พรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล
พรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล (เกิด 25 ธันวาคม พ.ศ. 2498) สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ เขต 6 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย
พรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชัยภูมิ เขต 6 | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 – 20 มีนาคม พ.ศ.2566 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 25 ธันวาคม พ.ศ. 2498 อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | น.พ.ชัยนันท์ บุญศิริวัฒนกุล |
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
ประวัติ
แก้นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรีของ จ.ส.อ.สำราญ และนางเมี้ยน เพ็ชรมณี มีพี่น้อง 2 คน สำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น สมรสกับ นายแพทย์ชัยนันท์ มีบุตร 3 คน มีบุตร 1 คน ธิดา 2 คน
งานการเมือง
แก้อดีตเป็นพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลภูเขียว[1] พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือก โดยพ่ายแพ้ให้กับนายเจริญ จรรย์โกมล จากพรรคไทยรักไทย ต่อมา พ.ศ. 2549 ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดชัยภูมิ และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 9 หลังจากนั้นระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2554 นางพรเพ็ญดำรงตำแหน่งรองนายกเทศมนตรีตำบลภูเขียว อำเภอภูเขียว
พ.ศ. 2554 นางพรเพ็ญลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิอีกครั้ง ในนามพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้ง โดยเอาชนะนายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ อดีต ส.ส. จากพรรคชาติไทยพัฒนาเมื่อรับราชการการเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานคณะกรรมาธิการ ศิลปะและวัฒนธรรม คนที่หนึ่งชุดที่๒๔ ตามมติประชุมกรรมธิการครั้งที่๗๔ วันพุธที่๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖
พ.ศ.2566 ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา นางพรเพ็ญ สังกัดพรรคเพื่อไทย ฝ่ายแพ้ให้กับนายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ อดีตส.ส.ชัยภูมิ ครั้งนี้มาในสังกัดพรรคภูมิใจไทย โดยคะแนนทิ้งห่างกันกว่าหมื่นคะแนน
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้พรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดชัยภูมิ สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2566 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ เจาะสนามเลือกตั้งอีสาน”พท.ชัยภูมิระส่ำหลบเขตชนปชป.ปรับทัพวางตัวผู้สมัครยังไม่ลงตัว”[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๓, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๗, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมือง (นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล), ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง