นางอุ่นเรือน
นางอุ่นเรือน (มอญ: ဏင်ဥရိုန်; พม่า: နှင်းဥရိုင်, เสียงอ่านภาษาพม่า: [n̥ɪ́ɰ̃ ʔṵ jàiɰ̃]; ป. คริสต์ทศวรรษ 1260 – คริสต์ทศวรรษ 1310) เป็นเจ้าหญิงแห่งเมาะตะมะ และเป็นพระราชมารดาของกษัตริย์ 2 พระองค์คือ พระเจ้าแสนเมือง และ พระเจ้ารามมะไตย
นางอุ่นเรือน နှင်းဥရိုင် | |
---|---|
เจ้าหญิงแห่งเมาะตะมะ | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 1287 – คริสต์ทศวรรษ 1310 |
ประสูติ | ป. คริสต์ทศวรรษ 1260 Tagaw Wun จักรวรรดิพุกาม |
สวรรคต | ใน ค.ศ. 1319 เมาะตะมะ อาณาจักรเมาะตะมะ |
คู่อภิเษก | สมิงมังละ |
พระราชบุตร | พระเจ้าแสนเมือง พระเจ้ารามมะไตย |
ราชวงศ์ | ฟ้ารั่ว |
ศาสนา | พุทธเถรวาท |
พระนางมีส่วนช่วยให้พระเชษฐาพระองค์ใหญ่คือ พระเจ้าฟ้ารั่ว ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรหงสาวดีขณะยังเป็น มะกะโท เข้ายึดอำนาจการปกครองในเมือง เมาะตะมะ เมื่อ ค.ศ. 1285 ในอีกเกือบ 30 ปีต่อมาพระนางและพระสวามีคือ สมิงมังละ เจ้าเมือง มยองยา ได้เข้าล้มการปกครองของ พระเจ้ารามประเดิด กษัตริย์องค์ที่ 2 ผู้เป็นพระเชษฐาของนางอุ่นเรือนและสถาปนาพระโอรสองค์ใหญ่คือเจ้าชายสอโอขึ้นสืบราชบัลลังก์ต่อมา
พระประวัติ
แก้อุ่นเรือนเกิดจากพ่อแม่สามัญชนที่โดนวู่น ตอนนั้นอยู่ในอาณาจักรพุกาม พระนางมีพี่ชายอย่างน้อยสองคนคือ มะกะโทและมะกะตา[1] พี่น้องมีภูมิหลังจากไทใหญ่และ/หรือมอญ[note 1]
ราชาธิราชระบุว่า อุ่นเรือนมีบทบาทสำคัญในการขึ้นครองอำนาจในช่วงต้นของพระเชษฐา มีรายงานว่ามะกะโทใช้ความงามของพระขนิษฐาเพื่อยึดตำแหน่งผู้ว่าราชการเมาะตะมะ เมืองหลักของภูมิภาค มะกะโทถามอุ่นเรือนให้เลือกสถานที่ทรงอาบน้ำในจุดริมแม่น้ำอย่างมีกลยุทธ์ ซึ่งผู้ว่าราชการอลิมามางจะเห็นพระนาง ผู้ว่าราชการตกหลุมรักอุ่นเรือน และขอสมรสกับพระนาง ในวันพิธีสมรส มะกะโทสังหารผู้ว่าราชการ และขึ้นครองเป็นเจ้าเมืองกบฏแห่งเมาะตะมะ[2][3] มะกะโทที่เปลี่ยนพระนามเป็นพระเจ้าฟ้ารั่วประกาศเอกราชจากพุกามใน ค.ศ. 1287 และรวมดินแดนที่พูดภาษามอญสามแห่งในพม่าตอนล่างในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1290[4]
นางอุ่นเรือนมีอำนาจร่วมกับพระเชษฐา พระเจ้าฟ้ารั่วทรงแต่งตั้งสมิงมังละ พระสวามีของนางอุ่นเรือน เป็นผู้ว่าราชการมย่องเมียะทางตะวันตกสุด ใน ค.ศ. 1307 เมื่อพระเจ้าฟ้ารั่วถูกลอบปลงพระชนม์จากพระราชนัดดา นางอุ่นเรือนกับสมิงมังละจึงยึดที่มั่นในเขตสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ[5] ทั้งสองไม่เคารพต่อมะกะตา พระเชษฐาผู้ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้ารามประเดิด ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1311 ทั้งคู่เสด็จไปเมืองหลวงและยึดราชบัลลังก์ขณะที่พระเจ้ารามประเดิดเสด็จออกล่าสัตว์ ภายหลังทัพของสมิงมังละสังหารพระเจ้ารามประเดิดที่นอกเขตเมือง[6]
แม้ว่าสมิงมังละตอนแรกต้องการขึ้นครองราชย์ นางอุ่นเรือนคัดค้าน เหตุผลของพระนางคือ สมิงมังละมีพระชนมายุมากเกินไปแล้ว และพระเจ้าแสนเมือง พระราชโอรสองค์โตที่มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าฟ้ารั่ว น่าจะมีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากข้าราชบริพารมากกว่า[7] ในที่สุดสมิงมังละยอมทำตามความต้องการของพระมเหสี และพระเจ้าแสนเมืองขึ้นครองราชย์ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1311[8] (กระนั้นสมิงมังละยังคงมีอำนาจในเบื้องหลัง พระองค์สร้าง "พระราชวัง" ที่เนินใกล้เคียง พร้อมปีกอาคารสำหรับให้พระสนมของพระองค์อยู่อาศัย และประทับอยู่ที่นั่นเหมือนเป็นกษัตริย์[9])
นางอุ่นเรือนกับสมิงมังละสิ้นพระชนม์ในวัยชราในช่วงกลางถึงกลายคริสต์ทศวรรษ 1310[note 2] ทั้งคู่มีพระราชโอรสอย่างน้อยสามพระองค์[9] โดยพระเจ้าแสนเมืองและพระเจ้ารามมะไตย พระราชโอรสสองพระองค์ ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งเมาะตะมะ[8]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ทั้งสองมีพระนามภาษามอญ แม้ว่าไม่มีพงศาวดารหลักอันใด (ราชาธิราชและพงศาวดารมอญฉบับปากลัด) ระบุเกี่ยวกับเชื้อชาติ นักวิชาการอาณานิคมของอังกฤษ (ดู: Phayre 1967: 65, Harvey 1925: 110) สันนิษฐานว่าทั้งคู่เป็นชาวไทใหญ่ นักวิชาการในเวลาต่อมาดูเหมือนจะแย้งเรื่องนี้: (Htin Aung 1967: 78) ระบุว่าทั้งคู่อาจมีภูมิหลังเป็นทั้งชาวมอญและไทใหญ่ ในขณะที่ (Aung-Thwin และ Aung-Thwin 2012: 118) กล่าวว่าพวกเขามีพื้นเพเป็นชาวมอญหรือชาวไทใหญ่
- ↑ (Pan Hla 2005: 38): นางอุ่นเรือนกับสมิงมังละสิ้นพระชนม์หลังพระราชนัดดา พระยาอายกำกอง และ May Hnin Aw-Kanya ถือกำเนิด และก่อนปี 682 ME (1320/21) เนื่องจากพระยาอายกำกองเสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1313 Aw-Kanya น่าจะเสด็จพระราชสมภพใน ค.ศ. 1314 หรือหลังจากนั้น
อ้างอิง
แก้บรรณานุกรม
แก้- Aung-Thwin, Michael A.; Maitrii Aung-Thwin (2012). A History of Myanmar Since Ancient Times (illustrated ed.). Honolulu: University of Hawai'i Press. ISBN 978-1-86189-901-9.
- Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Frank Cass & Co. Ltd.
- Pan Hla, Nai (1968). ราชาธิราช (ภาษาBurmese) (8th printing, 2004 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.