เอบียูโรบอตคอนเทสต์ 2002

การแข่งขันเอบียูโรบอตคอนเทสต์ในปี ค.ศ. 2002นั้น ถือเป็นปีแรกของการจัดการแข่งขันเอบียูโรบอตคอนเทสต์ ซึ่งทางเอบียูได้มอบหมายให้ประเทศญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันครั้งแรก โดยทางเจ้าภาพนั้นได้กำหนดกติกาการแข่งขันและใช้ชื่อการแข่งขันนี้ว่า Reach for The Top of Mt.Fuji หรือชื่อภาษาไทยว่า พิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งประเทศไทยนั้นได้ส่งทีม MIMI ซึ่งเป็นทีมที่มาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและเป็นผู้ชนะในการแข่งขันหุ่นยนต์เอบียูชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยเข้าร่วมแข่งขันกับอีก 19 ทีม จาก 18 ประเทศ(ไม่รวมประเทศไทย) และในที่สุดทีม TELEMATIC จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโฮจิมินซิตี้ ประเทศเวียดนาม ก็สามารถคว้าชัยชนะในการแข่งขันครั้งนี้ได้สำเร็จ

เอบียูโรบอตคอนเทสต์ 2002
ข้อมูลการแข่งขัน
รูปแบบReach for The Top of Mt.Fuji
(พิชิตยอดภูเขาไฟฟูจิ)
เจ้าภาพญี่ปุ่นญี่ปุ่น
ตำแหน่งสุดท้าย
Championเวียดนาม TELEMATIC
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโฮจิมินซิตี้
ผู้ชนะเลิศปัจจุบัน

ที่มาของกติกาการแข่งขัน แก้

ที่มาของกติกาการแข่งขันนั้นได้มาจากภูเขาไฟฟูจิ สถานที่ซึ่งถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมมากมาย ซึ่งผู้ที่ได้เข้ามาเยี่ยมชมทุกคนก็ล้วนที่อยากจะขึ้นไปสู่ยอดภูเขาไฟอันเลื่องชื่อนี้

สนามแข่งขันและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน แก้

รูปด้านบนนี้เป็นรูปของสนามแข่งขัน ซึ่งมีขนาด 19.8 X 19.6 เมตร โดยมีพื้นที่ซึ่งเรียกว่า "เขตภูเขาฟูจิ" อยู่บริเวณกึ่งกลางสนามซึ่งมีขนาด 10.2 X 12 เมตรอยู่กึ่งกลางสนาม โดยมีพื้นที่และอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

  • ไม้กั้นรอบนอก กว้าง 10 เซนติเมตร สูง 15 เซนติเมตร
  • ไม้กั้นเขตภูเขาฟูจิ กว้าง 5 เซนติเมตร สูง 5 เซนติเมตร
  • เขตเริ่มต้นของหุ่นยนต์ทั้งสองทีม ทั้งเขตหุ่นยนต์บังคับด้วยมือและหุ่นยนต์อัตโนมัติ มีขนาด 1.2 X 1.2 เมตร มีสีแดง กับ น้ำเงิน อยู่ที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งมีข้อแตกต่างคือ
    • เขตเริ่มต้นของหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ จะอยู่ห่างจากไม้กั้นรอบนอกตามยาว 30 เซนติเมตร ตามขวาง 165 เซนติเมตร
    • เขตเริ่มต้นของหุ่นยนต์อัตโนมัติ ด้านหนึ่งจะอยู่ติดกับไม้กั้นของเขตภูเขาฟูจิ และมีแถบเส้นสีขาวกว้าง 3 เซนติเมตร คาดอยู่ระหว่างกลางของพื้นที่ดังกล่าว
  • เขตลูกบอล มีขนาด 1.8 X 1.8 เมตร โดยอยู่ห่างจากไม้กั้นรอบนอกตามยาว 30 เซนติเมตร ตามขวาง 130 เซนติเมตร ซึ่งในบริเวณดังกล่าวจะมีลูกบอลสีเดียวกันกับสีพื้นของเขตเริ่มต้นของหุ่นยนต์บังคับด้วยมือที่อยู่ตรงข้ามกันอยู่ 16 ลูก ซึ่งจัดเรียงในลักษณะ 4 X 4
  • แนวเส้นสีขาวสำหรับหุ่นยนต์อัตโนมัติ เป็นแนวเส้นกว้าง 3 เซนติเมตร ตัดกันเป็นตารางดังในรูป
  • เขตต้องห้ามสำหรับหุ่นยนต์บังคับด้วยมือ บนพื้นสนามมีสีเขียวเข้ม และมีขนาด 7.2 X 7.2 เมตร
  • ถังเก็บลูกบอล มีลักษณะเป็นทรงกระบอกปลายเปิดด้านหนึ่ง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 45 เซนติเมตร แต่ความสูงจะแตกต่างกันตามตำแหน่งของถัง ดังนี้
    • ถังพื้นเขา มีความสูงจากพื้นสนาม 30 เซนติเมตร
    • ถังสันเขา มีความสูงจากพื้นสนาม 60 เซนติเมตร
    • ถังยอดเขา มีความสูงจากพื้นสนาม 1 เมตร
  • ลูกบอล เป็นลูกบอลชายหาดมีสีเดียวทั่วทั้งลูก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร

กติกาการแข่งขันโดยสังเขป แก้

หุ่นยนต์ของทั้งสองฝ่ายจะต้องนำลูกบอลซึ่งมีสีเดียวกันกับสีของทีมตนเองไปวางไว้ในถังเก็บลูกบอล ซึ่งคะแนนที่ได้เป็นดังนี้

  • ถังยอดเขา ลูกละ 4 คะแนน
  • ถังสันเขา ลูกละ 2 คะแนน
  • ถังพื้นเขา ลูกละ 1 คะแนน

ซึ่งถ้าหุ่นยนต์ของทีมใดสามารถวางลูกบอลไว้ในถังเก็บลูกบอลครบ 5 ถังโดยที่ถังทั้งห้านั้นเรียงผ่านถังยอดเขาเป็นเส้นตรงแล้ว ทีมนั้นจะเป็นฝ่ายชนะแบบทำภารกิจสำเร็จโดยทันที

แต่ในรอบชิงชนะเลิศนั้น ได้มีกติกาเพิ่มเติมว่า นอกเหนือจากการวางลูกบอลไว้ในถังเก็บลูกบอลครบ 5 ถังโดยที่ถังทั้งห้านั้นเรียงผ่านถังยอดเขาเป็นเส้นตรงแล้ว จำนวนลูกบอลในถังยอดเขาและถังสันเขาจะต้องมีอย่างน้อย 3 และ 2 ลูก ตามลำดับ จึงจะสามารถชนะแบบทำภารกิจสำเร็จได้โดยสมบูรณ์

แต่ถ้าเกิดกรณีแข่งขันกันจนครบ 3 นาทีแล้วปรากฏว่าคะแนนเสมอกัน กรรมการจะทำการหาผู้ชนะโดยการนับจำนวนลูกบอลในถังยอดเขา ถังสันเขา และถังพื้นเขาตามลำดับ ทีมใดมีลูกบอลมากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ

ทีมที่เข้าร่วมแข่งขันและการแบ่งกลุ่ม แก้

รายชื่อทีม แก้

ประเทศ ชื่อทีม สถาบันการศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์ที่ส่งเข้าแข่งขัน รางวัลที่ได้
 เกาหลีใต้ ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยอินชอน KBS
 คาซัคสถาน ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยเทคนิคนานาชาติคาซัค KA
(คาร์บาร์เอเจนซี่)
 จีน USTC-Qiang Qiang มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน CCTV
และ
RTPRC
(สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศจีน)
รองชนะเลิศอันดับ 1
งานวิศวกรรมยอดเยี่ยม
 ญี่ปุ่น TuT มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโทโยฮาชิ NHK รองชนะเลิศอันดับ 2
ความคิดสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม
Chord สถาบันเทคโนโลยีคานาซาวา รองชนะเลิศอันดับ 2
รางวัลจากกรรมการจัดการแข่งขัน
 ตุรกี ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยซาบันชิ TRT
(องค์กรการแพร่ภาพและกระจายเสียงในตุรกี)
 ไทย MEMI มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย รางวัลจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน
 เนปาล ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยตริภูวัน NTV
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศเนปาล)
 ปากีสถาน Nustians มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนานาชาติ PTV
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศปากีสถาน)
รางวัลจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน
 ฟิจิ Pacsea มหาวิทยาลัยแปซิฟิกทางใต้ FBC
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศฟิจิ)
ศิลปกรรมยอดเยี่ยม
 มองโกเลีย ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมองโกเลีย MRTV
(มองโกเลียวิทยุโทรทัศน์)
 มาเก๊า ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยมาเก๊า TDM
(สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งมาเก๊า)
 มาเลเซีย ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยสื่อผสม RTM
(สถานีโทรทัศน์ชาติมาเลเซีย)
 เวียดนาม TELEMATIC มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโฮจิมินซิตี้ VTV
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศเวียดนาม)
รางวัลชนะเลิศ
รางวัลจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน
 ศรีลังกา ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยโมราตุวา ITN
(เครือข่ายทีวีเสรี)
 สิงคโปร์ ไม่มีข้อมูล ยี่อ๋านโพลีเทคนิค มีเดียคอร์ป ทีวี
 ออสเตรเลีย ไม่มีข้อมูล มหาวิทยาลัยควีนสแลนด์ ABC
(องค์กรแพร่ภาพและกระจายเสียงออสเตรเลีย)
 อินเดีย ไม่มีข้อมูล สถาบันเทคโนโลยีเนอมา DDI
(ดอร์ดาชาน)
 อินโดนีเซีย ไม่มีข้อมูล สถาบันวิศวกรเทคโนโลยีสารพัดช่างซูราบายา TVRI
(สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศอินโดนีเซีย)
 อียิปต์ Dodo มหาวิทยาลัยอินชัม ERTV
(องค์กรความร่วมมือในการแพร่ภาพและกระจายเสียงในอียิปต์)
รางวัลจากผู้สนับสนุนการแข่งขัน

การแบ่งกลุ่ม แก้

กลุ่ม A กลุ่ม B กลุ่ม C กลุ่ม D กลุ่ม E กลุ่ม F กลุ่ม G
  คาซัคสถาน   USTC-Qiang Qiang   มาเลเซีย   TuT   ตุรกี   เกาหลีใต้   มาเก๊า
  เนปาล   MEMI   อินโดนีเซีย   TELEMATIC   Nustians   Chord   สิงคโปร์
  Pacsea   มองโกเลีย   ออสเตรเลีย   ศรีลังกา   อินเดีย   Dodo

ผลการแข่งขัน แก้

รอบแบ่งกลุ่ม แก้

ทีมที่ทำคะแนนได้มากที่สุดของแต่ละกลุ่ม รวมถึงทีมที่ทำคะแนนได้สูงที่สุดในกลุ่มทีมอันดับที่ 2 ของแต่ละกลุ่มจะได้เข้าสู่รอบต่อไป ซึ่งมีดังนี้

กลุ่ม A แก้

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
  Pacsea 2 2 0 9 6
  เนปาล 2 1 1 4 3
  คาซัคสถาน 2 0 2 -13 0
  Pacsea5-2  เนปาล

กลุ่ม B แก้

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
  USTC-Qiang Qiang 2 2 0 37 6
  MEMI 2 1 1 6 3
  มองโกเลีย 2 0 2 -26 0
  USTC-Qiang Qiang17-1  MEMI
  USTC-Qiang Qiang22-1  มองโกเลีย

กลุ่ม C แก้

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
  มาเลเซีย 2 2 0 14 + 1(R) 6
  อินโดนีเซีย 2 0 2 -14 - 1(R) 0

กลุ่ม D แก้

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
  TuT 2 2 0 22 6
  TELEMATIC 2 1 1 18 3
  ออสเตรเลีย 2 0 2 -39 0
  TuT7-4  TELEMATIC

กลุ่ม E แก้

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
  ตุรกี 2 2 0 6 6
  Nustians 2 1 1 -2 3
  ศรีลังกา 2 0 2 -4 0
  ตุรกี5-2  Nustians

กลุ่ม F แก้

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
  Chord 2 2 0 25 6
  อินเดีย 2 1 1 -13 3
  เกาหลีใต้ 2 0 2 -12 0

กลุ่ม G แก้

ทีม แข่ง ชนะ แพ้ ผลต่างคะแนน คะแนนในกลุ่ม
  มาเก๊า 2 2 0 8 6
  Dodo 2 1 1 4 3
  สิงคโปร์ 2 0 2 -12 0

กลุ่มทีมอันดับที่ 2 แก้

ทีม ผลต่างคะแนน
  TELEMATIC 18
  MEMI 6
  Dodo 4
  เนปาล 4
  Nustians -2
  อินเดีย -13
  อินโดนีเซีย -14 - 1(R)


รอบแพ้คัดออก แก้

รอบก่อนรองชนะเลิศ รอบรองชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศ
                   
       
    Pacsea  0
    USTC-Qiang Qiang  21  
    USTC-Qiang Qiang  18
        TuT  5  
    มาเลเซีย  2
    TuT  21  
    USTC-Qiang Qiang  13
   
      TELEMATIC  15
    ตุรกี  3
    Chord  10  
    Chord  11
        TELEMATIC  12  
    มาเก๊า  2
    TELEMATIC  15  
 


แหล่งข้อมูลอื่น แก้