พูดคุย:วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิการเมืองและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับการเมือง ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ
วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประวัติศาสตร์และสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โลก เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าที่น่าเชื่อถือสำหรับผู้อ่าน ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
 พอใช้  บทความนี้อยู่ที่ระดับพอใช้ ตามการจัดระดับการเขียนบทความ

ปัจจุบัน แก้

ใส่ป้าย "ปัจจุบัน" , เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และยังดำเนินอยู่ ยังไม่สิ้นสุด

งั้นคงต้องติดป้ายอีกเยอะเลยครับ วัตถุประสงค์ของป้าย ไว้ใช้กับเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีผู้แก้ไขจำนวนมากในวันเดียวครับ คุณต้องเข้าใจนะครับว่าป้ายนี้ไม่ได้มีไว้เตือนผู้อ่านว่าเหตุการณ์นี้ยังไม่สิ้นสุด แต่ไว้เตือนผู้เขียนว่าช่วงนี้บทความนี้มีคนเขียนจำนวนมาก --Horus | พูดคุย 16:50, 9 ธันวาคม 2556 (ICT)
จากข้อความที่อยู่ในป้ายนะครับ ต้นฉบับภาษาอังกฤษ "This article documents a current event. Information may change rapidly as the event progresses." ภาษาไทย "บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วตามสถานการณ์" บทความนี้ 1. เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน 2. ข้อมูลเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว เช้า สาย บ่าย เย็น มีแถลงการณ์ตลอดเวลา ซึ่งก็ตรงกับข้อความที่ระบุอยู่บนป้าย การขึ้นป้ายนี้ก็เพื่อ "เตือนผู้อ่าน" ว่า บทความนี้อาจมีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา (คนละอย่างกับ บทความนี้อาจมีความไม่ถูกต้อง ที่อยู่ในข้อยกเว้นของ guideline) ถึงแม้ใน guideline จะบอกว่า ป้ายนี้ สามารถใช้เพื่อบ่งบอกว่าอาจจะมีผู้ใช้หลายรายกำลังแก้ไขบทความอยู่ แต่เมื่อพิจารณาถึงข้อความของตัวป้ายเอง ก็จะพบว่า จุดประสงค์ในการบอกว่ามีผู้ใช้หลายคนแก้ไขอยู่ ไม่ใช่จุดประสงค์หลักของป้ายนี้ มิเช่นนั้น ป้ายนี้คงต้องเปลี่ยนข้อความในป้ายใหม่ เช่น "บทความนี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และมีผู้สนใจแก้ไขจำนวนมาก กรุณาใช้ความระมัดระมังในการแก้ไข" ซึ่งก็เห็นอยู่ ว่าป้ายนี้ไม่ได้ใช้ข้อความนี้อยู่ และการติดป้ายด้วยนโยบายนี้ ก็ไม่ได้จะทำให้บทความอีกจำนวนมากต้องถูกติดไปด้วย เพราะต้องแยกให้ได้ ว่าบทความนี้คือเหตุการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ ไม่ใช่ "บทความที่มีบทความข่าวปัจจุบัน" ตามข้อยกเว้นใน Guideline มิเช่นนั้น คงต้องขอเสนอให้เปลี่ยนข้อความบนป้าย -- Ipats | พูดคุย 15:45, 10 ธันวาคม 2556 (ICT)

ชื่อบทความ?? แก้

บทความนี้เริ่มเขียนตอนเกิดเรื่อง พ.ร.บ. นิรโทษ แต่ก่อนหน้านั้นกลุ่ม คปท. ก็มีการชุมนุมอยู่ก่อนแล้ว ผมว่าชื่อ การประท้วงในไทย พ.ศ. 2556 มันค่อนข้างจะกว้างเกินไปนะครับน่าจะใช้ชื่ออื่นที่ดูชัดเจนมากกว่านี้ --Famefill (พูดคุย) 21:42, 23 ธันวาคม 2556 (ICT)

เปลี่ยนเป็น "วิกฤติการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556" ตามอย่างอังกฤษแล้วครับ ดูเหตุผลได้ที่หน้าอภิปรายของเขา --Aristitleism (พูดคุย) 21:48, 23 ธันวาคม 2556 (ICT)

จำนวนผู้ชุมนุม แก้

คิดเห็นอย่างไรกับเรื่องจำนวนผู้ชุมนุมครับ ผมลบทิ้งไปจากกล่องเพราะเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมากตั้งแต่ชุมนุมเริ่มยกระดับขึ้นมา มีข้อมูลขัดแย้งจากหลาย ๆ แหล่งที่มามากเกินไป หลัง ๆ เหมือนว่าสื่อที่ไทยเองก็เหมือนจะพยายามเลี่ยงไม่ค่อยพูดเรื่องตัวเลขกันแล้ว --171.65.238.130 05:26, 29 มกราคม 2557 (ICT)

18 ก.พ. 2557 แก้

ผมคิดว่า ข่าว ปปช.มีมติว่า มีการทุจริตโครงการจำนำข้าว และ ออมสินยกเลิกเงินกู้แก่ธกส. ควรมีอยู่ในลำดับเหตุการณ์สำคัญด้วยครับ เพราะเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ส่งผลต่อทิศทางการชุมนุมที่ยืดเยื้อ--Manzzzz (พูดคุย) 20:38, 19 กุมภาพันธ์ 2557 (ICT)

ต่อต้านประชาธิปไตยเลยหรือครับ แก้

วิกิพีเดีย:มุมมองที่เป็นกลาง ผมขอประท้วงตามนี้ครับ ไม่อยากจะทำ edit war ขอความกรุณา undo เองเถิดครับ --Biglobster (พูดคุย) 21:50, 9 มีนาคม 2557 (ICT)

ขอเรียกร้องการพูดคุยปรึกษาอย่างมีเหตุผล กรณีการใช้คำเรียกผู้ชุมนุมว่า "ฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย" ครับ --Biglobster (พูดคุย) 11:01, 10 มีนาคม 2557 (ICT)

ขออธิบายหน่อยนะ ถ้ามีสื่อฝรั่งกล่าวถึง กปปส. ว่า "ต่อต้านประชาธิปไตย" คุณก็ควรจะเอาใส่แค่ประโยคเดียว ทำนอง "xxx ระบุว่า กปปส. เป็นปฏิปักษ์ต่อประชาธิปไตย" ไม่ใช่จับมายัดทุกประโยค แล้วก็เวลาติดแท็กต้องการอ้างอิง ก็ขอระลึกไว้ด้วยว่าข้อความนั้นละเอียดอ่อน ถ้าไม่มีคนอื่นเขียน (แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ) ก็อย่าใส่ไอเดียตัวเองลงไป --Horus | พูดคุย 02:20, 11 มีนาคม 2557 (ICT)
เจ้าตัวท่าทางจะไม่ชอบการปรึกษาครับ ผมเองก็ไม่ค่อยถนัดกับ wikipedia ไม่ทราบเหมือนกันว่าควรจะทำอย่างไร แต่ไม่อยากจะแก้ไขแล้วก็ถูกแก้กลับโดยผู้เขียนที่ไม่สนใจการร่วมพูดคุยโดยตระหนักในรูปแบบการร่วมมือกันเขียนของ wiki และไม่สนใจมุมมองที่เป็นกลางครับ --Biglobster (พูดคุย) 13:08, 11 มีนาคม 2557 (ICT)
ความร่วมมือในการเขียน และการปรึกษาพูดคุยกัน เป็นเรื่องที่ดีสำหรับสังคมวิกิแน่นอน แต่สมควรทำเฉพาะกับบุคคลที่มีคุณค่าคู่ควรเท่านั้น (ไม่ว่าจะมีตำแหน่งใหญ่โตมาจากไหนก็ตาม) สำหรับสารที่ต้องการเข้ามาสื่อจริงๆ คือ "มุมมองที่เป็นกลาง ใช่หรือ??!!" -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิตสโมสร | 18:28, 11 มีนาคม 2557 (ICT)
ขอแหล่งอ้างอิงเวลาเขียนด้วย เข้าใจว่าอารมณ์พาไป แต่ช่วยเขียนแบบคนมีเหตุผลหน่อย --Horus | พูดคุย 20:30, 11 มีนาคม 2557 (ICT)
คนมีตำแหน่งใหญ่โตไม่ใช่คนเหมือนกันหรอกหรือครับ แต่ผมไม่ได้มีตำแหน่งอะไรใหญ่โตหรอก ส่วนปัญหาเรื่องคำที่ใช้ ไม่ว่าจะปฏิปักษ์ประชาธิปไตย ต่อต้านประชาธิปไตย พวกคลั่งเจ้า อยากทราบว่าเท่าที่อ้างอิงได้มีปรากฎตามสื่อหลักของไทยมากพอที่จะนับได้ว่าเป็นคำทั่วไปหรือไม่ และอยากทราบว่าเหตุใดจึงไม่ใช้คำที่เป็นกลางและปรากฎโดยทั่วไป เช่น กปปส. ผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล หรือผู้นิยมกษัตริย์ ที่มันมีความ controversial น้อยกว่าครับ --Biglobster (พูดคุย) 20:13, 11 มีนาคม 2557 (ICT)
สำหรับผม คำว่า "คลั่งเจ้า" โอเคแล้ว คนที่รักเจ้าแบบพอดี ๆ ก็มีนะครับ --Horus | พูดคุย 20:27, 11 มีนาคม 2557 (ICT)
ถ้าเข้าใจมั่ว ก็อย่ากล่าวแทนคนอื่น แต่ละคนก็หาเหตุผลเข้าข้างตัวเองได้ทั้งนั้น สิ่งที่ปรากฏจริงต่างหากที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ คนที่มีตำแหน่งใหญ่โต ก็น่าจะรู้ตัวด้วยว่าเป็นคนเหมือนกัน มีอารมณ์เหนือเหตุผลได้เหมือนกันด้วย ส่วนที่ว่าเอาแต่จะใช้คำที่ปรากฏ เฉพาะในสื่อหลักของไทย ก็ออกจะโลกแคบเกินไป เพราะพวกนี้ ถ้าไม่ขี้กลัวจนขึ้นสมอง หรือไม่ก็เป็นพรรคพวก ของแกนนำปฏิปักษ์ประชาธิปไตย ที่เห็นได้ชัดจากเป้าหมาย การตั้งผู้แทนส่วนตัวแบบมั่วเองเออเอง ไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนมาก ซ้ำยังเหยียบหัวกันอีกต่างหาก -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิตสโมสร | 21:02, 11 มีนาคม 2557 (ICT)
ผมไม่ได้บอกว่ายอมรับแค่สื่อหลักของไทย ปัญหาจริง ๆ คือ คุณเขียนตามแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือหรือเปล่าแค่นี้แหละ อย่าง "เพื่อให้ ปชป. รอเสียบเป็นรัฐบาลง่ายขึ้น" นั่นปะไร รอแหล่งอ้างอิงอยู่นะ แล้วก็เวลากล่าวถึง กปปส. แล้วเรียกว่าปฏิปักษ์ประชาธิปไตยทุกประโยค ก็เหมือนกับเรียกคนที่มีชื่อว่า "เจ้าอ้วน" ทุกคำนั่นแหละ ชื่อเขาก็มี เรียกไปสิ --Horus | พูดคุย 21:19, 11 มีนาคม 2557 (ICT)
คนบอกเป็นใคร ข้อความที่ผ่านมาบ่งบอกอยู่แล้ว (กำลังพยายามหลีกเลี่ยงไม่เอ่ยถึงชื่อใคร เพราะไม่มีคุณค่าพอจะกล่าวถึง อย่างที่บอกไปแล้ว) แหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ ที่ว่านั่นต้องมาจาก บลูสกายทีวี เอเอสทีวีผู้จัดการ ทีนิวส์ ไทยโพสต์ เครือเนชั่น เครือโพสต์ ฯ เท่านั้นกระมัง ถึงจะสาแก่ใจ ส่วนตัวอย่าง เรื่องเจ้าอ้วน (ที่ไม่เคยคิดว่าจะมีใครยกมาเปรียบได้แบบนี้มาก่อนเลย) มันไร้สาระเสียจนตลกไม่ออก เพราะมันคนละเรื่องอย่างสิ้นเชิง สาเหตุที่ใช้คำแบบนั้น ก็ด้วยเหตุผลเดียวกับเรื่องที่เปรยๆ ด้วยความเบื่อหน่ายอยู่นี่เอง คือไม่มีคุณค่าพอที่จะเอ่ยถึง มันเป็นความปรารถนาที่แม้แต่โลกยังไม่ยอมรับ แล้วจะให้ราคาถึงขนาดเอ่ยชื่อตามที่ตั้งให้ตัวเอง ตลกร้ายชัดๆ -- ภาพการ์ตูนมาสคอต แทนตัว Zenith Zealotry Zenith Zealotry | เซนิตสโมสร | 01:34, 12 มีนาคม 2557 (ICT)
ช่องฟรีทีวี 3 5 7 9 หนังสือพิมพ์อย่างไทยรัฐก็คงพอได้มั้งครับ หรือว่าอย่างไร จริงๆ เขาเรียกตัวเองว่าอย่างไรเราก็เรียกตามนั้น ไม่เห็นจะเป็นเรื่องประหลาดนะครับ --Biglobster (พูดคุย) 02:01, 12 มีนาคม 2557 (ICT)

ข้อมูลอ้างอิงเรื่องฟ้าหญิงจุฬาภรณ์ แก้

ไม่ทราบว่ามีข้อมูลอ้างอิงที่หนักแน่นพอเพื่อสนับสนุนประโยคที่ว่า "แสดงการสนับสนุนขบวนการต่อต้านรัฐบาลอย่างประจักษ์แจ้ง" ชองพระองค์ มากกว่าเรื่องที่มัดผมลายธงชาติหรือไม่ --Biglobster (พูดคุย) 09:29, 12 มีนาคม 2557 (ICT)

ยังรออยู่นะครับ เนื่องจากได้มีการพูดคุยใน Talk page ของ en:2013–14_Thai_political_crisis และมีการสรุปให้ปรับออกจาก version ภาษาอังกฤษไปแล้ว ซึ่งเหตุผลที่สรุปก็พอจะนำมาเทียบเคียงให้ปรับออกได้ด้วยเหตุผลเดียวกัน หากยังไม่มีข้อมูลอ้างอิงและหลักฐานอื่นที่หนักแน่นพอครับ --Biglobster (พูดคุย) 09:06, 13 มีนาคม 2557 (ICT)
ถ้ายึดตามลิงก์นี้อย่างเคร่งครัด ก็ได้ความว่า
  1. ภาพถ่ายที่ฟ้าหญิงฯ โพสต์ลงอินสตาแกรมถูกตีความอย่างกว้างขวางว่าสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ("the posting of the images by Princess Chulabhorn Mahidol was widely interpreted as a sign of her support for the anti-government forces.")
  2. นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พระองค์ดูเหมือนว่าแสดงการสนับสนุนผู้ต่อต้านทักษิณ ("this is not the first time she appeared to show support for those opposed to Mr Thaksin.")
  3. ศจ. คนหนึ่งบอกว่า พระองค์ต้องการแสดงว่าอยู่ข้างผู้ประท้วง ("She wanted to show she is on the side of the protesters.")
  4. ฝ่ายผู้ประท้วงยังมองว่าการโพสต์ภาพเป็นการส่งสัญญาณการสนับสนุนความพยายามโค่นล้มรัฐบาลของพระองค์ ("many of those gathered on the streets in Bangkok [...] also saw the posting of the Princess’ photographs as her signalling her support to their attempt to oust the government.")
  5. ผู้ประท้วงคนหนึ่งบอกว่า พระองค์ไม่สามารถพูดออกมาได้แต่ทรงเขียนออกมาเพื่อแสดงสัญลักษณ์ ("The princess cannot give a speech but she wrote that to send a symbol.") ครับ
--Horus | พูดคุย 13:23, 13 มีนาคม 2557 (ICT)

ขอบคุณสำหร้บข้อมูลและการแปลเป็นไทยครับ เนื้อหาตามข่าวผมเห็นว่าเป็นข้อเท็จจริง แต่ข้อเท็จจริงคือ มีการตีความกันไปแบบนั้นทั้งสองฝ่าย ย้ำว่าตีความ คือตามเนื้อหาของบทความหนังสือพิมพ์ที่อ้างอิง ก็อธิบายว่ามีการตีความกันไป ซึ่งส่วนตัวผมเห็นว่ามีการตีความกันอย่างนั้นจริงๆ และถ้าจะลงตามข้อเท็จจริงผมก็ไม่มีข้อโต้แย้งต่อไป แต่ขอเสนอว่าคงต้องใส่ประมาณว่า "ถูกตีความอย่างกว้างขวางว่ามีนัยในการสนับสนุน" และไม่ควรมีคำว่า "ประจักษ์แจ้ง" และรวมไปถึงว่าไม่ควรนำมาใส่ไว้ในช่องของคู่ขัดแย้งเพราะผมเห็นว่าข้อเท็จจริงต่างๆ ไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะอ้างเช่นนั้น --Biglobster (พูดคุย) 02:11, 14 มีนาคม 2557 (ICT)

เห็นบอกว่าหม่อมเจ้ายังจัดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ จะยังทำให้ข้อความ "พระบรมวงศานุวงศ์บางพระองค์สนับสนุน" เป็นจริงอยู่หรือเปล่า --Horus | พูดคุย 01:20, 15 มีนาคม 2557 (ICT)
ผมได้แก้ไขข้อความที่คุณเห็นว่ามีปัญหาแล้ว จริง ๆ คุณก็แก้ไขเองก็ได้นะครับ --Horus | พูดคุย 01:30, 15 มีนาคม 2557 (ICT)
รับทราบและขอบคุณมากครับ ขอโทษที่ทำให้ลำบาก ต่อไปผมจะแก้ไขเองและถ้าถูก undo อีกผมค่อยมาหน้านี้แล้วกันครับ --Biglobster (พูดคุย) 22:51, 16 มีนาคม 2557 (ICT)
อ๋อ เข้าใจแล้วครับ ตอนแรกไม่รู้ว่าติดปัญหาอะไรครับ --Horus | พูดคุย 15:09, 17 มีนาคม 2557 (ICT)

พระบรมวงศานุวงศ์ "บางพระองค์" แก้

ที่เห็นออกมาแบบชัดเจนจริงๆ ก็คือหม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล ส่วนที่เหลือยังไม่เห็นใครชัดเจน ไม่ทราบว่าที่อ้างว่า "บางพระองค์" นี่ หมายถึงใครบ้างครับ พอจะมีข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมหรือไม่ และถ้ามีแค่ 1-2 คน/พระองค์ ระบุชื่อไปเลยน่าจะเหมาะสมกว่าที่จะอ้างถึงทั้งพระบรมวงศานุวงศ์หรือไม่ครับ --Biglobster (พูดคุย) 21:02, 12 มีนาคม 2557 (ICT)

คำแนะนำ: ไม่ควรใส่ข้อความคลุมเครือ เพราะไม่มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน ควรตัดออกหรือระบุให้ชัดเจน WP:WEASEL --奥虎 ボンド 08:54, 26 มีนาคม 2557 (ICT)

12 มี.ค. 2557 แก้

คิดว่า ในวันที่ 12 มี.ค. 2557 เหตุการณ์ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ชี้ ร่างพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทมีเนื้อหาขัดรัฐธรรมนูญ เป็นเหตุการณ์สำคัญด้วยครับ--Manzzzz (พูดคุย) 10:49, 16 มีนาคม 2557 (ICT)

สำคัญ แต่ไม่เกี่ยวกับการชุมนุมครับ --Horus | พูดคุย 19:37, 16 มีนาคม 2557 (ICT)

ขอทราบเหตุผลของการ undo แก้

ตามการ undo ที่ [1] โดยคุณ ZenithZealotry ครับ --Biglobster (พูดคุย) 08:20, 26 มีนาคม 2557 (ICT)

ขอนำยอดจับกุมออก แก้

ผมขอนำยอดตรงนี้ออกครับ เพราะไม่สามารถหายอดที่เป็นปัจจุบันได้--Famefill (พูดคุย) 20:44, 2 เมษายน 2557 (ICT)

คงยอดในอดีตไว้ก็ไม่เป็นปัญหาครับ --Horus | พูดคุย 21:07, 2 เมษายน 2557 (ICT)

ขออนุญาตนำ "กลุ่มอื่นๆ ซึ่งสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์" ออก แก้

ถ้าจะมีการใส่เข้ามาอีก ควรจะมีแหล่งอ้างอิงว่าเป็นกลุ่มไหนอย่างไรด้วยครับ พอดีผมก็ไม่ทราบว่าผู้เขียนตั้งแต่แรกหมายถึงกลุ่มใด แล้วก็เดาไม่ออกว่าหมายถึงกลุ่มไหน จึงไม่สามารถหาข้อมูลมาประกอบได้ --Biglobster (พูดคุย) 22:46, 11 เมษายน 2557 (ICT)

ถ้าหากไม่มีการพูดคุยภายในวันนี้ ผมขออนุญาตถือว่าความเห็นของผมเป็นที่ยอมรับนะครับ ผมไม่ลืมว่าทุกท่านมีสิทธิย้อนกลับตามนโยบายของวิกิ แต่หากจะมีการย้อนกลับอีก รบกวนให้ท่านที่ทำการย้อนกลับมาแสดงเหตุผลที่ชัดเจนด้วย และหากเป็นท่านเดิมผมขออนุญาตถือว่าเป็น en:WP:DISRUPTSIGNS นะครับ เพราะ WP:AGF ก็ใช้ไม่ได้ตลอดไปหากพยายามทุกทางแล้วสถานการณ์ยังเหมือนเดิม ขอบคุณครับ --Biglobster (พูดคุย) 18:44, 16 เมษายน 2557 (ICT)

ขออนุญาต คุณ @ZenithZealotry: รบกวนเชิญตรงนี้ และขอความกระจ่างด้วยครับ ว่า "กลุ่มอื่นๆ ซึ่งสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์" ที่ร่วมเป็นคู่กรณีขัดแย้ง ที่คุณยืนยันหลายครั้งว่าสมควรใส่ไว้นั้น หมายถึงกลุ่มใดกลุ่มไหนครับ เพราะการใส่ข้อความที่คลุมเครือไม่ชัดเจน ผู้อ่านทั่วไปอ่านแล้วไม่เข้าใจ และไม่มีการอ้างอิงแหล่งที่มาหรือรายละเอียด ย่อมไม่มีประโยชน์อะไรครับ --Biglobster (พูดคุย) 17:08, 17 เมษายน 2557 (ICT)

ขออนุญาต คุณ @ZenithZealotry: อีกครั้ง เห็นว่า ใส่กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ กปปส. เข้ามาด้วย อันนี้ผมเดาเอาว่า ไม่ทราบว่าหมายถึง คปท. และกลุ่มพันธมิตรหรือไม่ ถ้าใช่ จะได้เพิ่มบทความในส่วนของ คปท. และกลุ่มพันธมิตรเข้าไปครับ เพราะเมื่อเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรง ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ของคู่ขัดแย้ง ก็ถือว่ามีความสำคัญครับ --Biglobster (พูดคุย) 19:14, 17 เมษายน 2557 (ICT)

ขออนุญาตตอบคุณ @Famefill: ตรงนี้ครับว่า ผมเห็นว่า ถ้อยคำใด ๆ ก็ตาม ต้องมีความชัดเจนไม่คลุมเครือ ไม่ว่าจะใส่ว่า กลุ่มที่สัมพันธ์กับ... หรือ กลุ่มที่ไม่ชอบ... ก็ยังคลุมเครืออยู่ดี เพราะความสัมพันธ์ หรือความไม่ชอบ มันเป็นจิตวิสัยและนามธรรม แต่ละคนก็ตีความได้คนละอย่าง เช่น กลุ่มเสื้อขาว ชอบทักษิณหรือไม่ชอบทักษิณ หรือ ไม่ชอบไม่เกลียด ฯลฯ จึงต้องมีความชัดเจนครับ เช่น ระบุชื่อพรรค ชื่อกลุ่มอย่างชัดเจน หรือให้ข้อมูลไว้ด้านล่างแยกต่างหากว่าหมายถึงกลุ่มไหนจะดีที่สุด

ข้อเสนอผม มี 2 อย่างครับ คือ

  1. ลบออก
  2. ระบุให้ชัดเจนว่ากลุ่มไหน

ผมไม่เคยเสนอให้เปลี่ยนคำครับ แต่ผมเห็นว่ามันควรจะชัดเจนจากล่างขึ้นบน คือ มีรายชื่อกลุ่มมา กลุ่มไหนบ้าง แล้วก็มาดูกันว่าจะเรียกกลุ่มเหล่านี้รวมๆ ว่าอะไรครับ ซึ่งถ้าไม่มีรายชื่อ ผมคิดว่าก็ตัดออกไป ไว้มีรายละเอียดแล้วค่อยใส่เข้ามา ไม่ก็ ใส่ ต้องการการอ้างอิง ไว้ แต่ขอบอกว่า ผมทำมาหมดแล้ว และถูกย้อนกลับทุกครั้งครับ

และถ้าจะใส่ว่า กลุ่มที่ไม่ชอบทักษิณ ผมเห็นว่า ใส่ว่า "กลุ่มอื่นที่ต่อต้านทักษิณ" ชัดเจนกว่าครับ แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะใส่ว่าอะไร ผมก็ยังคิดไม่ออกครับว่ากลุ่มไหนจะมีอิทธิพลและความสำคัญถึงขั้นจะเรียกว่าเป็นคู่ขัดแย้งได้ เสื้อเหลืองพันธมิตร ก็ดูอยู่ห่าง ๆ ส่วน คปท. ก็น่าจะเรียกว่ารวมอยู่ในส่วนของ กปปส. ส่วนอื่น ๆ คิดไม่ออกแล้วครับ กองทัพ ก็คงไม่ใช่ --Biglobster (พูดคุย) 23:09, 17 เมษายน 2557 (ICT)

คือว่าที่ผมใส่ข้อความไปอย่างนั้นเพราะไม่อยากให้เกิดสงครามการแก้ไขนะครับ เลยใส่ไปเพราะคิดว่ามันตรงดี สำหรับผมไม่มีปัญหาหรอกครับจะมีหรือไม่มีก็ได้--Famefill (พูดคุย) 23:45, 17 เมษายน 2557 (ICT)
ขอบคุณมากครับ เอาเป็นว่า ผมจบที่ตรงนี้ก่อนครับ เห็นว่ามีอีกหลายส่วนที่น่าจะเก็บกวาด --Biglobster (พูดคุย) 00:11, 18 เมษายน 2557 (ICT)
ผมว่าต้องคุยกะคุณZenithZealotry แล้วละจะมีดราม่าอีกและ--Famefill (พูดคุย) 21:12, 18 เมษายน 2557 (ICT)

สงครามการแก้ไข แก้

@ZenithZealotry และ Biglobster: ขอเชิญท่านทั้งสองใช้หน้านี้ในการหาข้อสรุปเกี่ยวกับบทความ การทำสงครามการแก้ไขไม่ทำให้อะไรดีขึ้น ขอกล่าวเน้นกับคุณ ZenithZealotry เพราะผมเห็นคุณ Biglobster พยายามคุยตามขั้นตอนแล้วนะครับ --Nullzeroรณรงค์การใช้หน้าพูดคุย 18:06, 12 เมษายน 2557 (ICT)

แล้วนี่จะล็อกบทความนานแค่ไหนหรอครับ รู้สึกว่าการให้เจรจากันจะไม่ประสบผลนะครับ ถ้าปล่อยไว้แบบนี้ถึงจะปลดล็อกออกผมว่าคงจะมีปัญหาเหมือนเดิมละครับ--Famefill (พูดคุย) 16:32, 14 เมษายน 2557 (ICT)

งั้นผมปลดล็อกให้แล้วกันครับ รออีกนิดครับ การล็อกจะหมดเวลาตอน 18.xx น. แต่ในขณะที่บทความยังล็อกอยู่ สามารถเสนอเนื้อหาเข้ามาในหน้านี้ได้ เชื่อว่าผู้ดูแลระบบจะรับไปเขียนในบทความให้ครับ --Horus | พูดคุย 16:47, 14 เมษายน 2557 (ICT)

มาลงชื่อว่ายังคงรออยู่ครับ ยินดีร่วมพูดคุยและพิจารณาข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่รายงานข้อเท็จจริงว่ามีกลุ่มใดและสัมพันธ์กันอย่างไรบ้างครับ --Biglobster (พูดคุย) 14:02, 15 เมษายน 2557 (ICT)

ปฏิกิริยาจากนานาชาติ สมควรมีสำนักข่าวหรือครับ แก้

ถามคุณ @ZenithZealotry: ด้วยความไม่เข้าใจจริง ๆ ครับ แบบนี้ ต้องมีสำนักข่าวจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ลาว มาเลเซีย ฯลฯ ด้วยมั้ยครับ แต่ความเห็นผมคือ ความเห็นของบรรณาธิการข่าวหรือผู้รายงานข่าว ไม่ได้เป็นตัวแทนของประเทศ ไม่มีผลกระทบกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่ได้เป็นผู้เกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อม และไม่มีอิทธิพลใด ๆ ต่อความเป็นไปของวิกฤตการณ์เลยครับ --Biglobster (พูดคุย) 18:00, 16 เมษายน 2557 (ICT)

ตัวอย่าง :- ปฏิกิริยาของนานาชาติต่อรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 -- Zenith Zealotry | เซนิตสโมสร | 18:08, 16 เมษายน 2557 (ICT)
อยากปรึกษาว่า มีเหตุผลใดที่รายงานข่าวจาก CNN จะอยู่ใน scope ของ ปฏิกิริยาจากนานาชาติ ครับ --Biglobster (พูดคุย) 18:22, 16 เมษายน 2557 (ICT)
ตามความเห็นผม สื่อสามารถออกเสียงได้ ถือว่าเป็นการวิพากษ์วิจารณ์จากบุคคลที่มีตัวตน ถ้าดูใน en:2006_Thai_coup_d'état จะเห็นว่ามีหัวข้อ Media แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกสำนักจะเอามาลงได้ เริ่มจากสื่อที่ใกล้ตัวเหตุการณ์ที่สุดก่อนก็คือสื่อในประเทศ ส่วนสื่อต่างประเทศถ้าสร้างผลกระทบมากก็ลงได้เหมือนกัน --奥虎 ボンド 19:03, 16 เมษายน 2557 (ICT)
ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ ถ้าเกิดเป็นการแยกส่วนออกมาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ และอย่างที่คุณพูดก็ถูกคืออ้างสื่อในประเทศก่อน ซึ่งก็อีกเรื่องหนึ่งเหมือนกัน แล้วก็เรื่อง en:WP:BALANCE ก็อีก แต่เรื่องที่ว่าจะใส่ CNN ไว้ในหัวข้อนี้ ผมยังไม่เห็นเหตุผลที่ดีและยังไม่ได้คำตอบอื่นใดนอกจากการอ้างตัวอย่างจากหน้าอื่นครับ --Biglobster (พูดคุย) 21:24, 16 เมษายน 2557 (ICT)
ตัวอย่างที่ไม่มีความเห็นของสำนักข่าวหรือแหล่งข่าว -

และน่าจะทุกบทความใน en:Category:International_reactions ที่ไม่มีการอ้างแบบนี้ เพราะผมลองค้นดูก็ยังหาไม่เจอเลยว่ามีการอ้างแหล่งข่าวแบบนี้ว่าเป็น international reaction ครับ ตรงนี้ผมคิดว่าน่าจะชัดเจนในแนวทางการเขียนแล้วนะครับ

Blog ของ CNN แก้

พอดี ผมเช็คไปเจอว่า มีการอ้างจาก blog ของ CNN ที่ http://globalpublicsquare.blogs.cnn.com/2014/01/14/whats-behind-thai-protests/?iref=allsearch ว่า เป็นความเห็นจาก CNN จึงขออนุญาตปรึกษาดังนี้ครับ

  1. Blog นี้ ถือเป็น reliable source หรือไม่ ตรงนี้ผมไม่แน่ใจครับเพราะใน blog ผมก็ไม่เห็นหมายเหตุว่าผ่านหรือไม่ผ่านการตรวจทานจากบรรณาธิการของ CNN แต่ผู้เขียนก็เป็นนักข่าวที่มีประสบการณ์เหมือนกัน อย่างไรก็ดีใน blog นี้จะเป็นการสัมภาษณ์ความเห็นมาอีกทีหนึ่ง ไม่ใช่ความเห็นของเขาโดยตรง
  2. การอ้าง Blog ว่าเป็นความเห็นของ CNN นั้น ถูกต้องหรือไม่ ตรงนี้ ความเห็นของผมคือ ไม่ถูกต้อง ถ้าจะอ้างว่าเป็นความเห็นของ CNN อย่างน้อยควรจะเป็นบทบรรณาธิการ แต่นี่คือบทสัมภาษณ์ ซึ่งผู้ที่ถูกสัมภาษณ์นั้นห่างไกลจากความเป็นตัวแทนของ CNN

อยากขอความเห็นจากทุกท่านด้วยครับ ขอบคุณครับ --Biglobster (พูดคุย) 19:23, 17 เมษายน 2557 (ICT)

ข้อแรก ความน่าเชื่อถือของบล็อกดูจากผู้เขียนครับ ที่วิกิพีเดียห้ามคือบล็อกของตาสีตาสา (ดูเพิ่มที่ WP:RS)
ข้อสอง ถ้าคุณเห็นว่าบล็อกนี้ไม่ได้เป็นตัวแทนของ CNN ก็สามารถเลี่ยงไปเขียนว่า "xxx จาก CNN เขียนว่า ..." ทำนองนี้ก็ได้ --Horus | พูดคุย 20:09, 17 เมษายน 2557 (ICT)

มี คำว่า พ.ศ. หรือไม่มีดีครับ แก้

เห็นว่าในบทความจะใช้สลับกันไปมา เลยอยากถามความเห็นว่าอย่างไรดีครับ ผมเสนอว่า ใส่ครับ และไม่มีเหตุผลใด ๆ ประกอบ แค่รู้สึกโดยส่วนตัวว่าอ่านแล้วเข้าใจกว่าครับ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ Biglobster (พูดคุยหน้าที่เขียน) 23:31, 18 เมษายน 2557 (ICT)

ผมไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับบทความนี้โดยตรง แต่สนับสนุนให้ใส่ครับ เพราะศักราชมีหลายแบบน่ะครับ แล้วเพื่อกันความสับสนควรที่จะใส่ครับ (แม้ว่าจะไม่มีกฎบังคับเรื่องนี้ก็ตาม) --Timekeepertmk (พูดคุย) 23:36, 18 เมษายน 2557 (ICT)
ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำครับ :) --Biglobster (พูดคุย) 09:10, 19 เมษายน 2557 (ICT)

ส่วนเริ่มต้น น่าจะเขียนใหม่หรือเปล่าครับ แก้

รู้สึกว่าจะมีรายละเอียดมากไป เหมือนเป็น timeline มากกว่าจะเป็นการสรุปเหตุการณ์ โดยผมขอเสนอว่าผมจะการแก้ไขตามนี้

  • ตัวเลขว่า คนตายคนเจ็บฝ่ายไหนเท่าไหร่ น่าจะเอาออกจากบทนำ
  • เรื่องการปะทะกัน อาจจะไม่ต้องลงรายละเอียดมาก
  • น่าจะมีความเชื่อมโยงของเหตุการณ์มากกว่านี้
  • เรื่องหมายจับแกนนำ ปัจจุบันเพิกถอนไปแล้ว แล้วรู้สึกว่าในที่สุดแล้วก็ไม่ได้มีอิทธิพลอะไรกับความเป็นไป เสนอว่าน่าจะไปอยู่ส่วนรายละเอียดมากกว่าหรือเปล่าครับ

ที่เห็นว่าควรจะใส่ไว้ ก็มี

  • ลำดับเหตุการณ์ในสภาที่เป็นที่มา โดยสังเขป
  • การชุมนุม รวบเป็นย่อหน้าเดียว
  • การเลือกตั้ง และการขัดขวางการเลือกตั้ง
  • การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ

แปะไว้ก่อนครับยังไม่ได้เขียน เผื่อท่านอื่นมีความเห็นอะไรเพิ่มเติม --Biglobster (พูดคุย) 10:33, 7 พฤษภาคม 2557 (ICT)

ผู้นำ แก้

ต้องเปลี่ยนชื่อผู้นำฝ่ายรัฐบาลเป็นนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล มั้ยครับเพราะนายกพ้นสภาพไปแล้ว--Famefill (พูดคุย) 21:58, 7 พฤษภาคม 2557 (ICT)

วันที่?? แก้

ผมคิดว่าวิกฤตการณ์นี้ควรเขียนให้วันที่ 22 พฤษภาคม เป็นวันสุดท้ายครับ เพราะผมเห็นว่าการชุมนุมใหญ่ของทั้ง 2 ฝั่งได้ยุติลงตั้งแต่วันนั้นและก็ไม่ได้มีการประท้วงรุนแรงในภายหลัง มีเพียงการต่อต้านรัฐประหารในโลกออนไลน์และที่ต่างประเทศรวมไปถึงการชุมนุมชู 3 นิ้วในช่วงแรกของรัฐประหาร ซึ่งน่าจะไปเขียนในบทความรัฐประหารได้ อีกอย่างนึงถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงขึ้นมาอีกน่าจะนำไปเขียนแยกบทความอีกบทความหนึ่ง--Famefill (พูดคุย) 15:33, 17 กันยายน 2557 (ICT)

อย่างนั้นควรแยกวิกฤต 2548-2553 ออกเป็น 2548-2549 กับ 2551-2553 ด้วยไหมครับ ส่วนตัวผมมองว่ากองทัพก็เป็นหนึ่งในคู่ขัดแย้งของวิกฤตการณ์การเมืองนี้ด้วย มันเลยยังไม่จบ คุณมีความเห็นว่าอย่างไรครับ --Horus | พูดคุย 16:09, 17 กันยายน 2557 (ICT)
ส่วนตัวผมนั้นคิดว่าควรจะแยกออกเป็นสองบทความครับ เพราะผมเห็นว่าหลังรัฐประหารและจัดตั้งรัฐบาลสุรยุทธ์แล้วถึงแม้จะมีการชุมนุมของกลุ่ม นปก. แต่ก็ไม่ได้เป็นการชุมนุมที่ถึงขั้นเรียกว่ารุนแรง ส่วนเรื่องทหารเป็นหนึ่งในคู่ขัดแย้งความจริงในเรื่องนี้หลังจากรัฐประหาร 2549 ทหารก็เป็นคู่ขัดแย้งกับคนเสื้อแดงโดยตลอดครับ ในบทความวิกฤต 48 - 49 ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงมากกว่า ซึ่งผมคิดว่าทหารไม่น่าจะเป็นประเด็นในการเขียนต่อถ้าจะเขียนต่อผมว่าน่าจะไปเขียนในบทความรัฐประหาร 57 หรือถ้ามีเหตุการณ์รุนแรงก็อาจไปสร้างบทความใหม่คิดว่าแนวทางนี้น่าจะดีนะครับ อีกอย่างบทความนี้เจาะคู่ขัดแย้งไปที่ กปปส. กับรัฐบาลเพื่อไทยซะมากกว่า และความจริงแล้วไม่ว่าจะวิกฤต 48-53 หรือ 56-57 พวกเราทุกคนต่างก็รู้ว่ามันเป็นเรื่องเดียวกันหมดถ้าจะเขียนแยกออกไปหลายบทความคงไม่มีปัญหาหรอกครับ
ถ้าคุณ Horus เห็นว่าวันที่ 22 พฤษภาคม ยังไม่ใช่ จะค้างคำว่าปัจจุบัน ต่อก็ได้ครับ อาจจะใช้วันที่มีนายกตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่(น่าจะเป็นวันที่เหมาะสมอีกวันหนึ่ง)--Famefill (พูดคุย) 19:41, 17 กันยายน 2557 (ICT)
กลับไปที่หน้า "วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557"