อาสนวิหารยอร์ก
อาสนวิหารยอร์ก (อังกฤษ: York Cathedral) มีชื่อเป็นทางการว่า "อาสนวิหารและคริสตจักรมหานครแห่งนักบุญเปโตรในกรุงยอร์ก" (The Cathedral and Metropolitical Church of St Peter in York) เป็นคริสต์ศาสนสถานประเภทอาสนวิหารที่สร้างเป็นแบบกอธิคที่ใหญ่ที่เป็นที่สองรองจากอาสนวิหารโคโลญในประเทศเยอรมนี ทางตอนเหนือของทวีปยุโรป อาสนวิหารยอร์กตั้งอยู่ที่เมืองยอร์กในยอร์กเชอร์ ทางตอนเหนือของ สหราชอาณาจักร เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของของอาร์ชบิชอปแห่งยอร์กซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดในคริสตจักรแห่งอังกฤษรองจากอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี อาสนวิหารยอร์กถือกันว่าเป็น “high church” ของนิกายแองโกล-คาทอลิก (Anglo-Catholicism) ของคริสตจักรแองกลิคัน[1]
อาสนวิหารยอร์ก | |
---|---|
York Minster | |
อาสนวิหารยอร์ก | |
53°57′43″N 1°4′55″W / 53.96194°N 1.08194°W | |
ที่ตั้ง | ยอร์ก |
ประเทศ | สหราชอาณาจักร |
นิกาย | แองกลิคัน |
เว็บไซต์ | อาสนวิหารยอร์ก |
สถานะ | อาสนวิหาร |
เหตุการณ์ | หอประชุมนักบวช, หน้าต่างประดับกระจกสี (ศต. 12) 128 หน้าต่าง, หน้าต่างกุหลาบ ศต. 15, ระฆัง หนักร่วม 11 ตัน, ออร์แกน, นาฬิกาดาราศาสตร์ |
สถาปนิก | นักบุญออสวอลด์แห่งเบอร์นิเซีย |
ประเภทสถาปัตย์ | กางเขน |
รูปแบบสถาปัตย์ | กอธิคสมัยต่างๆ |
ปีสร้าง | ค.ศ. 627 - ค.ศ. 637 |
แล้วเสร็จ | ค.ศ. 1472 |
ความสูงอาคาร | หอสามหอสูง 31 เมตร |
อาสนวิหารมีทางเดินกลางที่สร้างแบบกอธิควิจิตร (Decorated Gothic) และหอประชุมนักบวช บริเวณร้องเพลงสวดและทางด้านหลังเป็นแบบกอธิคแบบ กอธิคสูง (Perpendicular Gothic) ทางด้านเหนือของแขนกางเขนเป็นแบบกอธิคอังกฤษตอนต้น ทางเดินกลางมีหน้าต่างเหนือบานประตูที่สร้างเมื่อ ค.ศ. 1338 และด้านตรงข้ามทางหลังวัดบริเวณชาเปลพระแม่มารีย์ มีหน้าต่างใหญ่ชื่อ “Great East Window” สร้างเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1408 ซึ่งเป็นหน้าต่างประดับกระจกสีที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทางด้านเหนือของแขนกางเขนมีหน้าต่างที่เรียกว่า “Five Sisters Window” แต่ละแกนของหน้าต่างสูงถึง 16 เมตร หรือประมาณ 9 ชั่วคน ทางด้านใต้เป็นหน้าต่างกุหลาบที่มีชื่อเสียงมาก
ประวัติ
แก้ยอร์กมีผู้นับถือคริสต์ศาสนามาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 4 โบสถ์คริสต์แห่งแรกที่สร้างตรงจุดนี้เป็นโบสถ์ไม้ที่สร้างอย่างเร่งด่วนในปี ค.ศ. 627 เพื่อใช้ในการทำพิธีศีลล้างบาปให้แก่เอ็ดวินพระมหากษัตริย์แห่งนอร์ทธัมเบรีย ในคริสต์ทศวรรษ 630 ก็มีการสร้างโบสถ์ที่ถาวรขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 637 นักบุญออสวอลด์แห่งเบอร์นิเซียก็สร้างโบสถ์ให้เป็นหินและอุทิศให้แก่นักบุญเปโตร แต่โบสถ์ก็เสื่อมโทรมลงจนในที่สุดก็อยู่ในสภาพที่เกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ง่าย ๆ เมื่อมาถึงปี ค.ศ. 670 เมื่อวิลฟริดได้รับตำแหน่งเป็นประมุขของมุขมณฑลยอร์กท่านก็ได้สั่งให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์โครงสร้างใหม่ โรงเรียนและห้องสมุดมาก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 8
ในปี ค.ศ. 741 อาสนวิหารก็ถูกเพลิงไหม้ทำลายลง แต่โบสถ์ที่สร้างใหม่แทนที่ก็เป็นโบสถ์ที่มีโครงสร้างที่เป็นที่น่าประทับใจมากกว่าเดิมที่มีแท่นบูชาถึงสามสิบแท่น หลังจากนั้นอาสนวิหารก็ถูกขโมยกวาดทรัพย์สินหลายครั้งโดยผู้รุกรานหลายกลุ่มและไม่มีประวัติที่ทราบแน่นนอนมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 เมื่อมีอาร์ชบิชอปจากคณะเบเนดิกตินหลายองค์ที่รวมทั้งนักบุญออสวอลด์ วูลฟตัน และอัลเดรดผู้เดินทางไปเวสต์มินสเตอร์แอบบีย์เพื่อไปประกอบพิธีราชาภิเษกให้แก่พระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 อัลเดรดเสียชีวิตปี ค.ศ. 1069 ร่างของท่านยังบรรจุอยู่ภายในอาสนวิหาร[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "York Minster Cathedral". DooYoo.co.uk. 28 March 2008.
- ↑ "Britannia Biographies: Ealdred, Archbishop of York". notesfromtheroad.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2009-06-02.
สมุดภาพ
แก้-
หอด้านตะวันตกเฉียงใต้
-
มองจากสวนด้านตะวันออก
-
หอเหนือจุดตัดระหว่างแขนกางเขนกับทางเดินกลาง
-
มองขึ้นไปบนหอเหนือจุดตัดระหว่างแขนกางเขนกับทางเดินกลางจากด้านใน
-
มองจากด้านตะวันตก
-
เพดานหอประชุมนักบวช
-
มองจากด้านหลังไปทางหอด้านตะวันตก
-
หน้าต่างประดับกระจกสีบรรยายเรื่องราวของพระเจ้าซโลมอน
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- อาสนวิหารยอร์กเว็บไซต์ (อังกฤษ)
- ภาพอาสนวิหารยอร์ก (อังกฤษ)