ระบบแพร่สัญญาณเกาหลี

โฆษกสาธารณะของเกาหลีใต้
(เปลี่ยนทางจาก เคบีเอส)

ระบบแพร่สัญญาณเกาหลี (อังกฤษ: Korean Broadcasting System; KBS, เกาหลี: 한국방송공사, Hanguk Bangsong Gongsa) เป็นเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์ของเกาหลีใต้ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2470และเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในสี่สถานีชั้นนำของประเทศเกาหลีใต้

ระบบแพร่สัญญาณเกาหลี
Korean Broadcasting System (KBS)
한국방송공사
ตราสัญลักษณ์ที่ใช้ตั้งแต่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1984 (พ.ศ. 2527)
อาคารหลักของระบบแพร่สัญญาณเกาหลี
ประเทศ เกาหลีใต้
เครือข่ายสถานีวิทยุและ
โทรทัศน์
ประวัติ
เริ่มออกอากาศพ.ศ. 2470 (วิทยุ); พ.ศ. 2504 (โทรทัศน์); พ.ศ. 2539 (ระบบดาวเทียม); พ.ศ. 2541 (ดิจิทัล); พ.ศ. 2548 (DMB)
ลิงก์
เว็บไซต์www.kbs.co.kr
Korean name
ฮันกึล
한국방송공사
ฮันจา
อาร์อาร์Han-guk Bangsong Gongsa
เอ็มอาร์Han'guk Pangsong Kongsa

ประวัติ แก้

เคบีเอส เริ่มต้นก่อตั้งเป็น สถานีแพร่สัญญาณคยองซอง(เจโอดีเค) ซึ่งก่อตั้งโดยรัฐบาลของญี่ปุ่นในเกาหลี เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 นี่คือสถานีวิทยุแห่งที่สองที่เริ่มใช้รหัสที่ใช้อ้างถึงตัวผู้พูดในการสื่อสารทางวิทยุ HLKA ในปี พ.ศ. 2490 ภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐเกาหลี ก็ใช้สัญญาณว่า HL ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ภายหลังจากการทำการกระจายเสียงไปทั่วประเทศ สถานีวิทยุก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีแพร่สัญญาณกลางโซล เมื่อปี 2491 การออกอากาศทางโทรทัศน์ของ สถานีแพร่สัญญาณโซล ทีวี (เคบีเอส ทีวี) ได้เริ่มออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 สถานะของสถานีเคบีเอสจากที่เป็นของรัฐบาลเป็นองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2516 สำนักงานใหญ่ของเคบีเอสที่ยออิโด เริ่มทำการก่อสร้างในปี พ.ศ. 2519 ในปี พ.ศ. 2522 สถานีวิทยุเคบีออกเริ่มออกอากาศผ่านระบบคลื่นเอฟเอ็ม แตกต่างจากองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพที่อื่นซึ่งไม่มีการรับโฆษณา นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมทางโทรทัศน์ รายได้ของช่องเคบีเอสก็มาจากการโฆษณา โดยเคบีเอสเริ่มรับโฆษณาตั้งแต่ปี 2523 จากการรวบรวมสถานีกระจายเสียงเอกชนซึ่งมีขนาดเล็กกว่าจากความอิสระในการตัดสินใจของรัฐบาล ชอน ดูฮวาน จากการยับยั้งเสรีภาพในการสื่อสาร ภายหลังจากการยุบรวมกับบริษัทกระจายเสียงทงยัง (ทีบีซี) ซึ่งส่วนหนึ่งในปัจจุบันเป็น เจทีบีซี และ ระบบแพร่สัญญาณดง-เอ (ดีบีเอส) เคบีเอสได้ปล่อย เคบีเอส เรดิโอ 2 (เอเอ็ม/เอฟเอ็ม) และสถานีโทรทัศน์ เคบีเอส ทีวี 2 ในปี พ.ศ. 2523 เช่นเดียวกับ เคบีเอสทีวี 3 และ เอฟเอ็มเพื่อการศึกษา ในปี พ.ศ. 2524 ในวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2523 เคบีเอส ทีวี 3 และเอฟเอ็มเพื่อการศึกษาได้แยกออกจาก เคบีเอส ไปในชื่อที่ว่า ระบบแพร่สัญญาณเพื่อการศึกษา (อีบีเอส) ภายหลังจากการปรับปรุงใหม่เป็นระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในปี พ.ศ. 2537 ช่อง เคบีเอส 1 ก็ไม่มีการแสดงโฆษณาอีก

โครงสร้าง แก้

เคบีเอสเป็น 'สื่อสาธารณะ' โดยกฎหมายจะได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้แต่รัฐบาลไม่สามารถควบคุมได้ โดยดำเนินการเป็นอิสระ ดังเช่นที่กล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้ โดยประธานของเคบีเอสจะได้รับการแนะนำโดยบอร์ดบริหารเสนอให้แก่ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ พรรคการเมืองในเกาหลีใต้มีสิทธิที่จะมีชื่อเป็นสมาชิกบอร์ดบริหารของช่องเคบีเอส ตั้งแต่ประธานาธิบดีเกาหลีใต้โดยปกติมีอำนาจเหนือสมาชิกของพรรคการเมือง โดยประธานของเคบีเอสนั้นจะถูกพิจารณาและถูกกำหนดโดยประธานาธิบดีเกาหลีใต้ นี่คือขั้นตอนที่ทำให้เกิดความกังวลในการเข้าแทรกแซงทางการเมืองในการบริหารจัดการเคบีเอส และนำไปสู่ความคิดที่หลากหลายในระบบปัจจุบันว่าควรที่จะมีการปรับปรุงใหม่

ประมาณ 37.8% ของรายได้มาจากการเก็บค่าธรรมเนียม ขณะที่ 47.6% มาจากการขายเวลาโฆษณา[1] สำหรับรายการระดับชาติหรือของรัฐบาล อย่างเช่น บริการวิทยุนานาชาติ (เคบีเอส เวิร์ด เรดิโอ)และบริการทางวิทยุสำหรับผู้พิการ โดยเคบีเอสได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเกาหลีใต้

ช่องรายการต่าง ๆ แก้

โทรทัศน์ภาคพื้นดิน แก้

  • เคบีเอส 1ทีวี ข่าว, สถานการณ์ปัจจุบัน, การศึกษา, กีฬาและวัฒนธรรม เริ่มออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ด้วยสัญญาณ HLKA-TV โดยช่องเคบีเอส 1 ทีวีเป็นเพียงช่องเดียวที่ใช้ระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมและไม่มีโฆษณา การออกอากาศภาคพื้นดินทั้งประเทศในช่อง 1 นี้มีทั้งสัญญาณแบบระบบแอนะล็อกและระบบดิจิทัล คล้ายกับช่องบีบีซีวันและช่องเนเธอร์แลนด์ 1 ช่องเคบีเอส 1ทีวี ยังฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับข้อมูลสาธารณะที่ทำโดยเคบีเอส และรายการบันเทิง ส่วนรายการนอกเหนือจากนี้จะออกอากาศทางช่อง เคบีเอส 2ทีวี
  • เคบีเอส 2ทีวี ออกอากาศรายการบันเทิงและซีรีส์เท่านั้น เริ่มออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ซึ่งออกอากาศแทน บริษัทกระจายเสียงทงยัง ซึ่งปิดกิจการไป ไม่ใช่แทนที่สถานี ทีบีซี-ทีวี (ต่อมาได้รวมเข้ากับ เอสบีเอส ที่แทกู เกาหลีใต้) อย่างที่เข้าใจกัน นี่เป็นสถานีออกอากาศภาคพื้นดินช่องที่ 2 คล้ายกับช่องบีบีซี ทู และช่อง เนเธอร์แลนด์ 2

เคเบิลและโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม (เคบีเอส เอ็น) แก้

  • เคบีเอส ไพร์ม - วัฒนธรรมและซีรีส์ ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ทาง KBS satellite 2 และเปลี่ยนชื่อเป็น เคบีเอส เกาหลีเมื่อปี พ.ศ. 2545
  • เคบีเอส ดราม่า - ชื่อเดิม เคบีเอส สกาย ดราม่า ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545
  • เคบีเอส เอ็น สปอร์ต - ชื่อเดิม เคบีเอส สปอร์ต/เคบีเอส สกาย สปอร์ต ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เช่นกัน
  • เคบีเอส จอย - เป็นช่องรายการตลกและเกมส์โชว์ ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549

นี่เป็นสี่ช่องที่ดำเนินการโดยระบบเคเบิลและดาวเทียมโดยผู้ประกอบการในเกาหลีใต้ มีผู้ประกอบการเคเบิลในประเทศเกาหลีใต้มากกว่า 100 ราย และสกายไลฟ์เป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์ดาวเทียมแต่เพียงผู้เดียว ทั้งสี่ช่องนี้ดำเนินการโดยเคบีเอส เอ็น ซึ่งเป็นบริษัทลูกของเคบีเอส

วิทยุ แก้

  • เคบีเอส เรดิโอ 1 (711KHz AM) (97.3MHz FM) (เอเอ็ม/เอฟเอ็ม)) ข่าว, สถานการณ์ปัจจุบัน, สารคดีและวัฒนธรรม ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2470 ในนาม บริษัทกระจายเสียงคยองซอง หรือ เจโอดีเค และเปลี่ยนชื่อเป็น เคบีเอส เรดิโอ​ 1 ในปี 2508
  • เคบีเอส เรดิโอ 2 (เอเอ็ม/เอฟเอ็ม) รายการบันเทิง ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 ด้วยสัญญาณ HLKA
  • เคบีเอส เรดิโอ 3 (เอเอ็ม/เอฟเอ็ม) ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 ในชื่อ อาร์เอสบี (สถานีวิทยุกระจายเสียงโซล) และเปลี่ยนชื่อเป็น ทีบีซี เรดิโอ ในคริสศตวรรษที่ 70 และเปลี่ยนมาใช้ชื่อที่ใช้อยู่ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2523 และยุติการออกอากาศในปี พ.ศ. 2524 และต่อมาแทนที่ด้วยวิทยุภูมิภาค ของเคบีเอส เรดิโอ 2 และ วิทยุเพื่อการศึกษา (ปัจจุบัน อีบีเอส เอฟเอ็ม) ต่อมาได้กลับมาออกอากาศใหม่ในปี พ.ศ. 2543 ด้วยการแยกออกจาก เคบีเอส เรดิโอ 2 และได้ออกอากาศในระบบเอฟเอ็มเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2553
  • เคบีเอส 1 เอฟเอ็ม (93.1MHz Classic FM) เพลงคลาสสิกและเพลงพื้นบ้าน ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ในชื่อ เคบีเอส-เอฟเอ็ม
  • เคบีเอส 2 เอฟเอ็ม (89.1 MHz Cool FM) ออกอากาศเพลงดนตรีสมัยนิยม ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 ในชื่อ ทีบีซี-เอฟเอ็ม
  • เคบีเอส ฮัน มินจก เรดิโอ (1170KHz AM) (วิทยุคลื่นสั้น และคลื่นวิทยุขนาดปานกลาง) ออกอากาศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518
  • เคบีเอส เวิร์ด เรดิโอ บริการวิทยุระดับนานาชาติ

อ้างอิง แก้