ฟอสจีน
ฟอสจีน (อังกฤษ: phosgene) เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีสูตรเคมีคือ COCl2 ลักษณะเป็นแก๊สไม่มีสี ไม่ไวไฟ เมื่อมีความเข้มข้นต่ำจะมีกลิ่นคล้ายหญ้าถูกตัดใหม่ ๆ ฟอสจีนเป็นสารตั้งต้นสำคัญในการผลิตพลาสติกโพลียูรีเทนและพอลิคาร์บอเนต เคยใช้เป็นแก๊สพิษในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
![]() | |
![]() | |
![]() A collection of toxic gases use in chemical warfare; the leftmost one is phosgene
| |
ชื่อ | |
---|---|
Preferred IUPAC name
Carbonyl dichloride[2] | |
ชื่ออื่น
| |
เลขทะเบียน | |
3D model (JSmol)
|
|
ChEBI | |
เคมสไปเดอร์ | |
ECHA InfoCard | 100.000.792 |
EC Number |
|
ผับเคม CID
|
|
RTECS number |
|
UNII | |
UN number | 1076 |
CompTox Dashboard (EPA)
|
|
| |
| |
คุณสมบัติ | |
COCl2 | |
มวลโมเลกุล | 98.91 g·mol−1 |
ลักษณะทางกายภาพ | แก๊สไม่มีสี |
กลิ่น | หายใจไม่ออก เหมือนหญ้าแห้งหรือหญ้าเหม็นอับ[3] |
ความหนาแน่น | 4.248 g/L (15 °C, gas) 1.432 g/cm3 (0 °C, liquid) |
จุดหลอมเหลว | −118 องศาเซลเซียส (−180 องศาฟาเรนไฮต์; 155 เคลวิน) |
จุดเดือด | 8.3 องศาเซลเซียส (46.9 องศาฟาเรนไฮต์; 281.4 เคลวิน) |
ไม่ละลาย, ทำปฏิกิริยา[4] | |
ความสามารถละลายได้ | ละลายในเบนซีน, โทลูอีน, กรดอะซิติก สลายตัวในแอลกอฮอล์และกรด |
ความดันไอ | 1.6 atm (20°C)[3] |
−48·10−6 cm3/mol | |
โครงสร้าง | |
Trigonal planar | |
1.17 D | |
ความอันตราย | |
GHS labelling: | |
![]() ![]() ![]() | |
อันตราย | |
H280, H314, H330[5] | |
P260, P280, P303+P361+P353+P315, P304+P340+P315, P305+P351+P338+P315, P403, P405[5] | |
NFPA 704 (fire diamond) | |
จุดวาบไฟ | ไม่ติดไฟ |
ค่าขีดจำกัดเกณฑ์ (TLV)
|
0.1 ppm (1 ppm = 4 mg/m3) |
ปริมาณหรือความเข้มข้น (LD, LC): | |
LC50 (median concentration)
|
|
LCLo (lowest published)
|
|
NIOSH (US health exposure limits): | |
PEL (Permissible)
|
TWA 0.1 ppm (0.4 mg/m3)[3] |
REL (Recommended)
|
TWA 0.1 ppm (0.4 mg/m3) C 0.2 ppm (0.8 mg/m3) [15-minute][3] |
IDLH (Immediate danger)
|
2 ppm[3] 1 ppm = 4 mg/m3 |
เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS) | [1] |
สารประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องกัน | |
สารประกอบที่เกี่ยวข้อง
|
|
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa
|
ฟอสจีนเป็นสารอะซิลคลอไรด์ มีโครงสร้างโมเลกุลแบบสามเหลี่ยมแบนราบ ฟอสจีนเป็นสารมีขั้วที่ไม่ละลายน้ำ แต่ทำปฏิกิริยาได้คาร์บอนไดออกไซด์และกรดไฮโดรคลอริก[7] เมื่อทำปฏิกิริยากับแอมโมเนียจะได้ยูเรียและแอมโมเนียมคลอไรด์ ในทางอุตสาหกรรม การผลิตฟอสจีนจะใช้วิธีผ่านแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์และคลอรีนบริสุทธิ์เข้าไปในแผงถ่านกัมมันต์ที่ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ[8]
- CO + Cl2 → COCl2 (ΔHrxn = −107.6 kJ/mol)
โดยทั่วไป ปฏิกิริยาดังกล่าวจะเกิดขึ้นที่อุณหภูมิระหว่าง 50–150 °ซ หากอุณหภูมิเกิน 200 °ซ ฟอสจีนจะกลายสภาพกลับไปเป็นคาร์บอนมอนอกไซด์และคลอรีน ในปี ค.ศ. 1989 มีการประมาณการผลิตฟอสจีนอยู่ที่ 2.74 ล้านตัน[8] ฟอสจีนใช้ในการผลิตพอลิคาร์บอเนต และไอโซไซยาเนตที่ใช้ในการผลิตโพลียูรีเทน ซึ่งทั้งพอลิคาร์บอเนตและโพลียูรีเทนเป็นพลาสติกที่ใช้ทำอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น โฟม เสื้อผ้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และวัสดุก่อสร้าง[9]
ปัจจุบันฟอสจีนจัดเป็นอาวุธเคมีประเภท 3 ตามอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมี มีชื่อเรียกทางทหารว่า CG[10] ในอดีตเคยใช้ในการสงครามเคมีในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยในปี ค.ศ. 1915 ฝรั่งเศสเริ่มใช้แก๊สนี้แทนคลอรีนที่ตรวจจับได้ง่าย[11] และบางครั้งผสมฟอสจีนกับคลอรีนเพื่อให้แพร่กระจายได้มากขึ้น[12] ด้วยคุณสมบัติเป็นแก๊สไม่มีสีและมีกลิ่นอ่อน ๆ ทำให้การตรวจจับฟอสจีนทำได้ยาก มีผู้เสียชีวิตจากแก๊สนี้ราว 85,000–100,000 คน โดยฟอสจีนจะเข้าไปทำลายโปรตีนที่สำคัญต่อการแลกเปลี่ยนออกซิเจน-คาร์บอนไดออกไซด์ในปอด ส่งผลให้ผู้ได้รับแก๊สเสียชีวิตจากภาวะขาดอากาศหายใจ[13] ด้านสหราชอาณาจักรพัฒนาหน้ากากกันแก๊สชุบฟีเนตเฮกซามีนและยูโรโทรปีนเพื่อใช้กันฟอสจีนในปี ค.ศ. 1916[14] ฟอสจีนเป็นแก๊สพิษที่ถูกผลิตมากเป็นอันดับสองรองจากคลอรีน โดยมีการประมาณการผลิตที่ราว 36,600 ตัน[15]
ประวัติ แก้
ฟอสจีนถูกค้นพบโดยจอห์น เดวี นักเคมีชาวบริติชในปี ค.ศ. 1812 หลังพบว่าสารผสมระหว่างคาร์บอนมอนอกไซด์และคลอรีนทำปฏิกิริยากับแสงแดด เดวีจึงตั้งชื่อ ฟอสจีน ตามคำภาษากรีกโบราณสองคำคือ φῶς (phôs, “แสง”) และ γενής (genḗs, “กำเนิด”) เพื่อสื่อถึงแสงแดดที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยาของสารนี้[16] ฟอสจีนค่อย ๆ กลายเป็นสิ่งสำคัญในอุตสาหกรรมเคมีในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการผลิตสีย้อม
อ้างอิง แก้
- ↑ Merck Index, 11th Edition, 7310.
- ↑ Nomenclature of Organic Chemistry: IUPAC Recommendations and Preferred Names 2013 (Blue Book). Cambridge: Royal Society of Chemistry. 2014. p. 798. doi:10.1039/9781849733069-FP001. ISBN 978-0-85404-182-4.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards. "#0504". National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ "PHOSGENE (cylinder)". Inchem (Chemical Safety Information from Intergovernmental Organizations). International Programme on Chemical Safety and the European Commission.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Record of Phosgene in the GESTIS Substance Database of the Institute for Occupational Safety and Health, accessed on 16 March 2021.
- ↑ 6.0 6.1 "Phosgene". Immediately Dangerous to Life and Health Concentrations (IDLH). National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH).
- ↑ "Properties of Phosgene" (PDF). American Chemistry Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-12-09. สืบค้นเมื่อ December 11, 2019.
- ↑ 8.0 8.1 Wolfgang Schneider; Werner Diller, "Phosgene", Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry, Weinheim: Wiley-VCH, doi:10.1002/14356007.a19_411
- ↑ "Phosgene". CDC Emergency Preparedness. สืบค้นเมื่อ December 11, 2019.
- ↑ "Phosgene". New World Encyclopedia. March 25, 2019. สืบค้นเมื่อ December 11, 2019.
- ↑ Nye, Mary Jo (1999). Before big science: the pursuit of modern chemistry and physics, 1800–1940. Harvard University Press. p. 193. ISBN 0-674-06382-1.
- ↑ Staff (2004). "Choking Agent: CG". CBWInfo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2007. สืบค้นเมื่อ 30 July 2007.
- ↑ Axelrod, Alan. The Battle of Verdun. Lanham, Maryland, US: Rowman & Littlefield. p. 258. ISBN 9781493022106.
- ↑ Haber, Ludwig Fritz (1986). The poisonous cloud: chemical warfare in the First World War. Oxford University Press. p. 70. ISBN 0-19-858142-4.
- ↑ "A SHORT HISTORY OF CHEMICAL WARFARE DURING WORLD WAR I". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 October 1999. สืบค้นเมื่อ 18 September 2013.
- ↑ John Davy (1812). "On a gaseous compound of carbonic oxide and chlorine". Philosophical Transactions of the Royal Society of London. 102: 144–151. doi:10.1098/rstl.1812.0008. JSTOR 107310. Phosgene was named on p. 151: " ... it will be necessary to designate it by some simple name. I venture to propose that of phosgene, or phosgene gas; from φως, light, γινομαι, to produce, which signifies formed by light; ... "
แหล่งข้อมูลอื่น แก้
- Davy's account of his discovery of phosgene
- International Chemical Safety Card 0007
- CDC - Phosgene - NIOSH Workplace Safety and Health Topic
- NIOSH Pocket Guide to Chemical Hazards
- U.S. CDC Emergency Preparedness & Response
- U.S. EPA Acute Exposure Guideline Levels
- Regime For Schedule 3 Chemicals And Facilities Related To Such Chemicals, OPCW website
- CBWInfo website
- Use of Phosgene in WWII and in modern-day warfare
- US Chemical Safety Board Video on accidental release at DuPont facility in West Virginia