พระองค์เจ้านโรดม ปทุมบุปผา

พระองค์เจ้านโรดม ปทุมบุปผา (18 มกราคม พ.ศ. 2494 - เมษายน พ.ศ. 2519) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับพระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี มีพระพี่น้องร่วมพระมารดา 7 พระองค์ พระองค์ทรงพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์กัมพูชาองค์ปัจจุบัน

พระองค์เจ้านโรดม ปทุมบุปผา
ประสูติ18 มกราคม พ.ศ. 2494
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
สิ้นพระชนม์เมษายน พ.ศ. 2519
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พระสวามีสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ชีวันมุนีรักษ์ (2506-2509/10 ?)
หม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ ดุษฎี (2510-2518/19 ?)
พระบุตรพระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ ฉวีโสภา
พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ จันทราวุธ
หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ รัฐิพงศ์
ราชวงศ์ราชวงศ์วรมัน
(สายราชสกุลนโรดม)
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
พระมารดาพระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี

ชีวิตส่วนพระองค์

แก้

พระองค์เสกสมรสครั้งแรกกับสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ ชีวันมุนีรักษ์ (ต่อมาได้เป็นพระสวามีในสมเด็จพระเรียมนโรดม บุปผาเทวี[1] ภายหลังทรงหย่า) พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์ กับคุนพระนางบุปผานรลักษณ์ (ยิน ตาต) ทั้งสองเสกสมรสเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ณ พระราชวังกรุงพนมเปญ ต่อมาภายหลังทรงหย่ากัน ทั้งสองพระองค์มีพระโอรส-ธิดาด้วยกัน 2 พระองค์ ได้แก่

  • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ ฉวีโสภา (28 กรกฎาคม พ.ศ. 2507 - พ.ศ. 2519)
  • พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ จันทราวุธ (4 เมษายน พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2519)

ต่อมาพระองค์ได้เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ ดุษฎี พระโอรสในหม่อมเจ้าสีสุวัตถิ์ อินทรวงศ์ เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2510 ณ กรุงพนมเปญ[2] ทั้งสองมีพระโอรสด้วยกัน 1 พระองค์ คือ

  • หม่อมราชวงศ์สีสุวัตถิ์ รัฐิวงศ์ (พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2519)

สิ้นพระชนม์

แก้

พระองค์เจ้านโรดม ปทุมบุปผา ทรงกลายเป็นบุคคลสาบสูญตั้งแต่ พ.ศ. 2518 ในขณะที่เขมรแดงยึดครองประเทศ โดยคาดว่าพระองค์ถูกปลงพระชนม์โดยกลุ่มเขมรแดงในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2519[3] เนื่องจากเขมรแดงต้องการที่จะกวาดล้างเหล่าเชื้อพระวงศ์ ซึ่งไม่มีใครพบพระศพของพระองค์มาจนถึงปัจจุบัน พระองค์จึงทรงถูกนับรวมเป็นบุคคลที่ถูกบังคับให้สูญหาย

พระราชตระกูล

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เชื้อพระวงศ์เขมรลงสนามฟาดแข้งดาราไทย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 10 มกราคม 2549 20:55 น.
  2. "THE ROYAL FAMILY OF CAMBODIA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-02. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
  3. "CAMBODIA". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-19. สืบค้นเมื่อ 2011-04-14.
  4. ‘พระราชวงศ์เขมร’ และ ‘พระราชวงศ์ไทย’ โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์ ฉบับที่ 2500 ปีที่ 48 ประจำวัน อังคาร ที่ 17 กันยายน 2545