ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
หน้าใหม่: {{Infobox law enforcement agency |agencyname = กองบังคับการอารักขา<br>และควบคุมฝูงชน |nativename = |na...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:19, 19 พฤศจิกายน 2563

กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (อังกฤษ: Protection and Crowds Control Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มมวลชน พร้อมกับการถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และอารักขาบุคคลสำคัญตามแต่ละโอกาส มีหน่วยงานอยู่ในสังกัด 3 กองกำกับการ กองบังคับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ผู้บังคับการกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนคนปัจจุบัน คือ พลตำรวจตรี มานพ สุคนธ์ธนพัฒน์

กองบังคับการอารักขา
และควบคุมฝูงชน
อักษรย่อบก.อฝค.
คำขวัญเกียรติ วินัย กล้าหาญ อดทน
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง7 กันยายน, พ.ศ. 2552 (14 ปี 232 วัน)
โครงสร้างเขตอำนาจ
หน่วยงานแห่งชาติประเทศไทย
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร

ผู้บริหารหน่วยงาน
  • พลตำรวจตรี มานพ สุคนธ์ธนพัฒน์, ผู้บังคับการ
หน่วยงานปกครอง กองบัญชาการตำรวจนครบาล
บทบาทการควบคุมฝูงชน
การปราบจลาจล
การอารักขา
 • พระมหากษัตริย์ และพระราชินี
 • พระบรมวงศานุวงศ์
 • บุคคลสำคัญ
การรักษาความมั่นคง
เขตอำนาจปกครอง • 4 กองกำกับการ
เว็บไซต์
pccd.metro.police.go.th

ประวัติ

กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน เป็นกองบังคับการในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 มีภารกิจควบคุมฝูงชน พร้อมกับการถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และอารักขาบุคคลสำคัญ[1]

กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนได้ปฏิบัติภารกิจในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ อาทิ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 มีการจัดกำลังเพื่อควบคุมฝูงชนทั่วกรุงเทพมหานคร ในการชุมนุมที่แยกผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 มีการใช้อาวุธปืน และลูกระเบิดเอ็ม 79 ส่งผลให้ตำรวจที่เข้ามาเพื่อควบคุมพื้นที่ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงในครั้งนั้น[2][3] และการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563 มีการตรึงกำลังเป็นรายวันทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ในการชุมนุมที่แยกปทุมวัน ได้เกิดการสลายการชุมนุมขึ้น ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 6 คน และมีผู้ถูกจับกุมกว่า 100 คน จากการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารแก็สน้ำตา[4]

ภารกิจ

  • ถวายอารักขา สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ พระราชอาคันตุกะ
  • รักษาความปลอดภัยผู้แทนพระองค์ บุคคลสำคัญ
  • รักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มมวลชนต่าง ๆ
  • สนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

หน่วยงานในสังกัด

  • กองกำกับอำนวยการและสนับสนุน
  • กองกำกับอารักขา 1
  • กองกำกับอารักขา 2
  • กองกำกับควบคุมฝูงชน 1 และ 2

ยุทโธปกรณ์

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ อ้างอิง
เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส350ดี   รถยนต์นั่งขนาดเล็ก   เยอรมนี
บีเอ็มดับเบิ้ลยู 5 ซีรีส์ เอฟ10   รถยนต์นั่งขนาดเล็ก   เยอรมนี
บีเอ็มดับเบิ้ลยู 5 ซีรีส์ เอฟ10   รถยนต์นั่งขนาดเล็ก   เยอรมนี
อีซูซุ เอ็นพีอาร์ 150   รถบรรทุก   ญี่ปุ่น
ฮีโน่   รถบัส   ญี่ปุ่น
แดวู โนวัส เจอาร์ซี-10000   รถฉีดน้ำแรงดันสูง   เกาหลีใต้ [5]
จีโน่ มอโตส ไททัน - รถฉีดน้ำแรงดันสูง   เกาหลีใต้ [5]
ไซโนทรัก - รถฉีดน้ำแรงดันสูง   จีน [5]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น