มวยไทย 7 สี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มวยไทย 7 สี หรือ ศึกมวยไทย 7 สี เป็นรายการโทรทัศน์ถ่ายทอดสดกีฬามวยไทย ที่ได้รับความนิยมอันดับ 1 เป็นระยะเวลากว่าทศวรรษ[1] รายการนี้ทำการถ่ายทอดทางช่อง 7 เอชดี ทุกวันอาทิตย์ เวลา 14:30 น. - 16:30 น. รวมถึงมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์มีเดียส์นิวส์ แชนแนล โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2556 จนถึงปี พ.ศ. 2557 และปี พ.ศ. 2560 จนถึงปัจจุบัน ออกอากาศคู่ขนานทางช่อง 7 เอชดี ทางเว็บไซต์ http://www.bugaboo.tv (สำหรับผู้ชมในประเทศไทย) และมีบริการ SVOD ที่ชื่อ MUAYTHAI 7 สำหรับผู้ชมชาวต่างชาติ
มวยไทย 7 สี | |
---|---|
![]() | |
ประเภท | ถ่ายทอดสดการแข่งขันมวยไทย |
พัฒนาโดย | ฝ่ายรายการ ช่อง 7 เอชดี |
บรรยายโดย | อุฬารกุล ร่วมบุญ ชัยทัต สละทาน |
ประเทศแหล่งกำเนิด | ![]() |
ภาษาต้นฉบับ | ไทย |
การผลิต | |
สถานที่ถ่ายทำ | เวทีมวยสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เวทีมวยมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร |
ออกอากาศ | |
เครือข่าย | ช่อง 7 เอชดี มีเดียส์นิวส์ แชนแนล (พ.ศ. 2556–2557) |
ออกอากาศ | พ.ศ. 2513 – ปัจจุบัน |
ลำดับเหตุการณ์ | |
การแสดงที่เกี่ยวข้อง | ศึกมวยมันส์วันศุกร์ (ช่องTrue4U) ศึกเพชรยินดี (ช่องTrue4U) ศึกมวยมันส์สนั่นเมือง (ช่องTrue4U) ศึกจ้าวมวยไทย (ช่อง 3) ศึกมวยไทยพลังใหม่ (ช่องเจเคเอ็น 18) ศึกท่อน้ำไทย เกียรติเพชร ทีเคโอ (ช่องเจเคเอ็น 18) ศึกมวยดีวิถีไทย (ช่องพีพีทีวี) ๙มวยดีวิถีไทย (ช่อง 9) อมรินทร์ซูเปอร์ไฟต์ ศึกช้างมวยไทยเกียรติเพชร (ช่องอมรินทร์ทีวี) ศึกมวยไทยลุมพินีพิทักษ์ธรรม (ช่อง 5) THAI FIGHT (ช่อง 8) ONE Championship (ช่อง 7 เอชดี) LWC Super Champ (ช่อง 8) Muay Hardcore มวยพันธุ์ดุ (ช่อง 8) |
การจัดรายการแก้ไข
รายการมีจุดประสงค์คือ "เป็นรายการบันเทิง ส่งเสริมการกีฬา และรักษาศิลปะแม่ไม้มวยไทย" ซึ่งจุดประสงค์ของรายการนี้ได้มีการขึ้นเป็นข้อความบนหน้าจอระหว่างการถ่ายทอดสดเป็นบางช่วง รวมถึงกล่าวโดยผู้บรรยายอยู่บ่อยครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่กลางปี พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา รวมถึงเป็นรายการถ่ายทอดสดมวยไทยที่ไม่มีการพูดขอบคุณผู้สนับสนุนโดยผู้บรรยายแต่ใช้แถบอักษรข่าววิ่งในการขอบคุณผู้สนับสนุนทดแทน โดยปรากฏในช่วงยกแรกของมวยคู่เอก ส่วนตัววิ่งผู้สนับสนุนมวยดุเดือดประจำปี ขึ้นในช่วงยกแรกของมวยคู่ที่ 2 และ 3[ต้องการอ้างอิง]
แชมป์มวยไทยที่มีชื่อเสียงแก้ไข
มวยไทย 7 สี เป็นรายการที่มีนักมวยไทยที่มีชื่อเสียงเข้าแข่งขันในรายการดังกล่าว อาทิ ขงเบ้ง ม.รัตนบัณฑิต,[2] ซีอุย ส.สุนันท์ชัย[3] และอภิสิทธิ์ เค.ที.ยิม[4]
การตอบรับแก้ไข
เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจกล่าวว่า เป็นรายการที่ได้รับความนิยมอย่างสม่ำเสมอโดยเรตติ้งไม่เคยตก[9] ซึ่งได้รับการกล่าวว่าเป็นรายการที่ได้รับความสนใจจากทั้งคนในวงการมวย รวมถึงได้รับความนิยมจากผู้ชมทั่วประเทศ ตลอดจนได้รับการยอมรับว่า เป็นรายการที่กรรมการให้การตัดสินดีที่สุด และเป็นธรรมที่สุด หรือกล่าวได้ว่าตัดสินพลาดน้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่เป็นรายการที่มีผู้ชมเป็นจำนวนมาก จึงอาจได้รับการวิจารณ์จากฝ่ายที่เสียผลประโยชน์อยู่บ้างในบางครั้ง[10]
รางวัลที่ได้รับแก้ไข
- พ.ศ. 2553 - รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25 รางวัลผู้บรรยายรายการแข่งขันกีฬาดีเด่น (ธนกร ไชยศรี และ ชัยทัต สละทาน)[11]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ แบน ท่าพระ. คาดเชือก. มวยสยามรายวัน. ปีที่ 19 ฉบับที่ 6787. วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2555. หน้า 4
- ↑ กินไม่ลง! ขงเบ้งเจ๊าชนะศึกเดือดมวย 7 สี[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ซีอุยหลั่งเลือดเชือดขวัญเมืองเดือดมวย 7 สี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-29. สืบค้นเมื่อ 2012-07-18.
- ↑ ฉากเตะยกสี่!! อภิสิทธิ์พลิกเฮสนั่นมวย 7 สี[ลิงก์เสีย]
- ↑ สลด 'แท่งทอง' อดีตแชมป์มวย
- ↑ สะท้านฟ้าพลิกเชือดโชคปรีชาป้องแชมป์มวย 7 สี
- ↑ ใจสู้ได้สดบดแข้งเมืองหนึ่งคว้าแชมป์มวย 7 สี
- ↑ รุ่งราวีแข้งเด็ดหวดรุ่งเพชรซิวแชมป์มวย 7 สี
- ↑ "อ่านความเป็นชาติผ่านมวยไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2022-02-15.
- ↑ ทีมงานมวยตู้. กรรมการช่อง 7 สี ‘ผิดพลาด’ จริงหรือ?. มวยตู้. ปีที่ 26 ฉบับที่ 1348. วันศุกร์ที่ 20 ก.ค. 2555. ISBN 974909107-8. หน้า 21
- ↑ ติ๊ก พลอย คว้าดารานำ โทรทัศน์ทองคำ ครั้งที่ 25