บทความนี้เป็นบทความสำหรับสกุลทางชีววิทยา
เมเปิล
Acer pseudoplatanus (Sycamore Maple)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Sapindales
วงศ์: Sapindaceae
สกุล: Acer
L.
สปีชีส์

ดูบัญชีรายชื่อชนิดของเมเปิล

การกระจายพันธุ์

เมเปิล (maple) หรือ ก่วม[1] คำว่า " ก่วม " ใช้เรียกต้นไม้กลุ่มเมเปิลที่มีถิ่นกำเนิดในเเถบประเทศไทย เป็นคำภาษาไทย ไม่ได้มีความหมายรวมถึงเมเปิลทุกชนิดในโลก ส่วนคำว่าเมเปิลเป็นคำสากลที่ใช้เรียกต้นไม้ทั้งหมดที่อยู่ในสกุลเมเปิลเดียวกัน

Acer มาจากคำ ภาษาละติน แปลว่า : แหลม, คม หมายถึงปลายแหลมของใบ Acer ใช้เป็นชื่อสกุล (คำแรกของชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต) ของพืชกลุ่มเมเปิล นิยามของ Acer คือสกุล (genus) ของต้นไม้หรือพุ่มไม้ ที่เรียกทั่วไปว่า เมเปิล (maple) สกุล Acer นี้ถูกจัดไว้อยู่ในวงศ์ Sapindaceae พืชสกุล Acer มีประมาณ 128 ชนิด หรือ สปีชีส์ ส่วนมากมีต้นกำเนิดในแถบทวีปเอเชีย แต่ก็มีในแถบทวีปยุโรป, ตอนเหนือของทวีปแอฟริกาและทวีปอเมริกาเหนือ เกือบทั้งหมดพบที่ซีกโลกเหนือ มีเพียงสปีชีส์เดียว คือ Acer laurinum ที่พบปรากฎอยู่ฝั่งซีกโลกใต้ ชนิดที่เป็น type species หรือ ชนิดต้นแบบ ในทางอนุกรมวิธาน(ชนิดแรกที่ถูกระบุบในสกุล หรือเป็นตัวอย่างที่เอกเทศ ที่กำหนดชื่อของสกุล) คือ sycamore maple, Acer pseudoplatanus ซึ่งเป็นชนิดเมเปิลที่พบมากในยุโรป เมเปิลมีลักษณะใบ palmate leave และผล winged fruits (samaras) ส่วนพืชที่มีความใกล้ชิดกับเมเปิลที่สุดคือ horse chestnuts หรือ เกาลัดม้า ซึ่งอยู่วงศ์เดียวกัน

มันถูกจัดเข้าสู่สกุลครั้งแรกโดย โจเซฟ พิตตง เดอ ตูร์เนอฟอร์ต (Joseph Pitton de Tournefort) นักพฤกษศาสตร์ชาวฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1700

Fossil ของเมเปิล หรือซากพืชดึกดำบรรพ์ของพืชสกุล Acer ถูกค้นพบครั้งแรกที่ Alaska ซึ่งเป็นแบบ single leaf หรือ ใบเดี่ยว ผลแบบ samaras พบในหินอายุราว 66.5 ล้านปี แต่ผลแบบ samaras ที่พบดังกล่าวยังไม่ระบุว่าเป็นของพืชสกุล Acer

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

แก้
 
Acer saccharum (Sugar Maple)

เมเปิลส่วนมากจะสูง 10–40 เมตร (30–130 ฟุต) อาจมีบางชนิดสูงน้อยกว่า 10 เมตร โดยมีลำต้นแตกเป็นลำเล็กหลายลำ ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ส่วนมากจะมีการผลัดใบแต่มีบางชนิดในเอเชียใต้และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่จะเขียวตลอดทั้งปีโดยไม่ผลัดใบ เมื่อยังเล็กจะเติบโตในที่ร่มและเข้าแทนที่กลายเป็นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงานั้นเสียเองในระบบนิเวศ ระบบรากของเมเปิลจะเป็นเส้นหนาแน่น และบางชนิดอย่าง Acer cappadocicum บ่อยครั้งที่มันจะผลิตรากที่สามารถพัฒนากลายเป็นต้นใหม่ได้[2]

 
ใบของ Acer circinatum (Vine Maple) ที่แสดงถึงใบรูปมือที่หลายชนิดในสกุลจะมีลักษณะคล้ายกันนี้

ใบเมเปิลส่วนใหญ่เป็นแบบนิ้วมือ(เป็นแฉก) ประมาณ 3–9 แฉก (อาจถึง 13 แฉก) มีหนึ่งแฉกตรงกลางเป็นยอด มีไม่กี่ชนิดเท่านั้น ที่ใบไม่ได้เป็นแฉก (เป็นแบบขนนก) ในหลาย ๆ ชนิดเช่น Acer griseum (Paperbark Maple) , Acer mandshuricum (Manchurian Maple) , Acer maximowiczianum (Nikko Maple) , และ Acer triflorum (Three-flowered Maple) มีสามใบ อีก 1 ชนิด: Acer negundo (Manitoba Maple) , มีใบแบบขนนกที่ทั่วไปมีสามใบหรืออาจจะมี 5, 7 หรือ 9 ใบย่อย อีก 2–3 ชนิดอย่างเช่น Acer laevigatum และ Acer carpinifolium (Hornbeam Maple) , ทั่วไปมีใบแบบเส้นใบขนนก

 
ดอกของ Acer rubrum (Red Maple)

ดอกมีห้าส่วนสม่ำเสมอ, และอยู่ในช่อกระจะ, เป็นช่อเชิงหลั่น, หรือช่อซี่ร่ม มีกลีบเลี้ยง 4–5 กลีบ กลีบดอก 4–5 กลีบยาวประมาณ 1–6 มม. (ยกเว้นบางชนิด) , มีเกสรเพศผู้ 4–10 เกสรยาวประมาณ 6–10 มม.และมีเกสรเพศเมีย 2 แบบคือมี 2 เกสรหรือเกสรเดียว รังไข่อยู่สูงกว่าและมี 2 คาร์เพลซึ่งมีปีกยืดจากดอกทำให้ทราบโดยง่ายว่าเป็นดอกเพศเมียเมเปิลจะออกดอกปลายฤดูหนาวหรือต้นฤดูใบไม้ผลิส่วนมากจะออกดอกหลักจากเริ่มผลิใบใหม่แต่บางชนิดจะออกดอกก่อน[3] ดอกของเมเปิลมีสีเขียว, เหลือง, ส้มหรือแดง

 
ผลปีกคู่ของ Acer platanoides (Norway Maple)

ผลของเมเปิลถูกเรียกว่าผลปีกหรือ "maple keys" เมล็ดหนึ่งเมล็ดหุ้มไว้ใน "ส่วนที่เหมือนลูกนัท" ที่ต่อกับปีกแบนเป็นเส้นคล้ายกระดาษ 1 ปีก รูปทรงของมันทำให้เกิดการหมุนเมื่อล่วงจากต้นและที่สำคัญสามารถบรรทุกเมล็ดไปได้ไกลโดยลม เมล็ดจะแก่ใน 2–3 อาทิตย์ถึง 6 เดือนหลังออกดอก เมล็ดจะกระจายอย่างรวดเร็วเมื่อแก่ อย่างไรก็ตาม ต้นไม้หนึ่งต้นอาจมีเมล็ดถึง 100 เมล็ดใน 1 ครั้งขึ้นกับชนิด เมล็ดอาจมีขนาดเล็กสีเขียวถุงเหลืองหรือเป็นฝักใหญ่หนา เมล็ดสีเขียวจะหล่นเป็นคู่ (ผลปีกคู่) บางครั้งอาจมีกิ่งติดมาด้วย เมล็ดสีเหลืองจะหล่นเดี่ยวๆและไม่มีกิ่งติดมา ส่วนมากต้องการบางอย่างที่ซับซ้อนเช่นช่วงอากาศที่เย็นนานพอ เพื่อที่จะงอกเป็นต้นและบางชนิดต้องอยู่ในดิน 1–2 ปีก่อนจะงอกเป็นต้น[2]

สกุลเมเปิลถูกแบ่งย่อยโดยรูปร่างลักษณะของมันออกเป็นหมู่และหมู่ย่อยมากมาย[4]

การกระจายพันธุ์ในประเทศไทย

แก้

ในประเทศไทยพบเมเปิลอยู่ 6 ชนิดคือ

โรคและแมลง

แก้
 
Rhytisma acerinum ราบนใบของ Acer pseudoplatanus

ใบเมเปิลถูกใช้เป็นอาหารสำหรับหนอนตัวอ่อนผีเสื้อ เพลี้ยเป็นอีกชนิดที่ทำลายเมเปิล สามารถกำจัดปัญหาเหล่านี้ได้โดยยาฆ่าแมลง

โรคที่เกิดจากเห็ดรา เช่น โรคเหี่ยวแห้งจาก Verticillium เกิดจาก Verticillium ซึ่งสามารถเป็นเหตุสำคัญในการแห้งตายเป็นส่วน ๆ ของต้น, โรคเขม่าดำเกิดจาก Cryptostroma สามารถทำให้ตายได้ภายใต้ความกดดันจากการขาดน้ำ, การตายของเมเปิลที่เกิดจาก Phytophthora และ Ganoderma ที่ทำให้รากเน่า ใบของเมเปิลในปลายฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงอาจเป็น "จุดน้ำมัน" ที่เกิดจาก Rhytisma และโรคราน้ำค้างที่เกิดจาก Uncinula แม้ว่าโรคพวกนี้จะไม่ส่งผลต่อสุขภาพของต้นไม้ในระยะยาวก็ตาม[6]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ลักษณะประจำวงศ์พรรณไม้ ดร.ก่องการดา ชยามฤต กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  2. 2.0 2.1 van Gelderen, C. J. & van Gelderen, D. M. (1999). Maples for Gardens: A Color Encyclopedia
  3. Huxley, A., ed. (1992). New RHS Dictionary of Gardening. Macmillan ISBN 0-333-47494-5.
  4. "Classification of maples". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 สิงหาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2007.
  5. 5.0 5.1 5.2 เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 1 พฤษภาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  6. Phillips, D. H. & Burdekin, D. A. (1992). Diseases of Forest and Ornamental Trees. Macmillan. ISBN 0-333-49493-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้