แม่นางตะปี
แม่นางตะปี (พม่า: မေနှင်းထပီ, ออกเสียง: [mè n̥ɪ́ɰ̃ tʰəpì]) พระอัครมเหสีใน พระเจ้าแสนเมือง กษัตริย์องค์ที่ 3 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี และเป็นพระมเหสีองค์ที่ 2 ใน พระเจ้ารามมะไตย กษัตริย์องค์ที่ 4 รวมถึงเป็นพระราชมารดาของ พระยาอายกำกอง กษัตริย์องค์ที่ 6
แม่นางตะปี | |
---|---|
ราชินีแห่งวังเหนือแห่งเมาะตะมะ | |
ดำรงพระยศ | กันยายน 1323 – เมษายน 1330 |
ก่อนหน้า | ไม่ทราบ |
ถัดไป | พระนางตะละชินซอบุต |
ราชินีมเหสีแห่งเมาะตะมะ | |
ดำรงพระยศ | ป. เมษายน 1311 – กันยายน 1323 |
ก่อนหน้า | ไม่ทราบ |
ถัดไป | นางจันทะมังคะละ |
ประสูติ | ป. 1290s ราชอาณาจักรสุโขทัย |
สวรรคต | 1330? ราชอาณาจักรมอญ (เมาะตะมะ) |
คู่อภิเษก | พระเจ้าแสนเมือง (1311–23) พระเจ้ารามมะไตย (1323–30) |
พระราชบุตร | พระยาอายกำกอง แม่นางโอกัลยาณ์ มิมาสาน มังลังกา |
ราชวงศ์ | พระร่วง |
พระราชบิดา | พระยาเลอไทย |
พระราชมารดา | ไม่ทราบ |
ศาสนา | พุทธ นิกายเถรวาท |
พระนางประสูติเมื่อใดไม่มีหลักฐานเป็นพระราชธิดาของ พระยาเลอไทย กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่ง อาณาจักรสุโขทัย ใน ค.ศ. 1311 พระยาเลอไทยได้ส่งพระนางมายัง เมาะตะมะ เพื่ออภิเษกกับพระเจ้าแสนเมืองเมื่อขึ้นสืบราชบัลลังก์[1] (ขณะนั้นเมาะตะมะยังเป็นประเทศราชของสุโขทัยอยู่นับตั้งแต่สถาปนาอาณาจักร) เมื่อมาถึงเมาะตะมะพระนางได้รับการสถาปนาเป็นพระอัครมเหสีและมีพระประสูติกาลพระราชโอรส-ธิดา 2 พระองค์คือ พระยาอายกำกอง และ แม่นางโอกัลยาณ์[1] พระเจ้าแสนเมืองได้ประกาศเอกราชจากสุโขทัยพร้อมกับเข้าตี ทวาย และ ตะนาวศรี จากสุโขทัยเมื่อ ค.ศ. 1321[1][2]
เมื่อพระเจ้าแสนเมืองสวรรคตพระองค์ได้เป็นพระมเหสีพระเจ้ารามมะไตย[3] และมีพระประสูติกาลพระราชโอรส-ธิดา 2 พระองค์คือ มิมาสานและมังลังกา[4] ต่อมาชีปอนและนางจันทะมังคะละได้ยึดราชบัลลังก์แต่ชีปอนก็ถูกจับประหารหลังครองราชย์ได้เพียง 7 วัน พระยาอายกำกองพระโอรสองค์โตของแม่นางตะปีองค์โตจึงขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่ก็ครองราชย์ได้เพียง 49 วัน ก็ถูกนางจันทะมังคะละลอบปลงพระชนม์[5]
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของแม่นางตะปี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- บรรณานุกรม
- Pan Hla, Nai (1968). Razadarit Ayedawbon (ภาษาพม่า) (8th printing, 2005 ed.). Yangon: Armanthit Sarpay.
- Phayre, Lt. Gen. Sir Arthur P. (1883). History of Burma (1967 ed.). London: Susil Gupta.