชาธิราช (Pan Hla 2005: 55–56, 62–63) พรรณนาถึงเชียงใหม่เป็นภัยคุกคามหรือผู้สนับสนุนการกบฏอย่างต่อเนื่องจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1370
- ↑ อนุมานจากรายงานในพงศาวดารราชาธิราช (Pan Hla 2005: 45–47) พงศาวดารระบุเพียงว่าพระยาอู่ส่งกองกำลังไปยึดพะโคคืนหลังการรุกรานของล้านนาเพียงไม่นาน ซึ่งเริ่มขึ้นในปี 713 ME (ค.ศ. 1351/52) อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่มังลังกาถูกจับกุม พระองค์มีพระราชโอรสธิดากับนางมุเตียวแล้วสามพระองค์ ซึ่งพระองค์สมรสในช่วงปลาย ค.ศ. 1348 ดังนั้น เป็นไปได้ว่าพระองค์ถูกคุมตัวในช่วงฤดูแล้ง ค.ศ. 1352/53 นอกจากนี้ (Htin Aung 1967: 38) กล่าวว่า พระยาอู่เอาชนะคู่แข่งผู้อ้างสิทธิ์ใน ค.ศ. 1353 เท่านั้น (Harvey 1925: 368) กล่าวว่า พระยาอู่ขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 1353
- ↑ (Pan Hla 2005: 178) : Nyi Kan-Kaung ถูกพระเจ้าราชาธิราชประหารชีวิตในปี 750 ME (ค.ศ. 1388/89)
- ↑ See (Pan Hla 2005: 40) for Linka's parents, King Saw Zeik and Queen May Hnin Htapi. See (Pan Hla 2005: 38, 39) for Htapi's father, King of Sukhothai, who in 1323 was Loe Thai. See (Pan Hla 2005: 37) for Saw Zeik's parents, Min Bala and Hnin U Yaing. See (Pan Hla 2005: 16) for Hnin U Yaing being Wareru's younger sister.
อ้างอิง
แก้บรรณานุกรม
แก้- Fernquest, Jon (Spring 2006). "Rajadhirat's Mask of Command: Military Leadership in Burma (c. 1348–1421)" (PDF). SBBR. 4 (1). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-01. สืบค้นเมื่อ 2025-05-03.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Htin Aung, Maung (1967). A History of Burma. New York and London: Cambridge University Press.
- Pan Hla, Nai (2005) [1968]. Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
- Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1967) [1883]. History of Burma. London: Susil Gupta.