เอบียูโรบอตคอนเทสต์

เอบียูโรบอตคอนเทสต์ (อังกฤษ: ABU Robot Contest หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ABU Robocon) เป็นการการแข่งขันหุ่นยนต์ของนักเรียน นักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจะมีประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพสื่อสารมวลชนแปซิฟิค (ABU) หมุนเวียนจัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพในทุกปี ซึ่งยังคงจัดการแข่งขันอยู่จนถึงปัจจุบัน

ประวัติของ เอบียูโรบอตคอนเทสต์ แก้

การแข่งขันหุ่นยนต์เอบียูโรบอตคอนเทสต์ มีพื้นฐานมาจากการแข่งขันหุ่นยนต์ เอ็นเอชเค โรโบคอน (NHK Robocon) ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในตอนแรกได้จัดให้มีการแข่งขันเฉพาะนักเรียน นักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษาในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ต่อมาได้ขยายขอบเขตให้เป็นการแข่งขันในระดับนานาชาติ ทำให้สมาชิกของเอบียูเริ่มเล็งเห็นความสำคัญ และมีแนวคิดที่จะขยายขอบเขตของการแข่งขันให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จึงได้เริ่มจัดการแข่งขัน เอบียูโรบอตคอนเทสต์ ครั้งแรกขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ และมีการกำหนดว่า สมาชิกของเอบียูจะหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพทุกๆ ปี

รูปแบบพื้นฐานของการแข่งขัน แก้

รูปแบบพื้นฐานของการแข่งขันนั้น ในแต่ละทีมจะมีหุ่นยนต์อยู่ 2 ประเภท คือ หุ่นยนต์บังคับด้วยมือ และ หุ่นยนต์อัตโนมัติ โดยในแต่ละทีมนั้นจะต้องทำให้หุ่นยนต์ทั้ง 2 ประเภท ทำภารกิจให้สำเร็จก่อนหุ่นยนต์ของคู่ต่อสู้ หรือทำคะแนนให้ได้มากที่สุด ภายในเวลา 3 นาที ซึ่งรูปแบบกติกา ภารกิจ และการทำคะแนนจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกๆปี

รายชื่อเจ้าภาพ ชื่อของการแข่งขัน และผู้ชนะ แก้

ปี เจ้าภาพ ชื่อของการแข่งขัน และ
โลโก้ของการแข่งขัน
ที่มาของกติกาการแข่งขัน ทีมและประเทศที่ชนะเลิศ
2002   ญี่ปุ่น  
Reach for The Top of Mt.Fuji
(พิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ)
ยอดเขาฟูจิ   TELEMATIC
(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโฮจิมินซิตี)
2003   ไทย Takraw Space Conqueror
(ตะกร้อพิชิตจักรวาล)
การละเล่นตะกร้อลอดห่วง   นายฮ้อยทมิฬ 2002 V.2
(วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน)
2004   เกาหลีใต้ Reunion of Separated Lovers, Gyeonwoo & Jiknyeo
(โอแจ็ค สะพานตำนานแห่งความรัก)
ตำนานความรักของประเทศเกาหลี   FXR
(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโฮจิมินซิตี้)
2005   จีน Climb on the Great Wall Light the Holy Fire
(จุดไฟศักดิ์สิทธิ์ พิชิตกำแพงเมืองจีน)
กำแพงเมืองจีน   Robo Tech
(มหาวิทยาลัยโตเกียว)
2006   มาเลเซีย Building the World’s Tallest Twin Tower
(ตึกแฝดเสียดฟ้า ท้าพิชิต)
ตึกแฝดปิโตรนาส   BKPro
(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโฮจิมินซิตี)
2007   เวียดนาม Halong Bay Discovery
(มหัศจรรย์ ฮาลองเบ)
ตำนานของเมืองฮาลอง   Inspire
(มหาวิทยาลัยเซียอานเจียวทง)
2008   อินเดีย Touch The Sky
(เหินฟ้าท้าพิชิต)
การละเล่นของชาวอินเดีย   Inspire
(มหาวิทยาลัยเซียอานเจียวทง)
2009   ญี่ปุ่น Travel Together for the Victory Drums
(ร่วมตะลุย ลั่นกลองชัย)
การเดินทางในสมัยโบราณของชาวญี่ปุ่น   Dragon
(สถาบันเทคโนโลยีฮาร์บิน)
2010   อียิปต์ Robocon Pharaoh
(บุกอารยธรรมอียิปต์ พิชิตมหาพีระมิดแห่งกิซา)
การก่อสร้างพีระมิด   Fighters.UESTC
(มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศจีน)
2011   ไทย Loy Krathong, Lighting Happiness with Friendship
(ลอยกระทง จุดประกายแห่งความสุขด้วยมิตรภาพ)
ประเพณีลอยกระทง  ลูกเจ้าแม่คลองประปา THE LIMITED
(มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์)
2012   ฮ่องกง In pursuit of peace and prosperity
(พิชิตยอดเขา คว้าซาลาเปา มุ่งสู่สันติ)
ประเพณีเก็บซาลาเปา  ไม่ทราบ
(มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศจีน)
2013   เวียดนาม The Green Planet
(หุ่นยนต์พิทักษ์ รักโลกสีเขียว)
การอนุรักษ์ป่าไม้  HISHO
(สถาบันเทคโนโลยีคานาซาวา)
2014   อินเดีย A Salute to Parenthood
(อุ่นไอรัก)
ความสำคัญของครอบครัวและสนามเด็กเล่น  LH-NVN
(มหาวิทยาลัยลาคฮอง)
2015   อินโดนีเซีย Robominton
(หุ่นยนต์แบดมินตัน)
กีฬาแบดมินตัน  Hungyen Techedu
(มหาวิทยาลัยครุศาสตร์และเทคโนโลยีฮึงเอียน)
2016   ไทย Clean Energy Recharging the World
(พลังงานบริสุทธิ์ จุดประกายโลก)
การอนุรักษ์พลังงาน   UTM
(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมาเลเซีย)
2017   ญี่ปุ่น The Landing Disc
(ยุทธการ จานร่อน)
การละเล่นโยนพัด  LH - NICESHOT
(มหาวิทยาลัยลาคฮอง)
2018   เวียดนาม The Festival Wishing Happiness & Prosperity
(ลูกช่วงมังกรบิน พิชิตถ้วยทองคำ)
การละเล่นโยนลูกช่วงเข้าห่วง  LH-GALAXY
(มหาวิทยาลัยลาคฮอง)
2019   มองโกเลีย Share the knowledge   Chinese University of Hong Kong
2020   ฟีจี[1] Robo Rugby 7s   มหาวิทยาลัยโตเกียว
2021   จีน[1] Throwing arrows into pots   Sepuluh Nopember Institute of Technology
2022   อินเดีย Lagori
2023   กัมพูชา Casting Flowers over Angkor Wat
หมายเหตุ
  1. ^ แข่งขันออนไลน์เนื่องจาก การระบาดทั่วของโควิด-19

การแข่งขันในประเทศไทย แก้

การแข่งขันในประเทศไทย เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2544 โดยบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน)เป็นผู้ดำเนินการจัดการแข่งขัน และใช้ชื่อการแข่งขันว่า "การแข่งขันหุ่นยนต์เอบียูชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย (ABU Robot Contest Thailand Championship)" ซึ่งก็ยังคงใช้กติกาการแข่งขันแบบเดียวกันกับ เอบียูโรบอตคอนเทสต์ ทุกประการ จนถึงปัจจุบัน โดยจะมีการจัดการแข่งขันเพื่อคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยในรอบสุดท้าย ณ อิมแพ็คอารีนา เมืองทองธานี ในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปี ยกเว้นในปี พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2546 ที่ได้ไปจัดแข่งขัน ณ MCC Hall เดอะมอลล์ บางกะปิ และอินดอร์สเตเดียมหัวหมาก ตามลำดับ ส่วนในปี พ.ศ. 2545 ไม่มีการจัดการแข่งขัน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้