พาราลิมปิกฤดูร้อน 2008

พาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 (จีน: 第十三屆残疾人奥林匹克运动会, อังกฤษ: XIII Paralympic Games) เป็นการจัดการแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกครั้งที่ 13 ที่เมืองปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นเจ้าภาพ เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ถึง 17 กันยายน พ.ศ. 2551 และ หู จิ่นเทา เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน

การแข่งขันกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 13
สัญลักษณ์การแข่งขันกีฬาพาราลืมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 13
เมืองเจ้าภาพปักกิ่ง, สาธารณรัฐประชาชนจีน
คำขวัญ同一个世界,同一个梦想
(One World, One Dream)
สัญลักษณ์: Sky, Earth, and Human Beings
ประเทศเข้าร่วม148 ประเทศ
นักกีฬาเข้าร่วม3,985
กีฬา20 ชนิด
พิธีเปิด6 กันยายน พ.ศ. 2551
พิธีปิด17 กันยายน พ.ศ. 2551
ประธานพิธีหู จิ่นเทา
ผู้จุดคบเพลิงโฮว บิน
สนามกีฬาหลักสนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง

เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2548 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลประกาศคำขวัญของโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 คือ "One World, One Dream" (จีน: 同一个世界 同一个梦想; 同一個世界 同一個夢想) ซึ่งใช้คำขวัญนี้ในการแข่งขันพาราลิมปิกครั้งที่ 13 อีกด้วย

การแข่งขันครั้งนี้มีนักกีฬาจากทุกทวีปเข้าร่วมการแข่งขันรวมแล้ว 3,985 คน จาก 148 ประเทศ ซึ่งจะเป็นการแข่งขันพาราลิมปิกที่มีนักกีฬาเข้าร่วมมากที่สุด

สัญลักษณ์การแข่งขัน แก้

สัญลักษณ์ แก้

"Sky, Earth, and Human Beings" (天、地、人) เป็นสัญลักษณ์ของการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ซึ่งมีการออกแบบหลากหลายสี "之" (พินอิน: zhī) ทันสมัยเหมือนกับนักกีฬาที่มีร่างกายที่แข็งแรงเคลื่อนไหว สีแดง, สีน้ำเงิน, และสีเขียวในสัญลักษณ์แทน ดวงอาทิตย์, ท้องฟ้า, และโลก

สโลแกน แก้

"One World One Dream" เป็นสโลแกนในการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ซึ่งเป็นสโลแกนเดียวกับการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ด้วย

 
ฝูหนิวเล่อเล่อ

มาสคอต แก้

มาสคอตของพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 เป็นตัวการ์ตูนรูปวัวชื่อ "ฝูหนิวเล่อเล่อ" (福牛乐乐) ความหมายคร่าวๆหมายถึง "โชคดี" ส่วนวัวหมายถึง "ความสุข"

เพลงประจำการแข่งขัน แก้

เพลงประจำการแข่งขันพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 คือ เพลง 'Flying with the Dream' ขับร้องโดย หลิว เต๋อหัว นักร้องชาวจีนกวางตุ้งที่รู้จักกันดี

การวิ่งคบเพลิง แก้

การวิ่งคบเพลิงในพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 เริ่มต้นจากที่ หอสักการะฟ้าเทียนถัน ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551 และจะกลับสู่ กรุงปักกิ่ง ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551 และจะจุดคบเพลิงที่ สนามกีฬาแห่งชาติปักกิ่ง ช่วงเปิดพิธีในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

การแข่งขัน แก้

พิธีเปิด แก้

พิธีเปิดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

พิธีปิด แก้

พิธีปิดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2551

ชนิดกีฬาที่แข่งขัน แก้

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน แก้

สรุปเหรียญ แก้

      จีน (เจ้าภาพ)
      ไทย
อันดับที่ ประเทศ ทอง เงิน ทองแดง รวม
1   จีน 89 70 52 211
2  สหราชอาณาจักร 42 29 31 102
3  สหรัฐอเมริกา 36 35 28 99
4  ยูเครน 24 18 32 74
5  ออสเตรเลีย 23 29 27 79
6  สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ 21 3 6 30
7  แคนาดา 19 10 21 50
8  สหพันธรัฐรัสเซีย 18 22 23 63
9  บราซิล 16 14 17 47
10  สเปน 15 21 22 58
41   ไทย 1 5 7 13

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้