แม่ไม้มวยไทย
แม่ไม้มวยไทย เป็นท่าต่อสู้ของวิชามวยไทยที่สำคัญที่สุด[1] ซึ่งรวมถึงมีการใช้ในศาสตร์แห่งกระบี่กระบอง[2]
ประวัติความเป็นมา
แก้จากมติของคณะรัฐมนตรี ได้มีการอ้างอิงถึงสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ) ว่าทรงเป็นผู้คิดค้นท่าแม่ไม้ ไม้กลมวยไทย ในแบบฉบับพระเจ้าเสือ กระทั่งมีการทำเป็นตำรามวยไทย เพื่อถ่ายทอดแก่อนุชน[3]
แม่ไม้มวยไทย
แก้แม่ไม้มวยไทย แบ่งออกเป็น 15 ไม้[1] อันได้แก่ :
ไม้ที่ | ชื่อท่า | คำอธิบาย |
---|---|---|
1 | สลับฟันปลา | ใช้มือข้างหนึ่งปัดหมัดของอีกฝ่าย แล้วใช้มืออีกข้างกระแทกที่ไหล่ด้านนอกของฝ่ายรุก |
2 | ปักษาแหวกรัง | ก้าวเท้าข้างหนึ่งทแยงเข้าวงใน ใช้แขนปัดหมัดฝ่ายรุกให้พ้นใบหน้า และใช้มืออีกข้างกระแทกไหล่ด้านในของฝ่ายรุก |
3 | ชวาซัดหอก | ก้าวเท้าเฉียงออกวงนอก ยกแขนข้างหนึ่งปัดหมัดฝ่ายรุกออก แล้วใช้แขนอีกข้างหนึ่งยกศอกกระแทกชายโครงฝ่ายรุก |
4 | อิเหนาแทงกริช | ก้าวเท้าทแยงเข้าวงใน ยกแขนข้างหนึ่งปัดหมัดฝ่ายรุกออก แล้วใช้แขนอีกข้างหนึ่งยกศอกกระแทกชายโครงฝ่ายรุก |
5 | ยอเขาพระสุเมรุ | ก้มศีรษะเพื่อให้หมัดฝ่ายรุกพ้นไป พร้อมก้าวเท้าไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้หมัดเสยคางฝ่ายรุก |
6 | ตาเถรค้ำฝัก | ก้าวเท้าข้างหนึ่งเข้าวงใน พร้อมกับงอแขนข้างหนึ่งปัดหมัดฝ่ายรุกให้พ้นศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างชกปลายคางฝ่ายรุกทันที |
7 | มอญยันหลัก | ยกแขนทั้งสองป้องกันหน้า แล้วใช้เท้าข้างหนึ่งถีบท้องหรือช่องอกฝ่ายรุกให้กระเด็น |
8 | ปักลูกทอย | หันตัวหาทิศทางที่ฝ่ายรุกเตะมา ยกศอกทั้งสองขึ้นป้องกัน พร้อมกับใช้มือป้องกันการพลาดถูกใบหน้าไปในตัว |
9 | จระเข้ฟาดหาง | ใช้ส้นเท้ากระแทกเข้าที่ศีรษะของฝ่ายรุก |
10 | หักงวงไอยรา | ใช้แขนโอบจับบริเวณน่องฝ่ายรุก พร้อมกับใช้ศอกอีกข้างแทงเข้าที่บริเวณโคนขาของฝ่ายรุก |
11 | นาคาบิดหาง | ใช้มือทั้งสองตะปบส้นเท้าอีกฝ่ายที่เตะมา แล้วใช้มือที่จับปลายเท้าฝ่ายรุกบิดออกด้านนอก ใช้มือที่จับส้นเท้าฝ่ายรุกดึงเข้าหาตัว พร้อมใช้เข่ากระแทกเข้าที่น่องฝ่ายรุก |
12 | วิรุฬหกกลับ | พลิกตัวทแยงสู่ทิศที่ฝ่ายรุกเตะมา แล้วใช้เท้ากระแทกต้นขาฝ่ายรุกออกไป โดยใช้มือทั้งสองป้องกันการพลาดเตะถูกชายโครง |
13 | ดับชวาลา | ใช้มือข้างหนึ่งกดแขนฝ่ายรุกที่ชกมาให้ลงต่ำ พร้อมกับใช้มืออีกข้างชกหน้าฝ่ายรุกในเวลาเดียวกัน |
14 | ขุนยักษ์จับลิง | ยกแขนทั้งสองปัดการเตะที่แข้งของฝ่ายรุก แล้วยกแขนข้างหนึ่งป้องกันศอกของฝ่ายรุก ซึ่งเป็นการหลบการชก, การเตะ และการศอกในเวลาเดียวกัน |
15 | หักคอเอราวัณ | ใช้มือทั้งสองจับที่ต้นคอของฝ่ายรุก แล้วกระแทกเข่าข้างหนึ่งไปที่หน้าของฝ่ายรุก |
แม่ไม้มวยไทยท่าอื่น
แก้บางสื่อระบุว่า แม่ไม้มวยไทยมีจำนวนถึง 385 ท่า โดยมีท่าที่ยากที่สุดคือ “นารายณ์บั่นเศียร”[4]
ลูกไม้มวยไทย
แก้ลูกไม้มวยไทย เป็นท่าย่อยที่แยกออกไปจากแม่ไม้ โดยผู้ฝึกต้องผ่านการฝึกแม่ไม้มวยไทยก่อน จึงจะสามารถฝึกลูกไม้มวยไทยได้ดี แบ่งออกเป็น 15 ไม้[5] อันได้แก่ :
- เอราวัณเสยงา
- บาทาลูบพักตร์
- ขุนยักษ์พานาง
- พระรามน้าวศร
- ไกรสรข้ามห้วย
- กวางเหลียวหลัง
- หิรัญม้วนแผ่นดิน
- นาคมุดบาดาล
- หนุมานถวายแหวน
- ญวนทอดแห
- ทะแยค้ำเสา
- หงส์ปีกหัก
- สักพวงมาลัย
- เถรกวาดลาน
- ฝานลูกบวบ
ในวัฒนธรรมร่วมสมัย
แก้ในภาพยนตร์องค์บาก มีเพลง “แม่ไม้มวยไทย” ขับร้องโดยแอ๊ด คาราบาว ประกอบท้ายเรื่อง[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "แม่ไม้มวยไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-10. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
- ↑ SpazioCorpo Udine - Krabi Krabong[ลิงก์เสีย] (อิตาลี) [ลิงก์เสีย]
- ↑ สถาปนา 6 ก.พ. “วันมวยไทย” - คมชัดลึก[ลิงก์เสีย]
- ↑ 'มวยคาดเชือก' งดงาม แต่แฝงด้วยพิษสง - Manager Online[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ลูกไม้มวยไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-11. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
- ↑ "ฟังเพลงใหม่ คนไททิ้งแผ่นดิน ของ แอ๊ด คาราบาว - Newswit.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-30. สืบค้นเมื่อ 2016-03-04.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้ฟังเสียงบทความนี้ (info/dl)
ไฟล์เสียงนี้ถูกสร้างขึ้นจากรุ่นของบทความ "แม่ไม้มวยไทย" เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 และอาจไม่ใช่การแก้ไขล่าสุด (วิธีใช้เสียง)