ช็อน ดู-ฮวัน

อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้
(เปลี่ยนทางจาก ชอน ดูฮวาน)

พลเอก ช็อน ดู-ฮวัน (อักษรโรมัน: Chun Doo-hwan; 18 มกราคม พ.ศ. 2474 – 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564) คืออดีตนักการเมืองและนายทหารประจำกองทัพสาธารณรัฐเกาหลี เป็นอดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้ระหว่าง พ.ศ. 2523 - 2531

ช็อน ดู-ฮวัน
전두환
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 5
ดำรงตำแหน่ง
1 กันยายน พ.ศ. 2523 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531
ก่อนหน้าชเว กยู-ฮา
ถัดไปโน แท-อู
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด18 มกราคม พ.ศ. 2474
Naecheon-ri, Yulgok-myeon, ฮับช็อน เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
(ปัจจุบันคือฮับช็อน จังหวัดคย็องซังใต้ ประเทศเกาหลีใต้)
เสียชีวิต23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 (90 ปี)[1]
ศาสนาพุทธ (เดิมนับถือโรมันคาทอลิก)
พรรคการเมืองสาธารณรัฐประชาธิปไตย
คู่สมรสอี ซุน-จา (2501–2564)
ลายมือชื่อ
ช็อน ดู-ฮวัน
ฮันกึล
전두환
ฮันจา
อาร์อาร์Jeon Duhwan
เอ็มอาร์Chŏn Tuhwan
นามปากกา
ฮันกึล
일해
ฮันจา
อาร์อาร์Ilhae
เอ็มอาร์Irhae

ชอนได้ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2539 เนื่องจากการจัดการกับผู้ชุมนุมในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจูอย่างเข้มงวดและรุนแรงเกินเหตุ แต่ในเวลาต่อมาได้รับอภัยโทษจากประธานาธิบดีคิม ย็อง-ซัมด้วยคำแนะนำของประธานาธิบดีคนต่อมาคิม แด-จุง ซึ่งเคยถูกช็อน ดู-ฮวันตัดสินประหารชีวิตเมื่อ 20 ปีก่อน

ชีวิตในช่วงเริ่มแรก

แก้

ช็อน ดู-ฮวันเกิดเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2474 ที่ยูลกอกมยอง ในหมู่บ้านเกษตรกรที่ยากจนในเมืองฮับชอน จังหวัดคยองซานใต้ ระหว่างการยึดครองเกาหลีของจักรวรรดิญี่ปุ่น ชอนเป็นบุตรชายคนที่สี่ของ ชอน ซางอูและคิม จองมุน[2] ชอนมีพี่ชาย 2 คน คือ ยอลฮวาน และ คยูกอน ซึ่งเสียชีวิตจากอุบัติเหตุตั้งแต่ยังเป็นทารก ฉะนั้นเมื่อเติบโตขึ้นชอนจึงยังรู้จักและสนิทกับพี่ชายคือ กิฮวาน และ น้องชายคยองฮวาน

ประมาณ พ.ศ. 2479 ครอบครัวของชอนย้ายไปยัง แดกู ที่ชอนได้เริ่มเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาโฮรัน พ่อของชอนเคยทะเลาะกับตำรวจของญี่ปุ่น (เก็มเปไต) และพ่อของเขาได้ฆาตกรรมกัปตันของตำรวจญี่ปุ่นในฤดูหนาว พ.ศ. 2482[2] ทำให้ครอบครัวของเขาต้องหลบหนีไปยังมณฑลจี๋หลิน ประเทศจีน เป็นเวลา 2 ปีจึงได้กลับเกาหลี ซึ่งทำให้เขาได้หยุดเรียนหนังสือไป 2-3 ปี

ใน พ.ศ. 2490 ช็อน ดู-ฮวันได้เข้าเรียนโรงเรียนมัธยมต้นอาชีวศึกษาแดกู ซึ่งห่างจากบ้านของเขาถึง 25 กิโลเมตร[2]และเขาได้ย้ายไปยังโรงเรียนมัธยมปลายอาชีวะศึกษาแดกู ได้รับยกเว้นผลการเรียนเมื่อสงครามเกาหลีปะทุขึ้น

ประวัติการรับราชการทหาร

แก้

ภายหลังสำเร็จการศึกษาจากชั้นมัธยมปลายใน พ.ศ. 2494 ช็อน ดู-ฮวัน ได้เข้าไปในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงคือ โรงเรียนนายร้อยทหารบกเกาหลี (Korea Military Academy) ซึ่งเป็นสถานที่ที่เขาได้ผูกมิตรไว้กับหลายคนระหว่างนักเรียนด้วยกัน ซึ่งต่อมาจะมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เขาทำการยึดอำนาจในอีกหลายปีต่อมา เขาสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2498 และได้รับการแต่งตั้งยศร้อยตรี โดยสำเสร็จการศึกษาในรุ่น 11[3]

ในขณะที่ชอน มียศร้อยเอก เขาได้เป็นผู้นำการชุมนุมที่โรงเรียนกองทัพบกเกาหลีระหว่างการรัฐประหารวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 เพื่อสนับสนุนพัก จองฮี ในการขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี ต่อมาเขาถูกแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการสภาสูงสุดเพื่อการฟื้นฟูบูรณะประเทศชาติ[3] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ขึ้นโดยตรงกับประธานาธิบดีพัก และชอนได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพันตรีอย่างรวดเร็วใน พ.ศ. 2505 ซึ่งเขายังได้สร้างฐานอำนาจให้กับเพื่อนและคนรู้จักอย่างต่อเนื่อง และชอนยังได้รับการแต่งตั้งเป็นรองผู้บัญชาการหน่วยปฏิบัติการพิเศษกองบัญชาการและต่อมาก็ได้กลับมาดำรงตำแหน่งที่สภาสูงสุดเพื่อการฟื้นฟูบูรณะประเทศชาติในตำแหน่งผู้บัญชาการฝ่ายกิจการพลเรือน ใน พ.ศ. 2506 ชอนได้รับตำแหน่งในองค์การประมวลข่าวกรองเกาหลีใต้ ในตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล ใน พ.ศ. 2512 เขาก็ได้เป็นที่ปรึกษาเสนาธิการทหาร

ใน พ.ศ. 2513 ชอนได้รับการเลื่อนขั้นเป็นพันเอก เขาได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการประจำกรมทหารที่ 29 กองทหารราบที่ 9 และมีส่วนร่วมในสงครามเวียดนาม ภายหลังได้กลับมายังเกาหลีใต้ใน พ.ศ. 2514 เขาได้รับตำแหน่งผู้บัญชาการกองกำลังพิเศษกองพลน้อยที่ 1 (กองขนส่งทางอากาศ) และต่อมาได้เลื่อนขั้นเป็นนายพลระดับ 1 (1성 장군) และใน พ.ศ. 2519 ได้รับตำแหน่งรองผู้บัญชาการหน่วยงานความมั่นคงสำนักประธานาธิบดี และได้รับการเลื่อนขึ้นเป็นนายพลระดับ 2 (2성 장군) ใช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง และใน พ.ศ. 2521 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองทหารราบที่ 1[3]

และใน พ.ศ. 2522 ชอนได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการในกองบัญชาการรักษาความมั่นคง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สูงที่สุดของเขาในขณะนั้น

ขึ้นสู่อำนาจ

แก้

ฮานาเฮว

แก้

ชอนจัดตั้งกลุ่มฮานาเฮว ซึ่งเป็นชมรมลับของเหล่าทหาร ตั้งขึ้นไม่นานหลังจากที่เขาได้รับตำแหน่งนายพล สมาชิกกลุ่มส่วนมากอยู่ในรุ่น 11 ของโรงเรียนนายร้อยทหารบกเกาหลี,เพื่อนกลุ่มอื่นๆและผู้สนับสนุนของเขา

เหตุการณ์การสังหารประธานาธิบดี พัก จองฮี

แก้

ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2522 ประธานาธิบดีพัก จองฮีถูกลอบสังหารโดย คิม เจคยู ผู้อำนายการสำนักข่าวกรองกลางเกาหลี ในขณะที่อยู่ในงานเลี้ยงอาหารค่ำ คิมได้เชิญนายพล จอง เซิงฮวา เสนาธิการทหารบก และ คิม จองโซบ รองผู้อำนวยการข่าวกรองกลางเกาหลี มารับประทานอาหารค่ำอย่างลับๆในห้องอื่นเช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่า จอง เซิงฮวา จะปฏิเสธว่าไม่ได้ปรากฏตัวและมีส่วนข้องกับการสังหารประธานาธิบดีพัก แต่ความเกี่ยวข้องของเขาก็เป็นข้อพิสูจน์ว่ามีความสำคัญอย่างมากในเวลาต่อมา ในชั่วโมงแห่งความโกลาหล คิม เจคยูก็ไม่ได้ถูกจับเป็นเวลาหลายชั่วโมง เพราะรายละเอียดในขั้นต้นยังไม่ชัดแจ้ง

เมื่อผ่านชั่วเวลาแห่งความสับสน ในกระบวนการตามรัฐธรรมนูญเรื่องผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี เช กิวฮา ขึ้นรักษาการในตำแหน่งประธานาธิบดี ไม่นานหลังจากนั้น นายพลจอง ซึงฮวาภายใต้ชื่อกองบัญชาการรักษาความมั่นคงของชอนได้มุ่งทำการสืบสวนการฆาตกรรมที่เกิดขึ้น ชอนได้มีคำสั่งอย่างทันทีให้ผู้ใต้บังคับบัญชาร่างแผนที่จะให้มีอำนาจเต็มใน "กองบัญชาการการสืบสวนร่วม"[4]

วันที่ 27 ตุลาคม ชอนจัดประชุมที่กองบัญชาการของเขา ได้เชิญบุคคลสำคัญ 4 คนซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของหน่วยข่าวกรองทั่วประเทศได้แก่ รองผู้บัญชาการฝ่ายต่างประเทศสำนักงานข่าวกรองกลาง,รองผู้บัญชาการฝ่ายกิจการภายในสำนักข่าวกรองกลาง,อัยการสูงสุดและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ[4] ชอนให้แต่ละคนค้นหาข้อมูลที่ประตูที่เขาเข้ามา ก่อนที่จะให้พวกเขานั่งและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตายของประธานาธิบดี ชอนประกาศว่าหน่วยข่าวกรองกลางต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ให้เหตุการณ์การสังหารประธานาธิบดี เพราะฉะนั้นจึงต้องสอบสวนเหตุการณ์นี้ ชอนประกาศว่าจะไม่ให้หน่วยงานข่าวกรองกลางมีอำนาจบริหารงบประมาณเป็นของตัวเองอีกต่อไป

สำหรับหน่วยข่าวกรองกลาง "ในการดำเนินการที่มีความอิสระในการตัดสินใจในงบประมาณของพวกเขาเป็นสิ่งที่ไม่สามารถที่จะยอมรับได้ เพราะฉะนั้น พวกเขาสามารถดำเนินการในหน้าที่ของพวกเขาที่ได้รับมอบอำนาจจากกองบัญชาการการสืบสวนร่วมเท่านั้น"

— ช็อน ดู-ฮวัน, ผู้บัญชาการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคง และ กองบัญชาการการสืบสวนร่วม , 27 ตุลาคม 2522

ชอนยังได้มีคำสั่งต่อจากนั้นให้หน่วยข่าวกรองทุกหน่วยรายงานไปยังสำนักงานของเขาทุกวันเวลา 08.00 น. และเวลา 17.00 น. ทุกวัน ดังนั้นชอนจึงสามารถตัดสินใจว่าข้อมูลอะไรที่ทำให้เขาสามารถบัญชาการได้มากขึ้น ในอีกก้าวหนึ่ง ชอนได้ควบคุมหน่วยงานข่าวกรองทุกหน่วยทั่วทั้งประเทศ และชอนได้ตั้งรองผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองด้านต่างประเทศให้ดูแลรับผิดชอบกิจการของหน่วยข่าวกรองกลางในแต่ละวัน

พันตรี พัก จุนกวาง ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของชอนในเวลานั้นได้วิจารณ์ว่า

"ชอนอยู่ต่อหน้าองค์กรที่ทรงอำนาจมากที่สุดภายใต้ประธานาธิบดีพัก จองฮี เป็นที่น่าประหลาดใจว่าชอนสามารถควบคุมหน่วยงานต่างๆได้ และใช้ความสามารถของเขาทำให้เขาได้รับประโยชน์จากสถานการณ์นั้น และในขณะนั้นดูเหมือนว่าเขาจะมีอำนาจที่โตขึ้นอย่างมาก"

— พัก จุงกวาง, ขณะที่อยู่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคง และ กองบัญชาการการสืบสวนร่วม

รัฐประหาร 12 ธันวาคม

แก้

ในเดือนธันวาคม ช็อน ดู-ฮวันพร้อมกับโนห์ แทวู,จอง โฮยอง,ยู ฮักซอง,ฮโย ซัมซูและเพื่อนร่วมรุ่น 11 ของโรงเรียนนายร้อยทหารบก โดยอาศัยความได้เปรียบจากสถานการณ์การเมืองที่บอบบางและการเติบโตขึ้นของกลุ่มฮานาเฮว การได้ตัวผู้บัญชาการคนสำคัญและการล้มล้างกลุ่มองค์กรของหน่วยข่าวกรองของชาติ

ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ชอนออกคำสั่งโดยไม่ได้รับมอบอำนาจจากประธานาธิบดี ชเว คยูฮา โดยการออกคำสั่งโดยมิชอบให้จับกุมตัวผู้บัญชาการทหารบก จอง ซึงฮวาในฐานสมคบคิดกับคิม เจคยูสังหารประธานาธิบดี ระหว่างการจับกุมมีการปะทะกันเกิดขึ้น พันตรี คิม โอราง ที่ปรึกษาของนายพลจอง ได้เสียชีวิตระหว่างการปะทะ

การรวมอำนาจ

แก้

ต้นปี พ.ศ. 2523 ชอนได้รับการเลื่อนยศเป็น พลโท และเขาได้เริ่มเข้ามาสนใจในตำแหน่งรักษาการผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาง ในวันที่ 14 เมษายน ชอนได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหน่วยข่าวกรองกลาง

ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจู และ การใช้กำลังทหารเข้าแทรกแซง

แก้

วันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2523 ชอนได้ทำการขยายเขตการใช้กฎอัยการศึกไปทั่วประเทศ โดยกล่าวหาว่ามีข่าวลือว่าเกาหลีเหนือจะแทรกซึมเข้าสู่เกาหลีใต้ เพื่อบังคับใช้กฎอัยการศึก กำลังทหารจะถูกส่งไปยังหลายๆส่วนของประเทศ สำนักงานหน่วยข่าวกรองกลางซึ่งจัดการข่าวลือเหล่านี้ภายใต้คำสั่งของชอน นายพลวิกแฮม (กองทัพอเมริกันที่ประจำการในเกาหลี) รายงานว่า การมองโลกในแง่ร้ายของชอนในการประเมินสถานการณ์ภายในประเทศและความตึงเครียดของเขาในเรื่องการคุกคามของเกาหลีเหนือดูเหมือนจะเป็นข้ออ้างในการเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี[5] การขยายกฎอัยการศึกในการปิดมหาวิทยาลัย ห้ามการเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง การเพิ่มข้อจำกัดกับฝูงชน เหตุการณ์ในวันที่ 17 พฤษภาคมจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้อำนาจเผด็จการทหาร

ชาวเมืองหลายคนมีความไม่พอใจเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการที่กองกำลังทหารมาตั้งอยู่ในเมือง ในวันที่ 18 พฤษภาคม ประชาชนเมืองกวางจูได้จัดการเคลื่อนไหวซึ่งได้เป็นที่รู้จักกันในเหตุการณ์ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจู ชอนมีคำสั่งให้หยุดยั้งเหตุการณ์นี้และได้ส่งกองกำลังทหารเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในเมือง และนำไปสู่การฆาตกรรมหมู่ตลอดระยะเวลาสองวัน ท้ายที่สุดก็นำไปสู่การล่มสลายของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยและความตายของนักเคลื่อนไหวในเมืองกวางจูนับร้อยคน

เส้นทางสู่ประธานาธิบดี

แก้

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2523 ชอนมีคำสั่งยุบสภาแห่งชาติ ลำดับต่อมาได้ก่อตั้งคณะกรรมการนโยบายป้องกันชาติฉุกเฉินขึ้น และตั้งตัวเองเป็นหนึ่งในคณะกรรมการนั้น ในวันที่ 17 กรกฎาคม ชอนลาออกจากตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง และก็ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการในคณะกรรมการที่ตนตั้งขึ้นเท่านั้น

วันที่ 5 สิงหาคม ชอนได้เลื่อนยศเป็นนายพลผู้มีอำนาจเต็ม ในวันที่ 22 สิงหาคม ชอนได้รับอนุญาตให้กลับจากหน้าที่สู่ทหารกองหนุน

สาธารณรัฐเกาหลีที่ 5

แก้

ประธานาธิบดีวาระที่ 11 ของเกาหลีใต้ (2523-2524)

แก้

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2523 ประธานาธิบดี เช กิวฮา ประกาศว่าจะลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี และในวันที่ 27 สิงหาคม สภาแห่งชาติเพื่อการรวมประเทศ ในขณะนั้นถูกควบคุมโดยคณะผู้เลือกตั้งแห่งเกาหลีใต้ ได้ลงคะแนนเลือกนายชอนเป็นประธานาธิบดี ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม เพราะนายชอนเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเพียงคนเดียว เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2523 เป็นประธานาธิบดีวาระที่ 11 ของสาธารณรัฐเกาหลี

วันที่ 17 ตุลาคม ชอนได้ใช้อำนาจสั่งการยุบพรรคการเมืองทุกพรรค รวมถึง "พรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตย" ซึ่งได้จัดไว้เป็นฐานอำนาจของ พัก จองฮี ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอยู่ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2524 ชอนได้ร่างพรรคการเมืองของตนขึ้นมาคือ พรรคยุติธรรมประชาธิปไตย (ดีเจพี) อย่างไรก็ตาม ความตั้งใจและเจตนาทั้งหมดก็คงเป็นพรรคสาธารณรัฐประชาธิปไตยแต่อยู่ในชื่ออื่นเท่านั้น ภายหลังจากนั้นไม่นาน ชอนได้รับเอารัฐธรรมนูญใหม่ ขณะที่ยังมีความเป็นเผด็จการน้อยกว่ารัฐธรรมนูญยูซินของพัก ซึ่งยังคงให้อำนาจในการเข้าสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างยุติธรรม ชอนเลือกตั้งประธานาธิบดีซึ่งเป็นสิทธิของเขา และกลายเป็นประธานาธิบดีวาระที่ 12 ของสาธารณรัฐเกาหลี

"บันทึกข้อความเกี่ยวกับขีปนาวุธ"

แก้

ใน พ.ศ. 2523 ในขณะที่เผชิญความตึงเครียดกับสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมทาวทหารของชอน ประธานาธิบดีชอนได้ออกบันทึกข้อความว่าประเทศเกาหลีใต้จะไม่พัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลเกินกว่า 180 กิโลเมตรหรือความสามารถของหัวรบที่หนักกว่า 453 กิโลกรัม ภายหลังจากได้รับคำสัญญานั้น รัฐบาลของโรนัลด์ เรแกน ก็ได้ให้การรับรองรัฐบาลทหารของชอน

ในปลายทศวรรษที่ 90 เกาหลีใต้และสหรัฐอเมริกาได้คุยกับในเรื่องบันทึกข้อความเกี่ยวกับขีปนาวุธ แทนที่จะทำให้บันทึกข้อความนี้สมบูรณ์อย่างเต็มที่ ทั้งสองประเทศได้ตกลงอนุญาตขยายให้พัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลได้ 300 กิโลเมตร และมีความสามารถของหัวรบ 500 กิโลกรัม ข้อสัญญานี้จะมีผลในปี พ.ศ. 2544 ภายใต้ชื่อระบบควบคุมเทคโนโลยีขีปนาวุธ

ประธานาธิบดีวาระที่ 12 ของเกาหลีใต้ (2524-2531)

แก้
 
ประธานาธิบดี ช็อน ดู-ฮวัน เข้าฟังการสรุปของกองทัพในปี พ.ศ. 2528

ภายหลังจากได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 12 ของสาธารณรัฐเกาหลีในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ชอนได้ปฏิเสธความเป็นประธานาธิบดีของพัก จองฮี ถึงแม้ว่าจะเสี่ยงต่อการโจมตีจากการอ้างอิงจากเรื่องการปฏิวัติเดือนเมษายนของพักที่อยู่ในรัฐธรรมนูญ ชอนประกาศว่าจะฟื้นฟูความยุติธรรมกลับมาสู่รัฐบาลก็กำจัดความฉ้อฉลและการฉ้อราษฎร์บังหลวงของประธานาธิบดีพัก จองฮี[6] เป็นการเริ่มต้นด้วยการล้มล้างเป็นการฝึกฝนที่จะเป็นประธานาธิบดีมากกว่าหนึ่งสมัย และขยายสมัยของประธานาธิบดีเป็นเจ็ดปี ชอนได้สรุปส่วนสำคัญว่าเป้าหมายของเขาคือโปรแกรมช่วยเหลือสวัสดิการสังคม,ตรึงราคาสินค้า,กำจัดอาชญากร,พัฒนาเศรษฐกิจ,ประสบความสำเร็จในการจัดงานโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1988 ที่เกาหลีจะเป็นเจ้าภาพ,และภาพรวมการค้าระหว่างประเทศเป็นไปได้ด้วยดี

ชอนบริหารประเทศแบบเผด็จการ อย่างไรก็ตาม เขาก็มีอำนาจน้อยเมื่อเทียบกับพัก สมัยพักเป็นประธานาธิบดี ในการใช้อำนาจในหลายๆส่วนของชอนค่อนข้างจะอ่อนแอ

แผนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

แก้

ทฤษฎีที่ว่าประธานาธิบดีชอนพยายามที่จะพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงทศวรรษที่ 1980 และได้ล้มเลิกโครงการไปตามคำกล่าวอ้างของสหรัฐอเมริกา

รัฐบาลของชอนไม่ได้มีอิทธิพลทางการเมืองที่สำคัญเหมือนอย่างในสมัยที่พักเป็นประธานาธิบดี รัฐบาลของเขาไม่อาจละเลยความต้องการของสหรัฐอเมริกา และเขาไม่มีทางเลือกจึงต้องยุติการพัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์[7][8] ชอนกังวลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้และอเมริกา ซึ่งอาจนำมาซึ่งจุดจบอย่างสำคัญของอำนาจเผด็จการอย่างยาวนานของพัก จองฮี และชุนอยากได้การรับรองอย่างถูกต้องของรัฐบาลของเขาตามกฎหมายจากสหรัฐอเมริกา

การปฏิรูปการเมือง

แก้

ภายหลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ชอนจำกัดการติวนอกโรงเรียนและห้ามการสอนตัวต่อตัวหรือการติวแบบตัวต่อตัว

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2523 ชอนได้ยกเลิก กฎหมายที่กำหนดความผิดของการรวมกลุ่มสมาคม

ใน พ.ศ. 2524 ชอนได้ออกกฎหมาย "แคร์แอนคัสทูดี" (Care and Custody) ชอนเชื่อว่า อาชญากรที่พึ่งพ้นจากคุกมาจะไม่กระทำผิดซ้ำอีกทันทีที่กลับเข้าสู่สังคม

ในฤดูหนาวปี พ.ศ. 2527 ก่อนที่ชอนจะประกาศหยุดพักการชำระหนี้ของเกาหลีใต้ ชอนได้ไปเยือนญี่ปุ่นและขอกู้ยืมเงินหกพันล้านดอลลาร์สหรัฐ

จากการรัฐประหารยึดอำนาจและการปะทะหน้ากับกลุ่มผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยทั่วประเทศ การเมืองภาคพลเมืองมีความต้องการที่จะไม่ใส่ใจ และในวิถีทางนโยบาย 3เอสคือ เอส-เซ้กส์,เอส-สกรีนและเอส-สปอร์ต นั่นผ่านความเห็นชอบ บนพื้นฐานในทางที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ของนักกิจกรรมชาวญี่ปุ่น เซจิมะ เรียวโจ โดยชอนพยายามที่จะดึงดูดประชาชนเพื่อที่จะเป็นการรับประกันว่าการเตรียมการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนใน พ.ศ. 2531 จะประสบความสำเร็จ ชอนได้ออกกฎหมายหลายตัวอย่างรวดเร็วเพื่อทำสิ่งนี้ให้เสร็จสิ้น เช่น ร่างลีกเบสบอล,ฟุตบอลอาชีพ,เริ่มถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์สีให้ครอบคลุมทั่วประเทศบรรเทาการเซ็นเซอร์ที่อยู่ในภาพยนตร์และละคร,สร้างเครื่องแบบนักเรียนและอื่นๆ

ใน พ.ศ. 2524 ชอนได้จัดการเทศกาล "โคเรียน บรีซ" อย่างยิ่งใหญ่ แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจจากรประชาชน

ความพยายามลอบสังหาร

แก้

ความพยายามลอบสังการเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2526 โดยสายลับชาวเกาหลีเหนือ ระหว่างชอนไปเยือนพม่า ระเบิดในครั้งนั้นได้ทำให้ผู้ติดตามของชอน 17 คน รวมถึงคณะรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ชาวพม่า 4 คน[9]

นโยบายด้านต่างประเทศ

แก้

ช็อน ดู-ฮวันเป็นประธานาธิบดีในช่วงที่สงครามเย็นถึงจุดสูงสุด และนโยบายทางด้านการต่างประเทศของเขาทำให้มีการยุติกับประเทศคอมมิวนิสต์ไปรอบบริเวณ ไม่เพียงจากเกาหลีเหนือ อีกด้วย หลังจากนั้นเริ่มสถาปนาทางการทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน

ความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา

แก้

สหรัฐอเมริกาได้กดดันให้เกาหลีใต้ยุติแผนการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์

ความสัมพันธ์กับญี่ปุ่น

แก้

หนังสือพิมพ์ของญี่ปุ่นได้รายงานอย่างกว้างขวางว่าชอนเป็นผู้นำโดยพฤตินัย ของประเทศหนึ่งเดือนก่อนที่เขาจะเคลื่อนไหวสู่การเป็นประธานาธิบดี

ความสัมพันธ์กับเกาหลีเหนือ

แก้

ใน พ.ศ. 2525 ชอนได้ประกาศ "โครงการการรวมชาติอย่างสันติของประชาชนชาวเกาหลี" แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากเกาหลีเหนือว่าโครงการนี้ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นได้

ความสัมพันธ์กับฟิลิปปินส์

แก้

จาก พ.ศ. 2529 ถึง 2531 ชอนและประธานาธิบดีคอราซอน อากีโนของฟิลิปปินส์ ได้พูดคุยกันระหว่างสองประเทศเพื่อที่จะสร้างเศรษฐกิจของประเทศฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ให้แข็งแกร่งขึ้น รวมทั้งทางด้านสังคมและความสัมพันธ์ที่ดีของทั้งสองประเทศ

การสิ้นสุดสาธารณรัฐที่ 5

แก้

โน ชินยอง

แก้

จากจุดเริ่มต้นในการเป็นประธานาธิบดีของชอนได้จัดเตรียมการให้ โน ชินยองเป็นผู้สืบทอดอำนาจของเขา ใน พ.ศ. 2523 ขณะที่เป็นเอกอัครราชทูตประจำอยู่ที่เจเนวา โนชินยองได้ถูกเรียกกลับ และได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมาใน พ.ศ. 2525 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ และใน พ.ศ. 2528 ก็ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เมื่อเรื่องนี้เป็นที่แพร่หลาย ผู้สนับสนุนชอนได้ทำการวิจารณ์อย่างหนักเกี่ยวกับการเลือกผู้สืบทอดอำนาจ ผู้สนับสนุนส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้มีส่วนกับกองทัพ ซึ่งเชื่อว่าผู้สืบทอดอำนาจของชอนก็ต้องมาจากกองทัพเช่นเดียวกัน ไม่ใช่มาจากตำแหน่งทางการเมือง และในที่สุดแล้วชอนก็ได้ทำให้กระจ่างโดยการเปลี่ยนตำแหน่งของโน ไม่ให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจของเขา

ถนนสู่ประชาธิปไตย

แก้

รัฐธรรมนูญปี 2524 ได้กำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นได้หนึ่งสมัย สมัยละ 7 ปี ในขณะที่ชอนไม่พยายามที่ปรับปรุงให้ดีขึ้น ดังนั้นชอนสามารถที่จะกลับมาทำงานได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2530 ทำให้เขามีข้ออ้างในการต่อต้านประชาธิปไตย

ในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2530 ชอนได้กล่าวสุนทรพจน์ "การปกป้องรัฐธรรมนูญ" เขาประกาศว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เขาสามารถที่จะจัดการกับอำนาจเหนือกองทัพที่สนับสนุนเขาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 บนพื้นฐานของการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยทางอ้อมคล้ายกับการเลือกตั้งของชอนเมื่อ 7 ปีที่ผ่านมา คำประกาศดังกล่าวทำให้ผู้รักประชาธิปไตยในเกาหลีใต้โกรธแค้น และในการทำเรื่องอื้อฉาวหลายเรื่องที่กระทำร่วมกันของรัฐบาลชอนในปีนั้น ทำให้ผู้ประท้วงเริ่มเคลื่อนไหวอีกครั้ง เริ่มด้วยการประกาศสุนทรพจน์ที่โบสถ์โซลอีพิสคะเพิลแอนเจลลิก และในที่สุดก็นำไปสู่การเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยในเดือนมิถุนายน

เพื่อที่จะควบคุมสถานการณ์ที่ดูเหมือนจะควบคุมไม่ได้ รัฐบาลของชอนจึงต้องประนีประนอม และในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เขาประกาศว่าโนห์ แทวู เป็นตัวแทนจากพรรคยุติธรรมประชาธิปไตย (ดีเจพี) และนี่จะเป็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกในรอบ 30 ปีของเกาหลี ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 ชอนประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรคดีเจพี เหลือเพียงตำแหน่งประธานผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ก็ยังให้เป็นพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการที่จะสามารถควบคุมการเลือกตั้งที่จะมาถึงของ โนห์

การเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2530

แก้

ครบสมัยการเป็นประธานาธิบดีของชอน และในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 โนห์ชนะการเลือกตั้งในการเลือกตั้งโดยตรงครั้งแรกในรอบ 30 ปีของเกาหลี โดยชนะคู่แข่งอย่าง คิม แดจุง และ คิม ยองซัม

ชีวิตหลังจากตำแหน่งประธานาธิบดี

แก้

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531 ในการลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีเพราะสิ้นสุดสมัยของเขา ชอนยังมีชื่อเป็นประธานของคณะกรรมการรัฐบุรุษแห่งชาติ และจากตำแหน่งนี้ทำให้เขายังมีอิทธิพลในการเมืองระดับชาติอยู่ และในปีนั้นพรรคดีเจพีเสียที่นั่งในการเลือกตั้งสภาระดับชาติให้กับฝ่ายค้านหลายที่นั่ง ปูทางไปสู่สิ่งที่เรียกว่า "การไต่สวนสาธารณรัฐที่ 5" การไต่สวนนี้รัฐสภาได้จุดประกายเรื่องเหตุการณ์ขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจูและจะเป็นผู้รับผิดชอบอย่างไรกับการฆาตกรรมหมู่ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2531 ชอนได้ออกแถลงการณ์ขอโทษต่อหน้าสาธารณชนทั่วประเทศ และให้เงินของเขากลับคืนสู่ประเทศชอนลาออกจากทั้งตำแหน่งประธานคณะกรรมการรัฐบุรุษแห่งชาติและตำแหน่งในพรรคดีเจพี

โน แทอู

แก้

ช็อนเป็นผู้ให้การสนับหลักในการเป็นประธานาธิบดีของโนห์ แทวู

คิม ยองซัม

แก้

ภายหลังคิม ยองซัมทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีใน พ.ศ. 2536 คิมประกาศว่าระหว่างสมัยของ ช็อน ดู-ฮวัน กับสมัยของ โนห์ แทวู นั้นมีการรับสินบนถึง 4 แสนล้านวอน และพวกเขาต้องถูกควบคุมตัวเพื่อไต่สวนพิสูจน์ความจริง

การสืบสวน ชอนและโนห์

แก้

ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 ประชาชนพากันร้องไห้อย่างเสียงดัง ในเรื่องเกี่ยวกับการรัฐประหาร 12 ธันวาคม พ.ศ. 2521 และเหตุการณ์นองเลือดในกวางจู ดังนั้น คิม ยองซัมได้ประกาศเริ่มต้นการเคลื่อนไหวออกกฎหมายเอาผิดย้อนหลัง ที่มีชื่อว่า ร่างรัฐบัญญัติพิเศษ 5-18 การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย ทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญประกาศว่าการกระทำของชอนขัดต่อรัฐธรรมนูญ ทำให้พนักงานอัยการเริ่มทำการสืบสวนอีกครั้ง ในวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ชอนและอีก 16 คนถูกจับกุมในข้อหาสมคบคิดและก่อการกบฏ ในเวลาเดียวกันการสืบสวนในเรื่องการฉ้อราษฎร์บังหลวงในช่วงที่เป็นประธานาธิบดีก็ได้เริ่มต้นขึ้น

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2539 การไต่สวนต่อสาธารณชนก็เริ่มต้นขึ้น วันที่ 26 สิงหาคม ศาลเขตกรุงโซลก็มีคำพิพากษาประหารชีวิต ต่อมาในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 ศาลสูงเขตกรุงโซลได้ออกคำพิพากษาให้จำคุกและจ่ายค่าปรับคำนวณ 220,500,000,000 วอน ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2540 การตัดสินคดีได้มาถึงที่ศาลสูง ชอนได้ถูกพิพากษาว่ามีความผิด เป็นผู้นำในการก่อการจลาจล,สมคบคิดในการก่อจลาจล,เข้าไปมีส่วนร่วมในการจลาจล,ออกคำสั่งเคลื่อนย้ายกำลังพลโดยมิชอบ,ละทิ้งหน้าที่ระหว่างกฎอัยการศึก,ฆาตกรรมข้าราชการระดับสูง,พยายามฆาตกรรมข้าราชการระดับสูง,ฆาตกรรมนายทหารผู้ใต้บังคับบัญชา,เป็นผู้นำในการก่อการกบฏ,สมคบคิดในการก่อกบฏ,เข้าไปมีส่วนร่วมในการกบฏ,ฆาตกรรมโดยมีเหตุจูงใจเพื่อก่อกบฏและอาชญากรรมอย่างหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการรับสินบน

ภายหลังศาลได้อ่านคำพิพากษา ชอนเริ่มต้นชีวิตในเรือนจำ ในวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2540 คำพิพากษาของชอนได้รับการลดโทษโดยประธานาธิบดี คิม ยองซัม ด้วยคำแนะนำของคิม แดจุง แต่ชอนไม่ได้รับการลดโทษในส่วนที่เกี่ยวกับค่าปรับ เขาได้จ่ายจ่ายเพียง 53,200,000,000 วอน ไม่ถึงหนึ่งในสี่ส่วนของค่าปรับทั้งหมดที่ศาลพิพากษา ชอนได้กล่าวคำพูดที่มีชื่อเสียง โดยกล่าวว่า "ทั้งเนื้อทั้งตัวฉันมีเงินเพียง 25,000 วอนเท่านั้นที่อยู่ในชื่อของฉัน" ที่เหลืออีก 167,300,000,000 วอนนั้น ชอนไม่เคยได้จ่ายเลย

การเรียกคืนเหรียญตราทางทหาร

แก้

จากกฎหมาย "รัฐบัญญัติพิเศษ 18 พฤษภาคม" เหรียญตราทั้งหมดสำหรับทหารในการเข้าแทรกแซงขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในกวางจูได้ถูกเรียกกลับคืนสู่รัฐบาล แต่ก็ยังเหลืออีก 9 เหรียญที่ยังไม่ได้คืนให้รัฐบาล

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Former South Korean military dictator Chun Doo-hwan dies at 90
  2. 2.0 2.1 2.2 Choi Jin (최진) (30 October 2008). "대통령의 아버지, 누구인가?…가난한 농사꾼에서 거제도 갑부까지 ①" [Who is the father of the president?...From a poor farmer to a rich man of Geoje Island]. JoongAng Ilbo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-04. สืบค้นเมื่อ 31 October 2009.
  3. 3.0 3.1 3.2 "전두환" [Chun Doo-hwan] (ภาษาเกาหลี). Nate People (Nate 인물검색). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-01. สืบค้นเมื่อ 4 November 2009.
  4. 4.0 4.1 Jo, Gap-je (조갑제) (7 December 1997). "(박정희의 생애) "내 무덤에 침을 뱉어라!"... (48)" [(Biography of Park Chung-hee) "Spit on my grave!"... (48)] (ภาษาเกาหลี). The Chosun Ilbo. สืบค้นเมื่อ 1 November 2009. {{cite web}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  5. United States Government Statement on the Events in Gwangju, Republic of Korea, in May 1980
  6. Jeon, Jae-ho (전재호) (2000). 반동적 근대주의자 박정희 [Reactionary Modernist, Park Chung-hee (Bandongjeok geundaejuuija Bak Jeong-hui)] (ภาษาเกาหลี). South Korea: 책세상 (Chaeksesang). pp. 112–113. ISBN 9788970131481.
  7. Park, Jong-jin (박종진) (23 September 2004). "(한반도 핵) 무궁화 꽃이 피었습니까?". Hankooki (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 4 November 2009.
  8. Seo, Byeong-gi (서병기) (18 July 2005). "'제5공화국' 전두환,핵무기개발 포기 방영후 네티즌 비난" [After the broadcasting of 'The 5th Republic' that the President, Chun Doo-hwan gave up developing nuclear weapons, Netizens criticized] (ภาษาเกาหลี). Korea Herald Business. สืบค้นเมื่อ 4 November 2009.
  9. 2 get death for info leak เก็บถาวร 2012-09-09 ที่ archive.today News24
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ นายเชิน ดู ฮวาน เก็บถาวร 2014-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐, ตอน ๑๐๒ , ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๖ ,ฉบับพิเศษหน้า ๑๒