ธงชาติแคนาดา (อังกฤษ: The Maple Leaf, ธงใบเมเปิ้ล; ฝรั่งเศส: l'Unifolié, ธงรูปใบไม้ใบเดียว) เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในแบ่งริ้วธงออกเป็น 3 ส่วนตามแนวตั้ง โดยมีสัดส่วนความกว้างแต่ละแถบเป็น 1:2:1 แถบนอกสีแดง แถบในสีขาว กลางมีรูปใบเมเปิลปลาย 11 แฉกสีแดงใบใหญ่ ธงนี้ได้ประกาศใช้เป็นธงชาติอย่างเป็นทางการเมื่อปี ค.ศ. 1965 เพื่อใช้แทนที่ธงยูเนียนแจ็กซึ่งเคยใช้เป็นธงชาติแคนาดาโดยนิตินัย


ธงชาติแคนาดา
ชื่ออื่น The Maple Leaf (ธงใบเมเปิ้ล) , l'Unifolié (ธงรูปใบไม้ใบเดียว)
การใช้ ธงชาติและธงชาติประจำเรือ
สัดส่วนธง 1:2
ประกาศใช้ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508
ลักษณะ ธงสามแถบแนวตั้งพื้นสีแดง-ขาว-แดง กลางพื้นสีขาวซึ่งกว้างเป็น 2 เท่าของแถบแดงมีรูปใบเมเปิ้ลปลาย 11 แฉกสีแดง
ออกแบบโดย จอร์จ เอฟ. จี. สแตนลีย์ (George F.G. Stanley)

ประวัติ แก้

อาณานิคมอังกฤษ แก้

       
ธงชาติอังกฤษ (ธงกางเขนนักบุญจอร์จ) ธงอาณานิคม ก่อนการประกาศพระราชบัญญัติสหภาพ (ค.ศ. 1497–1707) ใช้เป็นธงนาวีบนเรือจอห์น คาร์บอท ธงชาติสกอตแลนด์ (ธงกางเขนนักบุญแอนดรูว) ธงอาณานิคมสกอตแลนด์ ก่อนการประกาศพระราชบัญญัติสหภาพ (ค.ศ. 1621–1707) ธงยูเนียนแจ็ก
(ค.ศ. 1763–1801)
ธงยูเนียนแจ็ก
(ค.ศ. 1801 - ปัจจุบัน)

อาณานิคมฝรั่งเศส แก้

     
ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1534-1604) ธงเรือราษฎร์ (ค.ศ. 1604-1663) ธงอาณานิคมฝรั่งเศสใหม่ (ค.ศ. 1663-1763)

สหพันธรัฐในเครือจักรภพ แก้

       
ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1868-1870) ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1868-1870) ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1905-1922) ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1905-1922)

ก่อนหน้านี้ ธงอย่างหนึ่งของแคนาดาที่เรียกว่า "ธงแคแนเดียนเรดเอนไซน์" (Canadian Red Ensign) ซึ่งมีลักษณะตามแบบธงแสดงสัญชาติสีแดง (ธงเรือพลเรือนสหราชอาณาจักร) นั้นได้เริ่มมีการใช้อย่างไม่เป็นทางการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1868 และ ได้รับการรับรองให้ใช้ได้ตามกฎหมายในปี ค.ศ. 1945[1][2] รวมถึง "ธงแคแนเดียนบลูเอนไซน์" (Canadian Blue Ensign) ซึ่งมีลักษณะตามแบบธงแสดงสัญชาติสีน้ำเงิน (ธงเรือรัฐบาลสหราชอาณาจักร) สำหรับเรือราชการในสังกัดรัฐบาล และ ใช้เป็นธงฉานกองทัพเรือ


       
ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1921-1957) ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1921-1957) ธงอาณานิคม (ค.ศ. 1957-1965) ธงเรือราชการ (ค.ศ. 1957-1965)

การถกเถียง แก้

ในปี ค.ศ. 1964 ได้เกิดการถกเถียงครั้งใหญ่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแบบธงชาติแคนาดา (เหตุการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า "Great Flag Debate") นายเลสเตอร์ บี. เพียร์สัน (Lester B. Pearson) นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาแบบธงชาติแคนาดาใหม่ โดยแบบธงที่ได้รับการคัดเลือกจากแบบธงที่เข้ารอบ 3 แบบในรอบสุดท้าย ได้แก่แบบธงใบเมเปิ้ลซึ่งเป็นผลงานการออกแบบของจอร์จ เอฟ. จี. สแตนลีย์ โดยมีต้นแบบมาจากธงของราชวิทยาลัยการทหารแห่งแคนาดา (Royal Military College of Canada) และได้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันทื่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1965 ซึ่งต่อมารัฐบาลแคนาดาได้ประกาศให้วันที่ 15 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันธงชาติแคนาดา[3][4] โดยทั่วไปแล้วธงของหน่วยงานราชการในประเทศแคนาดาล้วนมีส่วนประกอบของธงชาติแคนาดาหรือรูปใบเมเปิ้ลประกอบอยู่ด้วยเสมอ อย่างไรก็ตาม ธงสหภาพหรือยูเนียนแจ็กนั้นยังถือว่าเป็นธงราชการของแคนาดาอย่างเป็นทางการอยู่ โดยใช้ในฐานะธงของประเทศสมาชิกเครือจักรภพและพระราชวงศ์อังกฤษ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าธงสหภาพได้ปรากฏในส่วนประกอบของธงอื่นๆ ในประเทศแคนาดา เช่น ธงประจำรัฐบริติชโคลัมเบีย รัฐมานิบาโต และรัฐออนตาริโอ เป็นต้น[5]

       
ธงเพียร์สัน (The Pearson Pennant) แบบธงชาติแคนาดาแบบแรกที่เสนอต่อรัฐสภาแคนาดาเมื่อ พ.ศ. 2507 (ไม่มีการใช้จริง) ธงราชวิทยาลัยการทหารแห่งแคนาดา (Royal Military College of Canada) ซึ่งจอร์จ เอฟ. จี. สแตนลีย์ใช้เป็นต้นแบบในการออกแบบธงชาติแคนาดาปัจจุบัน ธงใบเมเปิ้ล
แบบที่นำเสนอต่อรัฐสภาในปี พ.ศ. 2507
ธงชาติแคนาดา
พ.ศ. 2508 - ปัจจุบัน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ แก้

บรรณานุกรม แก้

  1. Stacey, C. P., บ.ก. (1972). "19. Order in Council on the Red Ensign, 1945". Historical documents of Canada. Vol. 5. New York: St. Martin's Press. p. 28. ISBN 0770508618.
  2. "First "Canadian flags"". Department of Canadian Heritage. 2007-09-24. สืบค้นเมื่อ 2008-04-20.[ลิงก์เสีย]
  3. flagfest
  4. O Canada- February 15, 1965, the Maple Leaf flys for the first time
  5. Fraser, Alistair. The Royal Union Flag. Pennsylvania State University.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้