พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี (12 มกราคม พ.ศ. 2436 – 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515) พระราชธิดาพระองค์ที่ 94 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเหม (สกุลเดิม อมาตยกุล)

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
ประสูติ12 มกราคม พ.ศ. 2436
สิ้นพระชนม์17 ตุลาคม พ.ศ. 2515 (79 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเหม ในรัชกาลที่ 5

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเหม (ธิดาคนโตของพระยาธรรมสารนิติวิชิตภักดี (พลับ อมาตยกุล)) เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2435 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2436) เดิมพระองค์มีพระนามว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามัณฑนาภาวดี แต่ขณะมีพระชันษาได้ 6 ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนพระนามเป็น พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเหมวดี เมื่อวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2441 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2442)[1] [2]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี เป็นพระราชธิดาในรัชกาลที่ 5 เพียงไม่กี่พระองค์ที่มีพระชนม์ชีพยืนยาวถึงสมัยรัชกาลที่ 9 และสิ้นพระชนม์เป็นพระองค์ท้าย ๆ พระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515 ด้วยโรคพระวักกะพิการ[2] สิริพระชันษา 80 ปี พระองค์เคยประทับที่วังราชทัต ปัจจุบันคือบริเวณหลังโรงแรมโฟร์ซีซัน ถนนราชดำริ กรุงเทพมหานคร มีพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร[3]

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระองค์เจ้าเหมวดี
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนเกล้ากระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • 12 มกราคม พ.ศ. 2436 – 8 มกราคม พ.ศ. 2442 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ามัณฑนาภาวดี
  • 8 มกราคม พ.ศ. 2442 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 : พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
  • 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 : พระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์เจ้าเหมวดี
  • 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 – 17 ตุลาคม พ.ศ. 2515 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้


อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระนามพระเจ้าลูกเธอ เก็บถาวร 2012-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 15, ตอน 43, 22 มกราคม ร.ศ. 117, หน้า 447
  2. 2.0 2.1 ธงทอง จันทรางศุในกำแพงแก้ว. กรุงเทพฯ : เอส.ซี.พริ้นท์แอนด์แพค, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2550. 169 หน้า. ISBN 978-9748-371-443
  3. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๔/๒๕๑๖ บำเพ็ญพระราชกุศลออกพระเมรุและพระราชทานเพลิงพระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส พุทธศักราช ๒๕๑๖, เล่ม 90, ตอน 19ง, 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516, หน้า 559
  4. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 27 ง): หน้า 1995. 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 67 (ตอน 25 ง): หน้า 1806. 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2493. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 25: หน้า 1153. 27 ธันวาคม ร.ศ. 127. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  7. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 29 (ตอน 0 ง): หน้า 2445. 22 มกราคม ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 43 (ตอน 0 ง): หน้า 3116. 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-20. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 70 (ตอน 17 ง): หน้า 1011. 10 มีนาคม พ.ศ. 2496. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)