ภูมิทัศน์วัฒนธรรม

ภูมิทัศน์วัฒนธรรม (อังกฤษ: cultural landscape) คือพื้นที่ที่ได้รับการนิยามไว้โดยกรรมาธิการมรดกโลกว่าเป็นพื้นที่เด่นทางภูมิศาสตร์ หรือทรัพย์สินที่ “...เป็นตัวแทนของธรรมชาติและผลงานของมนุษย์” ที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ[1] แนวคิดนี้เกิดจากการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาขึ้นในแวดวงของแหล่งมรดกโลกนานาชาติ (ยูเนสโก) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามระหว่างประเทศที่จะไกล่เกลี่ยปรองดอง “...คติ “ทวินิยมแห่งธรรมชาติและวัฒนธรรม” ที่โด่งดังแพร่หลายมากในโลกตะวันตก [2]

กรรมาธิการมรดกโลกได้บ่งชี้และรับรองประเภทของภูมิทัศน์วัฒนธรรมไว้ 3 ประเภท ได้แก่ (1) ภูมิทัศน์ที่เกิดจากการจงใจของมนุษย์ (2) ภูมิทัศน์ทั้งหมดที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ทั้งด้วยความจงใจทำ และไม่ได้จงใจทำ และ (3) ภูมิทัศน์ที่มีร่องรอยการปรุงแต่งโดยมนุย์น้อยที่ (แต่มีคุณค่าสูง) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่คัดจาก “แนวทางปฏิบัติของกรรมาธิการ” มีดังนี้ [3]:

(1) “ภูมิทัศน์ที่ได้รับการออกแบบและสรรค์สร้างอย่างจงในโดยมนุษย์”

(2) “ภูมิทัศน์ที่มีวิวัฒนาการมาในเชิงอินทรีย์” (organically evolved) ซึ่งอาจเป็น “ภูมิทัศน์แผ่นดินร้าง” (หรือซากดึกดำบรรพ์) หรือ “ภูมิทัศน์ต่อเนื่อง” (continuing landscape)

(3) “ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเชิงเชื่อมโยง” (associative cultural landscape) ที่อาจมีคุณค่าทาง “ศาสนา ศิลปะหรือที่เชื่อมโยงทางวัฒนธรรมกับองค์ประกอบทางธรรมชาติ”

ความเป็นมาของแนวคิด

แก้

แนวความคิดเกี่ยวกับ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” มีต้นตอจากภาพเขียนภูมิทัศน์แบบประเพณีของยุโรป [4]นับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2050 เป็นต้นมา ศิลปินยุโรปหลายคนได้เขียนภาพภูมิทัศน์แบบตามใจผู้คน โดยย่อตัวคนในภาพเขียนให้เล็กลงและจัดกลุ่มให้อยู่ในภูมิทัศน์ประเภทต่างๆ ที่กว้างใหญ่ [5]

คำว่า “ภูมิทัศน์” ในตัวของมันเองได้ผนวก “ภูมิ” หรือผืนแผ่นดิน ซึ่งมีต้นตอมาจากคำว่าแผ่นดินในภาษาเยอรมันกับคำกริยา "scapjan/ schaffen" ซึ่งมีความหมายว่า “แผ่นดินที่ถูกขึ้นรูป” (shaped lands) [6] และในขณะนั้นถือว่าเป็นผืนแผ่นดินที่ถูกขึ้นรูปด้วยแรงธรรมชาติ และรายละเอียดของ “แผ่นดินที่ถูกขึ้นรูป” (landshaffen -shaped lands) ได้กลายเป็นเนื้อหาของ “ภาพเขียนภูมิทัศน์” [5]

นักภูมิศาสตร์ชื่อออตโต ชลูเทอร์ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนแรกที่ใช้คำว่า “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” อย่างเป็นทางการในคำศัพท์ทางวิชาการของเขาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ประมาณ พ.ศ. 2445) [7] ในปี พ.ศ. 2451 ชลูเทอร์ได้ให้เหตุผลว่า ด้วยการนิยามภูมิศาสตร์ให้เป็น “วิทยาศาสตร์ภูมิทัศน์” ย่อมเป็นเหตุผลที่ทำให้ภูมิศาสตร์กลายเป็นวิชาที่มีเนื้อหาเฉพาะที่ถือได้ว่าไม่อยู่ในวิชาอื่นใด [8][7] ชลูเทอร์ได้บ่งชี้ให้เห็นรูปแบบภูมิทัศน์ 2 แบบได้แก่: “ภูมิทัศน์ธรรมชาติ” หรือภูมิทัศน์ที่มีมาก่อนที่จะถูกเปลี่ยนแปลงมากโดยมนุษย์ และ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” หรือภูมิทัศน์ที่มีรูปที่เกิดจากวัฒนธรรมของมนุษย์ งานสำคัญของวิชาภูมิศาสตร์ได้แก่การสืบค้นหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทั้งสองประเภทนี้

ผู้ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการแพร่หลายแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้แก่คาร์ล โอ. ซาวเออร์ นักภูมิศาสตร์มนุษย์ [9] ซาวเออร์มีความแน่วแน่ในการผลักดันหน่วยงานทางวัฒนธรรมให้มีอิทธิพลในการสร้างรูปโฉมของพื้นผิวโลกในเขตกำหนดเฉพาะ ในการให้นิยามนี้ ซาวเออร์บ่งชี้ว่าสิ่งแวดล้อมทางกายภาพควรคงไว้ซึ่งความสำคัญที่เป็นมัชชิมหรือตัวกลางร่วมอยู่กับกิจกรรมทางวัฒนธรรมของมนุษย์ [10] นิยามคลาสสิกของซาวเออร์มีดังนี้:

ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นรูปแบบที่ปั้นแต่งมาจากภูมิทัศน์ธรรมชาติโดยกลุ่มวัฒนธรรมกลุ่มหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นตัวการ (agent) ธรรมชาติเป็นตัวกลาง (medium) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมคือผลลัพธ์

นับตั้งแต่ซาวเออร์ได้ใช้คำศัพท์อย่างเป็นทางการและที่ได้เผยแพร่แนวคิดอย่างได้ผลเป็นต้นมา แนวคิดว่าด้วยภูมิทัศน์วัฒนธรรมได้มีการนำมาใช้ในหลายด้าน มีการนำไปประยุกต์ อภิปราย พัฒนาและปรับแต่งในแวดวงวิชาการเป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2535 กรรมาธิการมรดกโลกที่เลือกตั้งขึ้นเพื่อจัดประชุม “ผู้เชี่ยวชาญ” เพื่อให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการยกร่างแนวปฏิบัติของกรรมาธิการที่รวม “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ให้เป็นทางเลือกหนึ่งในรายการทรัพย์สินมรดก (heritage listing properties) ที่ไม่มีรูปแบบที่เป็นธรรมชาติเพียงอย่างเดียว หรือ เป็นวัฒนธรรมเพียงอย่างเดียว (เช่นมรดกแบบผสม) [11]

คณะกรรมาธิการมรดกโลกได้ให้การรับรองแนวคิดของ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ซึ่งการนำมาใช้นี้ได้ปรากฏให้เห็นในหมู่ผู้เชี่ยวชาญที่หลากหลายทั่วโลก มีหลายชาติที่ได้บ่งชี้ “ภูมิทัศน์วัฒนธรรม” ไว้อย่างชัดเจน มีการประเมินภูมิทัศน์วัฒนธรรม จัดทำรายชื่อภูมิทัศน์วัฒนธรรม จัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมและทำให้ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางไปทั่วโลกรวมทั้งการแตกสาขาอย่างเป็นระบบในลักษณะเชิงปฏิบัติที่นับว่าน่าท้าทาย [11]

การทบทวนทางวิชาการในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นการรวมพลระหว่างกรรมาธิการมรดกโลก ผู้เชี่ยวชาญพหุคูณทั่วโลกและประเทศที่นำแนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมไปใช้ได้ให้ข้อสังเกตและสรุปไว้ว่า:

"แม้ว่าแนวคิดภูมิทัศน์ได้ถูกปลดปล่อยจากมีความสัมพันธ์ดั้งเดิมกับศิลปะมาเป็นเวลานานพอควร .. แต่มันก็ยังปรากฏมีความเด่นในมุมมองทางภูมิทัศน์ที่แนบแน่นเกี่ยวพันกันเสมือนเป็นพี่น้องกับแผนที่หรือกับข้อความปรากฏให้เห็นอยู่ นั่นคือ ความหมายทางภูมิทัศน์และรูปแบบของสังคมยังคงอ่านออกได้ง่ายอยู่" [12]

สำหรับในวงวิชาการ ระบบใดๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของมนุษย์และที่กับพักพิงธรรมชาติ (natural habbitat) ย่อมนับได้ว่าเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรม และในเชิงของสำนึก จะเห็นว่าความเข้าใจดังกล่าวนี้กว้างขวางกว่านิยามยูเนสโกให้ไว้ คือการรวมเอาพื้นผิวของโลกที่มีการครอบครองพร้อมกับการใช้สอย ระบบนิเวศ ปฏิสัมพันธ์ การปฏิบัติ ความเชื่อ แนวคิดและประเพณีของผู้คนที่อยู่อาศัยในภูมิทัศน์วัฒนธรรมนั้นๆ [11]

ปัจจุบันมีบางมหาวิทยาลัยได้เปิดสอนและให้ปริญญาสาขาเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ภูมิทัศน์วัฒนธรรมศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆ ในเนเปิล เซนต์-เอแตงน์ และสตุทการ์ดที่ให้ “ปริญญาภูมิทัศน์วัฒนธรรมศาสตรมหาบัณฑิต[13]

ตัวอย่าง

แก้

คณะกรรมาธิการมรดกโลกได้บ่งชี้และขึ้นบัญชีพื้นที่หรือทรัพย์สินหลายแห่งเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มีคุณค่าโดยรวมต่อมนุษยชาติ ซึ่งรวมถึงสถานที่ต่างๆ ดังต่อไปนี้ [14]

อุทยานแห่งชาติตองการิโร นิวซีแลนด์ (พ.ศ. 2536)

"ในปี พ.ศ. 2536 ทองการิโรได้กลายเป็นทรัพย์สินชิ้นแรกที่ได้รับการจารึกไว้ในบัญชีมรดกโลกภายใต้เกณฑ์ที่ปรับปรุงใหม่ที่ว่าด้วยการเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรม ภูเขาที่ใจกลางของอุทยานมีความสำคัญทางวัฒนธรรมและศาสนาของชาวมาวรีและนับเป็นสัญลักษณ์ทางจิตวิญญาณที่เชื่อมโยงระหว่างชุมชนกับสิ่งแวดล้อม ภายในอุทยานมีภูเขาไฟทั้งที่ยังครุกรุ่นอยู่และที่ดับแล้ว มีระบบนิเวศที่มีความหลากหลายมากรวมทั้งภูมิทัศน์ที่สวยงาม"[15]

อุทยานแห่งชาติอูลูรู-คาตา ทจูทา (Uluru-Kata Tjuta National Park) ออสเตรเลีย (พ.ศ. 2537)

"อุทยานแห่งนี้เดิมเรียกว่าอุทยานแห่งชาติอูลูรู (Ayers Rock – Mount Olga -อายเออร์ร็อก –เขาโอลกา) เป็นอุทยานที่มีรูปโฉมพิเศษทางธรณีวิทยาที่มีความเด่นอยู่ท่ามกลางที่ราบทรายแดงแห้งแล้งอันกว้างใหญ่ไพศาลของออสเตรเลียตอนกลาง อูลูรู ซึ่งเป็นแท่งหินขนาดมหึมาและคาตา-ทจูทาซึ่งเป็นโดมหินที่อยู่ทางด้านตะวันตกของอูลูรูรวมกับเป็นส่วนของระบบความเชื่อทางประเพณีของสังคมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เจ้าของตามประเพณีของอูลูรู-คาตา ทจูทาคือชาวอาบอริจิน เผ่าอานานกู” (Anangu Aboriginal people) [16]

นาขั้นบันไดของคอร์ดิลเลอราส์ ฟิลิปปินส์ (Rice Terraces of Philippine Cordilleras) พ.ศ. 2538

นับเป็นเวลา 2,000 ปีมาแล้วที่นาบนที่สูงแห่งอิฟูกาโอได้ทำไปตามเส้นชั้นความสูงของภูเขา ผลของความรู้ในการทำนาแบบนี้ได้ถ่ายทอดต่อๆ กันลงมาหลายชั่วคน การแสดงออกถึงพระเพณีอันศักดิ์สิทธิ์และการมีความสมดุลทางสังคมเป็นอย่างดีนี้ได้ช่วยสรรค์สร้างภูมิทัศน์อันงดงามยิ่ง แสดงให้เห็นความกลมกลืนกันเป็นอย่างดีระหว่างมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม[17]

ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของซินตรา โปรตุเกส (พ.ศ. 2538)

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ประมาณตั้งแต่ พ.ศ. 2445 เป็นต้นมา) ซินตรา ได้กลายเป็นศูนย์กลางสถาปัตยกรรมแบบโรแมนติกของยุโรป พระเจ้าเฟอร์ดินานด์ ที่ 2 ได้เปลี่ยนวิหารที่ปรักหักพังให้กลายเป็นปราสาทที่มีลักษณะละเอียดอ่อนหลายสไตล์โดยมีองค์ประกอบแบบโกธิก อียิปต์ มัวร์และเรนาซองส์ รวมทั้งการสรรค์สร้างอุทยานที่กลมกลืนกับพืชพรรณและต้นไม้ท้องถิ่นกับต้นไม้ต่างถิ่นที่นำเข้า มีที่พักอาศัยที่สวยงามอีกมากที่สร้างในแนวเดียวกันที่ล้อมรอบเซอร์ราอยู่ การสร้างอย่างผสมผสานที่กลมกลืนกับอุทยานและสวนนับเป็นเอกลักษณ์ที่มีความพิเศษเฉพาะที่กลายเป็นอิทธิพลสำคัญที่มีต่อภูมิสถาปัตยกรรมทั่วยุโรปในเวลาต่อมา[18]

ปอร์โตเวเนอเร ซินเควค์ เทอเร และหมู่เกาะ (พาลมาเรีย ทิโนและทิเนตโต) อิตาลี (พ.ศ. 2540)

“ชายฝั่งไลเกอเรียน ตั้งอยู่ระหว่างซินเควก์ เทอเรแลปอร์โตเวเนอเรนับเป็นภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่มีคุณค่าทางทิวทัศน์และวัฒนธรรมที่สูงยิ่ง ผังและตำแหน่งที่ตั้งของเมืองเล็กๆ และรูปร่างของภูมิทัศน์โดยรอบบดบังข้อเสียเปรียบของความลาดชันและความไม่สม่ำเสมอของเนินที่โอบล้อมประวัติความเป็นมาของการตั้งถิ่นฐานที่ต่อเนื่องของผู้คนในย่านนี้มานานนับพันปีจนสิ้น”[19]

หุบเขาเดรสเดน เอลเบ เยอรมนี (พ.ศ. 2547)

“ในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 (ประมารระหว่าง พ.ศ. 2245 – 2345) ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของหุบเขาเดรสเดน เอลเบ ..มีรูปโฉมเป็นทุ่งหญ้าเตี้ยและเป็นที่ตั้งของพระราชวังพิลล์นิทซ์และอยู่ใจกลางของเดรสเดนที่เต็มไปด้วยอนุสาวรีย์และอุทยานที่มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 – 20 ในภูมิทัศน์ประกอบด้วยคฤหาสก์ สวน และธรรมชาติที่ทรงคุณค่า เนินเฉลียงบางส่วนตามแนวแม่น้ำยังคงใช้ปลูกองุ่น บางหมู่บ้านก็ยังคงรักษาโครงสร้างทางประวัติศาสตร์ในสมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรมไว้ได้ โดยเฉพาะสะพานเหล็กชื่อ “บลูวันเดอร์” ยาว 147 เมตร (พ.ศ. 2434 – 2436) รางเดี่ยวแบบแขวนของรถไฟแขวน (พ.ศ. 2441 – 2444) และรถรางที่ลากด้วยเชือก (พ.ศ. 2437 -2438) เรือกลไฟไอน้ำโดยสาร (เก่าที่สุดตั้งแต่ พ.ศ. 2422 และอู่เรือ (ประมาณ พ.ศ. 2443) ซึ่งยังคงใช้งานอยู่ถึงปัจจุบัน” [20]

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


อ้างอิง

แก้
  1. UNESCO (2005) Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention[1]. UNESCO World Heritage Centre. Paris. Page 83.
  2. PANNELL, S (2006) Reconciling Nature and Culture in a Global Context: Lessons form the World Heritage List[2] เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. James Cook University, Cairns.
  3. UNESCO (2005) Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention. UNESCO World Heritage Centre. Paris. Page 84.
  4. PANNELL, S (2006) Reconciling Nature and Culture in a Global Context: Lessons form the World Heritage List. James Cook University. Cairns, Australia. Page 62
  5. 5.0 5.1 GIBSON, W.S (1989) Mirror of the Earth: The World Landscape in Sixteenth-Century Flemish Painting. Princeton University Press, Princeton, New Jersey
  6. HABER, W (1995) Concept, Origin, and Meaning of Landscape. UNESCO's Cultural Landscapes of Universal Value: Components of a Global Strategy. UNESCO, New York. Pages 38-42.
  7. 7.0 7.1 JAMES, P.E & MARTIN, G (1981) All Possible Worlds: A History of Geographical Ideas. John Wiley & Sons. New York. Page 177)
  8. ELKINS, T.H (1989) Human and Regional Geography in the German-speaking lands in the first forty years of the Twentieth Century. ENTRIKEN, J. Nicholas & BRUNN, Stanley D (Eds) Reflections on Richard Hartshorne's The nature of geography. Occasional publications of the Association of the American Geographers, Washington DC. Page 27
  9. JAMES, P.E & MARTIN, G (1981) All Possible Worlds: A History of Geographical Ideas. John Wiley & Sons. New York. Page 321-324.
  10. SAUER, C (1925) The Morphology of Landscape. University of California Publications in Geography. Number 22. Pages 19-53
  11. 11.0 11.1 11.2 FOWLER, P.J (2003) World Heritage Cultural Landscapes 1992 - 2002. UNESCO World Heritage Centre. Paris, France.
  12. PANNELL, S (2006) Reconciling Nature and Culture in a Global Context: Lessons form the World Heritage List. James Cook University, Cairns. Page 63
  13. "www.maclands.eu". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-28. สืบค้นเมื่อ 2008-02-15.
  14. [3] UNESCO Web Page Article on 'Cultural Landscapes. Accessed 9 January 2008
  15. ยูเนสโก. "อุทยานแห่งชาติทองการิโร". สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2018.
  16. ยูเนสโก. "อุทยานแห่งชาติอูลูรู-คาตา ทจูทา". สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2018.
  17. ยูเนสโก. "นาขั้นบันไดของคอร์ดิลเลอราส์". สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2018.
  18. ยูเนสโก. "ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของซินตรา". สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2018.
  19. ยูเนสโก. "ปอร์โตเวเนอเร ซินเควค์ เทอเร และหมู่เกาะพาลมาเรีย ทิโนและทิเนตโต". สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2018.
  20. ยูเนสโก (2004). "Dresden Elbe Valley". สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2018.

บรรณานุกรม

แก้
  • Conzen, M. 1993, ‘The historical impulse in Geographical writing about the United States 1850 1990’, in Conzen, M., Rumney, T. and Wynn, G. 1993, A Scholar's Guide to Geographical Writing on the American and Canadian Past, The University of Chicago Press, Chicago, pp.3 90.
  • Denevan William M. 1992, The Americas before and after 1492: Current Geographical Research, Annals of the Association of American Geographers, Vol. 82, No. 3, pp. 369-385.
  • Elkins, T. H. 1989. Human and Regional Geography in the German-speaking lands in the first forty years of the Twentieth Century, in J. Nicholas Entrikin & Stanley D. Brunn (eds). Reflections on Richard Hartshorne's The nature of geography, Occasional publications of the Association of the American Geographers, Washington DC. 17-34.
  • James, P. E. and Martin, G. 1981, All Possible Worlds: A history of geographical ideas, John Wiley & Sons, New York.
  • Sauer, C. 1925, The Morphology of Landscape, University of California Publications in Geography, 22:19 53.